ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน


เราต้องยอมรับว่า โลกในปัจจุบันมีความเชื่อมโยงกัน และประเทศต่างๆก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จาก เรื่องของเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองจากประเทศอื่นๆ

ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

www.drsuthichai.com

                ประชาคมอาเซียน คือ ASEAN COMMUNITY เป็นการรวมตัวกันภายในประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง ทั้งทางด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจและภัยคุกคามรูปแบบใหม่

เราต้องยอมรับว่า โลกในปัจจุบันมีความเชื่อมโยงกัน และประเทศต่างๆก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จาก เรื่องของเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองจากประเทศอื่นๆ

                ประเทศไทยเราเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเช่น ทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากไทยเราส่งออกสินค้าต่างๆออกนอกประเทศ การลดภาษีนำเข้าต่างๆ เป็นสิ่งหนึ่งที่มีผลกระทบโดยตรง แต่การลดภาษีก็มีข้อดีกล่าวคือ ทำให้ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้เป็นอย่างดี

                การรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาเซียนทำให้เกิดอำนาจต่อรองทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งหากรวมตัวกันแล้ว เศรษฐกิจของประเทศ ASEAN จะคิดเป็น 3%  ของ GDP โลก ซึ่งก็นับว่ายังน้อยมากเมื่อเทียบกับ สหรัฐอเมริกา ที่คิดเป็น 27 %  ยุโรป คิดเป็น 19% จีน 9% อินเดีย 3% เป็นต้น

                การรวมตัวเป็นกลุ่มอาเซียนประเทศไทยเราเป็นประเทศเริ่มคิดในการร่วมกลุ่มเป็น ASEAN โดยการทำการก่อตั้งขึ้นโดยทำปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งมีประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ประชาชนคนไทยในปัจจุบันมีความสนใจในเรื่องอาเซียนน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับอีกหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน  และภายหลังมีประเทศ ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชาและบรูไน มาเพิ่มเติมภายหลัง

                อาเซียน สู่การเป็น ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งมีการกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ไทยเรามอบให้กระทรวงต่างประเทศเป็นผู้ดูแล) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ดูแล)และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน(กระทรวงต่างประเทศเป็นผู้ดูแล) ซึ่งความจริงแล้วประเทศในกลุ่มอาเซียนได้ตกลงว่าจะจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2563 แต่ผู้นำในกลุ่มอาเซียนได้ตกลงจัดตั้งให้เร็วยิ่งขึ้น ในปี 2558  ถึงแม้จะประสบปัญหาหลายอย่างก็ตาม เช่น อาเซียนกับปัญหาพม่า เราต้องยอมรับว่า ปัญหาพม่าเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานานโดยเฉพาะเรื่องของการเมืองภายในประเทศ ตัวอย่างเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลเผด็จการทหารพม่ากับพรรค NLD ของนางอองซาน ซูจี จนเกิดการนองเลือดในเดือนพฤษภาคม 2003 ทำให้เกิดแรงกดดันจากประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐ เป็นต้น

                สาเหตุที่ต้องรีบจัดตั้ง เนื่องจาก ประเทศจีนและประเทศอินเดีย เป็นประเทศที่ได้รับความสนใจจากชาวต่างประเทศที่เข้าไปลงทุน ทำให้ต้องมีการรีบจัดตั้งให้ไวยิ่งขึ้น ทั้งนี้ สมาชิกในอาเซียนต้องมีข้อตกลงกัน ทำกฎบัตรอาเซียน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2007 ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเนื้อหาของกฏบัตรอาเซียนประกอบด้วย เป้าหมาย หลักการ โครงสร้างองค์กร กระบวนการตัดสินใจ กลไกระงับข้อพิพาท กฎหมาย เอกสิทธิและความคุ้มกัน

                ด้านผลกระทบทางด้านการตลาดและฐานการผลิตร่วม คือ การเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี,การเคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี,การเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรีมากขึ้น,การเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้นและการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี(พยาบาล,บัญชี,วิศวกรรม,สถาปัตยกรรม,การสำรวจ,แพทย์และ ทันตแพทย์ สำหรับการออกใบอนุญาตงต้องมีองค์กรที่อยู่ตรงกลางคอยออกกฏระเบียบเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพภายในกลุ่มอาเซียน)

                สำหรับผลประโยชน์ในการรวมกลุ่มมีมากมายเช่น ตลาดใหญ่ขึ้น , มีการลงทุนมากขึ้นซึ่งมีประโยชน์ต่อธุรกิจ SME  ทำให้มีการจ้างงานมากขึ้น ,  ทำให้รายได้ต่อหัวของประชาชนในกลุ่มอาเซียนเพิ่มขึ้น ,การจัดการด้านแรงงานมีความยืดหยุ่นมากขึ้น,ทำให้ตลาดผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น, ทำให้ภูมิภาคในอาเซียนมีความดึงดูด การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจง่ายขึ้น ฯลฯ

                ท้ายนี้ กระผมขอฝากแง่คิดของ Strobe Talbott  ที่ได้พูดเกี่ยวกับเรื่องโลกาภิวัตน์ว่า “โลกาภิวัตน์โดยตัวของมันเองมิได้เป็นปรากฏการณ์ทั้งในทางลบหรือในทางบวก แต่มันเป็นสภาพความเป็นจริงของโลกสมัยใหม่...ฉะนั้นประเด็นจึงมิใช่อยู่ที่ว่าเราควรจะสนับสนุนหรือต่อต้านโลกาภิวัตน์ แต่อยู่ที่ว่าเราควรจะสนองตอบสภาพความจริงนี้อย่างไรและเราควรจัดการกับโลกาภิวัตน์และผลกระทบของมันอย่างไรมากกว่า”        

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 485664เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2012 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท