โรงหีบน้ำมันปาลฺมขนาดเล็กที่ต้องฝ่าฟันต่อไป


เมื่อต้นเดือนก่อนที่ผมเดินทางเข้าแข่งขันในกีฬา"ขอนแก่นเกมส์"ผมได้แวะผ่านเมืองเลย เพื่อพบกับคุณกองไล ผู้ที่หีบสกัดน้ำมันปาล์มส่งโรงงานในกรุงเทพ

 

ผมพบว่าคุณกองไลเป็นผู้หีบสกัดน้ำมันปาล์มรายย่อยในภาคอีสานไม่กี่รายที่ยังเหลืออยู่ เหตุที่ยังดำเนินการอยู่ได้เพราะความเป็น"ช่าง"ที่มีอยู่ในตัวคุณกองไลเอง

 

สิ่งที่ผมคิดมาก่อนก็คือ การสนับสนุนในบางยุทธศาสตร์ของรัฐนั้นมองไม่ครบวงจร ดังเช่น นโยบายปลูกปาล์มในภาคอีสานแบบไม่มีโรงหีบสกัด

 

จ.หนองคาย ปลูกปาล์มมา 8 ปีแล้ว จ.เลย ปลูกมา 7 ปี จ.นครพนมปลูกปาล์มมา 6 ปีแล้ว ซึ่งปาล์มมีผลผลิตแล้ว แต่ยังไม่มีโรงหีบสกัดน้ำมันปาล์มไปตั้งอยู่ใกล้ๆ

 

คุณกองไล หีบสกัดน้ำมันปาล์มได้เดือนละ 16-20 ตัน ใส่รถบรรทุกส่งขายกรุงเทพฯ ครั้งละ 8 ตัน เป็นน้ำมันปาล์มกรดสูง FFA ไม่เกิน 10% ซึ่งยังมีการรับซื้ออยู่ การขนส่งแต่ละครั้ง มีค่าใช้จ่ายซึ่งผมประมาณว่ากิโลกรัมละ 60 สตางค์ ปาล์มทะลาย 4-5 ตันจะหีบน้ำมันได้ 1 ตัน ซึ่งหากต้องขนส่งปาล์มทะลายเข้ามาหีบสกัดในส่วนกลางจะมีค่าขนส่งและการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอีกกิโลกรัมละ 1.8-2.4 บาทต่อกิโลกรัม

 

โรงหีบของคุณกองไลจัดว่าเป็นขนาดที่เล็กมาก ผมให้ตัวเลขเป็น 90 ตันทะลายต่อเดือน ซึ่งวันหนึ่งจะรับปาล์มทะลายเข้าโรงงานเพียง 3 ตันเท่านั้น 

 

แต่ผมมองว่าโรงหีบสกัดน้ำมันขนาดเล็กนั้นมีคุณค่า หากกระจายไปตั้งอยู่ใกล้บริเวณสวนปาล์ม จะมีการจ้างงาน ลดการใช้พลังงานขนส่ง ช่วยเหลือเกษตรกรให้ทำงานในพื้นที่มากขึ้น เป็นต้น

 

แต่การแข่งขันในระยะยาว ก็ยังต้องรอดูกันต่อไปครับ

 

ผม..เอง

หมายเลขบันทึก: 482778เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2012 06:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท