;วิเคราะห์หนังสือ 8K's+5K's ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน


บทที่ 2 ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ (ส่วนที่ 1-4 K's แรก)

จากนี้ไปจะเริ่มวิเคราะห์หนังสือ 8K's+5K's ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน อย่างจริงจัง

จากประสบการณ์การทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 30 ปี ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำใหท่านกำหนดทฤษฎี 8K's หรือทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพประกอบด้วย

K1 Human Capital ทุนมนุษย์

K2 Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

K3 Ethical Capital  ทุนทางจริยธรรม

K4 Happiness Capital ทุนทางความสุข

K5 Social Capital ทุนทางสังคม

K6 Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน

K7 Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

K8 Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

หมายถึงมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีทุน 8 ประการตามที่กล่าวไว้เบื้องต้น

K1 ทุนมนุษย์ ถือว่าเป็นทุนพื้นฐานที่สำคัญอันดับแรกของมนุษย์ ศ.ดร.จีระ ได้มาจากวิธีคิดของ Prof Gary Becker คือ

  • มนุษย์เริ่มมาเท่ากันจะพัฒนาหรือลงทุนให้เขาเหล่านั้นมีคุณค่า หรือแตกต่างจากบุคคลอื่นๆอย่างไร
  • ต้องลงทุน การลงทุนคือ การเสียสละทรัพยากรวันนี้เพื่อประโยชน์ในวันหน้า
  • การลงทุนมีหลายชนิดเริ่มตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต คือ วัยเยาว์จนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ ได้แก่ การศึกษา โภชนาการ การฝึกอบรม การเลี้ยงดูของครอบครัว อื่นๆ

Gary Becker ใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์วัดระดับการศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างคนกลุ่มหนึ่งเปรียบเทียบกับคนอีกกลุ่มหนึ่งโดยใช้วิธีการทางสถิติมาคำนวณว่า คนที่เรียน 16 ปีจะมีรายได้มากกว่าคนที่เรียน 8 ปี

ศ.ดร.จีระ มองว่าการเรียนในระบบการศึกษาแบบทางการ รวมทั้งการลงทุนในเรื่องโภชนาการ หรือการฝึกอบรมนั้น เป็นการสร้างทุนมนุษย์ขั้นแรก เป็น K ที่ 1 เรียกว่าทุนมนุษย์ หรือ Human Capital

ทรัพยากรมนุษย์จะมีคุณภาพหรือไม่ ?  แค่มี K ที่ 1 ทุนข้อแรกที่ได้จากการศึกษาหรือโภชนาการเท่านั้นไม่เพียงพอ สิ่งที่สำคัญจะต้องมี "ปัญญา" จึงนำไปสู่ K ตัวที่ 2 คือ Intellectual Capital หรือทุนทางปัญญา

จากแนวคิดเบื้องต้นของ Prof Gary Becker ผมเชื่อว่า

  • มนุษย์เริ่มมาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับกรรมของมนุษย์ผู้นั้นที่ทำไว้ในอดีตชาติ ทำให้มาเกิดในท้องของมารดาที่มีความเป็นอยู่ ฐานะ การศึกษา สังคม สภาพแวดล้อม ที่แตกต่างกัน  ความแตกต่างมีหลายชนิดด้วยกัน ทั้งที่มองเห็นหรือจับต้องได้  และที่มองไม่เห็นหรือจับต้องไม่ได้  จึงทำให้มนุษย์ที่เริ่มเกิดมามีทุนมากน้อยแตกต่างกัน 
หมายเลขบันทึก: 487384เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 00:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

K2 ทุนทางปัญญา ปัจจุบันมีการวิเคราะห์แนวคิดเรื่องทุนมนุษย์ที่นอกเหนือไปจากแนวคิดของ Prof Gary Becker ว่าทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพไม่ได้วัดจากระดับของการศึกษาเท่านั้น แต่เพราะความสามารถของมนุษย์ในการคิด/วิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา และหาทางออก อาจารย์จีระ เรียกว่า "ทุนทางปัญญา" คือการมองยุทธศาสตร์หรือการมองอนาคต

อาจารย์จีระ ได้ย้ำว่า "ปัญหาที่น่าวิตกของสังคมไทยคือ ระบบการศึกษา วิธีเรียนที่เน้นท่องจำมากเกินไป (การท่องจำควรจะมีแค่ 20%) ขาดการฝึกคิด/วิเคราะห์ ขาดการใช้เหตุและผล การคิดนอกกรอบ การคิดสร้างสรรค์ การศึกษาเช่นนี้จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้สังคมไทยมีทุนมนุษย์ที่คุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร ทุกวันนี้ทุกคนต่างเรียนเพื่อให้ได้ปริญญาทั้งๆที่การมีปัญญาอาจจะไม่ได้มาจากปริญญาก็ได้ บ่อยครั้งปริญญาไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะขาดปัญญา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาให้คนไทยใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาโดยเฉพาะในยุคอาเซียนเสรี ทุนทางปัญญาเป็นทุนที่ได้จากการเรียนรู้ การเรียนรู้ที่ว่านี้รวมทั้งการเรียนรู้ในระบบการศึกษา และนอกระบบการศึกษา ผู้ที่เรียนรู้จากทุกสิ่งที่พบเห็น และจากการกระทำ เรียนรู้จากตัวเองและเรียนรู้จากบุคคลรอบข้าง จะเป็นผู้ที่มีทุนทางปัญญามากกว่าคนที่เรียนรู้เฉพาะในระบบการศึกษาโดยเฉพาะการเรียนรู้แบบท่องจำ

จากการวิเคราะห์ของผมเห็นว่า มนุษย์มีโอกาสได้รับทุนด้านการศึกษา โภชนาการ การอบรมเลี้ยงดู ไม่เท่ากัน แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่มีโอกาสได้รับทุนมากกว่าจะมีทุนทางปัญญามากกว่าคนที่ได้รับโอกาสน้อยกว่า ทุนมนุษย์แบ่งออกเป็นทุนภายใน และทุนภายนอก ทุนภายในได้แก่ทุนที่เกิดจากตัวเอง เป็นจิตวิญญาณ ตัวเองเป็นผู้กำหนด ส่วนทุนภายนอกเป็นทุนที่ได้รับอิทธิพลจากคนอื่น เช่น พ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง ครู เพื่อน สังคมสิ่งแวดล้อมของแต่ละคน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท