การพัฒนาความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชน


ป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชน

การพัฒนาความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชน : กรณีศึกษาบ้านไผ่ทอง ตำบลช้างมิ่ง

อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร

วิทยานิพนธ์ของ กัลยกร การุญ

สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครพ.ศ. ๒๕๕๑

          โรคไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic  Fever : DHF) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ที่พบเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็น RNA Virus มี 4 สายพันธ์ (Serotypes) ได้แก่ DEN1, DEN2, DEN3 และ DEN4 ผู้ป่วยจึงมีโอกาสเป็นไข้เลือดออกได้หลายครั้ง เชื้อนี้มียุงลายเป็นพาหะและเป็นปัญหาของประเทศเกือบทั่วโลก ทั้งในทวีปแอฟริกา เอเชีย อเมริกากลาง หมู่เกาะแคริบเบียน หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ยุโรป และทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย โดยเริ่มมีรายงานตั้งแต่ปี พ.ศ.2492 และเกิดการระบาดครั้งแรกที่ฟิลิปปินส์ เมื่อ พ.ศ.2497 ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุก 3-5 ปี จะเห็นได้ว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกได้กลายเป็นปัญหาที่นักสาธารณสุขต้องรีบดำเนินการควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง เพราะกลุ่มผู้ป่วยสูงสุดยังคงอยู่ในช่วงอายุ 5-9 ปี คิดเป็นร้อยละ 37 ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งเป็นนักเรียนในระดับอนุบาลและประถมศึกษา รองลงมาคือกลุ่มอายุ 10-14 ปี คิดเป็นร้อยละ 28 กลุ่มอายุ 0-4 ปี คิดเป็นร้อยละ 19 และกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 15 ตามลำดับ

          ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาที่บ้านไผ่ทอง ตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร โดยใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคือการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคไข้เลือดออก โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ทดลองรูปแบบการพัฒนาความรู้และพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกกับประชาชน จำนวน 128 คน การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและบริบทของชุมชน

- ศึกษาข้อมูลทั่วไปของชุมชน และสภาพปัญหาสุขภาพของชุมชน

- วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสารต่างๆนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปใช้ประกอบารสร้างยุทธศาสตร์

ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบยุทธศาสตร์การพัฒนา

- ร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก

- ยุทธศาสตร์การพัฒนาความรู้และพฤติกรรมสุขภาพเพือ่ป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก ส่วนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการควบคุมป้องกันโรค
          ผลการวิจัยพบว่า หลังการอบรมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชน โดยใช้เทคนิค AIC นั้น ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมากขึ้น และมีพฤติกรรมเกี่ยวกับการควบคุมโรคไข้เลือดออกสูงกว่าก่อนการพัฒนา และให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่น เช่น วิธีการในการควบคุมการแพร่ระบาดของยุงลายคือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทำโดยป้องกันไม่ให้มีน้ำขังในภาชนะ เช่น คว่ำขัน กะละมัง ที่อยู่นอกบ้าน ไม่ให้มีน้ำขัง ใส่สารฆ่าแมลงหรือสารควบคุมการเจริญเติบโตของยุงลาย เช่น ทรายอะเบต ในพื้นที่อย่างไรก็ดีเชื่อกันว่าการพ่นยาฆ่าแมลงเป็นครั้งๆ ไปนั้นได้ผลไม่คุ้มค่าเมื่อพิจารณาว่าการใส่สารฆ่าแมลงลงในพื้นที่นั้นมีผลเสียมากกว่าที่จะรับได้ และการให้สารควบคุมการเจริญเติบโตของยุงลายนั้นเป็นการยากที่จะทำได้ทั่วถึง การลดปริมาณแหล่งน้ำขังด้วยการควบคุมภาชนะนอกบ้านจึงเป็นวิธีที่เป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับมากที่สุดนอกจากนี้ยังอาจสามารถป้องกันไม่ให้ยุงลายกัดได้โดยใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด นอนกางมุ้งหรือใช้ยาไล่ยุง เป็นต้น
คำสำคัญ (Tags): #โรคไข้เลือดออก
หมายเลขบันทึก: 483173เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2012 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 02:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ลองหายุทธศาสตร์มาปราบยุงท่ีบ้านทีมีเยอะมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท