กิจกรรมบำบัด กับ Autistic Disorder


ปัจจุบันนี้เราจะเห็นเด็กที่มีอาการ Autistic ในเมืองไทยได้มากและเพิ่มขึ้น โดยสังคมในปัจจุบันก็เริ่มเห็นความสำคัญ และเข้าไปช่วยเหลือรวมทั้งหาวิธีส่งเสริม ป้องกัน และพัฒนาความสามารถของเด็กกลุ่มนี้มากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็ก Autistic สามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้

Autistic Disorder

                เป็นอาการความผิดปกติในเรื่องของการพัฒนาการของเด็กในรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะตัว ไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคม ทางภาษา และการสื่อความหมายได้เหมาะสมตามวัย ซึ่งจะมีลักษณะแสดงออกให้เห็นตั้งแต่ก่อนอายุครบ 3 ขวบ และจะเกิดขึ้นกับเด็กเพศชายมากกว่าเพศหญิง

          สาเหตุ

-          เกิดจากลักษณะทางพันธุกรรม

-          โรคติดเชื้อ

-          ความผิดปกติในสมองคือ Limbic system ,Cerebellum ,Cerebellar circuits

-          Neurotransmitters  บางตัว สูงผิดปกติ

 

อาการ และลักษณะ

ชอบอยู่คนเดียว เข้ากับคนอื่นได้ยาก มักไม่ชอบสบตาคน แสดงความต้องการของตนเองไม่ได้ หรืออาจแสดงได้แต่สื่อสารบอกอย่างผิดวิธี ชอบส่งเสียงประหลาด และหัวเราะไม่มีเหตุผล ชอบทำอะไรซ้ำๆ มีวิธีการกระตุ้นตัวเอง ซึ่งบางวิธีอาจเป็นผลเสียต่อเด็ก ระดับพัฒนาการของกล้ามเนื้อไม่ปกติ ไม่ชอบเสียงที่มีความถี่ในระดับที่ค่อนข้างสูง แต่ก็อาจมีภาวการณ์รับความรู้สึกบางส่วนที่ค่อนข้างต่ำ

2/3 = ต้องการผู้ดูแลตลอดชีวิต    1/3 = สามารถพึ่งพาตนเองได้พอสมควร

มีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเต็มที่

            การป้องกัน

                   ปัจจุบันยังไม่สามารถตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ ไม่สามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่ในครรภ์ แต่สามารถสังเกตจากพัฒนาการต่างๆหลังคลอด และควรรับการดูแลช่วยเหลือตั้งแต่ยังเล็กอย่างต่อเนื่อง

            แบบสำรวจพัฒนาการเด็ก

  •  PDDSQ (Pervasive Developmental Disorders Screening Questionnaire)
  •  CHAT (Checklist for Autism in Toddlers)
  •  CARS (Childhood Autism Rating Scale)

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

  • ประเมินคุณภาพชีวิต ความสามารถและการรับรู้ของเด็ก
  • ใช้กรอบอ้างอิง OPP เพื่อดูปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต

1.Performance  areas

A. Activity of Daily Living

-          ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันบางอย่างได้

-          ต้องอาศัยการกระตุ้น หรือความช่วยเหลือ

-          กลืน เคี้ยวอาหารไม่ได้

-          ปัญหาการเข้าสังคม (Socialization)

-          เคลื่อนไหวได้ไม่ดี (Functional mobility)

-          ปัญหาการใช้มือหยิบจับสิ่งของ

B. Work and Productive Activity

-          เข้าโรงเรียนช้ากว่าเด็กทั่วไป

-          ปัญหาการดูแลบ้าน (Home management)

       >> ทำความสะอาด
       >> ซื้อของ
       >> ความปลอดภัย

-          การดูแลบุคคลอื่นในบ้าน  : เลี้ยงน้อง ดูแลสัตว์เลี้ยง

C. Play or Leisure

-          เล่นเพียงลำพัง

-          ไม่อยู่นิ่งขณะทำกิจกรรม  ไม่มีสมาธิ

-          แก้ปัญหาในการทำกิจกรรมไม่ได้

2.Performance  component

-          กระบวนการรับความรู้สึก >> การรับสัมผัส
                                          >> การทรงตัว
                                          >> การได้ยิน
                                          >> การมองเห็น
                                          >> การได้กลิ่น

-          กำลังกล้ามเนื้อ (Strength)        >> กล้ามเนื้ออ่อนแรง

-          Gross and fine coordination

-          Visual-motor integration

-          Oral motor control

3. Performance  contexts

-          สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

-          ครอบครัว ผู้ดูแล

-          สังคม วัฒนธรรม

  • ตั้ง Goal การรักษา
  • วางแผนการรักษา
  • ให้การรักษา เป็นเพียงผู้ช่วยของเด็กซึ่งพยายามกระตุ้นให้เด็กทำกิจกรรมด้วยตนเองให้มากที่สุด เช่น ฝึกทักษะในการสื่อความหมาย ,สอนและฝึกให้เด็กสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง ,กิจกรรมการฝึกทักษะทางสังคม ,กิจกรรมช้างบำบัด ,อาชาบำบัด
  • ให้ข้อมูล กำลังใจและคำปรึกษากับครอบครัวของเด็กออทิสติก
  • ประเมินซ้ำ  ประเมินผลความก้าวหน้าของเด็กอย่างต่อเนื่อง

 

 

หมายเลขบันทึก: 483181เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2012 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท