สนามบินที่มีเที่ยวบินกลางคืน ควรตระหนักในเรื่องดังต่อไปนี้


การสูญเสียโอกาสทางการขนส่งกับผลกระทบในหลายมิติ

ถ้าผมจั่วหัวว่า "สนามบินที่มีเที่ยวบินกลางคืน ควรตระหนักในเรื่องดังต่อไปนี้" (ตัวส้มหนาขีดเส้นใต้) ท่านก็จะรู้สึกว่า บังคับอ่าน ไม่อ่านไม่ได้ ดูแล้วเครียดเกินไป เอาเป็นว่าขอใช้คำกลางๆถึงเรื่องเล่าที่ผมจะเล่าให้ท่านฟังว่า "การสูญเสียโอกาสทางการขนส่งกับผลกระทบในหลายมิติ" แบบนี้ดูน่าอ่าน(ฟัง)กว่าแบบแรกซึ่งเป็นแบบ Attention ให้ท่านรู้สึก Alert หรือตื่นตัว ตระหนัก ขึ้นนั่นเอง แต่ท่านจะตระหนักเมื่อท่านอ่านจบแล้วอันนี้ก็สุดจะแล้วแต่ครับ

ปล.แต่ก็ยังใช้หัวเดิมเพราะสนามบินที่มี Night Flight จะได้เป็น First Priority ในการหางบฯเร่งด่วนมาดำเนินการโดยพลันได้ไงครับ

 

วงจรไฟฟ้าสนามบินก็จะประกอบด้วยสายไฟฟ้า ซึ่งต่อกันเป็นวงรอบ(Circuitt)เชื่อมต่อกันจากด้านหนึ่งนำกระแสไฟไปหล่อเลี้ยงอุปกรณ์โคมไฟฟ้าสนามบินที่ต่อเชื่อมอยู่ระหว่างทาง แล้วกลับมาหาที่ๆมีความต่างศักย์น้อยกว่า คือปลายสายกลับมาเข้าวงจรไฟฟ้า ณ เครื่องจ่ายกระแสไฟ (CCR:Constant Current Regulator) ซึ่งเป็นแบบสามารถควบคุมและชดเชยค่าปริมาณกระแสไฟที่จ่ายเข้าไปในสายวงจรหนึ่งๆได้โดยอัตโนมัติ

ฉนั้นหากสายไฟเกิดความชำรุดระหว่างทาง เช่น หนูกัดสายไฟ(กัดฉนวนสายไฟทำให้สายไฟตรงนั้นมีฉนวนบางลง ความต้านทานของฉนวนที่จะป้องกันไม่ให้กระแสไฟที่อยู่ในสายไฟ กระโดด(ประจุไฟฟ้า อาร์ค)ลงดิน คล้ายกับที่เกิดในหัวเทียนรถ หรือเครื่องชอร์ตไฟฟ้า หรือหม้อแปลงของการไฟฟ้าเวลาฝนตก แล้วได้ยินเสียงประจุไฟฟ้ากระโดดผ่านอากาศ นั่นแหละครับเสียงของไฟเวลาอาร์ค Arc หรือไฟรั่ว ซึ่งจะรั่วหรือกระโดดไฟยังที่ๆมีแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า หรือรั่วลงดิน ตามเสาไฟฟ้าในหมู่บ้านถ้าไฟเกิดรั่วลงดินใกล้บ้านเรือน กระแสไฟไหลลงดินผ่านแท่งตัวนำ(Ground Rod)ก็อาจย้อนกลับเข้าทางสายดินของบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ใกล้ๆได้ นั่นคือสาเหตุว่าทำไมสายดินในบ้านเราถึงได้มีไฟ ไม่เป็นศูนย์ นำไขควงวัดไฟมาวัดไฟก็ติดแดงสว่าง จับสายดินแล้วถูกไฟดูด ก็มีให้เห็นมากครับ 

 

เห็นไหมครับแค่หนูตัวเล็กๆ กัดสายไฟ ก็อาจทำให้ไฟฟ้าที่จ่ายเข้าไปในสายไฟ เกิดรั่วลงดินได้ นั่นคือเมื่อเกิดการรั่วไหล เครื่องจ่ายกระแสไฟหรือ CCR ก็จะตรวจพบว่ากระแสที่ไหลกลับเข้ามายังเครื่องน้อยกว่าปกติก็จะสั่งให้เครื่องจ่ายไฟชดเชยให้เพิ่มขึ้นไปอีก เพื่อให้กระแสไฟในสายไฟฟ้าสนามบินคงที่ตลอดเวลา การที่กระแสคงที่ทำให้ความสว่างของหลอดไฟโคมไฟสนามบินคงที่ แบบนี้รับได้ครับ เพราะเกิดรั่วไม่มาก แต่ถ้าเกิดหลายจุดหลายตำแหน่ง เครื่องก็จะชดเชยกระแส เพิ่มจนตัวเครื่องเองชดเชยไม่ไหว ก็จะตัดการทำงาน แบบนี้อันตรายครับ เพราะถ้าเราปล่อยให้ไฟรั่วลงดิน หรือไม่ซ่อมฉนวนที่เสียหายบางลง โอกาสที่เครื่องจ่ายกระแสไฟจะจ่ายเกินกำลังก็จะมีสูงครับ

ทั้งที่ที่กล่าวมาเราสามารถทราบได้ก่อน กล่าวคือการวัดค่าความต้านทางสายไฟเป็นประจำ การตรวจไฟแสดงการรั่วไหล หน้าเครื่อง CCR ค่ากระแสไฟที่ไม่คงที่ หรือมีค่าผิดไปจากมาตรฐานที่กำหนด

ฉนั้นกรมถึงได้ตระหนักในเรื่องนี้และพยายามกำหนดวิธีปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวให้มีคว่ามชัดเจน เช่น สนามบินจะต้องมีขั้นตอนการตรวจสอบค่าความเป็นฉนวน(ค่าความต้านทานต่อการรั่วไหล)และต้องแก้ไขโดยพลัน อาจเป็นการวัดเป็นช่วงๆหาตำแหน่งที่รั่วมากๆ เปลี่ยนสายเฉพาะช่วงที่ไฟรั่วมาก หรือการรื้อจุดต่อสายและเปลี่ยนข้อต่อ พันผ้าเทปกันน้ำใหม่ อาจเปลี่ยนหม้อแปลงกรณีกระแสไฟที่รั่วๆที่หม้อแปลง กล่าวคือต้องหาจุดที่รั่วให้เจอแล้วรีบดำเนินการ แล้วประเมิน หมายถึงเมื่อซ่อมเปลี่ยนอุปกร์ณต่างๆแล้วให้วัดค่าฉนวนใหม่ ว่าได้ค่าเพิ่มขึ้นไหม ค่าที่ได้เป็นไปตามมาตรฐานไหม ทำอย่างไรให้ได้ค่าใกล้เคียงมาตรฐานมากที่สุด นั่นหมายถึงต้องมีแผนดำเนินการระยะยาวแบบยั่งยืนด้วย เช่น ตั้งแผนเปลี่ยนสายไฟฟ้าสนามบินทั้งระบบ หากสายไฟหมดสภาพเนื่องจากอายุการใช้งานอันยาวนาน  เกิดจากความบางของฉนวน อายุการใช้งานหม้อแปลง แบบนี้การซ่อมเปลี่ยนทั้งระบบจะแพงแต่คุ้มค่าในระยะยาวต่อการบำรุงรักษาครับ

 

สรุปว่าการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติที่เพิ่มขึ้น จะต้องจัดให้มีการดำเนินการอย่างน้อยดังนี้

1.มีรายการ ขั้นตอน ความถี่ การบันทึกผล การตรวจวัดความต้านทานสายฯ การตรวจหม้อแปลงในบ่อพักสายฯ การตรวจจุดเชื่อมต่อสายฯ

2.มีวิธีการวัดที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การปฏิบัติแบบเดียวกัน

3.ต้องนำผลที่ไม่ได้มาตรฐาน มาประเมินความเสี่ยง แล้วกำหนดแผนปรับปรุง ระยะสั้นทำทันที ระยะยาวตั้งงบฯจัดซื้อจัดจ้าง

4.ในบันทึกผลการวัดต้องมีช่องให้หน่วยเกี่ยวข้อง ทราบและบันทึกข้อวินิจฉัย และสั่งการตามสายงาน จนจบกระบวนงาน คือสามารถแก้ไขได้แล้วเสร็จ

 5.มีการตรวจวัด ค่า Switch Over Time เป็นประจำ มีขั้นตอนการออกประกาศนักบิน ถึงการลดระดับการให้บริการระบบไฟฟ้าสนามบิน ทันทีที่ทดสอบแล้วค่าระยะเวลาที่ไฟสำรองสามารถจ่ายไฟให้โคมไฟฟ้าสนามบินแต่ละชนิด สามารถกลับมาติดสว่างใหม่ได้อีกครั้งตามค่ามาตราฐาน ส่วนขั้นตอนวิธีีการวัดนั้น ผมได้เขียนไว้ที่นี่ครับ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/501370

6.มีการตรวจการทำงานไฟ Signalling Lamp (WHITE/RED/GREEN)

7.การตรวจวัดอัตราการกระพริบของไฟประภาคาร (Aerodrome Beacon 2-3 Flash/Second)

8.มีการระบุรายละเอียดเพิ่มใน แบบบันทึกผลการตรวจโคมไฟสนามบินว่า "โคมไฟใดที่มีความสว่างลดลงกึ่งหนึ่ง (50%)ถือว่าต้องนับเป็นโคมที่ใช้ไม่ได้ หรือหลอดดับ"

รักษาระดับ บำรุง รักษาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าสนามบิน”
…..ช่างเทคนิคหรือวิศวกรไฟฟ้า ปฏิบัติการต้องหมั่นดูแลรักษาระบบ การรั่วไหลของกระแสไฟ  ความทนทานของอุปกรณ์ต่อเชื่อม ตลอดจนค่าความต้านทานสายไฟ เพื่อที่จะได้มั่นใจในเสถียรภาพในการทำงาน เพื่อ จะได้ “Maintain”  “รักษา”  “ระดับการให้บริการ” ให้ไม่ต่ำกว่าที่ได้ประกาศไว้ใน AIP เช่น สนามบินที่มีการออกแบบการร่อนลงสู่ทางวิ่งแบบพรีซิชั่น CAT  I  
 
(ทางวิ่งที่ติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณเพื่อบอกมุมทั้งแนวนอนและแนวตั้ง แก่นักบิน) จะต้องไม่มีโคมไฟของระบบไฟนำร่อง ไฟทางวิ่ง (Approach Light)ไฟแสดงจุดเริ่มต้นทางวิ่ง (Runway Threshold Light) ไฟแสดงจุดสิ้นสุดทางวิ่ง (Runway End light) ดับเกิน 15 % และระบบไฟสำรองต้องทำให้หลอดไฟติดสว่างภายในระยะเวลาไม่เกิน  15 วินาทีส่วนหัวทางวิ่งที่ติดตั้งเครื่องช่วยนำร่อนลงแบบพรีซิชั่น  CAT  II  โคมที่ใช้ได้ไม่ต่ำกว่า  95 % คือมีโคมดับหรือใช้ไม่ได้
 
“การออก NOTAM แจ้งลดระดับของการให้บริการระบบไฟทางวิ่ง”
 
....ถ้าสนามบินไม่สามารถรักษาระดับของการให้บริการตามที่กล่าวมา เช่น ไฟทางวิ่งติดแค่  50% จำเป็นต้องบอกนักบินเนิ่นๆว่า ขณะนี้ “ระดับของการให้บริการระบบไฟฟ้าสนามบิน ที่ ทย. นี้ สามารถให้บริการได้ในระดับ Non Instrument Runway เท่านั้น”  “Airfield Lighting serve for Non-Precision Approach Runway Only”
 
หรือกรณีฟ้าหลักดับ ถ้าระบบไฟฟ้าสำรองไม่สามารถจ่ายไฟให้โคมไฟ กลับมาติดสว่างได้ในเวลามาตรฐาน   เช่น ในการร่อนลงหัวทางวิ่ง 36 มี Glide slope และ VOR บอกทั้งมุมร่อนและมุมแนวนอน (จัดเป็นทางวิ่งแบบพรีซิชั่น CAT I )และหัวทางวิ่ง 18 มี VOR บอกมุมแนวนอนเพียงอย่างเดียว (จัดเป็นทางวิ่งแบบนอนพรีซิชั่น)  ซึ่งตามมาตรฐานทางวิ่งแบบพรีซิชั่น CAT I ได้กำหนด  ค่า Switch Over Time หรือค่าเวลา ตั้งแต่โคมไฟดับ(ความสว่างลดลงครึ่งหนึ่ง)จนกลับมาติดสว่าง(ความสว่างเพิ่ม 50%) นั้น จะต้องมีค่าไม่เกิน 15 วินาที
 
ดังนั้นเมื่อไม่สามารถทำได้เนื่องจากเหตุต่างๆ สิ่งแรกที่สนามบินจะต้องดำเนินการคือแจ้งนักบินด้วยการออก NOTAM เช่นหากไฟสำรองทำให้หลอดไฟกลับมาติดใหม่ได้ภายใน 19 วินาที จะต้องออก Notam ว่า  “Emergency Power For Airfield  Lighting  :Switch Over Time 19 Sec.
   

 

ครับทั้งหมดที่กล่าวมานั้นล้วนมีผลทำให้เกิดการบริการที่ไม่เต็มที่หรืออาจเสียโอกาสในการขนส่งไปได้เช่น กรณีระบบไฟฟ้าไม่เสถียรทำให้โคมไฟไม่สามารถใช้งานได้ทุกโคม ถ้าอากาศดี มองเห็นได้ไกล นักบินก็อาจมองเห็นรูปร่างลักษณะทางวิ่งจากไฟขอบทางวิ่งได้ชัด แต่เมื่อโคมไฟที่ใช้ได้แค่บางส่วน นั่นคือโอกาสที่นักบินจะมองเห็นรูปร่างทางวิ่งได้ในสภาพอากาศที่ไม่ดีนั้นโอกาสน้อยลง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อนักบินที่จะต้องทำตามกฎการบินคือ ไม่เห็นทางวิ่งก็ไม่ฝืนลงจอด นั่นคือ ระดับของการให้บริการระบบไฟฟ้าสนามบินส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการขนส่งทางอากาศ หากเป็นเช่นนี้บ่อยๆเท่ากับว่าการขาดการบำรุงรักษาอุปกรณ์ภาคพื้นที่ดีทำให้ประสิทธิภาพในการขนส่งทางอากาศในประเทศลดลง อย่างนี้คงไม่ใช่เรื่องเล็กๆแล้วนะครับ 

 

หมายเลขบันทึก: 484170เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2012 06:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2014 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท