KM ที่รัก ตอนที่ 54"การจัดการความรู้...ฉบับขี้ควาย"


ควายเป็นเครื่องตัดหญ้าที่ผลิตปุ๋ยได้
วันนี้มีโอกาสได้ไปพูดคุยกับหมู่บ้านที่เคยพานักเรียนไปเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เป็นการสอนวิทยาศาสตร์แบบครูบ้านนอก+ครูชาวบ้าน โดยใช้สิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ วิธีง่าย ๆ ให้เด็กเดินสำรวจชอบหรือสนใจอะไร ให้ตั้งคำถามให้ได้มากที่สุด กับสิ่งที่เขาสนใจมีกลุ่มหนึ่งสนใจกองขี้ควาย เพราะเขาได้เจอะเจอมันถุกวัน ไม่น่าเชื่อว่าเด็ก ๆ ตั้งคำถามได้มากมายกับกองขี้ควายกองเดียว และอยากรู้ไปหมด ทั้ง ๆ ที่บางคำถามมีคำตอบแล้ว บางคำถามเด็ก ๆ ไม่สามารถหาคำตอบได้ ต้องให้ผู้เชียวชาญ หรือนักวิทยาศาสตร์เป็นผู้หาคำตอบ สุดท้ายเหลือคำถามเดียว "มีอะไรในกองขี้ควาย" เด็ก ๆ เริ่มต้นด้วยการทดสอบว่าในกองขี้ควายร้อนหรือเย็น เครื่องวัดของเด็กง่าย มาก คือให้มือซุกเข้าไปในกองขี้ควาย เป็นอันว่าได้คำตอบ เด็ก ๆ ค้นพบความรู้และเข้าใจกองขี้ควายมากมายจากการลงมือขุดเองเพื่อดูว่ามีสัตว์ชนิดใดอาศัยอยู่บ้างอยู่ลึก ตื้นระดับใด แมลงชนิดใดมายึดพื้นที่ได้ก่อนหลัง เด็ก ๆ สนุกมาก ประกอบกับทุกครั้งที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ ครูชาวบ้านก็จะสับเปลี่ยนกันมาเป็นพี่เลี้ยง ให้ความรู้ เล่าประสบการณ์และคอยตอบคำถามเด็ก ๆ รู้สึกว่าเด็ก ๆ จะสนใจครูชาวบ้านมากกว่าครูในโรงเรียน จากการสรุปความรู้ของเด็กผ่านการวาดภาพในเรื่องขี้ควายทำให้เห็นองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวของชาวบ้านที่ถูกสะสมมานาน ถูกถ่ายทอดไปสู่คนร่นหลังให้คนได้เรียนรู้ ได้รู้โดยไม่รู้ตัว บางคนตั้งชื่อภาพของตนเองว่า โรงแรมแมลง ในภาพสะท้อนความพยายามสื่อสารสิ่งที่เขาเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง + องค์ความรู้ที่ได้จากครูชาวบ้านของพวกเขาที่สามารถเอาขี้ควายไปใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ทำยุ้งฉาง เก็บข้าว เอาไปผสมน้ำเทพื้นเป็นลานเก็บข้าวชั่วคราว หรือเอาไปผสมกับดินเหนียวทำเป็นเตาอบใช้อบพริก อบปลา เพื่อเป็นการถนอมอาหารแห้งไว้ใช้ในฤดูที่ขาดแคลนได้ ความรู้เหล่านี้มีอยู่มากมายกับชาวบ้านที่เราไม่ควรที่จะมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง ถ้ายังมีความหวังที่จะสร้างท้องถิ่นและชุมชนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนตลอดไป
หมายเลขบันทึก: 47885เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2006 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
แล้วที่ว่า ควายเป็นเครื่องตัดหญ้าที่ผลิตปุ๋ยได้ เนี่ย เป็นอย่างไรครับ
ขอบคุณคุณบอนมากครับ ที่เป็นคนขี้สงสัย และสงสัยขี้(ควาย) ที่มาของเรื่อง คือ ควายกินหญ้าครับ และระบบย่อยของสัตว์ประเภทเท้ากีบ จะเป็นระบบหมักครับ เกิดการย่อย และก็จะมีการดูดซึมสารอาหารกลับเข้าสู่กระแสเลือด กากของเศษอาหารก็จะถูกขับถ่ายออกมาป็นปุ๋ยคอกครับ ไม่ต้องซื้อครับ แต่ละวันตัวหนึ่งผลิตได้หลายสิบกิโลครับ ส่วนควายเป็นเครื่องตัดหญ้า ก็ที่ไหนมีหญ้ารก แทนที่จะไปซือ้เครื่องตัดหญ้า ซื้อนำมันมาไห้เปลือง เราก็จูงควายไปกิน รับรองเครื่องตัดหญ้าตัวนี้ไร้มลพิษครับ อยากถามคุณ บอน เขียนบันทึกมากมาย นอนตอนไหนครับหรือหยุดนอนแล้วครับ
ขี้ควายกับขี้วัวนี่น่าจะอยู่ในกรณีให้ประโยชน์กับคนเรานะพี่พงษ์ ดีนะคะที่เด็ก ๆ เห็นขี้พวกนี้แล้วอยากศึกษาเรียนรู้ บางครั้งคนเห็นค่าของขี้อย่างเราเวลาเห็นวัวควายขี้ตามท้องถนนแล้วก็อยากถือกะละมังไปรองรับแล้วใส่รถเข็นไปไว้ที่ทุ่งนาเป็นปุ๋ยให้ต้นข้าว
คุณพันดาตื่นแล้วหรือ ผมว่าคุณพันดาน่าจะทำวิจัยว่าระหว่างขี้วัว(ที่พันดาถนัด)กับขี้ควายใครจะแน่กว่ากัน เด็กกลุ่มที่ผมเล่าให้ฟัง เขาสนใจต่อ เอาขี้ควายไปทำเป็นกระถางเล็กๆ ไว้ชำต้นไม้ สาเหตุที่เขาเอาขี้ควายมาทำ เพราะพอต้นไม้โกเอาไปปลูกได้เลยไม่ต้องเอากระถางออก(กระถางเป็นปุ๋ยอยู่แล้ว) ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท