work shop R2R Facilitator รุ่นที่ 1 ครั้งที่ 1


หลังจากที่ในแต่ละปี จะจัดเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คุณอำนวย R2R ในปีนี้คณะทำงานได้จัดเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ถือเป็นหลักสูตร advance สำหรับคุณ Fa ทั้งหลาย

 

โครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มศักยภาพทีมสนับสนุนงานวิจัย R2R

เรื่อง “คุณอำนวยขั้นเทพ” 

หน่วยงานรับผิดชอบ

โครงการสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยระดับประเทศ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) 

 

หลักการ และเหตุผล

จากการลงนามความร่วมมือทางวิชาการเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.. 2551 ระหว่าง คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนทางด้านวิชาการ การบริหารจัดการนโยบาย และงบประมาณในการดำเนินการเพื่อสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายสนับสนุนการทำงานวิจัย R2R และเครือข่ายนักวิจัย R2R ทั่วประเทศให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน อันจะนำมาซึ่งผลงานวิจัยจากงานประจำที่น่าเชื่อถือและสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงงานประจำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างแท้จริง รวมทั้งจัดการส่งเสริมให้มีเครือข่ายนักวิจัย R2R ที่มีความสนใจตรงกันมาทำงานวิจัยร่วมกันในเชิงระบบเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงระบบสุขภาพซึ่งใช้หลักฐานข้อมูลสนับสนุนจากงานประจำอย่างแท้จริง

ในการนี้ โครงการสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยระดับประเทศ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จึงจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มศักยภาพทีมสนับสนุนงานวิจัย R2R เรื่อง “คุณอำนวยขั้นเทพ” โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อเพื่อฝึกฝนทักษะที่สำคัญสำหรับคุณอำนวยในเครือข่ายวิจัย R2R และเพื่อให้เกิดเครือข่ายคุณอำนวย ผู้สนับสนุน รวมทั้งเครือข่ายการจัดการที่สนับสนุนการทำงานวิจัย R2R ในภูมิภาคต่างๆ เพื่อเป็นแกนกลางในการขับเคลื่อนการทำงานวิจัย R2R ในทุกภูมิภาค

วัตถุประสงค์

เพื่อฝึกฝนทักษะที่สำคัญสำหรับคุณอำนวยในเครือข่ายวิจัย R2R

เพื่อให้เกิดเครือข่ายคุณอำนวย ผู้สนับสนุน รวมทั้งเครือข่ายการจัดการที่สนับสนุนการทำงานวิจัย R2R ในภูมิภาคต่างๆ เพื่อเป็นแกนกลางในการขับเคลื่อนการทำงานวิจัย R2R ในทุกภูมิภาค

ผู้เข้าร่วมประชุม

คุณอำนวยที่ได้รับการสนับสนุนจากเครือข่าย R2R ทุกภูมิภาค ประกอบด้วยหลากหลายสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย เช่น แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักโภชนบำบัด นักรังสีรักษา นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักวิชาการสาธารณสุข

มีความเข้าใจในแนวคิด R2R

มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยหรือมีส่วนในการสนับสนุนงานวิจัยมาก่อน

สามารถเข้าร่วมอบรมได้ทั้ง 3 ครั้ง 

 

วัน เวลาและสถานที่จัดประชุม

ครั้งที่ 1 วันพฤหัสบดีที่ 22 ถึง วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม 2555 เวลา 08.30 – 16.30 . ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ 2 โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ

ครั้งที่ 2 วันจันทร์ที่ 30 เมษายน ถึง วันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2555 เวลา 08.30 – 16.30 . ณ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล “บ้านผู้หว่าน” จ.นครปฐม

ครั้งที่ 3 วันพุธที่ 6 ถึง วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน 2555 เวลา 08.30 – 16.30 . ณ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล “บ้านผู้หว่าน” จ.นครปฐม

 

วิธีการจัดประชุม

การอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยจัดในรูปแบบของการบรรยายโดยวิทยากรแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) อภิปราย ฝึกปฏิบัติ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอตัวอย่างความสำเร็จจากผู้ปฏิบัติจริง และกิจกรรมกลุ่มย่อย ตลอดจนมีการซักถามในประเด็นเนื้อหาที่มีการนำเสนอ

 
และแล้วการอบรมในครั้งแรกก็ผ่านไปด้วยความเรียบร้อย ความสุขและรอยยิ้ม
แม้ว่าในวันสุดท้ายจะเรียนรู้ในเรื่องที่ยาก แต่ก็ไม่ได้ถึงขั้นที่ว่า คุณ R2R Fa ทั้งหลายจะเสียขวัญและกำลังใจ
 
ต้องเรียนรู้ผ่านเรื่องยาก...แต่เรื่องยากนั้นต้องคอยมีพี่เลี้ยงประคับประคองกันไป
 
ในครั้งนี้ข้าพเจ้าได้มีส่วนร่วม เป็นคุณอำนวยประจำกลุ่มย่อย และเป็นวิทยากรกระบวนการในช่วงเวลาสั้นคือ ช่วงก่อนเข้าสู่บทเรียนต่างๆ เป็นกิจกรรมต้อนรับวันใหม่...
 
 
    
 
ข้าพเจ้าชอบในห้วงเวลานี้ เพราะได้เป็นส่วนหนึ่งที่นำพาผู้คนให้เกิดการรวมของจิตใจและชีวิต แม้ว่าจะเป็นนามธรรมที่จับต้องไม่ได้แต่ข้าพเจ้าก็รู้สึกยินดีที่ได้หยิบยื่นเข้าไปในสู่คุณ R2R Fa ทุกท่าน
 
ในกลุ่มย่อย คือ กลุ่ม ๙ ที่ข้าพเจ้าได้มีส่วนร่วม
ในเบื้องต้นเราได้ทำความรู้จักกัน และจากนั้นข้าพเจ้าทดลองนำตัวเองออกจากกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มเรียนรู้และแลกเปลี่ยนกันอย่างเป็นอิสระ...พอเห็นกลุ่ม Relax ขึ้นข้าพเจ้านำตัวเองกลับเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง และในขณะเดียวกันเปิดโอกาสให้กลุ่มได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่ โดยที่ตัวข้าพเจ้าเอง...ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้สังเกต และคอยสนับสนุน
 
เพราะหากว่า...หากเราพูดมากเกินไป สมาชิกในกลุ่มจะไม่กล้าแสดงออกถึงศักยภาพของตนเองออกมา ด้วยความเกรงใจ เราทำหน้าที่เป็นเพียงผู้อำนวย...กลุ่มจะ Run ไปได้เองตามศักยภาพที่เขามี
 
 
ข้าพเจ้าเชื่ออย่างหนึ่ง...
Fa นั้น...คือ ส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะนำให้กระบวนการนั้นๆ เคลื่อนไปได้ ดังนั้น Fa ต้องระวังเรื่องการทำตัวเป็นผู้รู้
 
หาก Fa สามารถเปลี่ยนตัวเองจากผู้รู้...แปรเปลี่ยนไปเป็นกัลยาณมิตร จะช่วยทำให้บรรยากาศนั้นเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มที่ อันเป็นเรียนรู้ที่ผลักดันออกมาจากภายใน ไม่ใช่เป็นการเรียนรู้จากการถูกป้อนข้อมูล หรือ information เข้าไป
 
โดยส่วนมากเรามักจะเห็น Fa ทำตัวเป็นผู้รู้
มากกว่าการเป็นผู้อำนวยสนับสนุน
 
ในฐานะที่เป็น Fa สิ่งหนึ่งที่เราพึงตระหนักคือ การไม่ทำให้ผู้คนที่ร่วมอยู่ในกระบวนการนั้นบอบช้ำ
เพราะเวทีกระบวนการพึงเป็นเวทีที่เปี่ยมไปด้วยพลัง
 
สิ่งที่ดำเนินขึ้นในสองวันครึ่งที่ผ่านมานั้น คือ เวทีของการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความดีความงามที่มีอยู่ในผู้คน
เขาทุกคนพร้อมเข้ามาร่วมเป็นหนึ่งเดียว
 
 

...

๒๒-๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕





หมายเลขบันทึก: 483176เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2012 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท