เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมุ่งหน้าเข้าสู่อำเภอบางปลาม้า วิธีแก้ปัญหาแบบชีวภาพก็ "เอาอยู่" "


เพลี้ยกระโดดเริ่มระบาดในแปลงนาโดยมีตัวแม่พร้อมวางไข่เพียง 1,000ตัว จะผลิตไข่ได้ 200,000 - 300,000 ฟอง

แรกเริ่มที่มีข่าวการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายข้าวของเกษตรกรตั้งแต่ต้นปีโดยเริ่มจากทางเหนือลงมา พิจิตร พิษณุโลก กำแพงเพชร นครสวรรค์ โดยปรกติในสองปีที่ผ่านมาจะไหลเรื่อยลงสู่ด้านล่างของแผนที่ลงมาทางใต้ แต่ปีนี้แปลกกว่าทุกปี เพราะพฤติกรรมการระบาดย้ายเลื่อนเคลื่อนไปทางตะวันออกและอีสานบางส่วนแทน อาจเป็นด้วยอายุข้าวที่ระยะเวลาเริ่มปลูกแตกต่างกัน จากผลกระทบของมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในบ้านเราที่ผ่านมา จึงทำให้พฤติกรรมของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลหากินแพร่ระบาดกระจัดกระจายไปเกือบทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งโดยปรกติสามปีที่ผ่านมาจะไม่เคยได้ยินข่าวการระบาดในแถบภาคตะวันออกเลย แต่ปีนี้ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา เข้านครนายกล้วนได้รับผลกระทบด้วยกันทั้งสิ้น

 
การหยุดปล่อยน้ำ การให้เกษตรกรหยุดกิจกรรมทำนา แสดงให้เห็นว่าไม่สามารถที่จะหยุดหรือตัดวงจรของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ เพราะการหยุดทำนา (ภาคบังคับ) เพราะประสบปัญหาอุทกภัยที่นานเกือบครึ่งปี ยังไม่สามารถหยุดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ เนื่องด้วยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีการปรับตัวเพื่อดำรงวงศ์เผ่าของเขาให้อยู่รอดปลอดภัยทั้งการกลายพันธุ์ ทั้งการเกาะกินอยู่กับพืชอาศัยชนิดอื่นๆ อย่างเช่นผักตบชวา ต้นหญ้า กก ปรือ ฯลฯ แม้จะเหลือประชากรเพียงน้อยนิดแต่เมื่อชาวนาเริ่มปลูกข้าวก็สามารถออกมาสร้างปัญหาไม่ยาก เพราะมีความสามารถในการวางไข่ได้สูงมากถึง 200-300ฟอง ใช้ระยะประมาณ 7 วันหลังจากนั้นจะลอกคราบประมาณ 4-5 รอบ ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ หรือ 16 วัน จึงเข้าสู่ระยะตัวแก่หรือตัวเต็มวัย และจะมีชีวิตอยู่ได้อีกประมาณ 13-15 วัน 
 
ถ้าเพลี้ยกระโดดเริ่มระบาดในแปลงนาโดยมีตัวแม่พร้อมวางไข่เพียง 1,000ตัว จะผลิตไข่ได้ 200,000 - 300,000 ฟอง ภายในหนึ่งสัปดาห์จะมีตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอยู่ 200,000 - 300,000 ตัวที่พร้อมทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงต้นข้าวได้ทันที และภายในระยะ1-2 เดือน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะแพร่ขยายพันธุ์ได้อีกเป็นแสนเป็นล้านตัวจากสมาชิกเริ่มแรกที่ไม่จำเป็นต้องมีมากนัก ดังนั้นการป้องกันในแนวทางหยุดกิจกรรมทำนาของภาครัฐอาจจะได้ผลลัพธ์ในทางลบแก่พี่น้องเกษตรกรมากกว่า เพราะว่าหยุดกิจกรรมก็เท่ากับหยุดการทำรายได้ซึ่งส่วนใหญ่ชาวไร่ชาวนาจะประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก ถ้าหยุดทำนารายได้จากทางอื่นก็จะไม่เพียงพอต่อการทำมาหาเลี้ยงชีพเพราะอาจเป็นอาชีพที่ไม่ถนัดจัดเจนมากพอ
 
การอพยพเคลื่อนย้ายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากภาคตะวันออกกำลังพุ่งมุ่งสู่ภาคกลาง ปทุมธานี อยุธยา ลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรีฯลฯ และล่าสุดเริ่มระบาดที่สุพรรณบุรีที่อำเภอบางปล้าม้าแล้วในขณะนี้การดูแลรักษาแนวชีวภาพแบบปลอดสารพิษ โดยใช้พันธุ์ข้าวต้านทาน ตรวจวัดกรดด่างของดินให้อยู่ระหว่าง 5.8 - 6.3 การใช้หินแร่ภูเขาไฟ (ซีโอ-พูมิช, ซีโอ-พูมิชซัลเฟอร์) เพื่อให้ข้าวสะสมซิลิก้าสร้างความแข็งแกร่งแก่ผนังเซลล์ การใช้สมุนไพรป้องกันขับไล่ การใช้สารสะเดาทำลายไข่และตัวอ่อน การใช้จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยเฉพาะอย่าง "ทริปโตฝาจ" (บิวเวอร์เรีย, เมธาไรเซียม) ก็สามารถที่จะป้องกันรักษาข้าวให้อยู่รอดปลอดภัยได้อย่างแน่นอน "เอาอยู่"
 
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
 
หมายเลขบันทึก: 484171เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2012 06:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท