หมออนามัย นวัตกรรมโรคเรื้อรัง


 นวัตกรรมโรคเรื้อรัง

หมออนามัย นายอานนท์ ภาคมาลี

 

ที่มาของปัญหา

ปัจจุบันโรคเรื้อรัง เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน กลายเป็นภัยระบาดเงียบที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตที่เอื้อให้ประชาชนเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีอัตราเพิ่ม โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งถือเป็น ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากสามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอันตรายต่างๆ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยละญาติ ต้องมีการค้นหา ควบคุมป้องกันโรคเหล่านี้ โดยการลดพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปซึ่งอาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน

โรคเรื้อรังเกิดจากปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน (share common risk factors) คือการบริโภคอาหารไม่ดีต่อสุขภาพ (unhealthy diet) การออกกำลังกาย/เคลื่อนไหวน้อย (physical inactivity) การสูบบุหรี่ การบริโภคแอลกอฮอล์ ภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วน ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง สหปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวมีรากฐานมาจากการมีวิถีชีวิตที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพหรืออยู่ในสภาวะแวดล้อมทางด้านสังคม เศรษฐกิจและกายภาพที่เกื้อหนุนให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค แนวโน้มของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปในด้านค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี เศรษฐกิจ การเมืองและการสื่อสาร มีผลต่อสุขภาพที่ดีและการปฏิบัติตนไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคเรื้อรัง จึงไม่เพียงแต่ดำเนินงานมุ่งเน้นที่ตัวบุคคลเท่านั้น แต่ต้องดำเนินงานในชุมชนโดยชุมชน ตามบริบทของสังคม สิ่งแวดล้อม และปัจจัยกำหนดในสถานการณ์ชุมชนที่แตกต่างกัน ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีมีประสิทธิผล

 

แนวทางการส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานได้แก่

  1. การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพ ทั้งในระดับองค์กร ชุมชนและท้องถิ่น เช่นลดพุง ลดสุรา งดบุหรี่
  2. การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาพ ทั้งในระดับตัวบุคคล ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ชมรมสร้างสุขภาพ ชมรมผู้สูงอายุ
    1. การสร้างเสริมกิจกรรมชุมชน/องค์กร ให้เข้มแข็ง คือ
    2. ชุมชน/องค์กร มีขีดความสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชน/องค์กร ให้บรรลุเป้าหมายไร้พุง/ปลอดเหล้า/ปลอดบุหรี่/ลดเสี่ยงลดโรค และสามารถเป็นต้นแบบและศูนย์เรียนรู้ให้แก่ภาคีเครือข่าย เพื่อดำเนินการต่อเนื่องอย่าเข้มแข็ง

4.1 ส่งเสริมสนับสนุนและเพิ่มศักยภาพให้ชุมชน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐและองค์กรอื่นๆในทุกระดับ มีส่วนร่วมและมีส่วนรับผิดชอบในการส่งเสริมสุขภาพ

4.2                ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของประชาชนและของชุมชน เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะของบุคคลและความเข้มแข็งของชุมชน สำหรับการดูแลตนเองด้านสุขภาพและการพึ่งตนเองของชุมชน

4.3    สร้างองค์ความรู้ ตามหลักการ 3 อ. 2 ส. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ สุราและยาสูบ)

      สร้างกระแสสังคม เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองตามหลัก 3 อ. 2 ส.(อาหาร ออก  กำลังกาย อารมณ์ สุราและยาสูบ)

4.4                สร้างคน/องค์กรต้นแบบไร้พุง/องค์กรสุขภาพดี และแหล่งเรียนรู้ทั้งระดับบุคคล ชุมชนและประเทศ

4.5    ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่เน้นการมีสุขภาพแบบยั่งยืน

5. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลให้มีพฤติกรรมการบริโภคและการใช้แรงกายเหมาะสมจนสามารถควบคุมน้ำหนักตนเอง มีทักษะการเลิกบุหรี่ และสุรา นำไปสู่การลดโรคไม่ติดต่อ

6.การปรับเปลี่ยนบริการสาธารณสุข มีคลินิกไร้พุง (Diet & Physical Activity,DPAC) คลินิกอดบุหรี่ และสุรา โดยเน้นสร้างนำซ่อม ในสถานบริการของรัฐ

 

  1. 1.          องค์กรและชุมชนไร้พุงต้นแบบ หมายถึง องค์กรและชุมชนที่จะต้องบรรลุเงื่อนไข (Criteria) ดังนี้

1.1    มีคณะกรรมการบริหารจัดการองค์กรและชุมชนสู่การเป็นองค์กรและชุมชนไร้พุง

1.2                   มีนโยบายที่เหมาะสมจากการระดมสมองของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนก่อให้เกิดองค์กรและชุมชนไร้พุง

1.3                   มีแผนงาน มีการจัดสรรทรัพยากร และกิจกรรมดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายและมีการดำเนินงานตามแผนงานจนเกิดเป็นผลลัพธ์ตามนโยบาย

1.4                   มีแผนการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการบริโภคอาหารและการใช้แรงกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ โดยครอบคลุม 2 ด้านคือ ด้านกายภาพ ได้แก่ตลาดสดขายอาหารที่ถูกสุขลักษณะ และมีสถานที่/อุปกรณ์ในการออกกำลังกาย ด้านสังคม ได้แก่กฎระเบียบ ค่านิยมทางสังคม และมาตรการต่างๆเช่น มาตรการส่งเสริมการผลิตอาหารที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ผักผลไม้ที่ปลอดสารพิษ มาตรการการการควบคุมการจำหน่ายอาหารส่งผลเสียต่อสุขภาพ ได้แก่ขนมเด็ก เครื่องดื่มที่มีรสหวานฯลฯและสนับสนุนอาหารที่ได้มาตรฐานทางโภชนาการ เป็นต้น

1.5    มีกระบวนการสร้างทักษะลดพุงให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย โดยการนำภารกิจ 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) มาใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและใช้แรงกาย เช่นมีบันทึกตามแบบประเมินบัญชีสมดุลพลังงานต่อวันและแบบติดตามประเมินภาวะโภชนาการด้วยตนเอง

1.6    องค์กรและชุมชนไร้พุงสามารถดำเนินการให้เกิดผลภายใน 6 เดือน

           2. ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคเรื้อรัง หมายถึง ชุมชนที่มีการดำเนินการควบคุมป้องกันโรคเรื้อรัง โดยใช้กระบวนการเป็นฐาน (Community based intervention CBI) โดยคณะทำงานระดับชุมชน วิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพของชุมชน จัดทำแผนสุขภาพ ดำเนินการตามแผน และกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการลดเสี่ยง ลดโรคเรื้อรัง

3.หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค นโยบายรัฐบาลด้านสาธารณสุขมุ่งเน้นการปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น โดยกำหนดยุทธศาสตร์หลักในการดำเนินงานที่เปลี่ยนจากเน้นงานรักษาพยาบาลแบบตั้งรับ มาเป็นการดำเนินเชิงรุกโดยเน้นการส่งเสริมให้มีการสร้างสุขภาพของบุคคล ครอบครัว ชุมชน โดยถือหลักที่ว่า สุขภาพดี สังคมดี ไม่มีขาย อยากได้ต้องร่วมสร้าง การทำงานให้เกิดการทำงาน หรือให้บริการสำคัญ สำหรับประชาชน ตามแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ มุ่งจัดการพฤติกรรมเสี่ยง และปัจจัยเสี่ยงที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน การจัดการเพื่อส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชนให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้ด้วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ให้ถูกต้องในการควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน จึงเป็นภารกิจพื้นฐานที่สำคัญ ที่สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งควรใช้เป็นเป้าหมายความสำเร็จในการดำเนินงาน

การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ร่วมกับการขับเคลื่อนและการมีส่วนร่วมของชุมชน ภายใต้ปรัชญา ชุมชนเป็นเจ้าของ ใช้ทรัพยากรศักยภาพและความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่อสิ่งคุกคาม สิ่งท้าท้ายที่ชุมชนนั้นๆ เผชิญอยู่ แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่แสดงให้เห็นรูปธรรมของการส่งเสริม และการควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน อย่างแท้จริง คือการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้ใช้สมรรถนะที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ช่วยทำให้ทุกภาคส่วนมองเห็นจุดหมายปลายทางหรือสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นอันได้แก่ความสามารถ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องหรือพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ในระยะเวลาที่กำหนดและวิธีการที่จะร่วมกันทำให้บรรลุผลได้โดยง่ายและเป็นระบบ

หมายเลขบันทึก: 483836เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2012 18:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2012 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท