วันมวยไทย 6 กุมภาพันธ์ 2555


วันมวยไทย

          เมื่อวันจันทร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ศกนี้ เวลา ๐๙.๐๙ น. ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีบวงสรวงสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (สมเด็จพระเจ้าเสือ) เนื่องใน “วันมวยไทย” ๖ กุมภาพันธ์ ซึ่ง กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้รับความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิและสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับด้านมวยไทย  ได้แก่ สถาบันอาศรมศิลป์  สำนักการสังคีต กรมศิลปากร  สมาคมครูมวยไทย สมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ มูลนิธินักมวยเก่าโรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม ในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง และสถาบันการพลศึกษาร่วมจัดงานดังกล่าวขึ้น เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในคุณค่า ความสำคัญขององค์ความรู้และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในด้านมวยไทย โดยสวธ.ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมวยไทยเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ในการนี้พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร  สมรักษ์  คำสิงห์  และสมจิตต์  จงจอหอ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี

           ต่อด้วย การรำไหว้ครูมวยไทย โดย ครูมวยไทย ๕ สาย ได้แก่ นายยอดธง ศรีวราลักษณ์ มวยไทยภาคกลาง / รศ.ดร.สมพร แสงชัย มวยท่าเสาและพระยาพิชัยดาบหัก / นายจรัสเดช อุลิต มวยพลศึกษา / นายประเสริฐ ยาและ  มวยไชยา / จ.ส.อ.สมนึก ไตรสุทธิ  มวยลพบุรี / พ.อ.(พิเศษ)อำนาจ พุกศรีสุข  มวยโคราชจากนั้นเป็นการรำไหว้ครูมวยไทยของเยาวชนจากโรงเรียนราชประชาสมาสัยจำนวน ๒๐๐ คน     และมีการสาธิตมวยไทย ๕ สาย โดย ผศ.สุรัตน์ เสียงหล่อ มวยพลศึกษา / พ.อ.(พิเศษ)อำนาจ พุกศรีสุข มวยโคราช / รศ.ดร.สมพร แสงชัย มวยท่าเสาและพระยาพิชัยดาบหัก / นายภูวศักดิ์ สุขศิริอารี  มวยไชยา

คำสำคัญ (Tags): #วันมวยไทย
หมายเลขบันทึก: 479299เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2012 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

..ปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่และชาวต่างชาติ รู้จัก มวยไทย เพียง กีฬา การต่อสู้ ชก เตะ ต่อย..ซึ่งส่วนนี้เป็นโทษมากกว่าประโยชน์..ซึ่งต่างกับ ต้นทางของการกำเนิดศิลปะมวยไทย..สันนิษฐานว่า การถ่ายทอดวิชา รำหมัด รำมวย ต้องอาศัยความเข้าใจ เรื่องจิต ซึ่งเป็นนามธรรม และ ครู ต้องเลือกสอนเฉพาะศิษย์ที่เหมาะสมซึ่งเป็นส่วนน้อยที่ได้รับการถ่ายทอดไว้..ทีนี้ คนไทย ส่วนใหญ่มีนิสัย เอาง่ายเข้าว่า..ดังนั้นศิษย์ ที่เข้าใจลึกซึ้ง จึงมีลดน้อยลง..ประกอบกับ คนที่มิใช่ศิษย์ อาศัยวิชาครูพักลักจำจากที่ได้เห็นใน การประลองแข่งขัน ..จึงได้เฉพาะรูปแบบ ที่เห็น คือท่าแม่ไม้ ลูกไม้ และท่ารำและจากบันทึกที่ ร.3 ทรงโปรดเกล้าให้ อาลักษณ์รวบรวมจารึกไว้ที่วัดโพธิ์ โดยไม่เข้าใจต้นทางวิธีฝึกจิต และการหายใจ..สุดท้าย เลยเหลือแต่ การชกเตะต่อย และการไหว้ครู นิดหน่อยพอเป็นพิธี..อีกทั้งเข้าสู่ยุคสมัยที่เกิดความเชื่อว่า อารยะธรรม ของชาวตะวันตก ดีกว่า ชาวตะวันออก..ยิ่งทำให้เกิดการเทียบเคียง รูปแบบ ตามอย่างฝรั่ง..ผู้ที่ไม่เข้าใจถ่องแท้ในศิลปะศาสตร์ของไทย จึงมักเอาอย่างชาวตะวันตกมาประยุกต์เข้ากับการฝึกมวยไทย เฉพาะที่คิดว่า พิสูจน์ได้ ทางกายภาพ เป็นรูปธรรม..ทอดทิ้งการศึกษา ค้นคว้า วิธีการเดิม ซึ่งเน้นการเข้าถึง นามธรรม อันปฏิบัติได้ยาก ทั้งไม่สามารถพิสูจน์ได้ง่าย..จึงพากันหาว่า วิธีการเก่าๆเป็นเรื่อง งมงาย ลึกลับ เชื่อถือไม่ได้..องค์ความรู้สำคัญในส่วนนี้ จึงค่อยๆสูญสิ้นไป พร้อมกับ บรมครูบุรพาจารย์..ยิ่งสมัยนี้กิจการชกมวยไทยถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ได้รับความนิยมมากขึ้นเวลาต้องใช้ในการโฆษณาของผู้สปอนเซอร์ ยิ่งทำให้การไหว้ครูถูกบังคับให้ตัดทอนลง..ผู้คนก็เลยขาดการศึกษาในเรื่องนี้กันโดยทั่วไป..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท