JJ2012V2_11 การจัดการความรู้อย่างบูรณาการ


KM อย่างบูรณาการสร้างสานงานกับเรื่องจริง

 รายงานสดสด จาก มหาวิทยาลัยบูรพา

 เช้านี้ ท่าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประเสริฐ อัครประถมพงษ์ ผู้ช่วยอธิการบดี (ด้านการจัดการคุณภาพ) จาก จุฬางลงกรณ์มหาวิยาลัย ผู้เขียน ตัวบ่งชี้ การจัดการความรู้ ในมาตรฐานอุดมศึกษา ได้มาเล่า วิธีการ "บูรณาการ การจัดทำแผนจัดการความรู้ ความเสี่ยง และ การควบคุมภายใน"

 ท่านอาจารย์ ประเสริฐ ท่านเริ่มว่า ปัจจุบัน เราไม่ค่อยจะเน้นแผน แต่เราเน้นแนวทางการดำเนินการ เพราะ สถานการณ์เปลี่ยนแปลง แผนอาจจะต้องเปลี่ยนบ่อยๆ หากเป็นแนวทางจะปรับได้ง่ายกว่า

 ท่านประเสริฐ เล่าว่า การบูรณาการ ความเสี่ยง ซึ่งเป็นเรื่องของ "อนาคต" ก็ สามารถนำมา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นเป้าหมาย KM ได้ เกิดคุณค่า และสมารถตอบ ตบช ๗.๒ และ ๗.๔ ท่านอาจารย์ ประเสริฐ การนำ KM มาเป็น Tools ต้องเป็นการ "จัดการ" ไม่ใช่นำ KM มาทำรายงาน

 QA ท่านกล่าวว่า คือการสร้างความเชื่อมั่นว่า ในปีที่ผ่านมาเราจัดการงานต่างๆอย่างไร

 QM คือ การบริหารคุณภาพ จะดีกว่า คือ

 QI คือ Quality Improvement ดูว่าปีต่อไปเราจะพัฒนา หรือ การประกันคุณภาพ คือ การวางแผนเพื่อพัฒนาอนาคต ไม่ใช่ การขุดค้นผลงานเพื่อรายงาน ต้องดูว่า "มีปัญหา แล้วเราจะแก้ไขอย่างไร" คือ "การจัดการ คุณภาพ"นั่นเอง

 Internal Control คือเรื่องการ "ควบคุมภายใน" เพื่อการ ป้องกัน ความสูญเสีย รั่วไหล เพื่อแก้ปัญหา

 ประเด็นการควบคุม คือ การหา Best Practice แล้วนำมา KM เช่น นิสิตที่เข้ามาเหมือนกันแล้ว คณะต่างๆทำอย่างไร เด็กนิสิตเรียนได้ดี

 Risk ความเสี่ยง คือ การป้องกัน เรื่องราวที่ไม่ควรเกิดในอนาคต และ ต้นทุน ต้องไม่มากกว่าความเสียหาย

 KM สามารถนำ "ปัญหาปัจจุบัน และ อนาคต มาใช้ได้"

 KM สำหรับผู้บริหาร ท่าน อาจารย์ ประเสริฐ เสนอว่าต้องตอบ ยุทธศาสตร์ องค์กร

 กระบวนการ KM ต้องมี KSA ตัวแรกต้องให้ K คือ Knowledge ก่อน ต่อมาคือการให้ S คือ Skill ฝึก ฝึก ฝึก เพื่อให้ คณะ วิชาได้พัฒนา สุดท้าย คือ A คือ Ability ใช้เพื่อให้เกิดความสามารถ ในการแก้ปัญหาของหน่วยงาน หรือ พัฒนาหน่วยงานตาม วิสัยทัศน์ หรือ เป้าหมายที่ตั้งใจจะทำตริง อาจจะไม่ต้องหว่านทุก ตัวบ่งชี้

 KM เพื่อการเรียนลัด ด้วยการเรียนรู้

 ดูว่าเราอ่อนแอที่ใด การวัด ด้วยการ "นำไปปรับใช้ และ นำไปใช้ได้จริง หรือ เพื่อนิสิต นำไปยืนอยู่ใน Asean ได้"

 ศัพท์สองคำ คือ Explicit Knowledge และ Tacit Knowledge หรือ ปัญญาปฏิบัติ

Large_0km_buu_200212v5

เคล็ดวิชาของ KM คือ การนำมาพัฒนา ปรับปรุง ให้ใช้ได้จริง มีการจัดเก็บ

 เคล็ดวิชา KM คือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น มี CoP คือ การสร้างกลุ่มมาเพื่อดูแนวปฏิบัติที่ดีนำไปใช้ประโยชน์ การเชิญผู้เชี่ยวชาญ นำมาปรับ Know How เกิด Knowledge Asset

JJ2012

หมายเลขบันทึก: 479301เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2012 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เคล็ดวิชามากมายที่จำได้ขึ้นใจก็คือ.....

ทำวันให้ดีกว่า เมื่อวาน

ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่าวันนี้

พัฒนา ตน งาน และองค์กร อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

หัวปลา ตัวปลา และหางปลา ชัดเจน  ใช้เครื่องมือให้ถูกต้องเหมาะสมกับจริตของคนหรือหน่วยงานนั้นๆ

วันนี้ได้รู้เพิ่มว่า ไม่เน้น "แผน" กันแล้ว...ใช่มั้ยคะ^____^

 

เรียนท่านชาดา ท่านวิทยากร เน้น ให้เกิดการกระทำจริงคืด KSA = Knowledge มี Skill และ Ability ทำได้ตามเป้าหมาย จริง

  • มาเชียร์ครับ
  • ผมส่งเมล์ผ่านระบบ gotoknow ไปครับ
  • ขอเบอร์ด้วยครับ
  • เย้ๆๆ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท