452. เปลี่ยนองค์กรด้วย สมองแห่งความสุข (Reflection ตอนที่ 14)


ว่าด้วยการพัฒนาแนวคิด Appreciative Inquiry ด้วย Kolb's Experiential Learning

1. มีคนถามผมด้วยคำถามว่า..เริ่มต้นทำ OD หรือพัฒนาองค์กรของคุณน่ะ Entry Point (เอนทรี่ พ๊อยต์) หรือแปลว่า เริ่มต้นจุดไหน..(เป็นปรมาจารย์ด้าน OD อยู่ประเทศแถวเอเชีย..(ไม่ใช่ไทย) อีกท่าน เป็นปรามาจารย์ เป็นเจ้าของตำรา Appreciative Coaching ตั้งคำถามว่า.."ทำไมคนไทย ถึงดูทำ AI ได้เยอะจัง ของเขานี่ยากมากๆ.."

 

...อีกสองท่านจากบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่เข้ามาคุยกับผม..(ผมเหลือตัวเล็กนิดเดียว) พร้องเสนอแนะว่า..."เราจะทำ OD ได้ต้องมาคุยปัญหากันก่อน..." จากประสบการณ์และจากการตั้งข้อสังเกต ไม่ว่าจากใคร สำนักไหน..คำถามเรื่อง Entry Point เป็นคำถามที่สำคัญมากๆครับ...คำถามที่ว่า "เราจะเริ่มต้นตรงไหน"

2. ในทาง OD ส่วนใหญ่เราต้องทำการวิเคราะห์กันก่อนครับ..ว่าองค์กรมีปัญหาอะไร..อาจด้วยแบบสอบถาม..ด้วยอะไรสารพัดแต่...ถ้าทำได้...แต่ผมรู้สึกว่ามันช้า.บางทีถูกต่อต้านตั้งแต่แรก..หลายโครงการได้แค่วิเคราะห์..แต่ไม่ได้ทำสักที...ผมรู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่าง..ตอนทำ OD แรกๆ ผมก็วิเคราะห์เหมือนกันครับ..วิเคราะห์จนลูกศิษย์เลิกทำไปเลยก็มี..เอาเป็นว่าวิเคราะห์ "ปัญหานั้นดีครับ..ดูหนักแน่น..ดูเห็นภาพรวมจริง...แต่ไม่ก้าวไปไหนครับ..ไม่ค่อยเจอคำตอบด้วย..

3. มีครับ..ในสาย OD เรามีวิชาหนึ่งคือ Appreciative Inquiry เราวิเคราะห์ปัญหากันในแบบตั้งโจทย์เลยครับ..ตั้งโจทย์ดีๆ..คำถามจะดีครับ..เช่นถ้าจะทำเรื่องยอดขาย "ตก"..เราจะเริ่มต้นจากการตั้งคำถาม ให้นึกถึงวันที่ขายได้..นั่นคือการค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดของสถานการณ์นั้นๆ หรือ (The Best of What is)" ประมาณว่าค้นหาเรื่องดีๆ..ในสถานการณ์ต่างๆไปเลย...นี่คือจุดเริ่มต้น..หรือบางทีก็เอาส่ิงที่ชอบ เช่นชอบเรื่องพัฒนาคน..ก็เอาพัฒนาคนเป็นตัวตั้ง..ไปเลย..พูดง่ายๆ เราเริ่มจากเรื่องดีๆ..เรื่องที่สนใจก่อน..มีคำอธิบายไหม มีครับ..ในศาสตร์เรื่องสมองครับ..เริ่มต้นด้วยเรื่องดีๆ..พูดดีๆ..มีผมต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสมองครับ..พูดเรื่องปัญหา..สังเกตไหมครับ..หาคำตอบไม่ได้หรอก...ตอนนี้ศาสตร์เรื่องสมองที่ออกมาใหม่ๆ พูดไว้มากเลยครับ..เช่น

และ 

เล่มแรกครับ Change Your Brain Chnage Your Life พูดถึงเรื่องสมองกับพฤติกรรมครับ..เขาสแกนสมองคนก้าวร้าว กดดัน ผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่เรียนรู้ ยึดติด ขี้กังวล โกรธง่าย ก็เจอสมองส่วนต่างๆ ของคนเหล่านี้วิ่งเร็วไปครับ..ประมาณขี้กังวลก็จะมีส่วนหนึ่งทำงานมากไป...วิธีแก้ส่วนใหญ่เลยครับ..มาในทางปรับสมองด้วยการให้มองโลกในแง่ดี..คิดถึงเรื่องดีๆ..พูดดีๆ วางแผนดีๆ..มองอนาคตดีๆ ทั้งนั้นครับ แถมบอกอีก..พูดถึงปัญหามากๆ..มักจะทำให้เกิดภาวะสมองปิดกั้นการเรียนรู้ครับ..มันกดให้สมองคิดไม่ได้ ครับ..ชัดไหมครับ..พูดถึงปัญหามากๆ..ก็คิดไม่ออกด้วยประการฉะนี้ครับ..

 

เล่มหลังนี่พูดถึงแม้กระทั่งไอน์ไสต์ ที่สันนิษฐานว่า..สมองเขาเกิดความชอบ ความประทับใจต่อเข็มทิศ ที่คุณพ่อซื้อให้. ประทับใจมากๆ..เพราะไม่ว่าหันไปทางไหน มันก็หันตาม..ความประทับใจดังกล่าวก็กระแสการเรียนรู้ของไอน์ไสตน์ ไปตลอดครับ..นักวิทยาศาสตร์ด้านสมองยืนยันครับ..ว่า "ความประทับใจ" "การมองโลกในแง่ดี"..."เรื่องราวดีๆ" เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครับ...

เพราะฉะนั้นอยากเปลี่ยนแปลงอะไรก็เริ่มจากที่ชอบ เรื่องดีๆ..เป็นฐานในการแก้ปัญหา ด้วยการทำเรื่องดีๆ..ให้เติบโตขึ้น..ซึ่งมันจะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติครับ...Entry Pointในกลุ่ม AI ของเราจึงเป็นเรื่องที่คนทำสนใจ อยากทำ..ในองค์กรก็เริ่มจากเรื่องดีๆ..ด้วยการตั้งคำถามดีๆ..ครับ..ไม่งั่นสมองคนในองค์กรไม่เดินหรอกครับ..ไม่ต้องไปพูดถึงการสร้างนวัตกรรม หรือองค์กรแห่งการเรียนรู้..ไม่เรียนรู้หรอกครับ..เพราะคิดไม่ออก..

4. ผมทดลองเรื่องนี้ตั้งแต่ทำ AI ห้าเคสแรก แล้วครับ..เพราะเริ่มจาก "ปัญหา" แล้วตีบตันครับ..เดี๋ยวนี้ทำไปจะ 260 เคสไปแล้ว..เห็นว่าง่ายกว่า สนุกกว่า สร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริงๆครับ..ชอบโครงการหนึ่งลูกศิษย์สนใจว่า "อาจารย์ทำไมคนเราขออะไรไม่ค่อยได้นะ" อืมจริง..คำพูดนี้นำสู่โครงการ The Aladdin Project หรืออะลาดิน โปรเจค...คือโครงการจัดการความรู้เรื่องการขออย่างไรแล้วได้รับ อย่างที่ต้องการ..ลูกศิษย์ใช้ AI ไปถามคนหลายคนว่า..ตอนได้รับสิ่งที่ต้องการนั้น..ไปทำอย่างไร..ได้เทคนิคเพียบครับ..ปัจจุบัน..เปิดร้านขาย Online เอง เป็น SME เล็กๆ..ครับ..เพราะขอให้ได้รับสิ่งที่ต้องการกลับกลายทำให้เขาสนใจเรื่องการตลาด..เพราะการตลาด..ก็คือ..วิธีการขอให้ลูกค้าซื้อของแล้วจ่ายตังค์ แล้วลูกค้ามีความสุขนั่นเอง...

 

หมายเลขบันทึก: 485268เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2012 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • คนก้าวร้าว กดดัน ผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่เรียนรู้ ยึดติด ขี้กังวล โกรธง่าย ก็เจอสมองส่วนต่างๆ ของคนเหล่านี้วิ่งเร็วไปครับ ... 
  • ขอบคุณค่ะ อ่านตรงนี้ ได้แรงบันดาใจ นึกไปถึงเหตุการณ์ความผิดพลาดแบบไม่น่าเชื่อ ของ "ผู้มากประสบการณ์" ที่นึกถึง เพราะมีสิทธิเกิดกับตนเองได้ แม้ตอนนี้เป็นเพียง ผู้เริ่มมีประสบการณ์ "Expertise is not always correlate with their level of experience"
  • เคยอ่านแต่ งงๆ "Thinking fast and slow - dual process theory"
  • เข้าใจว่า ประสบการณ์อย่างเดียว ช่วย system 1 think fast/reactive-- ตอนนี้ก็เริ่มต้องระวังตัวเอง สิ่งที่สอน นศพ. ตอนออกคลินิก อาจใช้ ความคุ้นเคยกับปัญหา บวกกับ self-deception มากขึ้นทุกที
  • ขณะที่ การเรียนรู้เกิดเมื่อระบบ self-check คือ system 2  think slow/reflective ด้วย  สิ่งนี้ต้อง "หา Entry point" ดังที่อาจารย์เล่ามาเสียก่อน
  • ชัดไหมครับ..พูดถึงปัญหามากๆ..ก็คิดไม่ออกด้วยประการฉะนี้ครับ
    ตรงนี้ชัดมากค่ะ :) 

สวัสดีครับคุณหมอปัทมา

คุณหมอทันสมัยมากๆครับ อ่านเรื่อง Thinking Fast and Slow...

จริงๆ คล้ายๆ กับกระบวนการใคร่ครวญ หรือ Reflection ใน OD ครับ...

ชอบมากๆตรงประโยคที่ว่า Expertise is not alwasy correlate with their level of experience.....

จะเขียนเรื่องนี้ต่อในเรื่อง Relationship Econonomics ครับ...

ขอบคุณคุณหมอที่แวะมาจุดประกายครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท