case study 2


กรณีศึกษา คุณช.  อายุ 43 ปี เป็นหม่าย มีลูกสาว 1 คน Dx.เป็นโรคจิตเฉียบพลัน ชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Acute and transient psychotic disorder,unspecified : F23.9) มีอาการหลงผิด เพ้อเจ้อ อาละวาด ทำลายข้าวของ ความต้องการของผู้รับบริการ ต้องการมีงานทำเพื่อที่สามารถจะดูแลลูกสาวได้ จากการประเมินการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทุกอย่าง ยกเว้นการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ไม่พูดกับใคร เงียบ ความตื่นตัวต่ำ ชอบทำอาหารและการฟังเพลง ผู้บำบัดได้มีการ ตั้งเป้าหมายของการบำบัดฟื้นฟูในครั้งนี้ คือ

1. ให้ผู้รับบริการมีทักษะสังคม สามารถเริ่มต้นการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นก่อนได้ โดยอ้างอิงจาก MOHO FOR (Model of human occupation frame of reference) โดยการทำกิจกรรมกลุ่มที่ตรงตามต้องการของผู้รับบริการ สามารถทำได้สำเร็จ เห็นผลชัดเจน และเกิดความภาคภูมิใจ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำกิจกรรม และเป็นการเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นก่อน กิจกรรมในครั้งนี้ เป็นกิจกรรมการทำอาหาร เป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการมีความสนใจอยู่แล้ว และเป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการชำนาญ จึงทำให้เกิดมีการแนะนำ และพูดคุยกับสมาชิกท่านอื่น (เริ่มมีปฏิสัมพันธ์) 

2. ผู้รับบริการสามารถจัดการกับความเครียดและความวิตกกังวลที่มีอยู่ได้ โดยจากการสัมภาษณ์ ทราบว่า ผู้รับบริการมีความวิตกกังวลเรื่องลูกสาว เนื่องจากตน ต้องเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูอยู่ในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง จึงได้ฝากญาติช่วยดูแล จึงมีความวิตกกังวลและ ห่วงลูก และในระยะเวลาอีกไม่นาน สหวิชาชีพได้มีการวางแผนร่วมกัน เพื่อจำหน่ายผู้รับบริการรายนี้ออกจากโรงพยาบาล และได้มีการสอบถาม การวางแผนของผู้รับบริการว่า เมื่อกลับบ้านไปแล้ว ต้องการไปทำกิจกรรมใด คุณช. ได้มีการวางแผนว่า ต้องการไปขายของ และรับลูกสาวกลับมาดูแล ผู้บำบัดจึงได้นำข้อมูลเหล่านี้ มาวางแผนต่อ โดยลดความวิตกกังวล และความเครียดของคุณช. ด้วยการนำกิจกรรมที่คุณ ช. สนใจมาเป็นแนวทางในการบำบัดฟื้นฟู และวัดผลโดยการวัดคะแนนความเครียด 1-10 และการวัด vital sign 

ขอบคุณคุณช. ที่มาเป็นกรณีศึกษาให้เราในครั้งนี้ ^^

คำสำคัญ (Tags): #F23.9#psychotic disorder#MOHO
หมายเลขบันทึก: 477475เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2012 23:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 01:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณน้อยหน่าสำหรับข้อมูล เทคนิค และวิธีการการบำบัดฟื้นฟูผู้รับบริการทางจิตเวชนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท