อยู่ดีมีสุข ๒ : ทำงานในชุมชน vs ทำงานกับชุมชน


ให้เดอะสตาร์ตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงปี ๕ มาเล่าประสบการณ์การทำงานในชุมชนหรือกับชุมชน

 

๒  พฤษภาคม  ๒๕๕๕  คุณหมอ (ต้น) อ้อ  ทพญ.ปิยะนุช  เอกก้านตรง  จากศูนย์อนามัยเขต ๖ ขอนแก่น  และพี่ธานินทร์  อ่อนนุชมงคล  สำนักทันตสาธารณสุข  กรมอนามัย  ก็ช่างกระไร  พาผู้เข้าประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทันตสาธารณสุขในชุมชน  ๑๕๐  คน  จากทั่วประเทศ   งงกันใหญ่   ให้เลือกว่าตนเองเป็นงูแบบใด  งูเลื้อยตรง  งูซิกแซก  งูแผ่แม่เบี้ย  หรืองูพันกิ่งไม้

 

 

ขึ้นชื่อว่างูเนี่ยนะจะเลื้อยตรง  แต่ก็มีจนได้  สัดส่วน  ๓  คน  บันทึกไว้ว่าตนเองเป็นคนตรง ๆ  ตรงไปตรงมา  พูดจาแสดงความคิดเห็น  ทำงานแบบพุ่งเข้าใส่  อ่ะ...เข้าใจตนเอง  เห็นเพื่อนที่มีนิสัยคล้ายกัน  ทำความรู้จักกันเพิ่มขึ้น

 

 

๒  กลุ่มจำนวนกลาง ๆ  งูแผ่แม่เบี้ย  สงบนิ่ง  เฝ้าดู  งูพันกิ่งไม้  กลมกลืน  ปรับตัวตามขนาดกิ่งไม้น้อยใหญ่วิเคราะห์วิจารณ์ตนเอง  หาเหตุผลที่มารวมกลุ่มกัน  ส่วนกลุ่มใหญ่สุด  งูซิกแซก  รู้วิธีไหลลื่น  ปรับตัว  ปรับวิธีทำงาน  เอาตัวเองให้ไปถึงเป้าหมาย   แต่ไม่ได้หมายถึงงกเอาของหลวงมาเป็นของตัวเองนะ

 

แล้วแต่สถานการณ์  หลายสิ่งอย่างแล้วแต่มุมมอง  ทุก ๆ งูมีข้อดี  ข้อด้อย   เอาเหตุผลข้อดีของกลุ่มอื่นมาเสริม  เปิดมุมมองจากกลุ่มอื่น

 

 

 

ถึงเวลาเปิดเวทีเสวนา  การทำงานทันตสาธารณสุขในชุมชน  VS  การทำงานกับชุมชน   โดยคุณหมอแบงค์  ทันตแพทย์ณัฐพงศ์  กันทะวงศ์   ใช้เพลงนำเหมือนเวทีเดอะสตาร์  ให้เดอะสตาร์ตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงปี ๕  มาเล่าประสบการณ์การทำงานในชุมชนหรือกับชุมชน

 

เดอะสตาร์รุ่นแรก  นายอำนวย  รื่นนุสาร  กำนันตำบลหินมูล  อำเภอบางเลน  จังหวัดนครปฐม   เริ่มเห็นปัญหาเด็กฟันตกกระตั้งแต่เป็นผู้ใหญ่บ้านตำแหน่งเดียว   ประชุมร่วมกันบ่อย ๆ กับผู้ใหญ่บ้านอื่น ๆ  แกนนำแต่ละชุมชน  ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ – ๒๕๕๕  จนได้เป็นกำนันด้วย 

 

ใช้เวทีประชาคมในการเสนอใช้งบประมาณ SML ของหมู่บ้านจัดซื้อเครื่องกรองน้ำ  ที่ส่งน้ำตรวจแล้วปริมาณฟลูออไรด์ปลอดภัย 

 

ส่วนโรงเรียนที่จัดซื้อถังเก็บน้ำฝน  ใช้การมีส่วนร่วมในการทำความสะอาดหลังคาก่อนเก็บน้ำฝน  มีข้อกังวลจากขี้นก  อยู่ใกล้โรงงานที่ปล่อยมลพิษทางอากาศ  ปรับแก้ด้วยการพูดคุย  ประชุมร่วมกันหลายฝ่าย  หลายครั้ง   

 

ท่านบอกชัดว่าความภาคภูมิใจของท่าน คือ การเห็นผลช่วง ๔ – ๕ ปี  จำนวนลูกหลานเด็ก ๆ เป็นฟันตกกระน้อยลง ..... ไม่ต้องรอชาติไหน ๆ

 

เดอะสตาร์รุ่นสอง  นายประทีป  กาญจนเสมา  ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขเทศบาลตำบลรางกระทุ่ม  จากนครปฐมเช่นกัน  จะเห็นความเอาใจใส่  ประสานงานใกล้ชิด  ส่งน้ำตรวจที่กรมอนามัยทางผ่านกลับบ้าน 

 

การสร้างทีมงานด้วยมิตรภาพระหว่างเทศบาลและอนามัย (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล)  ไม่ใช่แค่เวลาที่เจ้านายมาตรวจงานเท่านั้น  ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันตลอด 

 

ให้ความสำคัญ  ร่วมมือระหว่างกัน

 

 

อ่ะ...รุ่นสาม  ใครหนอ  หมอ (ดอก) อ้อ  ทพญ.ธิรัมภา  ลุพรหมมา  จากโรงพยาบาลสระใคร  จังหวัดหนองคาย  มาไกลด้วยสาระแบบล้มแล้วลุกได้  จากปี ๒๕๔๗ ที่รู้สึกว่าการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนยากเย็นแสนเข็ญจริง ๆ  เริ่มที่หมู่บ้านหลังโรงพยาบาลแท้ ๆ แต่ผ่าน  ๑  ปี  พ่อแม่ตายายคนเลี้ยงเด็ก ๆ  มาร่วมวงเสวนาน้อยลง ๆ 

 

หยุดพักใจไป ๒ ปี   ตั้งหลักสร้างทีมใหม่  เชื่อมใจกับพี่น้องที่ศูนย์สุขภาพชุมชน (ขณะนั้น)  ศึกษาบริบทชุมชนนำร่องแบบเจาะลึก 

 

เลิกงานเข้าหมู่บ้านไปช่วยเลี้ยงเด็ก  จนสนิทสนมตั้งวง “โสเหล่”  ในมุมมองที่ชาวบ้านเข้าใจ  ทำให้ค่อย ๆ ปรับวิธีการเลี้ยงดูเด็กของแต่ละหมู่บ้านได้  ให้เข้าใกล้ภาพฝันที่พ่อแม่ตายายตั้งความหวังไว้ 

 

ขยายทำงานกับแกนนำหมู่บ้านแบบสมัครใจ  จนจัดตลาดนัด “เครือข่ายชุมชนลูกหลานฟันดี”  ต่อเนื่อง  ๔  ปี แล้ว  ด้วยการสนับสนุนจาก อบต.และหลายภาคส่วน  ค่อย ๆ ขยับบรรทัดฐานเป็นที่รับรู้ใน  ๒๗  หมู่บ้านของอำเภอสระใคร  (จาก ๔๑ หมู่บ้าน)  เป็นผู้ใหญ่ที่ต้องแปรงฟันให้เด็กเล็ก  และส่งเสริมความรัก  ความอบอุ่นในครอบครัว  ความฉลาดสมวัย  ด้วยการเล่านิทานให้ลูกหลานฟัง 

 

รุ่น ๔ และ ๕ จะมันหยดเข้มข้นขนาดไหน.....โปรดติดตามตอนต่อไป

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

"เป็นบุญ" นะคะที่ได้พบกัน 

 

หมายเลขบันทึก: 487386เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 01:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เพิ่งได้ความรู้ใหม่เพิ่มอีกอย่างหนึ่งเลยละครับคุณหมอว่าฟันมีฟันตกกระด้วย

เห็นสัญลักษณ์งูพร้อมกับคนทำงานสุขภาพ ผมก็มักจะนึกถึงงูพันคฑาหรือคบเพลิง ที่มักใช้เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานทางการแพทย์และสุขภาพเลยละครับ ซึ่งโดยมากก็จะพันด้ามคฑา ตัวเดียวบ้าง สองตัวบ้าง และบางครั้งก็เห็นแผ่แม่เบี้ย อ้าปาก แลบลิ้น แต่บางครั้งก็แผ่แม่เบี้ยแลบลิ้นเฉลยๆ บางครั้งก็เป็นหัวกลมๆแลบลิ้น บางครั้งก็หัวกลมๆเฉยๆ บางที่ก็เหมือนกับเป็นพญานาคเลย

แต่รวมๆแล้วก็จะนึกถึงมรรถวิถีของการแปรสิ่งที่ร้ายให้เป็นคุณต่อมนุษย์ เหมือนกับยาซึ่งเป็นของน่าเบื่อและอันตราย รวมทั้งการรักษาต่างๆ ทั้งฉีด ผ่าตัด หรือในอดีตก็มีการกรีดเอาเลือดออกจากศีรษะเพื่อแก้โรคปวดหัว เหล่านี้ เหมือนกับพิษของงู หากไม่รู้จักใช้ ก็เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ด้วยวิทยาการและปัญญาทางการแพทย์กับสุขภาพ สิ่งที่ดูเป็นพิษภัยมากเหล่านั้นก็กลับเป็นคุณต่อการรักษา ช่วยชีวิต สร้างเสริมสุขภาพ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้คน

- ดีจัง....ทำงานเชิงรุก...กับโรงเรียนและชุมชม

- ขอบคุณค่ะ

พักใจไปสองปี ตั้งต้นใหม่ ด้วยวิธีการใหม่ ได้เรียนรู้วิถีของคุณหมอฟันนักสู้คนเก่ง และใจดี ค่ะ

พักเพื่อเดินต่อ ปรับทาง จึงเดินมาอย่างมั่นคงของสระไควันนี้

มาให้กำลังใจคุณหมอค่ะ จะติดตามตอนต่อไป ในระหว่างรอจะนั่งพิจารณาว่าเราจะเป็นงูประเภทใดดี :)

ขอบคุณค่ะ

รอผลึก จากพี่(ดอก)อ้อ

ยังสงสัยอยู่ว่า " ใน "ชุมชน ได้ความสัมพันธ์

แต่รูปแบบส่วนใหญ่ตอนนี้เรา " กับ" ชุมชน หรือป่าวครับ

เอ๊ะ ยังไง งง รอพี่อ้อแถลงไข

ขอบพระคุณ อาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์ มาก ๆ นะคะ
ไม่เคยนึกถึงมุมว่า....งูเป็นตัวแทนชาวกระทรวงสาธารณสุขนะคะนี่

ขอบคุณพี่ Somsri มากค่ะ

ยินดีน้อมรับถ้อยคำให้กำลังใจยิ่งนัก จากอาจารย์หมอ ป. ขอบคุณนะคะ

ขอบคุณท่านลุงบังนะคะ ^_,^

อ่ะ...คุณปริม อย่าลืมเฉลยว่าเลือกเลื้อยแบบงูใด และเพราะอะไรนะคะ ขอบคุณมากค่ะที่ติดตาม

๕๕๕๕๕ จึงต้องมีการประชุมครั้งต่อไป ให้พี่สุรัตน์หาทางให้พวกเรามาสุมหัวกัน....หาคำเฉลย

ขอบคุณค่ะคุณหมอแบงค์ ณ แจ้ห่ม

พี่ดอกอ้อเอง ยังไม่ตกผลึก ณ วันนี้หรอกนะคะ

มาเป็นกำลังใจคุณหมอค่ะ รู้สึกชื่นชมค่ะ งู4ประเภท แยบยลช่างเปรียบเทียบดีจังค่ะ

ขอบคุณนะคะพี่อุ้ม อืม...ไม่ได้คิดลึกซึ้ง จริงด้วยค่ะ ^_,^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท