ซัวเสดย เดทเทอมีน สวัสดี


คำว่า “ซัวเสดย”  เป็นภาษาเขมร แปลว่า สวัสดี ...วันนี้ผมจะมาชี้ให้เห็นว่าคำนี้มีที่มาจากคำว่า “สวัสดี”  ของไทย    ที่นักภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์คงจะหัวร่อกันร่าเป็นแน่

 

 

ก่อนอื่นผมขอนำเสนอคำว่า “เดทเทอมีน” เสียก่อน ที่คนไทยเรานิยมออกเสียง(ผิดๆ) จากคำภาษาอังกฤษว่า  Determine  (ผมเห็น ศ.ดร.  เอกอัคราชทูต ที่คนชมกันว่าพูดอังกฤษเก่ง ก็ออกเสียงคำนี้ผิดประจำ ออกเสียงผิดแล้วยังเน้นผิดอีกด้วย คือไปเน้นที่ เดท)   ...ที่ออกเสียงผิดเพราะเราตัดคำผิดนั่นเองคือไปตัดเป็น Det-er-mine  ซึ่งที่ถูกต้องตัดเป็น De-ter-mine (ดีเทอร์มิน  แล้วเน้นที่ เทอร์) ...บางคนออกเป็น เดทเทอร์ไมน์ ไปเลยก็มี

 

ผมสันนิษฐานว่า คำว่า สวัสดี นั้น พอเขมรลอกเราไป เขาไปตัดคำผิด เป็น สวั-สดี   แล้วออกเสียง สวั  ผิดอีกต่อ คือไปออกว่า สัว (ซัว)    (พอตัดคำผิด ก็คงไม่รู้จะออกว่าอะไรก็ต้องเดากันไป)  ส่วนสดี ก็ออกเสียงเป็น สเดย (สะเดย)  เพราะเขมรนั้นสระอีที่เป็นคำกล้ำมักออกเป็นสระเอยเสมอ เช่น ศรี (ศะรี)  ของเรา ก็เป็น เสรย (สะเรย)  (เช่นปราสาทบันทายศรี ก็เป็น บันทายเสรย   ส่วน บุหรี่ (บุหะหรี่) ก็เป็น บาหเรย เป็นต้น

 

จึงฝากเรียนมาเพื่อโปรดช่วยกันวิจารณ์ต่อไป  ... ความจริงแล้วคำเขมรที่ลอกไทยเราไปใช้นั้นมีมากเหลือกเกิน น่าจะมากกว่าคำที่เราลอกขอม (ซึ่งไม่ใช่เขมร) มาใช้เสียอีก

 

...คนถางทาง (๑๙ เมษ. ๒๕๕๕)

หมายเลขบันทึก: 485670เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2012 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

I looked up on G2K and found these:

Phra Phum Boonsilpangkul: คำว่า "สวัสดี" มาจากไหน? http://www.gotoknow.org/blogs/posts/445005

พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ ทิวาพัฒน์: ประวัติ "สวัสดี" http://www.gotoknow.org/blogs/posts/431021

ธ.วั ช ชั ย ดุ ล ย สุ จ ริ ต: คำว่า "สวัสดี" http://www.gotoknow.org/blogs/posts/439892 คำนี้ถอดมาจาก "สฺวสฺติ" (svasti) รากศัพท์กันนะครับ คำนี้มาจาก "สุ" กับ "อสฺติ"

คำว่า สุ เป็นเสียงเติมหน้า (อุปสรรค; prefix) แปลว่า ดี งาม คำว่า อสฺติ แปลว่า การเป็นอยู่ การมีอยู่ คำนี้แยกธาตุออกได้อีกแน่ะ

They say that this word สวัสดี is a recent (not historical) Thai invention; comes from Sanskrit (su/suva + asti);...

I fon't know about the Kmer's side of the story. Did they take it from Sandkrit --too? Or from Thai? -- "word dating" ;-) is needed here. Can anyone help resolving this issue?

There is an issue that has puzzled me for years now.

How did we come to adopt Pali as Thai Eg. ก ค gaama คาม ค ก kamma กรรม บ พ buddha พุทธ พ บ paala บาล ด ท pada บท ท ด vatta วัด ...?

Is Thai version of Pali more "original" than Singhalese (Sri Lankan) version? Do we have "written" (on palm leaves) "Thai alphabet" tipitaka dated back to Ayuddhaya or Sukhothai to compare with "Ratanakosin" version and set the date for above derivation of Thai-style Pali?

ใช่ครับท่าน sr สวัสดี ไม่น่าใช่คำไทยเดิม แต่เป็นคำไทยใหม่ ที่สร้างขึ้นราวสมัยจอมพลป. นี่แหละครับ เพื่อให้ดูว่ามีอารยแบบตะวันตก ที่จะมีคำทักกัน เช่น how do you do หรือ good day ...แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า เขมรจะลอกเราไปใช้ไม่ได้นะครับ ...คนละประเด็นกันครับ

ท่าน sr ครับ จารึกเสาหินโบราณ แถวนครปฐม ส่วนใหญ่เป็นอักษรปัลลวะ (อินเดียใต้) ต่อมาเป็นสันสกฤต ขอมโบราณ (เก่ากว่าทางนครวัดเสียอีก) เป็นมอญ เป็นบาลี และ เป็นไทยในที่สุด ครับ

พพจ. ทรงให้จารคำสอนเป็นบาลี เพราะเห็นว่าเป็นภาษาไพร่ ส่วนอำมาตย์อินเดียนั้นใช้สันสกฤต

(แหม..เดี๋ยวนี้ท่าน sr พิมพ์ไทยเก่งขึ้นนะครับ)

ลืมเล่าไปครับว่าจารึกเสาหินโบราณแถวนครปฐม ไม่ว่าภาษาอะไรส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักสคำสอนทางศาสนาครับพุทธครับ แสดงว่าสมัยโน้น ประมาณ 1200 ปีเรายังไม่มีภาษาไทยใช้ และภาษาขอม-มอญ (ซึ่งไม่ใช่เขมรแน่นอน) น่าจะเป็นการ adapt สันสกฤตและหรือปาลีมาใช้เป็นครั้งแรกในแผ่นดินนี้

อยากร่วมวงด้วยแต่ยังมิกล้า เพราะยังไม่ได้ศึกษาจริงจัง แค่มีแบบเรียนเด็กประถมที่ซื้อมาจากกัมพูชา๒-๓เล่ม กับคู่มือภาษาฮินดี ๑ เล่ม ก็ยังอ่านได้ไม่ครบทุกตัว เคยไปขอให้พระภิกษุจากกัมพูชาช่วยสอนได้ไม่กี่ครั้งท่านก็กลับบ้านท่านเสียแล้ว นอกจากนี้ สิ่งที่ผมมียังขาดข้อมูลด้านประวัติศาสตร์อีกมาก ตอนนี้ก็ได้แค่ติดตามไปพร้อมกับมีโจทย์ค้างในใจไปด้วยเหมือนกับท่าน sr

ยินดีครับท่านสล่ากวาม...ได้อ่านบทความ ขอม สยาม เขมร และ พระเจ้าอู่ทองหรือยังครับ

ผมไม่ได้มีเจตนาดูถูกเขมรแต่อย่างใด ..นิยมด้วยซ้ำไป แต่คนอ่านส่วนใหญ่คงหาว่าผมคลั่งชาติ(ไทย)

Thank you for the info on Nakorn-Pathom stone tablets. I read some where that they are old "Pakrit" (Vedic) written with old 'pallava' script (alphabet set).

The point of issue is this the script is "somehow 'read' differently" as I said:

Pali as Thai Eg.

ก ค gaama คาม

ค ก kamma กรรม

บ พ buddha พุทธ

พ บ paala บาล

ด ท pada บท

ท ด vatta วัด ...? So I am looking for evidence of the first time Thai-style Pali came to be like today. Anyone has a better "word dating technique" to share?

ท่าน sr ครับ ผมได้เขียนประเด็นเกี่ยวเนื่องกันนี้ไว้มากพอควร ว่าไทยเรานิยม หด เสียง และเปลี่ยนแม่สะกด จากบาลี สันสกฤตเสมอ สงสียเพื่อให้สอดคล้องกับนิสัย คำโดด ของไทย รวมทั้งชอบเปลี่ยน ว เป้น พ ด้วย และ อิ เป็นไอด้วย เช่น

วิจิตรา ...พิจิตร..ไพจิตร

ล"ว"ปุรั..ลพ(บุรี)

วัชร(วัดชะระ) ...เพชร (เพ็ด)

อากาศา ...อากาศ (ไม่มีสระอาและเอา ศ มานะกดเป็นแม่ กด)

ขอมก็ลอกนิสัยนี้ไปใช้มากหลายในชื่อต่างๆ เช่น ปราสาทพิมานอากาศ นครวัด (นาคารา วัด)

ภาษาฝรั่งเองที่เป็นพี่น้องกับสันสกฤตก็มีนิสัยคล้ายกันอย่างเหลือเชื่อ

เช่น burg (เยอรมัน) น่ามาจาก borough บุระ บุรี นี่แหละครับ

ตัว v กับ p (ว กับ พ )ก็แทนกันได้ (เมื่อก่อนผมจำได้หลายคำ ...วันนี้ลืมไปหมดแล้ว เสียดายไม่ได้จดไว้ )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท