เมื่อพยาบาลต้องรับหน้าที่ตรวจรักษาโรค ตอนที่ 4/1 (อาจารย์พี่เลี้ยง นักศึกษาพยาบาล )


การทำงานในบทบาทของพยาบาลไม่ได้มีเพียง การให้บริการผู้ป่วยแต่ยังเป็นบทบาทของครูในบางเวลา  เนื่องจากโรงพยาบาลเป็นแหล่งฝึกของทั้งนักศึกษาแพทย์และพยาบาล ถึงแม่เราจะไม่ได้รับเงินเดือนในการสอนนักศึกษา แต่ก็เป็นบทบาทที่ต้องทำเพราะ การเรียนของพยาบาลนั้นจะเก่งได้จากการฝึกปฏิบัติ ต่อให้เก่งทฤษฎี แค่ไหนแต่คุณยังไม่เคยเจอกับผู้ป่วยและการปฏิบัติจริงก็ไม่มีทางจะทำได้ การรักษาพยาบาลนั้นมันเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ คุณจะเอาแต่ศาสตร์ทางวิชาการมาอย่างเดียวไม่ได้  เช่นคนไข้เป็นหวัดอย่างเดียวนี่  ทำไมมียาแกหวัดตั้งหลายตัว ศาสตร์ก็คือวิชาการ  ว่ามียารักษาหวัด แต่ศิลปะคือคุณจะใช้ยาแก้หวัดชนิดไหนให้เหมาะกับคนไข้ นั่นแหล่ะคือศิลปะของคุณ

 ชลัญธรเคยมีความเก็บกดกับการฝึกงานเมื่อครั้งเรียนพยาบาลนั้นมีทำให้ชลัญธรเก็บข้อมูลไว้ใส่หัวตลอด ว่า ถ้าข้ามีโอกาสได้สอนนักเรียนพฤติกรรมแบบนี้ข้าจะไม่ทำ เด็ดขาด เช่น พฤติกรรมการกินหัวน้อง นศ. คิดว่าข้านี่แหล่ะคือผู้ยิ่งใหญ่ ตะโกนด่าน้องให้ได้รับความอับอายคนไข้ โดยเฉพาะพยาบาลห้องคลอด ได้ข่าวว่าที่ไหนๆก็ดุแบบชนิดกินกันไม่ลงเลยทีเดียว หรือไม่ก็ไม่ยินดียินร้ายว่ามี นศ.มาฝึกงานนะ  ชนิดที่ว่าอยู่ทั้งเดือนไม่ได้สอนอะไรเลย  นศ.ก็ blank กลับ อย่างนี้ไม่ชอบ  พอมา เป็นพี่เลี้ยง นศ.จึงต้องพยายามลบปมที่ตัวเองเคยได้รับมาปรับแก้ไขให้ ได้ดี 

การเป็นพี่เลี้ยง นศ.นี่มันดีอยู่อย่างคือทำให้เราค้นคว้าหาความรู้อยู่สม่ำเสมอ  เพราะถ้าไม่รู้จึงสอน นศ.ไม่ได้   โดยเฉพาะบางครั้งต้อง  ดีเบท  กับแพทย์  มีคนไข้อยู่Case ที่ทำให้ชลัญเป็นกรณีกับแพทย์จบใหม่ คือคนไข้มาด้วยเรื่องเหนื่อยใจสั่น  หายใจไม่อิ่มบางครั้ง  เหงื่อชื้น   มือสั่น  ตอนนั้นชลัญธร สอนนักเรียนพยาบาลด้วย   ด้วยการซักประวัติ ก็ทำให้รูพอเลาๆว่าผู้ป่วยน่าจะเป็น  โรคไทรอยด์  แต่เพื่อ แยกโรคให้ชัดเจน  เช่นโรค หัวใจ ซึ่งในคนนี้อัตราการเต้นของหัวใจมากกว่าปกติด้วย  จึงสั่งตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG ไป  เพราะ ถ้าเป็นเพียง sinus tachycardia  ( ภาวะที่หัวใจเต้นเร็วที่อาจเกิดจากไทรอยด์)  ก็จะได้สบายใจ  แต่ถ้าเกิดจากความผิดปกติของหัวใจนี่เรื่องใหญ่  เราก็เลยถือโอกาสสอนน้องโดยใช้ case จริง  แต่พอคนไข้เข้าห้องแพทย์  ซึ่งเป็นแพทย์จบใหม่  เขาก็ออกมาเรียกถามว่า  “คนไข้นี้เอามาให้ใครตรวจ   “

 ชลัญ  “ ก็ให้แพทย์ตรวจล่ะค่ะ  “

แพทย์ “แต่ผมไม่ได้สั่ง EKG “ ใครเป็นคนสั่งก็ให้คนนั้นตรวจ

ชลัญ ปรี๊ด  ก็เลยตอบว่า  “พี่เป็นคนสั่ง  แต่พี่จะให้หมอตรวจ เพราะพี่ดูแล้วว่า  คนไข้คนนี้ชีพจร 124  ครั้ง/นาทีซึ่งเร็วกว่าปกติมาก( ปกติชีพจรเราขณะพักมักจะอยู่ช่วง 70-100 ครั้ง/นาที)  ยังไม่มีประวัติโรคประจำตัว  มันก็ควรจะตรวจ ไม่ใช่เหรอหมอ  “

แพทย์ “ใช่แต่ผมยังไม่ได้สั่ง”

ชลัญ “ แล้วถ้าส่งคนนี้ไปตรวจหมอจะสั่ง EKG มั๊ย

แพทย์ “ก็ต้องสั่ง “

ชลัญ “ ก็นี่ไงสั่งให้แล้ว จะได้ไม่ต้องเสียวเวลากลับไปกลับมาจากห้องแพทย์  สามรอบสี่รอบ  ในเมื่อเป็น case ที่ต้องตรวจ  อยู่แล้ว  ก็สั่งไว้ให้ตรวจแล้วไง  แต่ถ้าหมอไม่ตรวจก็ไม่เป็นไรนะ “

แพทย์ไม่พูดอะไร  หันหลังกลับ ไปตรวจคนไข้ต่อ  แต่สีหน้าก็ไม่พอใจชลัญอยู่  หลังจากอยู่ด้วยกันสักระยะหนึ่ง  ก็ได้พูดคุยเรื่องเก่าๆ  แพทย์ก็ยอมรับว่า  ไม่คิดว่า พยาบาล รพ. ชุมชนจะวินิจฉัยแยกโรคได้มากก่อนที่จะส่งเข้าพบแพทย์  อย่างนี้ทำให้เบาแรงไปมาก  ก็เป็นว่าเริ่มเข้าใจกันระหว่างแพทย์กับพยาบาล  ต่อมาจึงทำงานสนุกขึ้น  เราก็รู้ธรรมชาติของแพทย์ แพทย์ก็รู้ธรรมชาติของเรา  ต่างช่วยกันสอบ นักศึกษา  จนทำให้นักศึกษาที่มาฝึกหอบเอาความรู้กลับ กันแทบจะไม่ไหว  ข้อดีอีกอย่างของการ ให้การสอนทีเต็มร้อย  ก็มักจะมี นศ.เลือดมาอยู่ที่ รพ. เราประจำ ...............

 

 

หมายเลขบันทึก: 485965เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2012 17:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 01:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นความโชคดีที่มีเพื่อนร่วมงานดีๆอย่างนี้..คิดแทน..ทำแทนเมื่อมีโอกาสเสริมเติมเต็มกัน..

จำได้ว่าสมัยฝึกหัดผ่าไส้ติ่ง อาจารย์ staff สอนทีสองทีก็ปล่อยให้ ทำเองกับพี่ๆ พยายาล
หลังจากปล่อยให้ "หมอน้อย" งมหาไส้ติ่งสักพัก พี่พยาบาลห้องผ่าตัด ก็ใช้สปั้นช์ดึงไส้ติ่งออกมาให้ตัดอย่างง่ายดาย :) ... ความรู้จากการอยู่หน้างานเป็นสิ่งมีค่า หากเราเห็นค่านี้ ก็จะทำงานเป็นทีมสนุกขึ้น และ ช่วยลดความผิดพลาดในการรักษาด้วยค่ะ

  • มาทักทายก่อนเข้านอนจ้าาา
  • ฝันดีนะจ๊ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท