ทำไม! ต้องสื่อ...ความก้าวร้าว


เยาวชนที่ยังขาดซึ่งวิจารณญาณในการกลั่นกรองสิ่งผิด ถูก ดี ชั่ว อาจโน้มนำสื่อประเภทสีดำที่ยังไม่ตกตะกอนแห่งปัญญาไปเลียนแบบ ซึ่งคราบหมอง ๆ ของตะกอนที่ยังไม่นิ่งอาจจะเกาะติดกัดกินใจเยาวชนจนกลายเป็นสีดำยากต่อการชะล้างออก

          อุณหภูมิเริ่มร้อนระอุขึ้นทุกวัน จนทำให้ปรอทแทบจะแตก ขณะเดียวกันสื่อชนิดต่าง ๆ ก็กำลังเพิ่มทวีความร้อนแห่งการแข่งขันขึ้นทุก ๆ วัน เช่นกัน  “สื่อ” เป็นตัวแบบประเภทสัญลักษณ์ มีความสำคัญต่อการลอกเลียนแบบของเยาวชนอย่างมาก หากสื่อที่นำเสนอออกไปเป็นไปในเชิงลบหรือไม่สร้างสรรค์

          เยาวชนที่ยังขาดซึ่งวิจารณญาณในการกลั่นกรองสิ่งผิด ถูก ดี ชั่ว อาจโน้มนำสื่อประเภทสีดำที่ยังไม่ตกตะกอนแห่งปัญญาไปเลียนแบบ ซึ่งคราบหมอง ๆ ของตะกอนที่ยังไม่นิ่งอาจจะเกาะติดกัดกินใจเยาวชนจนกลายเป็นสีดำยากต่อการชะล้างออก จึงเป็นหน้าที่ของผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องคอยสอดส่องดูแลให้คำปรึกษาแก่บุตรหลานของตนอย่างใกล้ชิด เพื่อเขาจะได้ไม่เดินหลงทางลอกเลียนแบบพฤติกรรมแห่งความก้าวร้าวติดตัวไปจนเติบใหญ่และอยากต่อการแก้ไข
 
          หลายวันก่อนได้เข้าไปสืบค้นบทความจากอินเตอร์เน็ต “Inside ชีวิต : การพัฒนาสื่อ เพื่อการพัฒนาคน”  โดย...ผู้จัดการรายสัปดาห์  21 กรกฎาคม 2548  ซึ่งได้ถอดสรุป เรื่องบทบาทของสื่อที่มีผลต่อความรุนแรงของเยาวชนอย่างไร และควรมีวิธีการจัดระเบียบเนื้อหาความรุนแรงในสื่ออย่างไร โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์และสิ่งพิมพ์

          1. ความรุนแรงหรือความก้าวร้าว เป็นแรงขับที่มีอยู่แล้วในทุกคน ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด ในเด็กจะเห็นชัดเจนเวลาโกรธ จะก้าวร้าวโดยไม่ต้องมีใครสอน ทางจิตวิเคราะห์เปรียบเทียบว่าเด็กเกิดมาเสมือนเป็นผ้าสีดำที่มีสันดานดิบอยู่ เช่น ความก้าวร้าว เห็นแก่ตัว เอาแต่ได้ เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ครู และสังคมจะต้องพัฒนาให้กลายเป็น "เหตุผล" และเป็น "คุณธรรม" ต่อไป
          ถ้าอบรมสั่งสอนหรือพัฒนาไม่ดี เด็กก็จะมีสีดำอยู่มากตลอดไปจนตาย
      
          2. เนื่องจากทุกคนมีความรุนแรงอยู่แล้วในใจ ถ้าได้รับแรงกระตุ้นจากสื่อหรือสิ่งแวดล้อมที่เสนอเรื่องความรุนแรง เช่น จากข่าว ละคร หรือในชีวิตจริงที่พ่อแม่แสดงความก้าวร้าวเป็นตัวอย่าง เด็กหรือคนทั่วไปจะเลียนแบบความก้าวร้าวได้มาก (Identify with Aggressor) แม้จะรู้ว่าไม่ดี แต่เมื่อมีโอกาสก็จะทำตามสิ่งที่เห็นนั้น เพราะรู้สึกได้เปรียบ
      
          3. สื่อ...มีความสำคัญต่อการพัฒนา การเลียนแบบอย่าง และการเรียนรู้ของมนุษย์มาก คนพร้อมจะเชื่อสื่อมากกว่าการบอกกล่าวด้วยปาก และการกระจายเรื่องราวทางสื่อเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางมากในปัจจุบัน 
          คนที่ทำสื่อหรือผู้บริหารสื่อจึงควรจะมีวิจารณญาณ (ความฉลาดในการเลือกหรือ Insight) และมีความรักเพื่อนมนุษย์ให้มาก ๆ จึงจะรู้ว่าสิ่งใดควรนำเสนอเพื่อให้เกิดความรักในหมู่มนุษย์ และไม่ไปกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงก้าวร้าว หรือเลียนแบบอย่างที่ไม่ดี
          สื่อในสังคมที่กำลังพัฒนาจึงควรจะเดินหน้าสังคม 1 ก้าวเสมอ เพื่อสื่อจะได้เป็นอุปกรณ์ ชี้แนะแนวทางที่เหมาะสมให้กับผู้คนในสังคมด้วย ถ้าสื่อเสนอตามความเป็นจริงหรือบิดพริ้วให้เกิดความเข้มข้นตามบุคลิกของผู้ทำสื่อ ก็จะไม่เกิดความสร้างสรรค์ในสังคม คนในสังคมจะมีวิสัยทัศน์ที่ผิดๆ เสพย์อารมณ์ที่ไม่ดี และเลียนแบบอย่างที่ไม่ดีจากสื่อได้มาก
      
          4. พ่อแม่ ครู และผู้ใหญ่ในสังคม ก็ต้องการการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อจะไปพัฒนาเด็ก หรือยกระดับคุณภาพชีวิตของตน จะสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อได้เป็นอย่างดี สื่อจึงมีความสำคัญกับคนทุกกลุ่มในขณะนี้
          ถ้าปล่อยให้สื่อเสนอเรื่องราวไปตามกระแสหรือมีอิสระมากไป ทำอะไรโดยไม่มีความยั้งคิดไม่มีใครกล้าท้วงติง สภาพของคนในสังคมก็จะขาดเป้าหมายและหลงทางต่อไป   
          ถ้าจะมีองค์กรกลาง (ที่ดี) มาคอยดูแลและพัฒนาสื่อให้มีบทบาทที่เหมาะสม ก็จะเหมาะแก่สถานการณ์ปัจจุบันของสังคมเรา
      
          5. คำว่า "สื่อ" เป็นสิ่งที่ดี ถ้ามีผู้บริหารสื่อที่ดีและมีวิจารณญาณแต่คนที่ใช้สื่อหรือบริหารสื่อมีทั้งดีและไม่ดี พวกที่ไม่ดี ได้แก่พวกที่มีบุคลิกภาพชนิดต่อต้านสังคม (Antisocial) ชนิดระแวง (Paranoid) ชนิดก้าวร้าวแบบระเบิด (Explosive) ชนิดอ่อนนอกแข็งใน (Passive Aggressive) ชนิดชอบเห็นความเจ็บปวดรุนแรง (Sadism) หรือชนิดมีปมด้อย (Inadequate) ทั้งหมดนี้จะไม่รักเพื่อนมนุษย์ พร้อมจะแสดงหรืออยากเห็นความก้าวร้าวรุนแรงในหมู่มนุษย์ ถ้าได้ทำแล้วจะรู้สึกพอใจ สะใจ สมใจ หรือมันในอารมณ์ซึ่งมีอันตรายมาก
      
          6. "ความรุนแรง" ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคนนั้น มนุษย์ต้องรู้ว่าวิธีการที่จะกด เก็บ ผ่อน ย้ายที่ หรือพัฒนาได้ จึงจะสามารถใช้ความรุนแรงที่เป็นแรงผลักที่เหลือนั้นให้เกิดประโยชน์ในชีวิตและสังคมได้
      
          7. คุณธรรม มีส่วนสำคัญที่จะลดความรุนแรง มนุษย์ต้องการการพัฒนาจากสันดานดิบให้เป็น "เหตุผล" และให้เป็น "คุณธรรม" ซึ่งต้องพัฒนาต่อเนื่องโดยพ่อแม่ ครู และสังคมช่วยอบรมสั่งสอน ถ้าไม่เช่นนั้นคนจะขาดคุณธรรม แต่จะมีสันดานดิบและเหตุผลที่แฝงสันดานดิบ ซึ่งจะเพิ่มความรุนแรง เห็นแก่ตัวมากขึ้น    
          สื่อมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาสังคมและเยาวชน

          การจะปล่อยให้สื่อเสนอเรื่องราวไปอย่างอิสระไปเรื่อยๆ เท่ากับเป็นการจูงให้คนในสังคมไร้ทิศทางหรือหลงทางมากขึ้น เพราะคนในสังคมส่วนใหญ่ยังขาดวิจารณญาณที่เหมาะสม  
          สื่อที่เหมาะสมในยุคนี้ จึงต้องมีส่วนชี้นำสังคมที่เหมาะสมด้วย

อ้างอิง :  http://www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9480000097463

หมายเลขบันทึก: 48065เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2006 23:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2012 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

     เข้ามาบอกว่ามีรายงานการวิจัยเรื่องหนึ่งผมใช้ Review ตอนเขียนเรื่อง "การประเมินผลได้ในรูปคุณภาพชีวิตหรือในรูปอรรถประโยชน์ (Quality of Life Approach) ฉบับเพิ่มเติม" เป็นเรื่องที่ทำโดยกรมสุขภาพจิต เมื่อปี 2546 เรื่อง "คุณภาพชีวิตและความเครียดของนักเรียนมัธยาศึกษาในประเทศไทย"

     เขาใช้กลุ่มตัวอย่างเกือบ 20,000 คน (เป็นกลุ่มตัวอย่าง ไม่ใช่ประชากร) จำได้ว่าในรายละเอียดตารางแต่ละตาราง เขาจะแสดงข้อมูลดี ๆ ไว้เยอะมาก เช่น การจัดการเมื่อเกิดภาวะเครียดของ นร. หรือ สาเหตุของความเครียดใน นร. เป็นต้น

     ตอนนั้นผมไม่ได้ใช้ส่วนนี้ ผมใช้เพียงการนำเพื่อดูว่าเขานำ WHOQOL-BREF-THAI ไปใช้แล้วได้ค่าความเชื่อมั่น (แอลฟ่า) ค่าความถูกต้อง (r) เท่าไหร่ เลยไม่ได้เก็บรายละเอียดนั้นไว้ ลองสืบค้นดูก็ได้นะครับ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับประเด็นที่สนใจอยู่ก็ได้ครับ

  • แวะมาอ่านครับ
  • พบว่าคนอ่านข่าวไม่มีทางเป็นข่าว
  • แต่คนอ่านข่าวแล้วเดินข้ามถนนรับรองเป็นข่าวแน่นอน
  • แวะมาทักทายก่อนไปอ่านหนังสือครับ
  • น้องสาวหายไป
  • ไม่รู้ไปป่วนบันทึกไหน
     มาทักด้วยคน ทวงการบ้านที่ถามไว้บันทึกไหนแล้วจำไม่ได้ ตอบได้แล้วครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท