หมออนามัย สุขภาพฟันและช่องปาก


หมออนามัย สุขภาพฟันและช่องปาก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ

 

สุขภาพฟันและช่องปากที่ดีหมายถึง ฟันและช่องปาก ที่ดูสะอาดไม่มีเศษอาหารติดอยู่ เหงือกสีชมพู ไม่เจ็บ หรือมีเลือดออกเวลาแปรงฟัน หรือขัดฟัน ไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นปาก การรักษาสุขภาพฟันและช่องปากที่ดีเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่คุณจะทำเพื่อเหงือกและฟันของคุณ ฟันที่แข็งแรงไม่เพียงแต่จะช่วยให้ดูดีและรู้สึกดีเท่านั้น แต่มันยังช่วยให้คุณรับประทานอาหารได้สะดวก และพูดอย่างชัดถ้อยชัดคำอีกด้วย สุขภาพฟันและช่องปาก ที่ดีจึงมีความสำคัญต่อการความเป็นอยู่ที่ดี

วิธีแปรงฟัน การแปรงฟันที่อยู่ต้องควรใช้เวลาอย่างน้อย 2 นาที หรือ 120 วินาทีนั่งเอง คนส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ใช้เวลากับการแปรงฟันนานขนาดนั้น เพื่อที่จะควบคุมเวลา และเพื่อการแปรงฟันที่ถูกต้อง ควรสะบัดข้อมืออย่างสั้นๆและอ่อนโยน โดยให้ความเอาใจใส่กับแนวเหงือก ฟันซี่ที่แปรงยาก และบริเวณรอบๆ ฟันที่อุดหรือครอบ การทำความสะอาดแต่ละส่วนควรเป็นดังต่อไปนี้

  1. ทำความสะอาดด้านนอกของฟันบนจากนั้นต่อด้วยฟันล่าง
  2. ทำความสะอาดด้านในของฟันบน จากนั้นต่อด้วยฟันล่าง
  3. ทำความสะอาดบริเวณที่ใช้บดเคี้ยวอาหาร
  4. เพื่อให้มีลมหายใจที่สดชื่น อย่าลืมทำความสะอาดลิ้นด้วย

ฟันผุคืออะไร ฟันผุเป็นโรคในช่องปากอีกชนิดหนึ่งที่พบบ่อย วิธีการดำเนินชีวิตในแต่ละวันมีอิทธิพลอย่างมากต่อโอกาสที่จะเกิดฟันผุ อาทิ เรารับประทานอะไร เราดูแลฟันเราอย่างไร ใช้น้ำ หรือยาสีฟัน ที่มีฟลูออไรด์ผสมอยู่ หรือไม่ และกรรมพันธุ์ก็มีส่วนที่ทำให้เกิดฟันผุด้วย ฟันผุมักเกิดขึ้นในเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็ยังมีโอกาสเสียง ชนิดของฟันผุมีหลายอย่าง ได้แก่

  1. ฟันผุทั่วไป  ชนิดทั่วไปที่เกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มักเกิดขึ้นในส่วนของฟันที่ใช้เคี้ยว หรือระหว่างซอกฟัน
  2. ฟันผุในราก  เมื่อมีอายุมากขึ้น เหงือกของเรามีสภาพเสื่อมลง ทำให้รากฟันปรากฏขึ้นมา และไม่มีส่วนใดมาครอบรากของฟันนั้น ส่วนที่ปรากฏออกมาจึงเกิดฟันผุได้ง่าย
  3. ฟันผุซ้อนฟันผุ ฟันผุสามารถพัฒนาขึ้นรอบๆบริเวณครอบฟันได้เพราะบริเวณนั้นมักมี แบคทีเรียสะสมอยู่ ซึ่งเป็นเหตุให้ฟันผุในที่สุด

ผู้ใหญ่อาจเสียงต่อฟันผุเพราะมีอาการปากแห้ง เนื่องจากไม่ค่อยมีน้ำลาย อาการปากแห้งนั้นมีสาเหตุมาจากอาการป่วย การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ การรักษาด้วยการฉายแสง และการใช้เคมีบำบัด อาจเป็นการรักษาเพียงชั่วคราวหรือต่อเนื่องขึ้นอยู่กับสาเหตุ ฟันผุเป็นเรื่องร้ายแรง ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา ฟันผุจะทำลายฟันของคุณและทำลายเส้นประสาท ที่ไวต่อความรู้สึก   ซึ่งอาจทำให้เกิดหนอง

 และอาจติดเชื้อไปที่รากฟัน ถ้าเป็นฝีหนอง สามารถรักษาได้จากการรักษารากฟัน การผ่าตัด หรือถอนฟัน

จะรู้อย่างไรว่าเป็นฟันผุ เจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขจะเป็นผู้บอกได้ว่าฟันผุจริงหรือไม่ เพราะฟันผุระยะเริ่มต้นจะเริ่มจากด้านในของฟันซึ่งเราจะยังไม่สามารถมองเห็นได้ เมื่อเรารับประทานอาหารที่ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต (น้ำตาลและแป้ง) ซึ่งเป็นอาหารของแบคทีเรียด้วย แบคทีเรียก็จะได้อาหารเช่นกัน เมื่อได้อาหาร แบคทีเรียจะผลิตกรดออกมาทำลายเคลือบฟัน ในระยะแรก เคลือบฟันจะแตกออกโดยผิวชั้นนอกยังคงไม่ได้รับความเสียหาย ฟันผุส่วนมากเกิดจากการเป็นรูที่ด้านหลังของฟันหรือระหว่างซอกฟันและใกล้เหงือก แต่เมื่อ มันเกิดขึ้นมาแล้ว วิธีที่ดีที่สุด คือไปหาเจ้าหน้าทันตสาธารณสุขเพื่อตรวจหาความผิดปกติ อาจให้ตรวจหาและรักษา ฟันผุก่อนที่จะร้ายแรง แปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้งทุกวัน และใช้ไหมขัดฟัน เพื่อขจัดคราบระหว่างฟัน และเหงือก ไปพบเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขตามกำหนด เพื่อป้องกันและหยุดปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นและเป็นการป้องกันปัญหาเล็กๆ ก่อนที่จะเป็นปัญหาใหญ่ รับประทานทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อจำกัดจำนวนแป้งและน้ำตาล เมื่อคุณรับประทานทานอาหารเหล่านี้ พยายามรับประทาน ในมื้ออาหารแทนที่จะกินอาหารว่างบ่อยๆ เพื่อลดจำนวนครั้งที่ฟันจะผลิตกรด ที่ย่อยอาหารออกมา ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยฟลูออไรด์ รวมทั้งยาสีฟัน ให้มั่นใจว่าน้ำดื่มที่เด็กดื่มนั้นมีสารฟลูออไรด์ประกอบอยู่ด้วย ถ้าน้ำนั้นไม่สามารถมีฟลูออไรด์ประกอบอยู่ด้วย ให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขแนะนำอาหารเสริมที่มีฟลูออไรด์ เพื่อให้เด็กได้รับ ฟลูออไรด์อย่างเพียงพอทุกวัน

็น

อาการเสียวฟันคืออะไร

   อาการเสียวฟัน คือการปวดฟันอันเกิดจากการเสียผิวหน้าของฟันหรือเหงือก สาเหตุที่พบบ่อยของอาการเสียวฟันในผู้ใหญ่คือการที่รากฟันถูกสัมผัสเนื่องจากเหงือกร่น ทั้งนี้รากฟันไม่มีสารเคลือบฟัน ทำให้เปิดโอกาสในเส้นประสาทฟันถูกเปิด เมื่อความร้อน ความเย็นมาสัมผัส เราจึงรู้สึกปวด การละเลยการเสียวฟันสามารถนำไปสู่ปัญหาเรื่องเหงือกและฟันอื่นๆได้ โดยเฉพาะถ้าความเจ็บปวดทำให้เราแปรงฟันอย่างไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้เสี่ยงต่อฟันผุแลโรคเหงือก

สุขภาพฟันและช่องปากของทารก

    สุขภาพฟันและช่องปากที่ดีเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต  แม้กระทั่งก่อนที่ฟันซี่แรกของเด็กจะขึ้น มีปัจจัยหลายประการที่มีผลต่อรูปลักษณ์และสุขภาพในอนาคตของเด็ก อาทิเช่น ยาเตต้าซัยคลีน ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้อย่างแพร่หลายชนิดหนึ่งสามารถทำให้เกิดฟันเปลี่ยนสี  ด้วยเหตุผลนี้เอง แม่ที่ให้นมลูกและหญิงตั้งครรภ์จึงไม่ควรใช้  เนื่องจากฟันของทารกจะขึ้นในช่วงอายุ 6 เดือน   สุขภาพฟันและช่องปาก โดยการแปรงฟัน ทารกก็มีความต้องการในดูแลสุขภาพฟันและช่องปากเป็นพิเศษที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่จำเป็นต้องทราบ ซึ่งรวมถึงการป้องกันฟันผุจากขวดนม   และการให้ฟลูออไรด์แก่ทารกปริมาณที่เหมาะสม

 

 

ฟันผุจากขวดนม และการป้องกัน

    ฟันผุจากขวดนมเกิดจากการที่ฟันของเด็กสัมผัสถูกของเหลวที่มีน้ำตาลบ่อยและนาน ซึ่งของเหลวนี้รวมถึงนม และน้ำผลไม้ การที่ของเหลวหวานอยู่ในปากเด็กเป็นเวลานานในช่วงเวลาหลับจะนำไปสู่ฟันผุที่ฟันหน้าทั้งบนและล่าง ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงไม่ควรปล่อยให้แด็กหลับโดยมีขวดนมอยู่ในปาก โดยควรจะให้ขวดที่เป็นน้ำเปล่าหรือจุกนมหลอกแทน ถ้าให้นมลูกด้วยตนเอง ไม่ควรให้เด็กดูดนมเป็นเวลาต่อเนื่อง และหลังจากให้นมเสร็จแล้ว ต้องเช็ดฟันและเหงือกของเด็กด้วยผ้าสะอาดที่เปียกหมาดๆ หรือผ้ากอซ

ฟันผุในวัยเด็ก

      ฟันผุในวัยเด็ก บางครั้งเราเรียกว่า ฟันผุจากขวดนม โดยในวัยเด็กนั้น ฟันน้ำนมผุเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถทำลายฟันแท้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ แต่เราสามารถป้องกันได้

      1.อะไรคือสาเหตุของฟันน้ำนมผุ การปล่อยให้ทารกหลับไปพร้อมกับขวดนมเมื่อเด็ก ทารกนอนหลับ น้ำตาลที่อยู่ใน ของเหลวก็จะเคลือบอยู่รอบๆฟัน และเป็นสาเหตุของฟันผุ ไม่ว่าจะเป็นน้ำนมแม่หรือ นมผงก็มีส่วนผสมของน้ำตาล ให้นมเด็กครั้งละนานๆ หรือให้เด็กหลับขณะยังทานนมอยู่ ให้เด็กถือขวดนมเดินเล่น

      2.ผลกระทบที่เกิดฟันน้ำนมผุ ฟันหลุด เกิดปัญหาทางการได้ยิน ทำให้ฟันแท้เก มีอาการปวดฟันมาก มีภาพลักษณ์ที่ไม่ดี ฟันผุ

     3.วิธีป้องกันฟันน้ำนมผุ ฝึกให้เด็กทารกเข้านอนโดยไม่มีนิสัยติดขวดนม อย่าให้เด็กเข้านอนขณะที่ยังดื่มนม น้ำผลไม้ หรือน้ำหวานจากขวดนม แต่ถ้าจำเป็นต้องให้เด็กทารกหลับพร้อมขวดนมให้เติมน้ำเปล่าแทน ไม่ควรให้เด็กเล็กเดินไปพร้อมถือขวดนมติดมือ สอนให้เด็กเล็กเริ่มใช้แก้วน้ำแทนขวดนมตั้งแต่อายุ 6-12 เดือน และเปลี่ยนจากขวดนม เป็นการใช้แก้วน้ำแทน ตอนอายุ 1 ปี ให้ตรวจสอบ กับเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข ว่าเด็กได้รับปริมาณฟลูออไรด์ เพียงพอหรือไม่ในแต่ละวัน

การดูแลฟันของเด็กเล็ก

    การทำให้ลูกมีนิสัยในการรักษาสุขภาพปากและฟันที่ดีเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพ .ที่สามารถสอนเขาได้ โดยรวมถึงการสอนให้แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง และพบทันตสาธารณสุขสม่ำเสมอ ฟันจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน จนกระทั่ง 3 ปี ซึ่งจะทำให้เด็กมีเหงือกที่นุ่ม จนทำให้เด็กรู้สึกรำคาญ คุณอาจจะนวดเหงือกของเด็กด้วยนิ้วมือของคุณ เป็นการดีที่สุดคุณจะคอยดูเวลาเด็กแปรงฟันจนกระทั่งอายุ 6 ปี

 

 

 

การเคลือบร่องฟัน

    วัสดุเคลือบร่องฟันจะสร้างด่านป้องกันฟันผุ โดยวัสดุเคลือบฟันร่องฟันเป็นพลาสติกเคลือบบางๆ ที่จะนำไปเคลือบฟันที่ใช้บดเคี้ยวอาหารซึ่งจะเป็นบริเวณที่เกิดฟันผุได้บ่อย การเคลือบร่องฟันเป็นขั้นตอนที่ไม่เจ็บ และทำได้ทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขนัดหรือให้มาตรวจ

สุขภาพฟันและช่องปากในหญิงมีครรภ์/ใกล้คลอด

    มีข้อบ่งชี้หลายประการ โรคเหงือกและการตั้งครรภ์ และทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาโรคเหงือก มีโอกาสสูงที่จะคลอดก่อนกำหนด หรือให้กำเนิดทารกที่ตัวเล็กกว่าปกติ คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับหญิงตั้งครรภ์ก็คือ หมั่นไปตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ จะช่วยลดการเกิดปัญหาทางทันตกรรม และรับการรักษาปัญหาในช่องปากที่มีให้หายขาดก่อนที่จะตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักเป็นโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากคราบพลัดที่ก่อตัวที่ฟัน และสร้างความระคายเคืองให้แก่เหงือก อาการที่บ่งบอกของโรคนี้คือ อาการบวมแดง และเลือดออกบริเวณเหงือก โรคเหงือกอักเสบในหญิงตั้งครรภ์เกิดได้บ่อย เนื่องจากการเพิ่มของระดับฮอร์โมนที่ทำให้เหงือกเกิดอาการระคายเคืองต่อคราบพลัดที่รุนแรงกว่าปกติ การหมั่นตรวจดูแลรักษาฟันให้สะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะบริเวณขอบเหงือก จะช่วยได้อย่างมากในการลด หรือแม้แต่ป้องกันไม่ให้เกิดโรคเหงือกอักเสบระหว่างการตั้งครรภ์ นอกจากนั้นการรับประทานอาหารที่ทดแทนของหวานหวาน อย่างเช่น เนย และผัก ผลไม้สด จะเป็นผลดีต่อสุขภาพของคุณ

 

สุขภาพฟันและช่องปากของผู้สูงวัย

     การเกิดฟันผุที่บริเวณพื้นผิวของรากฟัน เป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ดังนั้นการแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ การใช้ไหมขัดฟันและการหมั่นตรวจสุขฟันเป็นประจำ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก อาการเสียวฟันมีโอกาสเกิดได้มาขึ้นเหงือกจะค่อยๆร่นไปตามธรรมชาติ อาการปากแห้ง สาเหตุมาจากการกินยา หรืออาการป่วยด้วยโรคบางอย่าง เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตโรคหัวใจ หรือโรคมะเร็ง อาการปากและคอแห้ง สามารถทำลายสุขภาพฟัน

การอุดฟัน คือวิธีการรักษาฟันที่ถูกทำลายจากฟันผุให้สามารถใช้งานได้และกลับมารูปทรงเดิม เวลาทำการอุดฟันเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขจะเอาเนื้อฟันที่ผุออกแล้วทำความสะอาด จากนั้นจึงเติมวัสดุอุดฟันลงไป การอุดฟันสามารถช่วยป้องกันฟันผุเพิ่มขึ้นด้วยการปิดช่องทางที่แบคทีเรียสามารถเข้าไปได้ วัสดุที่ใช้ในการอุดฟันได้แก่ ทอง พอร์เซลอน คอมโพสิตเรซิน(การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน) และอมัลกัม (วัสดุอุดฟันที่ทำจากโลหะปรอท เงิน ทองแดง และ สังกระสี)

หินปูนหรือหินน้ำลาย คือแผ่นคราบจุลลินทรีย์ที่แข็งตัว เนื่องจากมีธาตุแคลเซียมเข้าไปตกตะกอน แผ่นคราบจุลลินทรีย์ คือคราบสีขาวขุ่นนิ่ม ที่ประกอบด้วยเชื้อโรคที่ติดอยู่บนตัวฟัน แม้ว่าจะบ้วนน้ำก็ตาม ก็ไม่สามารถหลุดออกได้ การขูดหินปูน สามารถขูดหินปูนได้ทุกวัย แม้กระทั่งเด็กที่มีฟันน้ำนมขึ้นแล้วไปจนกระทั่งผู้สูงอายุ

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ฟันและช่อ
หมายเลขบันทึก: 479214เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2012 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณหมออนามัย ให้ความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก ......เรื่อที่ไกล้ตัวแต่ดูเหมือนยังห่างไกลหากพูดถึงสุขภาพโดยรวมของบุคคล

เก้าสิบปีฟันอยู่ครบ...นำมาฝากคุณหมออนามัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท