งาน คุณค่า พอเพียง และสมดุล


มองว่างานทุกชิ้นสำคัญเท่าเทียมกันหมด ทำงานอย่างสุดความสามารถและเต็มที่กับการทำงานทุกชิ้น หัดมองอะไรไกลๆ อย่าตัดอนาคตตัวเองด้วยการทำอะไรแบบขอไปที เอาชนะใครๆก็ไม่น่าภูมิใจเท่าเอาชนะตัวเอง

ในเวทีการประชุม HA National Forum ครั้งที่ 13 “เรียนรู้ บูรณาการ งาน กับชีวิต”  มีองค์ความรู้มากมาย ทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ เป็นการประชุมที่บูรณาการองค์ความรู้ในด้านต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการดูแลรักษา ด้านกระบวนการคุณภาพ มาตรฐานวิชาชีพ ระบบยา ระบบงานสำคัญ การใช้ศิลปะและสุนทรียในการทำงาน และอื่นๆ อีกมากมาย

การทำงานอย่างมีความสุขและการผสมผสานมิติต่างๆ เข้าไว้ในคนๆ หนึ่งอย่างสมดุล และมีความสุข เขาทำได้อย่างไร มีตัวอย่างไม่น้อยที่ทำสำเร็จมาแล้ว การค้นพบความสุขจากการทำงานอย่างไม่น่าเชื่อ เพียงเปลี่ยนมุมมองบางอย่างในเรื่องที่ไม่ไกลตัว แล้วคุณจะค้นพบความสุขในทุกขณะ

ในห้อง SHA ท่านจะได้พบกับ รศ.นพ.ธวัช ชาญชญานนท์ คุณหมอหนุ่มอารมณ์ดี ขวัญใจชาวใต้ จะมาแลกเลปี่ยนและนำพาท่านเข้าสู่ คุณค่าของงาน ความสุข  ความพอเพียงและสมดุล

บทคัดย่อ จากรศ.นพ.ธวัช หรืออ.ปูเปี้ยว... 

สิ่งที่มีความสำคัญในความหมายของคนทำงานคือ การทำงานให้ได้ผล โดยที่คนทำงานยังมีความสุข

มีความสุขที่เห็นคุณค่าของตัวเอง ทำงานอย่างพอเพียง มีประสิทธิภาพ ใช้ทรัพยากรน้อย ได้ผลมาก คุ้มค่า มีหลักฐานเชิงประจักษ์ สมดุลกับชีวิตทุกด้าน ครอบครัว งาน สังคม สามารถสร้างงานสู่ความเป็นเลิศและยั่งยืน สัดส่วนของความสำเร็จ ส่วนใหญ่มิได้เกิดจากผู้บริหารหรือผู้เชี่ยวชาญ แต่พบว่าความสำเร็จส่วนใหญ่เกิดจากคนทำงาน ทำอย่างไรให้ส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ใช้เครื่องมือให้เกิดประโยชน์ ทำงานประสานกัน มองภาพใหญ่ ไม่หยุดเรียนรู้ ไม่หยุดพัฒนา/สร้างนวัตกรรม ไม่หยุดฝัน ไม่หยุดหารือกัน ปรึกษากัน ฝันร่วมกัน ไม่หยุดลงมือทดลองหาสิ่งใหม่ วิธีการใหม่ กล้าที่จะลงมือทำ

 

คนทำงานที่มีความสุข เกิดจากการรับรู้ว่างานที่ตนเองทำคือบ่อเกิดแห่งความสุข ทำให้ได้ทำงานอย่างมีความสุขและรับความสุขจากการทำงาน ผู้เขียนเอง ค้นพบความสุขจากงาน จะมีความสุขมาก และปิติมากที่เห็นผู้เรียนเข้าใจงานคุณภาพ สามารถถอดบทเรียนได้ เข้าใจบริบทของตนเอง เมื่อมีความสุขกับการทำงาน ร่างกายจึงหลั่งสารแห่งความสุข “endorphine” ออกมา ทำให้เกิดปิติที่ได้เห็นผลงานของตัวเองที่ดูสวยสดใสได้ดั่งใจ เมื่อมีความสุข จิตจะเบาสบาย เกิด “กัมมนีโย” คือสภาวะจิตที่มีลักษณะเหมาะสมควรแก่การทำงาน ความคิดแล่นไปได้ตลอดสายโดยไม่ติดขัด จิตที่นุ่มนวลควรแก่งานนี้จะปลอดจากกิเลสทั้งหลายไปชั่วขณะ ทำให้เป็นเวทีที่ดีที่สุดสำหรับการปฏิบัติการของปัญญา จึงคิดอะไรได้แตกฉานและทำงานต่างๆ ลุล่วงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

งานของเราคือการทำให้เขามีความสุข ผู้ป่วยและญาติมีความสุขก็ต่อเมื่อ ทราบว่าเป็นอะไร จะดูแลรักษาพยาบาลอย่างไร การพยากรณ์โรคเป็นอย่างไร ถ้าต้องทำหัตถการ ทำไมต้องทำ ทำแล้วมีความเสี่ยงอะไร ป้องกันอย่างไร และมีคุณภาพชีวิตที่ดี หาย ไม่ปวด จากไปอย่างสงบ

ขั้นตอนสำคัญสู่การทำงานเพื่อให้ผู้อื่นมีความสุข เริ่มจากตัวเรา ทำงานอย่างมีความสุขก่อน มองว่าคุณค่าของงานคือการได้สร้างความสุขแก่ตนเองและผู้อื่น ตระหนักอยู่เสมอว่าหน้าที่ของเราคือการทำให้ทั้งเราและเขามีความสุข และเรียนรู้ที่จะมีความสุขจากการได้ทำให้ผู้อื่นมีความสุข

ทำงานเหมือนสร้างอนุสาวรีย์ให้ตัวเอง งานทุกชิ้นคือเครื่องบ่งบอกศักยภาพและสติปัญญาของเรา การทำงานคือการประกวดรอยหยักในสมองของเรากับคนอื่น ต้องคิดว่าเราจะส่งงานทุกชิ้นเข้าประกวด เราจะสร้างอนุสาวรีย์แบบไหนให้คนอื่นดู จะทำงานแบบสักแต่ว่าทำ ให้งานประจานตัวเราหรือจะทำงานด้วยความตั้งใจ ด้วยความเอาใจใส่ งานทุกชิ้นก็เหมือนลูกหลานของเรา คือแม้ตัวเราตาย แต่ลูกหลานของเราจะยังคงอยู่ งานจะเป็นสิ่งที่เราฝากไว้กับโลก

วิธีคิดสู่การสร้างผลงานคุณภาพ ได้แก่ มองว่างานทุกชิ้นสำคัญเท่าเทียมกันหมด ทำงานอย่างสุดความสามารถและเต็มที่กับการทำงานทุกชิ้น หัดมองอะไรไกลๆ อย่าตัดอนาคตตัวเองด้วยการทำอะไรแบบขอไปที เอาชนะใครๆก็ไม่น่าภูมิใจเท่าเอาชนะตัวเอง

สิ่งที่ไม่ควรทำ 4 ประการ ได้แก่ .ไม่เป็นนักจับผิด ต้องจับถูก .อย่ามัวแต่คิดริษยา 3 อย่าเสียเวลากับความหลัง อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ

ทำงานอย่างพอเพียง มิใช่ทำงานน้อยๆ ไม่หวังอะไรมาก แต่พอเพียงคือการสมดุลกับชีวิตทุกด้าน ครอบครัว งาน สังคม

ถึงแม้สวมหมวกหลายใบ ทำให้ทุกใบมีคุณค่าเหมือนๆ กัน แบ่งเวลาให้สมดุลทุกด้าน แต่ไม่ต้องเท่ากัน ไม่ต้องหารยาว มีความยืดหยุ่นในตัวเอง ให้ความสำคัญกับคนที่สำคัญที่สุด คือ คนที่อยู่ตรงหน้า

 

อ้างอิง บทความส่วนหนึ่งจาก ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ท่าน ว. วชิรเมธี และ นพ. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล)

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #HA Forum 2012
หมายเลขบันทึก: 479388เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2012 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดี...พรทั้งหล้า.....อาจารย์ ธวัช เป็นผู้ขายความคิดในการทำงานให้กับคนในโรงพยาบาลปากพะยูน เป็นอย่างมาก งานCQI อาจารย์ จุดประกายให้คนงานโรงครัวมีความสุขจากการทำงาน จนพัฒนางานไปสู่ครัว "ฮาล้าล"ของโรงพยาบาล

เป็นครั้งแรกที่ผมได้รู้จัก PDCA จากปากท่านอาจารย์ ธวัช.....

ตั้งใจจะเอาภาพ อ.ธวัชมาแบ่งปัน แต่มือพลังพรายน้ำของพรทั้งหล้า ทำให้ตาลาย คลิกไปแล้วมันกลับไปที่เดิมทุกที

สวัสดี...พรทั้งหล้า.....อาจารย์ ธวัช เป็นผู้ขายความคิดในการทำงานให้กับคนในโรงพยาบาลปากพะยูน เป็นอย่างมาก งานCQI อาจารย์ จุดประกายให้คนงานโรงครัวมีความสุขจากการทำงาน จนพัฒนางานไปสู่ครัว "ฮาล้าล"ของโรงพยาบาล

เป็นครั้งแรกที่ผมได้รู้จัก PDCA จากปากท่านอาจารย์ ธวัช.....

ตั้งใจจะเอาภาพ อ.ธวัชมาแบ่งปัน แต่มือพลังพรายน้ำของพรทั้งหล้า ทำให้ตาลาย คลิกไปแล้วมันกลับไปที่เดิมทุกที

สวัสดี...พรทั้งหล้า.....อาจารย์ ธวัช เป็นผู้ขายความคิดในการทำงานให้กับคนในโรงพยาบาลปากพะยูน เป็นอย่างมาก งานCQI อาจารย์ จุดประกายให้คนงานโรงครัวมีความสุขจากการทำงาน จนพัฒนางานไปสู่ครัว "ฮาล้าล"ของโรงพยาบาล

เป็นครั้งแรกที่ผมได้รู้จัก PDCA จากปากท่านอาจารย์ ธวัช.....

ตั้งใจจะเอาภาพ อ.ธวัชมาแบ่งปัน แต่มือพลังพรายน้ำของพรทั้งหล้า ทำให้ตาลาย คลิกไปแล้วมันกลับไปที่เดิมทุกที

สวัสดี...พรทั้งหล้า.....อาจารย์ ธวัช เป็นผู้ขายความคิดในการทำงานให้กับคนในโรงพยาบาลปากพะยูน เป็นอย่างมาก งานCQI อาจารย์ จุดประกายให้คนงานโรงครัวมีความสุขจากการทำงาน จนพัฒนางานไปสู่ครัว "ฮาล้าล"ของโรงพยาบาล

เป็นครั้งแรกที่ผมได้รู้จัก PDCA จากปากท่านอาจารย์ ธวัช.....

ตั้งใจจะเอาภาพ อ.ธวัชมาแบ่งปัน แต่มือพลังพรายน้ำของพรทั้งหล้า ทำให้ตาลาย คลิกไปแล้วมันกลับไปที่เดิมทุกที

น้องพรหล้า จับภาพนกได้เยอะเนาะ ที่ไหนคะ

ทำงานอย่างพอเพียง มิใช่ทำงานน้อยๆ ไม่หวังอะไรมาก แต่พอเพียงคือการสมดุลกับชีวิตทุกด้าน ครอบครัว งาน สังคม

สุขสันต์ ทุกแง่มุมของชีวิตนะคะ :)

น้องพอลล่า แล้วจะช่วยเขียนนะครับ เย้ๆ

ชื่นชมแนวคิดดีๆเพื่อชีวีเป็นสุขค่ะ

สิ่งที่ไม่ควรทำ 4 ประการ ได้แก่ .ไม่เป็นนักจับผิด ต้องจับถูก .อย่ามัวแต่คิดริษยา 3 อย่าเสียเวลากับความหลัง อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ

ทำงานอย่างพอเพียง มิใช่ทำงานน้อยๆ ไม่หวังอะไรมาก แต่พอเพียงคือการสมดุลกับชีวิตทุกด้าน ครอบครัว งาน สังคม

ขอบคุณครับ

kmsabai...

สัมผัสได้ ว่าพี่แก้วมีความสุข ค่ะ

ความหมายดีมากครับ...งานกับชีวิตที่สมดุล...นั้นคือสุขที่แท้จริงของชีวิต

แค่ได้สัมผัส...ก็อิ่มเอมในหัวใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท