๕ เปอร์เซนต์ที่ได้...และจุดเปลี่ยน OTTO ที่ได้เกินร้อย


การบอกความรู้ผ่านการบรรยาย สิ่งที่ได้เพียงแค่ ๕ เปอร์เซนต์...ต่างกับวิธีการที่เป็นกระบวนการจัดกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งสิ่งที่ได้มักจะเกินร้อย

ในการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการบ่มเพาะ Fa ขั้นเทพ...

คือ...ความพยายามที่เราจะมอบให้แก่ คุณอำนวย R2R ทุกท่านในเรื่ององค์ความรู้ต่างๆ ซึ่งเป็นการมอบองค์ความรู้ ที่มากกว่าการที่จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างความรู้...

ในการทำกระบวนการของ Facilitator ต้องไม่ทำหน้าที่ของการเป็นผู้ผูกขาดความรู้ หากแต่พึงทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างความรู้...จะกระบวนการที่สนับสนุนผ่านเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อที่จะให้สมาชิกในกลุ่มได้เกิดการสร้างความรู้ความเข้าใจในตัวของเขาเอง

การเรียนรู้ใน work shop R2R Facilitator นั้นมีจุดเปลี่ยนเกิดขึ้นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนในมิติที่ลึกซึ้ง คือ เรื่องเล่าของ OTTO ที่ อ.หมอเชิดชัยนำมาเล่าเรื่องให้กับทาง floor ได้ฟัง...

ขณะที่ทุกคนได้ฟังเรื่องของฝูงแกะ OTTO นั้น ในหัวใจของแต่ละคนได้เกิดการเคลื่อนไปสู่ความอ่อนโยนและเกิดการเรียนรู้ในบทบาทของความเป็น Facilitator 

ฝูงแกะ...ที่พยายามเรียนรู้...

ค้นหาหนทางที่จะนำพาตนเองไปสู่ความอยู่รอดปลอดภัยจากฝูงหมาป่า

OTTO ทำหน้าที่เป็นผู้กระตุ้น ให้ฝูงแกะลุกขึ้นมาหาหนทางเพื่อที่จะไม่ยอมจำนนต่อปัญหาที่เกิดขึ้น หลายตัวท้อ หลายตัวตกอยู่ในความหวาดกลัว แต่ OTTO ก้ได้เป็นผู้จุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจให้แกะตัวอื่นๆ ได้ลุกขึ้นมาหนทางเพื่อแก้ปัญหา

และแล้วฝูงแกะก็พบว่า ...สาเหตุที่หมาป่ามาจับแกะกินได้นั้นมีเหตุปัจจัยมาจากอะไร จากนั้น...ก็หาวิธีการที่จะแก้ไข ซึ่งเป็นการแก้ไขที่ต้นเหตุนั้น

หากว่าในตอนนั้นข้าพเจ้าเป็นวิทยากรกระบวนการ

ข้าพเจ้าได้เห็นโอกาสที่จะนำเรื่องราวของ OTTO มาเชื่อมโยงสู่การฝึกฝนการตั้งคำถามการวิจัย และการเรียนรู้กระบวนการวิจัย เพราะเรื่องราวของ OTTO นั้นเป็นได้มากกว่าการสร้างแรงบันดาลใจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

แล้วเท่าที่สังเกตเห็นจะพบว่า...หัวใจของผู้ฟังทั้งหลาย เปิดออกรับพร้อมสู่การเรียนรู้ บรรยากาศของความสุข ความประทับใจเริ่มเกิดขึ้น

หลายๆ คนได้สะท้อน...เสียงออกมาให้ได้รับทราบว่า "จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นแล้ว" หลายคนเกิดความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของ Fa และหากว่าเราเป็นวิทยากรกระบวนการเราต้องคว้าโอกาสนี้ นำพาเคลื่อนเข้าไปสู่กระบวนการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งเข้าไปอีก...

แต่...เสียดาย

เราจบเรื่อง OTTO ลง...

แล้ววกกลับมาสู่การเรียนรู้ผ่าน Data หรือ Information ... สภาวะการเสียสมดุลทางการเรียนรู้เริ่มเคลื่อนเข้ามา เพราะเราเข้าไปสู่การเรียนรู้ที่ยาก ...

การบ่มเพาะ Fa ต้องดำเนินไปทั้งแบบมีรูปแบบ และไร้รูปแบบ

รูปแบบ...จะทำให้เกิดการปิดกั้นศักยภาพแห่งการเรียนรู้เพราะดูคล้ายเป็นเบ้าหลอมหลอมคนเรียนออกมาเป็นพิมพ์เดียวกัน ดังนั้นหลายๆ ครั้งเราจึงมักพบว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งหลาย เป็นเพียงกักคนมาเพื่อป้อนข้อมูล มากกว่าการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มเปี่ยมด้วยศักยภาพ

การเรียนมักมุ่งให้ความรู้ แต่ผลที่ได้มีเพียง ๕ เปอร์เซนต์ที่เกิดขึ้น แตกต่างกับการเรียนรู้ที่ไร้รูปแบบ...ผลลัพธ์แห่งการเรียนรู้มักจะเกินร้อย เพราะการเรียนรู้อย่างไร้รูปแบบนั้น เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เกิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยวิทยากรกระบวนการทำหน้าที่เป็นผู้จัด...สิ่งแวดล้อมและกระบวนการต่างๆ ที่จะนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้ด้วยหัวใจที่ใคร่ครวญ

หลายปีที่ผ่านมา ข้าพเจ้าฝึกฝนใช้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้...ผ่านการกระตุ้นให้เกิดการสร้างความรู้ เช่น...ใช้เรื่องเล่า ใช้วีทีอาร์...ใช้คนต้นแบบ เข้ามาส่งเสริมของคนหน้างานทั้งหลายได้เกิดการเรียนรู้สู่ความเข้าใจในการทำ R2R และเป็นการทำ R2R อย่างมีความสุข

เวลาที่ไปเป็นวิทยากร...ข้าพเจ้าจึงมักฝึกฝนตนเองเป็น "วิทยากรกระบวนการ" ที่คอยอำนวยสนับสนุนให้ผู้ที่เข้าร่วมเรียนได้เกิดการสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง และจะไม่ทำหน้าที่ผูกขาด...ความรู้ด้วยการทำตัวเป็นผู้บรรยายความรู้นั้นๆ...

และในสองวันครึ่งของเวทีบ่มเพาะ R2R Facilitator ในครั้งนี้ ...

ได้เกิดปรากฏการณ์ในสองรูปแบบเกิดขึ้น...

สุขๆ ทุกข์ๆ...คละกันไป แต่ภาพรวมก็ยังทำให้ Fa ทุกท่านยิ้มได้อย่างมีความสุข

นั่นอาจเป็นเพราะว่า...บรรยากาศกว่า ๗๐ เปอร์เซนต์เต็มเปี่ยมไปด้วยมิตรภาพ 

ดังนั้น กระบวนการบ่มเพาะ Facilitator วิทยากรต้องทำหน้าที่ของความเป็น "กระบวนกร" ให้มากกว่าการเป็น "ผู้บรรยาย"...แล้วเราจะสามารถทำให้ทุกคนที่กลับบ้านไปรอคอยวันที่จะกลับมาเรียนรู้ร่วมกันอีก ...

...

๒๒-๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 483180เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2012 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณอุบาสิกาปุ๋ม (ขออนุญาตเชื่อมคำซะเลย) ที่ช่วยสะท้อนแง่คิดที่น่าสนใจ เพื่ออนุเคราะห์แก่วิทยากรจากภายนอก อาจจะต้องมีวิธีการจัดการให้เกิดความเข้าใจ และเวทีให้เราได้ร่วมเป็นวิทยากรกระบวนการด้วยอีกคน

เรียน อ.กะปุ๋ม

๑. ระหว่าง "การเรียนรู้ที่สร้างแรงบันดาลใจ การไคร่ครวญ กับ ความรู้ที่ได้จากการบรรยาย" ส่วนตัวแล้วคิดว่าสำคัญทั้งคู่่และผู้เรียนจะพยายามไขว่คว้าหาสมดุลไปเรื่อยๆ ๒. ชอบ Mind Map ของกลุ่มอาจารย์ค่ะ มีโลโก้ OTTO ด้วย

FUN FUN SANOOK นะคะ

ทำให้นึกถึง...ประเด็นนี้ค่ะ

  • ปฏิบัติ
  • ปฏิเวธ

และนำมาตรวจสอบกับ... ปริยัติอีกครั้ง

นั้นคือ...นำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้แบบ "การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ" ...ด้วยการถูกกระตุ้นให้สงสัย โดยใช้คำถามเป็นตัวนำทาง แล้วก้าวไปสู่การแสวงคำตอบด้วยการลงมือทำ

จากนั้น ... เติมองค์ความรู้เข้าไป เมื่อเราทราบว่า "ผู้เรียนยังขาดหรือยังอ่อนอะไร"...หากทำเช่นนี้จะทำให้การเรียนรู้สนุกขึ้น

แต่จากประสบการณ์ เรามักเริ่มต้นด้วยการ "บอกความรู้" โดยผู้สอนทำหน้าที่บอกความรู้ จากนั้นค่อยให้เราไปฝึก ... กระบวนการเช่นนี้ ทำให้กระบวนการสร้างความรู้เกิดขึ้นหรือดำเนินได้ช้า เพราะปัญญาได้ถูก block ไว้ก่อนแล้วในส่วนหนึ่ง

...

Large_zen_pics_007

ยกตัวอย่างเช่น...

หากเราต้องการที่จะให้คนในห้องประชุม..นั้นรู้ความหมายของ R2R และคุณค่าที่ได้จากการทำ R2R

เราสามารถที่จะจัดกระบวนการ โดยไม่ต้องบรรยายว่า R2R คือ อะไร และไม่ต้องบอกความรู้ว่าคุณค่าที่ได้จากการทำ R2R คือ อะไร

การเรียนรู้ ผ่านกระบวนการ โดยกระบวนกร(Facilitator)อาจจะให้ผู้เรียน...ได้ดูเรื่องราวการทำ R2R ผ่านคนต้นแบบ ซึ่งอาจจะเป็น "คนเป็นมาเล่าเรื่อง" หรือ ผ่าน VTR หรืออาจเป็นวิธีอื่นที่ต่างๆ จากนี้ ที่ไม่ใช่การบรรยายเพียงอย่างเดียว

จากนั้น...เราให้เขาใคร่ครวญ (โยนิโสมนสิการ) ถึงความหมายตามความเข้าใจของเขา

การใคร่ครวญถึงความหมาย สมองส่วน "เหตุและผล" กำลังทำงาน จากนั้น... ให้ใคร่ครวญถึงคุณค่าที่ได้...ช่วงนี้แหละค่ะ สมองส่วน "สุนทรียะ" ทำงาน...

จากนั้น ...นำสิ่งที่เขาสะท้อนออกมา...Reflex กลับไป

แล้ว...เราค่อยเติมองค์ความรู้ในส่วนที่ขาดเข้าไป

...

เป็นการเรียนรู้ ที่ไม่ผูกขาดว่า เป็นการบอกความรู้...

เป็นต้นค่ะ...

Large_zen_pics_007

เรียน อาจารย์

ผมเห็นวามงดงามมากยิ่งขึ้น จากบันทึกและความเห็นทั้งหมดครับ

ขอบคุณครับอาจารย์

ขอบพระคุณค่ะคุณอดิเรก...

Large_zen_pics_007

ชอบตรงนี้มากค่ะ รูปแบบ...จะทำให้เกิดการปิดกั้นศักยภาพแห่งการเรียนรู้เพราะดูคล้ายเป็นเบ้าหลอมหลอมคนเรียนออกมาเป็นพิมพ์เดียวกัน ดังนั้นหลายๆ ครั้งเราจึงมักพบว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งหลาย เป็นเพียงกักคนมาเพื่อป้อนข้อมูล มากกว่าการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มเปี่ยมด้วยศักยภาพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท