ความยั่งยืนกับธุรกิจ



          เมื่อวันที่ ๑๘ - ๒๐ ม.ค. ๒๕๕๕ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดลรวมกับองค์กรภาคีจำนวนมาก จัดการประชุม The 4th International HR Conference “Managing People for Sustainability” ที่โรงแรมสยาม ซิตี

          ผมโชคดี ได้รับเชิญไปร่วมพิธีเปิด และฟัง Keynote Speech สองรายการในช่วงเช้าวันที่ ๑๘   คือเรื่อง Managing People for Sustainability โดย ดร. จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา   กับเรื่อง Sustainable Leadership : Honeybee and Locust Approaches โดย Prof. Dr. Gayle C. Averyแห่ง Macquairie Graduate School of Management, Sydney and Co-Founder, Institute of Sustainable Leadership, Australia 

          ดร. จิรายุ นำเสนอผลงานวิจัยหน่วยงานใหญ่ที่มีความยั่งยืน ๒ หน่วยงาน คือมหาวิทยาลัยมหิดล กับ SCG  นำมาตีความตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสวยงาม ชัดเจน และกระชับ เข้าใจง่าย   และได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือ Managing People for Sustainability : Experiences from Thailand

          นอกจากนั้น ยังได้แจกหนังสือ Sufficiency Economy Philosophy and developmentในการประชุมด้วย

          สรุปได้ว่า ต้องมีวิธีสร้างคุณค่าและมูลค่าของคน ที่เป็นทรัพยากรสำคัญที่สุดขององค์กร    ท่านเล่าว่า ผู้จัดการใหญ่ของกลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์ไทย คุณกานต์ ตระกูลฮุน กล่าวว่า ตนและผู้บริหารระดับสูงใช้เวลาร้อยละ ๕๐ ทำงานด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล

          Prof. Gayle Avery ตั้งทฤษฎีผึ้งกับตั๊กแตน เพื่อทำความเข้าใจง่ายๆ ว่าองค์กรที่ยั่งยืนต่างกันอย่างไร   ฝูงตั๊กแตนลงที่ไหนก็ทำลายล้างผลผลิตการเกษตรเรียบ   ในขณะที่ผึ้งกินไปช่วยผสมเกสรไป    ผมตีความว่าองค์กรที่ยั่งยืนต้องเล่นเกม Positive Sum Game    ในขณะที่องค์กรที่ไม่ยั่งยืนเล่นเกม Zero Sum Game   หรือกล่าวใหม่ว่า องค์กรที่ยั่งยืนมีกระบวนทัศน์ “จิตใหญ่” เห็นความจริงว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศสังคมและธุรกิจที่จะต้องดำรงอยู่ร่วมกันในขณะที่องค์กรที่ไม่ยั่งยืนมีกระบวนทัศน์ “จิตเล็ก” เห็นแก่ตัวถ่ายเดียว

          จริงๆแล้วทฤษฎีผึ้งกับตั๊กแตนของ Prof. Avery มีรายละเอียดลึกซึ้งกว่าที่ผมตีความมาก อ่านได้จากหนังสือ Honeybees &Locust : The Business Case for Sustainable Leadership

          ผมตีความเข้ากับสุภาษิตไทย “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” ที่ผมยึดถือมาตลอดชีวิตว่าตีความให้กว้างใช้ได้กับหลักการ sustainability

 

วิจารณ์ พานิช
๑๙ ม.ค. ๕๕
 

หมายเลขบันทึก: 478104เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2012 09:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีหนังสืออีกหนึ่งเล่มในงานนี้ (ยังไม่ได้ทำเป็นe-book) ที่เน้นหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นรากฐานของการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ..

..ในหน้า 134 เขียนถึง Mahidol Leadership ที่คุณหมอในฐานะ The University President ได้กล่าวว่า :

" It took about 5-6 rounds of meetings (in 2008) of the university council, university management teams , with all the deans and directors , to create a vision, core values, and goals."

  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท