เริ่มเปิดบล็อกแล้วครับ


ขอทุกท่านช่วยชี้แนะด้วยนะครับ

เชื่อแล้วครับว่ามีคนติด blog อย่างที่อาจารย์ปารมีและคุณกะปุ๋มเล่าไว้จริงๆ กลับจากการ ลปรร เกี่ยวกับ R2R วันที่ 2 กันยายน ก็เห็นมีบันทึกที่เกี่ยวข้องซึ่งล้วนสรุปได้อย่างยอดเยี่ยมเกิดขึ้นหลายบันทึกอย่างรวดเร็ว

ต้องขอออกตัวนิดนึงครับว่าผมเป็นคนเขียนหนังสือไม่เก่งครับ หวังว่าบันทึกผมคงไม่ทำให้ท่านทั้งหลายเวียนหัวนะครับ ผมก็หวังว่าจะฝึกฝนอย่างที่ท่านอาจารย์วิจารณ์กรุณาแนะนำครับว่าการเขียนจะทำให้เราสามารถ conceptualize ความคิดตัวเราเองได้

                อะไรที่มีท่านผู้เข้าร่วมประชุมเล่าแล้วผมคงไม่เล่าอีกครับ แต่จะขอเล่าความรู้สึกส่วนตัวที่รู้สึกจากการประชุมครั้งนี้ในรูปแบบของ AAR ครับ

  1. สิ่งที่ผมความหวังไว้ ในการประชุมครั้งนี้คือผมหวังที่ได้ประสบการณ์และเรียนรู้เพิ่มเติมในการจัด KM รูปแบบ success story telling ครับ ที่หวังไว้ก็เพราะผมกำลังคิดจะนำมาใช้ในการพัฒนางาน R2R ณ รพ.ศิริราช ในมากขึ้น แทนการจัด workshop ที่เน้นไปทางระเบียบวิธีวิจัยซึ่งส่วนตัวผมเห็นว่าได้รับความสำเร็จไม่ดีเท่าที่ควรครับ ไม่ใช่ว่า workshop ไม่จำเป็นนะครับแต่ผมอยากลองนำวิธีมาใหม่ๆมาใช้ครับ การที่ได้มีโอกาสเห็นการจัดนำโดย กูรู ทางด้านนี้ย่อมเป็นประสบการณ์ที่ดีเยี่ยม ยากที่จะหาได้ครับ อีกความหวังที่ผมหวังไว้คือจะได้เรียนรู้ว่าที่อื่นเค้าทำ R2R กันอย่างไร มีแนวทางอย่างไร โดยเฉพาะที่ มอ. ซึ่งท่านอาจารย์วิจารณ์เคยเล่าให้ฟังว่าได้นำ KM มาใช้พัฒนางาน R2R ใน lab อย่างน่าชื่นชมและที่รพ.ยโสธร ที่คุณหมอลัดดาเคยเล่าให้ฟังด้วยครับ
  2. สิ่งที่ผมได้ก็คือ การได้เรียนรู้การประยุกต์ใช้ KM ในการพัฒนางานวิจัยครับ ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบครับ 
  3.  สิ่งที่ได้เกินความคาดหวัง คือคุณกิจที่ผมชวนมา จากที่ผมพูดคุยด้วยรู้สึกได้เลยครับว่าทุกคนมีกำลังใจในการทำงานขึ้นอีกมากจากการได้เห็นแนวร่วมผู้ทำงาน R2R จากที่ต่างๆนอกศิริราช และผมก็เป็นการ empower ตัวผมเองด้วยว่าโครงการ R2R ที่ผมรับผิดชอบอยู่น่าจะเดินมาถูกทางแล้ว (ไว้จะเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปที่ผมมาอยู่ในตำแหน่ง ผู้จัดการโครงการนี้ ครับ มันค่อนข้างเป็นอุบัติเหตุหน่ะครับ ทราบว่าท่านอาจารย์วิจารณ์ได้เคยบันทึกไว้แล้วที่นี่ครับ แล้วจะเล่าความรู้สึกลึกๆให้ฟังครับ :) ) นอกจากนี้ผมยังได้โอกาสที่ท่านอาจารย์ ธาดา มอบให้เพื่อจัดให้มีการประชุมวิจัยในส่วนของ lab อีกด้วยครับ อาจารย์ท่านน่ารักมากๆเลยคร
  4. สิ่งที่ผมยังไม่สมหวัง อาจจะยังไม่ถึงเวลาที่จะพบได้ครับ คือ เท่าที่ผมเห็นตอนนี้มีการใช้ KM เข้ามาพัฒนางานวิจัยในหลายๆที่ แต่ยังค่อนข้างเป็นการปลุกใจ ส่วนใหญ่เป็นการสร้างความร่วมมือร่วมใจของผู้ปฏิบัติงาน แต่ผมยังไม่เห็นว่าที่ได้นำมาใช้ในส่วนอื่นๆของการพัฒนาโครงร่างงานวิจัยที่ค่อนข้างซับซ้อนในเชิงเทคนิคครับ (เช่น literature review, study design, statistical analysis and sample size determination etc.) รวมถึงการบริหารจัดการทุนวิจัยและผมยังไม่เห็นการคำนึงถึงคุณภาพของงานวิจัยอย่างเป็นรูปธรรมครับ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะยังอยู่ในช่วง early stage ครับ ผมคาดว่าคงมีให้เห็นในการประชุมครั้งต่อๆไปครับ
  5. สิ่งที่ผมจะนำไปปฏิบัติ ผมจะนำไปปรับแผนการดำเนินงานโครงการ R2R ที่ศิริราชครับซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการปรับหลายๆส่วนรวมทั้งงบประมาณด้วยครับ และผมจะดำเนินการให้เกิดการเก็บ knowledge asset จากงานวิจัย R2R ครับ ซึ่งคงมีหลายระดับครับ แน่นอนว่าต้องสนับสนุนให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่ดีที่สุดก่อนแล้วจึงลดหลั้นกันลงมาครับ ตรงนี้ท่านอาจารย์ธาดาท่านกรุณานัดให้คำปรึกษาหลังประชุม Steering committee ของ R2R ศิริราช ปลายเดือนนี้ครับ

เอาแบบเรื่องส่วนตัวนิดนึงเล่าสู่กันฟังนะครับ สำหรับวันนี้ก็เช่นเคยครับวันอาทิตย์ หลังจากไปเข้า gym ตอนเช้าตรู่ พาคุณย่าไปทานข้าวตอนเที่ยง ผมก็ไปทำงานเตรียมการบรรยายที่สำนักงานโครงการ R2R ที่ศิริราช ในขณะที่เจ้าหน้าที่สำนักงานหลายท่านเข้ามาคุมช่างซ่อมแซมสำนักงานถาวรของ R2R เราที่ตึก OPD ริมน้ำเนื่องจากประสบวาตภัยประมาณ 4 เดือนที่แล้วครับ ลมพัดหลังคาปลิว น้ำถล่มลงมาทางเพดานครับ โชคดีที่ไม่มีใครบาดเจ็บ ตอนนี้เราย้ายมาอยู่ชั่วคราวที่ตึกอดุลยเดชวิกรม ตึกนี้มี 13 ชั้น เราอยู่ชั้น 7 ซึ่งไม่น่าจะถล่มได้อีกนะครับ J, keep your fingers crossed for us แล้วว่างๆจะมาเล่าต่อครับ มีอีกหลายเรื่องที่อยากเล่าครับ

                อ้อ! เรียนคุณกระปุ๋มครับ รบกวน ใส่ ผมเข้าไปใน ดาวโลก’ (planet) ด้วยนะครับ : )

                ถ้ามีใครสามารถแนะนำการใส่รูปให้ผมได้จะเป็นพระคุณยิ่งครับ มันไม่สามารถ browse ไปที่รูปได้ใช่ไหมครับ

คำสำคัญ (Tags): #2549#กันยายน#km#aar#r2r
หมายเลขบันทึก: 48064เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2006 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 09:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีคะ..อ.หมออัครินทร์

...

นำภาพท่านมาฝากคะ...

ขนาดท่านเขียนไม่เก่งนะคะ...หากเก่งนี้จะยาวขนาดไหนคะ...

...

*^__^*

กะปุ๋ม

เร็วมากครับคุณกระปุ๋ม ขอบคุณสำหรับรูปครับ

อ.หมอคะ...ท่านลดขนาดภาพเป็น 120x190 px ก่อนนะคะ...

จากนั้นท่านไปที่ไฟล์อัลบั้มนะคะ แล้วโหลดภาพไปเก็บไว้ก่อนนะคะ...

...

เมื่อโหลดเสร็จท่านก็ไปที่แก้ไขประวัติ...ตรงช่องใส่ภาพนั้น ท่านไป coppy ชื่อลิงค์ของไฟล์ภาพนั้นไปวางได้เลยคะ...

*^__^*

ลองดูก่อนนะคะ

แล้วก็...ชวนท่านมาช่วยกระตุ้น CoP R2R ด้วยนะคะ...

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

ทำได้แล้วครับ ขอบคุณคุณกระปุ๋ม มากๆครับ

เย้...

สำเร็จๆๆๆๆ....

...

งั้นท่านเริ่มทำงานเลยคะ...ลปรร.(แลกเปลี่ยนเรียนรู้)...

และเล่าขุมความรู้ของท่าน(r2r)..ให้เราๆ...ทราบเป็นวิทยาทานด้วยนะคะ...

555...หาคนมาช่วยกระตุ้น Blog คะ กะปุ๋มกับท่าน อ.หมอปารมี...ช่วยกันพลางๆ...และวันนี้ก็มีท่าน อ.หมอวิจารณ์เข้ามาร่วมด้วย และท่าน อ.หมอสมศักดิ์ ได้หลายบันทึกมากเลยนะคะ...

*^__^*

กะปุ๋ม

 

อ.อัครินทร์คะ

         จากการลปรร.ครั้งนี้พี่เห็นอยู่อย่างหนึ่งนะคะ  ว่าสำหรับรพ.ที่ คุณอำนวย"ได้ใจ"  คุณกิจทั้งหลายมาร่วมมือร่วมใจกันทำการพัฒนางาน    จะเริ่มจากความต้องการร่วมกันที่อยากพัฒนางานของตนเอง   แล้วเอา KM กับ HA มาจับ   ทำให้ไม่ขวัญหนีไปกับ lierature  review , study  design etc.   ซึงมันไม่ง่ายเลยที่จะเรียนรู้ในระยะเวลาสั้นๆ   จะพลอยทำให้เบื่อหน่าย หวาดกลัวและตามมาด้วยการละทิ้ง   พี่คิดว่าน่าจะเริ่มตรงนี้ก่อน   ต่อเมื่อทำไประยะหนึ่งจะเกิดความสนุก  และชักมันขึ้นมา ก็จะสนใจใฝ่หาวิธีการทางเทคนิคต่อไป   เหมือนอย่างวันนี้พี่ไปติดตามงานโครงการไข้เลือดออกกับอ.ปรีดาที่รพ.สงขลา   จากที่เขาไม่เคยทำงานวิจัยมาก่อนเลยกันทั้งรพ.   แต่จากประสบการณ์การทำHA และการได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากผอ.ที่เป็นคุณเอื้ออย่างสุดๆ   พวกเขาก็สามารถเป็น collaborators ที่น่าทึ่ง    งานของพวกเขาคือ R2R จริงๆ  คือบันทึกทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยไข้เลือดออกของเขาอย่างเป็นระบบ และละเอียดยิบที่หาข้อผิดพลาดไก้น้อยมาก   พี่รู้สึกชื่นชมพวกเขามาก  แล้วตอนนี้เขาก็สนุกในการคอยลุ้นว่าผู้ป่วยที่เขาเอาเข้าโครงการตามเกณฑ์นั้นและน่าจะใช่ทางคลินิกนั้น เป็นไข้เลือดออกจริงๆหรือไม่(จากผลLab)   รวมทั้งเห็นว่าแบบแผนการดูแลและเก็บข้อมูลผู้ป่วยในโครงการนั้นเป็นแบบแผนที่สามารถดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพดีขึ้น  จึงคิดเปลี่ยนแบบแผนการดูแลผู้ป่วยที่ไม่เข้าโครงการให้เป็นแบบเดียวกัน

     ลัดดา

อ.ลัดดาคะ...(อ.อัครินทร์คะ..กะปุ๋มขอคุยกับ อ.ลัดดาที่นี่นะคะ)

เป็นไปได้ไหมคะว่า ที่จะให้คนในทีมโครงการไข้เลือดออกได้มาเล่ากระบวนการ...ที่อาจารย์มองว่านี่แหละใช่เลย R2R มาเล่าแลกเปลี่ยนกันในเวทีเสมือนนี้ CoP R2R นี้เพราะกะปุ๋มเชื่อว่าหลายที่หลายแห่งทำไปโดยที่ตนอาจไม่ได้เรียกว่า R2R หลายคนจะได้ศึกษากระบวนการไปด้วยน่ะคะ...เพื่อสานต่อต่อยอดกันไปคะ

ขอบคุณคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

  • ตามรอยท่านกะปุ๋มมาเรียนรู้ R2R ครับ
  • ยินดีต้อนรับสู่โลก Gotoknow ครับคุณหมอ

อ.ลัดดาที่เคารพ

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำที่มีประโยชน์ครับ เห็นด้วยกับคุณกระปุ๋มครับ ถ้าอาจารย์สามารถชักนำให้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยได้จะเยี่ยมมาก อยากทราบรายละเอียดวิธีดำเนินการของการวิจัยไข้เลือดออกมากๆเลยครับเพื่อจะสามารถประยุกต์ใช่กับการทำ R2R ในรพ.ศิริราชได้

เผอิญไม่ทราบในรายละเอียดนะครับ แต่ผมมีข้อสงสัยเล็กน้อยครับว่างานวิจัยแบบนี้จะสามารถ claim ได้ว่าเป็น R2R อย่างแท้จริง ทั้งนี้เพราะส่วนสำคัญในการเริ่มต้นงานวิจัยและการออกแบบงานวิจัยไม่ทราบว่าเกิดขึ้นที่ผู้ปฏิบัติงาน หน้างานหรือเกิดจาก collaboration ซึ่งมีผู้อื่นคิดให้ครับ คล้ายกับ multi-center trial ที่รพ.ที่เป็น site นั้นอาจไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มมองเห็นปัญหาเอง อย่างไรก็ดีไม่ว่าจะเป็นแบบไหนรพ.นั้นๆก็ได้ประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาบุคคลกรครับ ถ้าสามารถเชิญมาร่วมเสวนา ลปรร ได้คงจะดีมากครับ

อ.อัครินทร์คะ

ข้อสังเกตของอาจารย์กระตุ้นต่อมคิดของกะปุ๋มอย่างมากเลยคะที่ว่า

"...งานวิจัยแบบนี้จะสามารถ claim ได้ว่าเป็น R2R อย่างแท้จริง ทั้งนี้เพราะส่วนสำคัญในการเริ่มต้นงานวิจัยและการออกแบบงานวิจัยไม่ทราบว่าเกิดขึ้นที่ผู้ปฏิบัติงาน หน้างานหรือเกิดจาก collaboration ซึ่งมีผู้อื่นคิดให้ครับ คล้ายกับ multi-center trial ..."

กะปุ๋มก็เลยคิด..และทบทวน...หากบุคคลนั้นเริ่มที่ตน ตนที่คิดอยากทำเพื่อแก้ไขปัญหา...โดยอาศัยข้อมูลหรือสถานการณ์ ณ ขนาดนั้นมาประกอบเพื่อนำไปสู่การแสวงหาคำตอบ...ก็น่าจะเป็น R2R ได้นะคะ...

คิดคะคิด...อ.หมอวิจารณ์บอกว่า...ไร้รูปแบบ..ไร้กรอบ...ขอเป็นเพียงพัฒนางานประจำด้วยกระบวนการวิจัย...

*^__^*

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

 

อ.อัครินทร์คะ ยินดีต้อนรับสู่โลก Gotoknow ค่ะ  นี่ขนาดเขียนไม่เก่งนะคะ

    ข้อสังเกตของอ.อัครินทร์  ที่ว่ารพ.สงขลาทำงานวิจัยไข้เลือดออก   (ความจริงก็มีรพศูนย์ขอนแก่นอีกแห่งค่ะ) นั้นเป็นR2R  หรือว่าเป็นแค่ collaborators ที่มีคนออกแบบการวิจัยและตั้งคำถามวิจัยไว้แล้ว  แบบ multi-center  trial  ในศิริราชและอีกหลายๆแห่ง    เริ่มต้นก็เป็นอย่างนั้นค่ะ   แต่พอทำๆไปผู้ร่วมวิจัยทั้งหลายก็เห็นโอกาสในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยของตนเอง เช่นสงขลา   เมื่อวานก็มีคุณหมอท่านหนึ่งมาคุยถึงอยากเก็บข้อมูลเพื่อหา parameter ตัวอื่นๆนอกเหนือจาก Hct ในการคาดการณ์การเกิดการรั่วของน้ำในผู้ป่วยไข้เลือดออกและขอข้อมูลยืนยันทางlab จากโครงการมายืนยัน   แต่จะเก็บข้อมูลเอง  เพื่อหาคำตอบในการไปพัฒนาการเฝ้าระวังดูแลภาวะช็อคผู้ป่วยไข้เลือดออกในหอผู้ป่วย  ทางทีมเองก็เก็บข้อมูลอย่างรู้สึกสนุกในการหาคำตอบมากขึ้น  ซึงเป็นสิ่งที่อ.ปรีดา หัวหน้าโครงการ อยากให้เกิด จะได้รู้สึกสนุกและไม่เบื่อหน่ายในการเก็บข้อมูลที่ไม่รู้/เข้าใจความหมายและผลลัพธ์ของงาน   ทีมรพ.ขอนแก่นก็มีโจทย์วิจัยของตนเองอยู่ 2-3 เรื่อง  ที่อ.ปรีดาก็เชียร์ให้พัฒนาโครงร่างต่อไป ทั้งๆที่ภาระงานของเขาก็เยอะมากๆ   นี่คือสิ่งที่พี่เห็นว่ามันเกิดโอกาสของงาน R2R  ภายใต้โครงการวิจัยขนาดใหญ่   พี่ว่าศิริราชอาจจะมีโอกาสแบบนี้ได้มาก  เพราะมีโครงการแบบนี้ไม่น้อย  

     รู้สึกว่าคุยกันใน blog มีโอกาสได้คุยรายละเอียดได้มากกว่าเราคุยกันในที่ประชุม R2R ศิริราชนะคะ

    ลัดดา

    

เข้ามาทักทายครับ พึ่งเริ่มเขียน Blog ยังใช้ไม่เก่งเท่าไรครับ ไว้คงได้มีอะไรมาเขียนเพิ่มเติมบ้าง

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับ CD ของการจัดอบรมที่ศิริราชครับ

เรียน อ.พรพรต ครับ

เจ้าหน้าที่ R2R ได้ดำเนินการให้แล้วครับ อดใจรอเล็กน้อยครับ

 เรียน อ.ลัดดา ครับ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับว่าการทำงานแบบเป็น site ของ multi-center trial นั้นเป็นการพัฒนาบุคคลากร แต่ผมไม่ค่อยแน่ใจครับว่าสามารถเป็นตัวจุดประกายให้แต่ละ site สามารถทำงานวิจัยของตนเองได้หรือไม่ ทั้งนี้จากประสบการณ์อันน้อยนิดของผมนะครับ ที่หน่วยงาน(เดิม)ผมเป็น site ของหลาย multi-center trial แต่ก็ไม่สามารถทำให้หน่วยงานสามารถพัฒนางานวิจัย(ทั้งแบบ R2R และ non-R2R) ออกมาเองได้ ผมเคยลองวิเคราะห์ครับว่าทำไมการร่วมงานวิจัยแบบเป็น site ของ multi-center trial จึงมักไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนางานวิจัยของตนเอง ลองเล่าให้ฟังนะครับ

  1. ผู้ร่วมงานวิจัยเช่นพยาบาลวิจัยหลายครั้งที่จ้าง part time มาจากภายนอกหน่วยงานซึ่งความผูกผันกับหน่วยงานมีค่อนข้างน้อย
  2. ผู้ร่วมวิจัยแบบเป็น site ไม่ได้เป็นผู้เริ่มงานวิจัย ผ่านการคิดวิเคราะห์คำถามและวางแผนงานวิจัย ทำให้ขาดความมันไปครับ
  3. เกือบทุกครั้งการวิเคราะห์ข้อมูลจะเกิดขึ้นที่ หน่วยงานกลาง ไม่ใช่ที่ site เอง ผู้ปฏิบัติงานเสมือนเป็นผู้เก็บข้อมูลป้อนให้เท่านั้น
  4. อาจมีแต่คงเป็นส่วนน้อยคือทำเพื่อหวังค่าตอบแทนครับ

โดยสรุปก็คืออาจจะไม่ได้เริ่มต้นด้วยใจและไม่ได้เริ่มเพื่อแก้ปัญหาหน่วยงานครับผมอยากให้ทุกท่านร่วมแสดงประสบการณ์และความเห็นตรงจุดนี้ด้วยครับ

และขอให้ทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยครับว่ามี mechanism อย่างไร หรือควรต้องทำให้มีสิ่งใดเกิดขึ้น (environment?) เพื่อทำให้เกิดการสร้างงานวิจัย R2R โดยอาศัยรากฐานที่มีประสบการณ์จากการเป็น site ของ multi-center trail ครับ

 หมายเหตุ ขณะเขียนนี้ผมอยู่ในการเสวนากับแพทย์แผนไทยครับ session แรกที่ผมเป็นหลักเสร็จแล้ว ขณะนี้อ.เชิดชัยกรุณาบรรยาย + เสวนาต่อในประเด็น study design ครับ

คุณกระปุ๋มครับ

ที่ผมเกรงว่าจะไม่เกิดขึ้นในการทำ trial แบบเป็น site ของ collaboration คือการมี "ฉันทะ" ที่จะทำงานวิจัยหรือทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่องครับ :)

หมายเหตุ: ขณะนี้อาจารย์เชิดชัยกำลังมันกับการเสวนาเลยครับ :) สงสัยวันนี้มันถึงสองทุ่มอีกแน่ๆเลยครับ โชคดีที่ยังไม่มีภาระต้องดูแล แต่พี่ๆโดยเฉพาะอ.กุลธรต้องรีบกลับไปดูแลน้อง แฝด 3 แล้วครับ

อ.อัครินทร์...

กะปุ๋มอ่าน คห.(ความเห็น)ที่ท่านตอบ อ.หมอลัดดา นั้นเป็นประเด็นที่กะปุ๋มสนใจมาตั้งแต่ว่า จะทำอย่างไรให้คนทำงานลุกขึ้นมาทำงานวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ...

...

ประเด็นหนึ่งที่กะปุ๋มค้นพบว่า.."ความกลัว...และไม่กล้า"...ของพยาบาลในการทำวิจัย...บางครั้งนะคะ...คนที่มีประสบการณ์วิจัยก็มักจะมาเล่าสู่กันฟังว่ายากและน่ากลัวที่จะทำ...ตอนที่กะปุ๋ม approach กับทาง รพ.ยโสธรนั้น...เราจะเน้นย้ำเสมอว่าจะพาทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย...กะปุ๋มก็เลยตั้งต้นที่งาน...วิจัยเชิงคุณภาพ..ซึ่งเป็นกระบวนการวิจัยที่น่าจะคุ้นชินกับพยาบาลมากกว่าในการเก็บข้อมูลและการดำเนินการวิจัยเพราะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับการดำเนินชีวิตประจำวันในการทำงาน...

เดี๋ยวกะปุ๋มกลับมาเล่าให้ฟังนะคะ...หรืออาจจะเขียนเป้นบันทึกถึงกระบวนการที่ตนเองใช้ "อำนวย"...R2R รพ.ยโสธร

*^__^*

กะปุ๋ม

Note:...หากการเสวนาเป็นเรื่องดีดี..แก่ CoP R2R นำมาบอกเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ...

*^__^*

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

  • อ.อัครินทร์คะพึ่งจะได้นำblogของอ.เข้าplanetของตัวเองในวันนี้หลังจากเลิกงานและประชุมเล่าเรื่องที่ได้ไปประชุมลปรร."r2r"1-2กย.49ที่กทม.สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมทางผู้จัด(Dr.Kapoomและพี่อื๋อ)ได้ออกเทียบเชิญเจ้าหน้าที่รพ.ยโสธรที่สนใจ,หัวหน้าแผนกร่วมรับฟังพร้อมทั้งมีการคัดสรรและแต่งตั้ง"คุณเอื้อ"ซึ่งเป็นสูติแพทย์"หนุ่มไฟแรงขวัญใจทั้งสาวแก่และไม่แก่ สาวโสดและไม่โสดประจำรพ.ยโสธร"นพ.ณรงค์วิทย์ ตริสกุล"เป็นที่กริ๊ดกร๊าดฮือฮาในที่ประชุมมากเพิ่มสีสรรค์ให้การประชุมแบบทันตาเห็น ถ้าเทียบการประกวดนางงามคะแนน poppular voteของ"คุณหมอไก่"(Dr.ณรงค์วิทย์)ทิ้งห่างเพื่อนชนิดไม่เห็นฝุ่น ทำให้งานr2rเริ่มคึกคักมีชีวิตชีวาขึ้นมาทันทีและทีมr2rพร้อมเดินหน้าต่อไปความก้าวหน้าและวิธีการจะนำมารายงานตอนต่อไปค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท