40 ปี กลุ่มเกษตรกรไทย ไปสู่ 44 ปีประชาคมอาเชี่ยน


ขอความกรุณาผู้รู้ช่วยให้ข้อมูลแก่กลุ่มเกษตรกรไปสู่ประชาคมอาเซี่ยนอย่าง "รู้เท่า รู้ทัน รู้กัน รู้แก้ กันได้อย่างไร

       

 เรื่องอาเซี่ยนได้ยิน  ได้ฟังจากสือมานาน  แต่ไม่เคยสกิดใจให้สนใจใฝ่รู้  จึงไม่รู้ว่าอาเซี่ยนมีความร่วมมืออะไรกัน  ทำอะไรกันกับใครอย่างไร  จนเมื่อต้นปี 2555 มีโฮกาสเข้าถึงสื่อทางออนไลน์ คือGotoKnow ได้เข้าไปอ่านบันทึกของบล็อกเกอร์ทางการศึกษา เขียนเล่าถึงการเตรียมการเรียนการสอนเพื่อให้เยาวชนมีความพร้อมที่ไปสู่ประชาคมอาเซี่ยน

 

        ก็อ่านแบบทาน"มาม่า"คืออ่านแบบผ่านๆ แต่อยู่ๆมาเมื่อวันเสาร์ที่ 29 เมษายน 2555 ทางเจ้าหน้าสหกรณ์จังหวัดพัทลุง โทรมาแจ้งให้เข้าร่วมประชุม "เรื่องการเตรียมความพร้อมกลุ่มเกษตรกรสู่ประชาคมอาเซี่ยน"

 

      ในฐานะเลขาฯกลุ่มเกษตรกรกลางจังหวัดพัทลุง  งานเข้าทันที งานนี้คนสวมหมวกหลายใบเช่นผู้เขียนยากมากในการตัดสินใจว่าจะเลือกทำไรในงานที่ทำหลายเรื่อง  

 

     ก็ยึดหลักความสำคัญของงานที่รับผิดชอบเป็นเกณฑ์การเลือกทำเลือกไป   จึงโทรไปหากรรมการให้ไปประชุมแทน   พอไก้ลถึงเวลาเดินทางท่านกรรมการกลุ่มเกษตรที่มอบหมายมายยกเลิกการเดินทางบอกไปไม่ได้ติดภาระกิจด่วน  คนเป็นประธานกลุ่มเกษตรกร  งานเข้าทันที  โทรไปหาหัวหน้างานในหน้าที่คือหัวหน้าพยาบาล  บอกขอลากิจ เพราะมีกิจจำเป็นจึงขอลา คนเป็นประธานต้องรับผิดชอบ......

 

        กลุ่มเกษตรกรจดทะเบียนก่อตั้งมาเมื่อ 1 พฤษภาคม 2515  ปีนี้ครบ 40 ปีของกลุ่ม ทางคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรแห่งประเทศไทย จึงจัดประชุมให้กรรมการกลุ่มเกษตรกรทุกจังหวัดนัดพบเพื่อให้มาประชุมสัมนาการเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยน....

 

        ประชาคมอาเซี่ยน ก่อตั้งเมื่อปี 2510 มีอาุยุแก่กว่า กลุ่มเกษตรกร  4  ปี แรกเริ่มเดิมที มีอาเซี่ยนที่เข้าร่วมเป็นประชาคม มีไทย สิงคโปร์ อินโด ฟิลิปปิน

         จุดประสงค์ในการรวมตัวเพื่อ

"สร้างความมั่นคง ต่อต้านภัยคอมมิวนิสต์"

 

ปี 2527 บรูไนร์เข้ามาเป็นสมาชิก

ปี 2538 เวียตนามเข้ามาเป็นสมาชิก

ปี 2540 พม่ากับลาวเข้ามาเป็นสมาชิก

ปี 2542 กัมพูชาเข้ามาเป็นสมาชิก  

 

     มีกฎบัตรอาเซี่ยนเป็นพิมพ์เขียว(ทุกประเทศต้องปฎิบัติแบบเดียวกัน) เป็นความร่วมมือกันเป็นประชาคม

AEC  ประชาคมเศรษฐกิจอาเชี่ยน

ASE ประชาคมความมั่นคงอาเซี่ยน

ASCC  ประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเชี่ยน

 

       เพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือให้ไปสู่ความสำเร็จในทุกเรื่องในปี 2558

 

     กลุ่มเกษตรกรเล็กๆที่   ร่วมผลิต  ร่วมซื้อ ร่วมจำหน่าย มีกิจกรรมทำแบบพอเพียง เลี้ยงสัตว์ปลูกพืชพออยู่ พอกิน มีทุนไม่กี่บาท จะปรับตัวสู่ประชาคมอาเซี่ยนกันจะจำหน่ายขายซื้อกันย่างไร เพราะเรื่องนี้รัฐเซ็นต์สัญญาความร่วมมือกับอาเซี่ยนแล้ว  ก็ต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดวิธีผลิต

 

   ตอนต่อไปกลุ่มเกษตรกรไทยต้องศึกษาเรียนรู้เรื่องFTA  จึงขอความกรุณาผู้รู้ช่วยให้ข้อมูลกับกลุ่มเกษตรกร ไปสูประชาคมอาเซี่ยนอย่างอย่างรู้เท่า รู้ทัน  รูกัน รู้แก้ ...และ

AEC ASE ASCC  และFTA ที่เขาทำกันเราจะรู้เท่าทันกันอย่างไร

 

อ.วิทัต วัชโรบลผอ.ส่วนประสานงานเครือข่ายการเจรจาการคเ้าระหว่างประเทศ

 (ข้อมูลจากการฟัง อาจารย์ วิทัต วัชโรบล  ผู้อำนวยการส่วนประสานงานเครือข่ายการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ   ทีเขาค้อรีสอร์ท 1พค2555 )

 

 

หมายเลขบันทึก: 486896เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)
  • สวัสดีวันที่ร้อนๆๆๆๆๆ แต่เช้าเลยจ้ะท่านวอญ่า
  • โอ! เมื่อวานก่อนนี้เอง ที่เขาค้อ.. 
  • "วอญ่าเดินทางไม่หยุดเหมือนกัน" วันนั้นท่านอ.ขจิตนินทากับผมครับ ฮาๆๆ
  • ขอบคุณความรู้ครับ

- บังได้ความรู้ใหม่...สมาชิกของ ประชาคม อาเซียน...มีกี่ประเทศ...กระบวนการทำงานของ อาเซียน

- ดีจังเลย...ขอบคุณค่ะ

เรียนคุณมะเดื่อร้อนมากๆๆๆๆๆๆอยู่ริมหาดชะอำก็ร้อน

ก็เลยหนีร้อนมานอนสวนผึ้งฝนตอนเย็นตกลงมา ให้คลายร้อนไปหน่อย

  • แวะมาเยี่ยมทักทายค่ะ
  • ประชาคมอาเซี่ยนกับประเทศไทยดูน่าเป็นห่วงหากคนไทยยังไม่ปรับตัวหลาย ๆ ด้าน  อาจทำให้เสียเปรียบในเรื่องการค้าและเศรษฐกิจ
  • ทุกอย่างเป็นดาบสองคมเสมอ  ตอนนี้ทั้งครูและเด็กต้องตื่นตัวเรื่องภาษาอย่างมากค่ะ

เรียนท่านอาจารย์ ธนิตย์ ที่ท่านอาจารย์ขจิตนินทา ผมเชื่อมั่นว่า"เป็นการนินทาเพื่อการพัฒนา"

การนินทาเพื่อการพัฒนา คำนี้ผมเอามาใช้ในโรงพยาบาล ...แฮะเหล่าพยาบาลเขาเป็นนักนินทาที่ไม่สร้างสรรค์ ไม่พัฒนา

ผมก็จับประเด็นนี้มาคุยในห้องประชุมว่า" หากเราพูดถึงบุคคลที่สามในทางที่ไม่ดี" ก็ให้เรามาช่วยกันคิดต่อว่าเราจะช่วยกันไขเยี่ยวย

ยาสิ่งไม่ดีที่เรามองเห็น กันอย่างไร

เพราะความไม่ดีที่เรามองว่าไม่ดี แล้วที่ดีเป็นอย่างไรให้คิดไกลไปถึงการพัฒนาคน พัฒนาบุคลกร

(นานแล้วที่ไม่ได้เจอท่านอาจารย์ขจิต(เป็นคนแรกในชีวิตที่สอนให้กินสเต็ก)

ขอบคุณค่ะ..รู้เขา..รู้เรา..ได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างมีความสุขนะคะ..

สวัสดีน้องหนูรี ขึ้นไปแนะนำให้เกษตรกรได้เข้าไปเรียนรู้ในGotoKnow น่ะครับ

เรื่องเกษตรกรไทยกับอาเซี่ยน ยังต้องเรียนรู้อีกมาก

  • สวัสดีครับท่านวอญ่าฯ
  • ขอบคุณที่นำสิ่งดีๆมาแบ่งปันกัน
  • ณ.ปัจจุบันนี้ ต้องมีการทบทวนข้อมูลฐานกลุ่มอาชีพเป้าหมายที่มีอยู่
  • เป็นต้นว่ากลุ่มเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมตามพรบ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนซึ่งอาจจะรวมไปถึงกลุ่มสหกรณ์ต่างๆ  และเกษตรกรทั่วไปทุกสาขา
  • หน่วยงาน องค์กร ภาคี ต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องมีการบูรณาการกันอย่างจริงจัง(ไม่ใช่แบบไฟไหม้ฟาง) เป็นระบบรูปธรรม ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
  •  การผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของบ้านเรา มักมีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
  • หากไม่มีการเตรียมความพร้อมของเกษตรกรผู้ผลิต หรือที่เรียกว่าพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรอย่างจริงจังแล้ว คงจะมีผลกระทบต่อเกษตรกรโดยตรงและทางอ้อม นะครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีคุฯหมอเปิ้น ....ฟังในเวที อาชีพที่มีผลกระทบคือสาธารณสุข ในส่วนของหมอด้วย

วิชาชีพนี้ต้องมีมาตรฐานเดียวกัน

สวัสดีครับ อาจารย์ธรรมทิพย์

ประชาคมอาเซี่ยน ภายในปี2558 เราต้องพร้อมที่จะแข่งขันกับทุกประเทศในอาเซี่ยน

ตามกฎบัตรอาเซี่ยน ที่ต้องเรียนรู้เท่าทัน

สวัสดีพี่ใหญ่ กลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ สามหมื่นกว่ากลุ่ม

บางกลุ่มมีเงินหมุนเวียนเป็น ร้อยล้าน เช่นกลุ่มไทยน้ำทิพย์ ผลิตยางคอมเปาว์ส่งออกที่ ธารโต ยะลา

แต่ก็มีมากกลุ่มที่มีทุนดำเนินการหลักหมื่น ซึ่งกลุ่มเหล่านี้คงยากต่อการแข่งขันกับประชาคมอาเซี่ยน

สวัสดีค่ะท่านวอญ่า

ใกล้มาถึงแล้ว ปี 2558 หลายหน่วยงาน หลายภาคส่วนตื่นตัวค่ะ เตรียมพร้อม รู้ทัน รู้กัน รู้แก้  
ได้ความรู้มากขึ้น  ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ    
วิวสวยมากค่ะ

เรียนท่านเขียว มีเรื่องอาเซี่ยนกับเก๖รหลายมุมที่ ที่ประชุมได้ช่วยกันมอง

แล้วได้นำแต่ละมุมมาบอกต่อกัน เพื่อให้เพื่อนเกษตรได้เรียนรู้กัน

สวัสดีน้องอุ้ม ปี 2558 ยังไม่กี่ปี ณ.วันนี้รัฐประชาสัมพันธ์ หรือทำอะไรให้ ประชาชนเข้าใจ ได้แค่ไหน

ยิ่ง กระดูกสันหลังของชาติ คนปลูกข้าวให้กิน ยังต้องทำความเข้าใจกันมากมายให้รู้ถึงกลวิธีในการแข่งขันกับเพื่อนบ้าน

มาชม

เรื่องของอาเชียนเริ่มหนาหูขึ้น ทุกฝ่ายเริ่มให้ความสนใจ ครับผม

ผมเองเคยจัดรายการวิทยุรายการมุมอาเซียน เกือบ 10 ปีมาแล้วช่วงที่ผมอยู่ มอ. ปัตตานี

เรียนท่านอาจารย์ ยูมิ

ไม่เคยสนใจเรื่องอาเซี่ยน นึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว เรื่องของการค้า ความร่วมมือ

เอาเข้าจริงๆเกษตรกรคือตัวเอกที่ต้องสนใจให้ตามการแข่งขันให้ทันเพื่อน

สวัสดีค่ะคุณตาฯ

  • เปลี่ยนหน้าเปลี่ยนตาใหม่จำเกือบไม่ได้เลย
  • คุณยายชื่นชมความสามารถรอบด้านของคุณตามากๆค่ะ คนอะไรทำได้ตั้งหลายอย่าง นี่ถ้าอยู่ใกล้ท่านอาจารย์ขจิต คงชวนกันทำกิจกรรมไม่เว้นวันเลยใช่ไหม
  • ยังไงก็ดูแลสุขภาพด้วย คุณยายส่งกำลังใจมาให้ด้วยค่ะ

สบายดีนะคะ วันนี้นำฟักข้าวมาฝากค่ะ

 

 

เรียนท่าน worya  ออกแบบเสื้อ + วิธีทำให้แล้วง่ายมากๆ  ตามlink http://www.gotoknow.org/blogs/posts/487250 แต่ถ้าแบบยังไม่ถูกใจบอกได้ เดี๋ยวแก้ไขให้ใหม่คร้าบ

สวัสดีครับคุณ ยาย ทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องกัน

บูรณาการงานกับชีวิต ทำงานให้มีความสุข

ชีวีก็มีสุข

สะดุดตาจริงๆกับภาพวาดเขียน ชอบมากค่ะ และดีใจที่ท่านได้นำเรื่องเกษตรกรไทยก้าวไกลสู่อาเซียนมาแบ่งปันค่ะ

สวัสดีครับคุณกานดา ฟักข้าวอ่อน เห็นครั้งแรกนึกว่าชมพู่เวียตนาม

น้ำพริกมะอึก หรือน้ำพริกมะเขือพวงนี้สุดชอบครับ

เรียนคุณ ชลัญธร

ขอบคุณที่ออกแบเสื้อให้ ถูกใจแล้วครับ

เข้าไปดูตามที่แนะนำแล้วแต่ยังไม่ได้ลองทำดู

  • สวัสดีค่ะท่านวอญ่า
  • ทุกภาคส่วน ตื่นตัวในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่สงสัยว่าภาครัฐ จริงจังแค่ไหน..
  • วอญ่าสบายดีนะคะ

สวัสดีครับครู รินดา

รัฐเขาดำเนินการมานาน แต่การเตรียมการใช้สื่อให้ภาคเกษตรกรตื่นตัวยังน้อยไป

สองห้ห้าแปด เษตรกรต้องมีความพร้อมในการแข่งขันกับอาเซี่ยน

สวัสดีครับอาจารย์ กาญจนา...

รัฐ และนักการเมือง มักหลอกให้หลง

เกษตรกรคงหลงแข่งขันกับอาเซี่ยน จนลืมความพอเพียง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท