๒๖๑.ข้อเสนอเพื่อการจัดการปัญหาการฆ่าตัวตาย


ข้อเสนอของคนพะเยาเพื่อการพัฒนาฯ ด้านการจัดการจัดการปัญหาการฆ่าตัวตาย

๔.

การจัดการปัญหาการฆ่าตัวตาย

 

๑.ข้อเสนอระดับพื้นที่

                (ไม่มี)

๒.ข้อเสนอระดับจังหวัด/ภาค

                (ไม่มี)

๓.ข้อเสนอระดับนโยบาย

                ๑.ให้คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานประกันคุณภาพแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณา กำหนด นโยบายในด้านต่าง ๆ ดังนี้

                                ๑.๑.พิจารณากำหนด นโยบาย มาตรการ และกลไกการดำเนินการเพื่อการคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยทางจิต ผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิต และผู้ทำร้ายตนเอง

                                ๑.๒.สนับสนุนให้มีการเผยแพร่ข่าวสารและกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการเจ็บป่วยทางจิต ลดอคติที่สังคมมีต่อผู้ป่วยทางจิต ผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิต และผู้ทำร้ายตนเอง และครอบครัว อันจะเป็นการลดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการจากปัจจัยทางสังคมลง

                                ๑.๓.สนับสนุนการพัฒนาระบบบริการให้คำปรึกษา โดยการบูรณาการความร่วมมือหน่วยงานและองค์กรภาครัฐ เอกชน และองค์กรชุมชน

                                ๑.๔.ขอความร่วมมือและผลักดันให้องค์กรสื่อสาร มวลชน ได้แก่ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สามพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยเครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ทุกภูมิภาค กสทช. กระทรวง ICT เพื่อ

                                                ๑.๔.๑.พัฒนากลไกการควบคุมการนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายระหว่างสื่อมวลชนกันเอง โดยอาศัยมาตรการทางจรรยาบรรณวิชาชีพ

                                                ๑.๔.๒.สนับสนุนการนำเสนอข่าวสารด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจ(Resilience) และความรู้เรื่องความเจ็บป่วยทางจิต ผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิตและผู้ทำร้ายตนเอง

                                ๑.๕.ขอความร่วมมือให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยร่วมกับสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัด และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงศึกษาธิการ สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบการพัฒนาระบบการช่วยเหลือเกื้อกูลภายในชุมชน เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย ประกอบด้วย

                                                ๑.๕.๑.พัฒนากลไกลการสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ(Resilience) และการเกื้อกูลกันภายในชุมชน ตลอดจนพัฒนาระบบบริการทางสังคมที่มีคุณภาพสำหรับประชาชนในพื้นที่ โดยครอบคลุมถึงการเผยแพร่หลักคำสอนทางศาสนา การพัฒนาทักษะชีวิตในทุกช่วงวัย การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลจิตใจและสร้างความสุข การพัฒนามาตรการทางสังคมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและเพิ่มปัจจัยปกป้องต่อการฆ่าตัวตาย

                                                ๑.๕.๒.จัดให้มีระบบข้อมูล โดยคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคลของผู้ป่วย เพื่อการค้นหาและช่วยเหลือผู้มีปัญหาในการดำรงชีวิต ผู้มีปัญหาครอบครัวและกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ

 

หมายเลขบันทึก: 482074เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2012 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท