รัช
อาจารย์ รัชดา เชาวน์เสฏฐกุล

The Teaching Gap ช่องว่างการสอน


การพัฒนาวิชาชีพครู

อยากเขียนถึงหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อหนังสือว่า The Teaching Gap: Best Ideas from the World's Teachers for Improving Education in the Classroom หนังสือเล่มนี้ถูกใช้อ้างอิงในแวดวงวิชาการศึกษาอย่างมากและส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับการสอนมากมาย

หน้าตาเป็นแบบนี้ค่ะ

ปกหน้าแต่งโดย James W. Stigler และ James Hiebert ปี 1999

เนื้อหาเขียนเปรียบเทียบระบบการศึกษาในสามประเทศ เยอรมัน ญี่ปุ่น และอเมริกา เนื้อหาได้มาจากการวิเคราะห์  "1999 Third International Mathematics and Science Study (TIMSS)" และ วิธีการ video analysis ซึ่งเปิดเผยให้เห็นข้อมูลที่น่าสนใจมากๆเกี่ยวกับการสอนโดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ทั้งสามประเทศ ทำให้เห็นถึงระบบการศึกษาในญี่ปุ่นที่เขามีระบบการพัฒนาวิชาชีพครูที่เข้มแข็ง เขามีระบบการทำงานของครูที่จริงจังแบบมั่นคงและค่อยเป็นค่อยไป เห็นระบบการทำงานของครูสหรัฐที่แทบจะเหมือนบ้านเรา(หรือเราเหมือนเขา)

    และที่สำคัญ เขาได้แนะนำกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูที่ใช้มานานในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตอนนี้ได้ปรับใช้ในสหรัฐอเมริกาหลายรัฐ และในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยบางพื้นที่ กระบวนการที่กล่าวถึงนี้คือ lesson study process

   สิ่งที่ถูกใจมากกับหนังสือเล่มนี้มีหลายเรื่อง ขอยกมา 1 เรื่องก่อนก็คือ เขาชี้ให้เห็นชัดเจนว่า "Teaching is cultural activities." "การสอนเป็นกิจกรรมทางวัฒนธรรม" คือตั้งแต่เด็กมาไม่เคยได้ยินคำนี้ พอได้อ่านเลยติดใจ

เอาไว้คราวหน้าจะมาเขียนเพิ่มเติมนะคะ  

 

 

หมายเลขบันทึก: 485954เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2012 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมได้นำหลักการ Lesson study ไปทำอย่างง่ายๆ  คือ  แค่เข้าไปสังเกตการสอน  ก้ทำให้ได้พบความจริงในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ที่น่าเป็นห่วง สำหรับครูบางท่าน

   ๑. ทั้งชั่วโมง  ครูสอน   แต่เ็ด็กไม่ได้เรียน

   ๒. ครูตลุยพูดไป ตลุยสอนไป  โดยไม่สังเกตว่าเด็กเรียนรู้หรือไม่

   ๓.  ผมถามคุณครูว่า  ในขณะที่เราสอน  หรือ ระหว่างสอน  เราจะทราบได้ไหมว่าเด็กเรียนรู็้้หรือไม่   คุณครูบอก  ต้องวัดผลตอนทำแบบฝึกหัดเลย  จึงจะรู้ว่าเ็ด็กเข้าใจไหม  ระหว่างสอน เราไม่รู้หรอก ว่าเ็ด็กเขาเรียนรู้ไหม เข้าใจไหม

  ๔. การใช้ภาษาของครูก็มีปัญหาครับ  ขนาดผมฟังเองผมยังไม่เข้าใจเลยครับ

               ยังมีอีกมากมาย ขอบ่นแค่นี้ก่อนครับ

ขอบคุณ คุณ small man ค่ะที่ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาบ้านเรา ครูเอาแต่พูด พูด พูด หรือในมุมมองของครูนั่นคือการสอน แต่จริงแล้วการพูดทั้งคาบเหล่านั้นเป็นการสอนจริงๆแค่ช่วงหนึ่งเท่านั้น และเชื่อว่าเวลาที่ไม่ใช่การสอนจริงเหล่านั้น คือ การบอก ความรู้แก่เด็ก โดยที่ครูอาจไม่รู้ตัวเลยก็เป็นได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นเกิดจากที่ครูกลัวเด็กจะไม่รู้นั่นเอง ครูไทยน่าสงสารมาก มีวิธีการสอนอีกหลายแบบที่จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง สร้างความรู้ด้วยตัวเอง มีความคิดสร้างสรรค์ ดดยให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นชั้นเรียนที่มีบรรยากาศของการแก้ปัญหา และมีประชาธิปไตย ที่กล่าวถึงนี้คือ problem solving classroom "ชั้นเรียนแห่งการแก้ปัญหา" วิธีการสอนแบบนี้มีใช้ในประเทศ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ (ตามเอกสารที่ได้อ่านนะคะ) และมีประเทศอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึง แต่สองประเทศนี้ชัดเจนมากค่ะ ขอบคุณอีกครั้งที่มาแลกเปลี่ยนแนวคิดนะคะ

ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศของการแก้ปัญหา และมีประชาธิปไตย ที่กล่าวถึงนี้คือ problem solving classroom "ชั้นเรียนแห่งการแก้ปัญหา" ... น่าสนใจค่ะ อาจารย์พอยกตัวอย่างกิจกรรมที่แสดงถึง problem solving classroom สำหรับตัวเอง คิดไปถึง งานที่มอบหมายให้เขาไปทำ ควรให้เขาช่วยคิดรูปแบบ อย่างนี้หรือเปล่าค่ะ แต่เดิม (สมัยเป็นนักศึกษา) รู้สึกไม่เข้าใจว่าทำไมต้องทำตาม pattern นี้ เพราะดูเหมือนรายงานข้อมูลซ้ำไปซ้ำมา

สำหรับครูเก๋เจอปัญหานี้ค่ะครูรัช

๑.ลูกศิษย์อ่านหนังสือไม่ออก(ลูกศิษย์อยู่ ม.๒ค่ะ)  แต่ก็ต้องเรียนวรรณคดี ตัวชี้วัดของวิชาภาษาไทยว่าไว้ว่า ต้องสรุปเรื่องได้  วิเคราะห์เรื่องเป็น  ที่ครูเก๋ทำอยู่คือลูกศิษย์กลุ่มนี้ ใช้วิธีสรุปเรื่องแบบ  Story Map sinv Story  Line ค่ะ (ไม่รู้แก้ปัญหาถูกหรือเปล่า)  แต่ดูจากผลงานลูกศิษย์ที่อ่านหนังสือไม่ออก พอให้ทำมาส่งเป็นแบบนี้ พร้อมคำอธิบายเล่าเรื่องให้ฟังไปด้วย  เฮ้ย !!!! เข้าใจนี่หว่า

๒.ในขณะที่สอนภาษาไทยชั้น ม.๒ ห้องแสบสุด  เจอทั้งลูกศิษย์ชะนีแสบ  และลูกศิษย์ทะโมนแสบ  ฝ่ายชะนีทาแป้ง น้ำยาอุทัย ส่องกระจก หวีผมโดยไม่เกรงใจครูบาอาจารย์  สอนไปไม่ถึงสิบนาที  ต้องรีบทำความเข้าใจ(อย่างใจเย็น)กับฝ่ายชะนีถึงมารยาทเรื่องนี้ก่อนว่า  "การรักษาสวยรักงามไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับวัยรุ่น  แต่ที่ทำอยู่นี่ผิดที่  ผิดเวลา  เพราะฉะนั้นหากทำอีกครูจะแต่งหน้าใหม่ให้เธอ"  (พอได้ผลกับพวกแสบน้อยค่ะ ฮ่า ๆ)  สำหรับลูกศิษย์ทะโมนแสบล่ะก็  นี่เลยค่ะ ทะเลาะกันทุกคาบ ทุกวิชา คือ โทรศัพท์  ไม่รู้ติดเกม หรือดูคลิปโป๊ะ  แต่ที่ครูเก๋ทำคือ  ทำความเข้าใจก่อนว่าให้อดใจไว้รอตอนเย็นหลังโรงเรียนเลิก  แต่ถ้าเจอแสบหนัก ๆ ล่ะก็  "ยึดทันที"  คืนอีกทีตอนหลังสอบปิดภาคค่ะ  แค่ ๒ เรื่องนี้ ก็ปาเข้าไป  ๒๐ นาที แล้ว  แต่ถ้าไม่แก้ไขตอนนั้น  เดี๋ยวนั้น  ลูกศิษย์เราจะรู้ไหมคะ  ว่าสิ่งไหนควรทำไม่ควรทำ  ผิดก็ต้องแก้ไขเดี๋ยวนั้นนะคะ 

หากเข้าใจผิดล่ะก็  รบกวนแนะนำด่วนเลยค่ะ  จะได้นำไปปรับปรุงการสอนของตน  เพราะมีความเชื่ออยู่อย่างว่า คนเป็นครูสอนความรู้ให้ลูกศิษย์ทุกคนได้  แต่ขัดเกลาให้ลูกศิษย์ดีเท่ากันทุกคนไม่ได้  เพราะครูอย่างเราเป็นแค่เครื่องกรองน้ำค่ะ

(@^______________^@)


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท