การสันนิษฐานโครงสร้างของความจำ : ๓


ภาพรูปวงกลมแสดงระบบความจำ STM,LTM 

จากเส้นกราฟในเรื่องการสันนิษฐานโครงสร้างของความจำ:๒ เราสามารถ "สร้าง" เป็น Model โครงสร้างของความจำให้แปลกออกไปจากเส้นกราฟดังกล่าวได้ ดังรูปข้างบนนี้  และตั้งชื่อให้ว่า Memory Structure Model  หรือ Memory Structure Theory ก็ได้  ซึ่งคำ Model ในที่นี้ก็คือ Theory (เราจะสร้างเป็นรูปอย่างอื่นก็ได้ แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน)

รูปวงกลมใหญ่สีเขียว แทนระบบความจำระยะยาว (LTM)   รูปวงกลมขาว แทนความจำระยะสั้น (STM) (ลองเปรียบเทียบกับเส้นกราฟในเรื่องการสันนิษฐานฯ:๒ ดู)  ส่วนวงรีสีเหลืองเล็กนั้น แทน ความจำสัมผัส(SM)  LTM ขณะนี้ไม่ได้แสดงกิจกรรมจึงเงียบอยู่  และเมื่อถูกกระตุ้นให้แสดงกิจกรรมแล้วจึงแทนด้วยสีขาว(STM)  ดูคล้ายกับสปอตไลท์ หรือแสงไฟฉายถูกฝาผนัง  อาจจะเรียกส่วนนี้ว่า Attention, Awake, Awareness ก็ได้  Thinking แบบต่างๆก็เกิดที่นี่. ที่ SM ก็เป็น Sensation, Iconic,  เกิดขึ้นแวบเดียว  ยังไม่ได้ Perception, ลูกศรโค้งแทน การทบทวน(Rehearsal) ลูกศรเล็กๆ แทนส่วนที่ล้นจาก STM ไปอยู่ใน LTM  หรือ ลืม  ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นภาษาทาง Cognitive Psychology

ถ้าใช้ภาษาทางสาขา Neurology  หรือประสาทวิทยา ซึ่เป็นศาสตร์ทางด้านวัตถุก็จะได้ว่า  ส่วนที่เป็นสีเขียวนั้นแทนกลุ่มเซลล์นิวโรนทั้งหมดที่ยังไม่ได้แสดงกิจกรรม  ส่วนที่เป็นสีขาวนั้น เมื่อแสดงกิจกรรมแล้ว 

ถ้าหากว่านักวิทยาศาสตร์สองสาขานี้เชื่อว่า Laws ของสองสาขานี้ Reduce ไปมากันได้  เขาจะใช้ภาษาปะปนกัน ก็ไม่มีใครว่า

ผมบันทึกเรื่องนี้มาสามครั้งคือ  "การสันนิษฐานโครงสร้างของความจำ : ๑, ๒, ๓ ก็เพือ่ชี้ให้เห็นว่า (๑) เรื่องของเหตุการณ์ทางจิตนั้น(จำ,คิด,อารมณ์)เราสามารถศึกษาด้วย Scientifict Method ได้ (๒)เป็นการตอบคำถามเรื่องEmpirical Theory ที่มีผู้สนใจถามมาบ่อยๆว่า คืออะไร  (๓) ทฤษฎีเชิงประจักษ์นั้น ใครๆก็สร้างได้ ถ้ามีจินตนาการที่ลึกๆหน่อย (๔) อยากจะยั่วยุและเชิญชวนให้น้องๆ รุ่นหลังได้ช่วยกัน "สร้างทฤษฎ๊" เพื่อทดสอบสมมุติฐาน เป็นวิทยานิพนธ์ขอรับปริญญากันให้มากๆหน่อย แทนการวิจัยเชิงสำรวจที่ทำกันจนล้นห้องสมุดแล้ว แม้มันยาก  แต่ก็ท้าทาย

และนี่คือ  COGNITIVE PSYCHOLOGY : THE RETURN  OF HUMAN MIND !

THE MODERN PSYCHOLOGY !!

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #return#of#mind#modern#psychology
หมายเลขบันทึก: 48628เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2006 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

     อาจารย์ครับ ผมยังไม่กล้าผลีผลามนัก แต่ก็อดไม่ได้ที่จะใช้คำถามนำออกไปก่อน หวังว่าอาจารย์คงจะได้กรุณาเติมให้เพื่อความกระจ่างแก่ผมก่อนนะครับ

     หากดูจากแผนภาพที่วาดขึ้น ทำให้มองว่า STM และ SM ล้วนเป็นส่วนหนึ่งใน LTM ใช่ไหมครับ

     อีกคำถามนึงครับ STM  SM และ LTM เปลี่ยนไปเปลี่ยนมากันทำหน้าที่ได้ไหมครับ

    

สมมุติว่า  วงกลมใหญ่ทั้งหมดเป็น เซเรบรัล คอเท็กซ์  เซลล์นิวโรนกลุ่มหนึ่ง สมมุติว่าชื่อกลุ่ม ก. แสดงกิจกรรม ก็แทนด้วยวงกลมเล็กสีขาว(ที่ชื่อ STM )  ถ้าต่อมาเราหลับสนิท  นิวโรนกลุ่ม ก. นั้นก็หยุดแสดงกิจกรรม  ก็จะมีสภาพแทนด้วยสีเขียว(หมือน LTM )โดยที่เซลล์เหล่านั้นยังอยู่ที่เดิม  ไม่ได้วิ่งไปวิ่งมาแต่อย่างใด  นิวโรนตัวเดียวกันถ้าแสดงกิจกรรมก็แทนด้วยสีขาว  ถ้าหยุดแสดงกิจกรรมก็แทนด้วยสีเขียว  นี่พูดแบบ Neurologists ครับ  ถ้าพูดแบบ Psychologists  ก็พูดว่า  ส่วนที่เป็นวงกลมสีเขียวนั้นเป็น "ความจำระยะยาว"  เป็น "ความรู้" เกี่ยวกับโลกภายนอกทั้งหมดที่บันทึกเอาไว้  แต่ถ้ามันถูกกระตุ้นให้แสดงกิจกรรม มันก็ "ระลึก" ออกมา เป็น "ความรู้สึกจำ"  "รู้สึกรับรู้"  "รู้สึกคิด" ซึ่งแทนด้วยวงกลมสีขาว   บริเวณที่เป็นสีขาวที่เรียกว่า STM นั้นคือ "Conscious " ระดับหนึ่ง  จะเห็นว่า  การพูดอย่างจิตวิทยานั้น  ไม่ได้เอ่ยถึง "นิวโรน" เลย 

ลองเปรียบเทียบคำถาม กับ คำอธิบายนี้ดูนะครับ  ผมคิดว่าเป็นคำถามที่ดีมากครับ

     ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ คาดว่ามีต่อพรุ่งนี้นะครับ คำตอบของอาจารย์ ทำให้เริ่มมองเห็นเค้าร่างอะไรบางอย่างครับ แล้วจะมาต่อนะครับ (พักนี้รีบเร่งกับงานเพื่อเตรียมการสำหรับปีหน้าครับ)
ครับ  และขอแนะนำให้คุณชายขอบแวะไปดู บล็อก Empirical Theories ของผม  โดยเฉพาะ ๓ เรื่องหลังสุดครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท