ชีวิตพอเพียงที่เป็นรูปธรรม


ความพอเพียงจะเกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้คนปฏิบัติต้องขยัน เอาจริง และตั้งใจให้เกินร้อยและรู้จักรอคอย เพราะไม่อาจเห็นผลได้ทันตาเหมือนหาซื้อตามท้องตลาด

ชีวิตพอเพียงที่เป็นรูปธรรม

พ่อสำเริง(เสื้อลาย)

กำลังอธิบายกับทีม KM สัญจร

             วันนี้ขอนำเสนอการจัดการความรู้เพื่อความพอเพียงของพ่อสำเริง ที่บ้านตะแบง กิ่งอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์

              พ่อสำเริง เกิดที่บ้านสะแบง แต่ติดตามพ่อแม่ไปทำงานที่จังหวัดกำแพงเพชรจนไม่ได้เข้าเรียนตามระบบ ทำให้อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่สิ่งที่พ่อสำเริงมีเกินร้อยคือความขยันและความตั้งใจจริง เมื่อย้ายกลับมาอยู่บุรีรัมย์ก็ทำนาเหมือนคนทั่วไป แต่มีที่ดินน้อยทำให้ขัดสนเหมือนเกษตรกรรายย่อยทั่วๆไป

             หลังจากนั้นพ่อสำเริงได้เข้ากลุ่มเรียนรู้การจัดการความรู้ในโครงการนักจัดการความรู้ระดับชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ภายใต้การแนะนำของครูบาสุทธินันท์และปราชญ์ชาวบ้านท่านอื่น ๆ ทำให้พ่อสำเริงมีความมุ่งมั่นที่จะจัดการความรู้ของตัวเองอย่างเต็มที่ภายใต้เงื่อนไขบนที่ดินประมาณ 2 ไร่

             โดยพ่อสำเริงได้เนรมิตพื้นที่ 2 ไร่ ให้เกิดผลเชิงประจักษ์ ท่านเอาความรู้ที่มีและที่ได้รับมาจากท่านผู้รู้ทั้งหลายใส่ลงไปในสิ่งที่ท่านปลูก ท่านเลี้ยง

            เอาความรู้ไปใสต้นกล้วยจนกล้วยงาม

            เอาความรู้ไปใส่บ่อปลา จนมีปลาตัวโตจนเต็มบ่อ

            เอาความรู้ไปใส่ผัก ให้ผักงามทั้งผักสวน ประกอบด้วยผักสวนครัว และผักพืชเมือง เช่นต้นมะกล่ำ

             เอาความรู้ไปใส่ดิน  โดยใช้ปุ๋ยจากมูลโค มูลสุกรบำรุงดิน และใช้ฟางข้าวคลุมดินจนทั่วเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดิน

             เอาความรู้ไปใส่น้ำ โดยใช้วิธีให้น้ำผัก ต้นกล้วย ต้นไม้ทุกชนิดเหมือนเหมือนกับน้ำที่ไหลมาจากสายฝนตามธรรมชาติ ด้วยการสูบน้ำด้วยเครื่องรถไถเดินตาม (ยี่ห้ออะไรไม่บอกเพราะจะลำเอียงต่อบริษัทอื่น) ขึ้นไป ณ จุดที่สูงที่สุดของพื้นที่สวนแล้ววางแนวร่องน้ำตื้นให้น้ำไหลผ่านลงไปในสวนทุกพื้นที่ได้สบาย ๆ ไม่ต้องเสียเวลามารดน้ำให้เมื่อยตุ้ม รับรองเห็นวิธีคิด วิธีทำของพ่อสำเริงแล้วจะตะลึง ...

             เอาความรู้ไปใสต้นดอกไม้ ทั้งดอกบานไม่รู้โรย ดอกเทียน ดอกหงอนไก่ ปลูกไว้ล่อแมลงศัตรูพืชให้หลงกล

             เอาความรู้ไปใส่ต้นน้ำเต้า โดยปลูกต้นน้ำต้นตรงริมของบ่อไม่ต้องรดน้ำและทำร้านให้ต้นน้ำเต้าเกาะในน้ำ ทำให้ไม่เสียพื้นที่บนดิน

              ยังมีอีกหลายตัวอย่างจากวิธีการคิดการจัดการความรู้ของพ่อสำเริง ถึงท่านจะอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ แต่ท่านมีความตั้งใจและลงมือทำภายใต้วิธีการคิดของท่าน    ท่านใดที่เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ที่จะนำแนวคิดแนวปฏิบัติของพ่อสำเริงไปทดลองทำในพื้นที่อื่น เพื่อที่ความพอเพียงจะได้เข้าถึงชีวิตอย่างแท้จริง

             ยังมีอีกแล้วจะนำมาเล่าในวันต่อไป วันนี้ขอเรียกน้ำย่อยจากรูปภาพที่นำมาให้ชมแค่นี้ก่อน

ขอบคุณค่ะ

พันดา เลิศปัญญา

หมายเลขบันทึก: 48515เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2006 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท