เรียนรู้เพื่อเตรียมไปเป็นผู้ประเมินคุณภาพภายนอก มอ. : 5. คุณภาพบัณฑิต


จะประเมินได้อย่างมีคุณค่า มอ. ต้องเขียน "รายงาน 2 ขา" คือขาปริมาณกับขาคุณภาพ ขาคุณภาพเขียนให้เห็นวิธีคิด ความเชื่อ คุณค่า วิธีปฏิบัติ

          คุณภาพบัณฑิตเป็นมาตรฐานที่ 1   มี 8 ตัวบ่งชี้   เป็นตัวบ่งชี้เชิงปริมาณทั้งหมด

          ที่จริงคุณภาพบัณฑิตมันสัมพันธ์กับมาตรฐานตัวอื่นที่เหลือทั้งหมด 6 ตัว อย่างแนบแน่น   และขึ้นกับวิธีการจัดการให้การดำเนินการตามมาตรฐานต่างๆ ส่งผลดีต่อคุณภาพบัณฑิต   ดังนั้นผมจึงคิดวางแผนจะไปสำรวจหาร่องรอยการจัดการความเชื่อมต่อดังกล่าว

          ผมเริ่มมองเห็น (ไม่ทราบว่าเห็นแบบคนตาถั่วหรือเปล่า) ว่าหน้าที่ของคณะผู้ประเมินอย่างหนึ่ง   คือไปหาสิ่งที่ สมศ. ไม่ได้ระบุไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหรือระบุ แต่ซ่อนอยู่ลึกมากภายในเกณฑ์มาตรฐานที่มีลักษณะเชิงซ้อนมากเพื่อให้วัดได้   ในฐานะผู้ประเมินผมจะฝึกไป   "See the invisible"   ในปัจจัยด้านคุณภาพ (ทำได้แค่ไหนก็ไม่รู้)

          บันทึกนี้เขียนขึ้นก่อนผมได้รับเอกสาร SAR (Self Assessment Report) จาก มอ.   ดังนั้น หลังจากได้รับเอกสารจาก มอ. ครบถ้วนแล้ว   เราอาจจะ "มองระหว่างเกณฑ์มาตรฐาน" (Read between the lines) หรือ "อ่านลึกลงไปในเกณฑ์มาตรฐาน" จนมองเห็นวิธีปฏิบัติได้ไม่ยาก

          แต่ถ้าการเตรียมเอกสารของ มอ.   เป็นเอกสารเพียงแค่ให้คำนวณตัวเลขได้ ไม่มีชีวิต ไม่เห็นจิตวิญญาณของการทำงาน   ทีมประเมินก็จะทำงานยากมาก   ผมไม่ทราบว่าทาง สมศ. ประสานงานกับ มอ. ไว้ว่าอย่างไร

          ผมนึกออกแล้ว   จะประเมินได้อย่างมีคุณค่า   มอ. ต้องเขียน "รายงาน 2 ขา"   คือขาปริมาณกับขาคุณภาพ   ขาคุณภาพเขียนให้เห็นวิธีคิด  ความเชื่อ คุณค่า วิธีปฏิบัติ

 


วิจารณ์   พานิช
29 ส.ค. 49

หมายเลขบันทึก: 48324เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2006 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท