สร้างผู้นำที่โอเรียลเต็ล


ผู้นำองค์กรระดับกลาง (Middle Management) มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาองค์กร เพราะเขามีบทบาทสำคัญต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพของระดับปฏิบัติการ และนำเสนอสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรในระดับ Top Management

สวัสดีครับชาว Blog 

           เมื่อวานนี้ (1 กันยายน 2549) ผมได้ไปบรรยายให้แก่กลุ่มลูกศิษย์ที่เป็นผู้บริหารระดับกลางของโรงแรมโอเรียลเต็ล มีหลายประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องภาวะผู้นำ ซึ่งผมขอนำความรู้ ความคิดดี ๆ มาแบ่งปันกันที่นี่

                                                 จีระ  หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 47746เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2006 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)
ยม " ภาวะผู้นำ ที่โรงแรมโอเรียลเต็ล"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อศุกร์ทีผ่านมา ผมต้องขอขอบคุณ    ศ.ดร.จีระ เป็นอย่างสูง ที่ให้เกียรติผมไปร่วมแชร์ความรู้ประสบการณ์ เรื่อง LEADERSHIP ซึ่งอาจารย์ไปเป็น ผู้บรรยายให้กับผู้บริหารของโรงแรมโอเรียลเต็ล

ในการบรรยายผมเห็นอาจารย์มีเทคนิคเหนือชั้น ในการให้เกิดสังคมการเรียนรู้ในห้องอบรมสัมมนา เพราะอาจารย์ทำให้เกิดหลายเรื่อง    ในเวลาเดียวกัน คือ วิธีการกระตุ้นให้ผู้เรียน มีอารมณ์ร่วม ไม่ง่วงนอน  ประการต่อมา ถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านผู้นำ ประการต่อมาให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีส่วนร่วมเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง บริหาร ความเชื่อ ของผู้ฟัง ด้วยการให้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น นอกจากให้ความรู้ ให้มีส่วนร่วม อาจารย์ได้ฝึกความเป็นผู้นำ ให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนาและลูกศิษย์ด้วย เวลาที่ใช้ สามชั่วโมง ตอนท้ายของรายการ บรรยากาศเป็นไปด้วยดี  ผู้นำที่โรงแรมโอเรียลเต็ล ได้แสดงบทบาทออกมา สมกับความเป็นผู้นำในโรงแรมชั้นนำของโลก ชั้นหนึ่งของเมืองไทย งานนี้ ถ้าเป็นสไตล์ญี่ป่น เขาบอกว่า ทำงานได้มีประสิทธิภาพอย่างมาก

ที่ผมแนะนำเพิ่มเติมคือ ถ้าอาจารย์ไปบรรยายที่ไหน ผมเสนอว่าควรทำ Blog ไว้ล่วงหน้า แล้วควรมีเวลาอธิบายเรื่อง การใช้ Blog โดยเตรียมทำเป็นภาพสไลด์ไว้อธิบาย หน้าตาเว็บของอาจารย์ว่าเป็นอย่างไร และBlog ที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะเข้าไปใช้คืออะไรหน้าตาอย่างไร ผมคิดว่า Bog มีประโยชน์กับผู้เรียนและผู้อ่านทุกคน และถือเป็นยุทธ์ศาสตร์หนึ่งที่ chiraacademy. ,มีไว้ให้ลูกค้าได้ใช้ จึงควรมีการทำ Blog สำหรับลูกค้าเชิงรุก ล่วงหน้าก่อนไปบรรยาย และนำเครือ่งมือทางการจัดการมาใช้บริหาร Blog ได้แก่ SWOT วิเคราะห์หาจุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อการพัฒนาฯ Internal Audit ตรวจสอบ ประเมินผล  ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ครับ

 

ส่วนเรื่องการแชร์ความรู้ เรื่อง Leadership เมื่อวานนี้ ที่อาจารย์บรรยาย ไป ผมสรุปได้ในประเด็นเรื่องคุณสมบัติของผู้นำ มีดังนี้ครับ

คุณสมบัติพึงประสงค์ของผู้นำ ยุคใหม่ มี

  1. มีการพัฒนาอยู่เสมอ (Everforward)ประโยคที่อาจารย์บอกให้ผู้เรียน อ่านหนังสือทุกวัน ทำให้ผมคิดถึงประเด็นนี้ ผมคิดต่อว่า ผู้นำต้องพัฒนา 3 เรื่อง คือ ประการแรก พัฒนาตนเอง สองพัฒนาทีม สามพัฒนานาย ห้าพัฒนาระบบการทำงาน หกพัฒนาความพึงพอใจของลูกค้า เจ็ดพัฒนาความพึงพอใจของพนักงาน ประการสุดท้ายพัฒนาผลประกอบการขององค์กร
  2. อาจารย์สอนผู้เข้ารับการอบรมว่า ให้รับฟังความคิดเห็นลูกน้อง ไม่เอาเปรียบลูกน้อง ทำให้ผมนึงถึงประเด็นที่ว่าผู้นำต้อง สร้างความรู้สึกประทับใจส่วนเป็นการส่วนตัว (Personal Touch) ต้องรู้จักบริหารความเชื่อให้ลูกน้องศรัทธา ผมคิดว่า ถ้าเราเชื่อศรัทธาลูกน้อง ลูกน้องก็จะศรัทธาเราเช่นกัน
  3. จากข้อ 2 ทำให้ผมคิดต่ออีกว่า ผู้นำ ต้อง มีความสามารถในการสื่อสารและเก่งเรื่อง คน(Communication and people skills)
  4. อาจารย์สอนให้ผู้นำที่โรงแรมโอเรียลเต็ล มีความกล้า ผู้นำยุคนี้จึงต้องมีความสามารถในการตัดสินใจ กล้านำในสิ่งที่ถูกต้อง(Decisiveness) ที่ผมคิดต่อไว้ว่า การตัดสินใจของผู้  ต้องถูก เหมาะ และควร กับเวลา สถานที่ และบุคคล ไม่ตัดสินใจแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งแล้วมีปัญหาอื่นตามมา โดยไม่คิดแผนรองรับไว้
  5. และจากข้อที่ 4 ทำให้ผมคิดว่าผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ (Vision) ซึงอาจารย์ก็พูดถึงเรื่องนี้ ผมคิดต่อไปว่า มีวิสัยทัศน์อย่างเดียวไม่พอ ต้องรู้จักกระตุ้นทีมงานให้แปลงวิสัยทัศน์เป็น ภารกิจ(Mission) วัตถุประสงค์เป้าหมาย(Objectives)+ (Targets) และ แผนกลยุทธ์ นำไปสู่ตัวชี้วัดความสำเร็จ ขององค์การได้เป็นอย่างดี
  6. ผู้นำต้องแสดงความใส่ใจ(Focus) ประโยคอาจารย์สอนในห้องอบรมว่า เป็นผู้นำต้องรู้ข่าวสารโลก ต้องบริหารเวลา ไม่ควรเสียเวลาไปกับเรือ่งไม่เป็นเรื่อง  ทำให้ผมคิดถึงประเด็นนี้ เป็นผู้นำต้องรู้จัด Macro Management ให้ความสนใจเฉพาะเรื่อง CEO คือ Customer Satifaction, Employee Happiness and Development, Organization result เป็นหลัก จึงต้อง Focus สิ่งเหล่านี้
  7. ผู้นำต้องแสดงความเป็นของแท้(Authenticity) ประโยคที่อาจารย์ย้ำว่า เป็นผู้นำต้องกล้าคิด กล้านำ กล้าตัดสินใจ ผมจึงคิดถึงประเด็นที่ว่าผุ้นำต้องแสดงความเป็นของแท้คือ เป็นแบบอย่างที่ดีขององค์การได้ตลอดเวลา ยึดมั่นในคำพูด เมื่อพูดออกไปแล้วต้องศรัทธาและสนับสนุนด้วยการกระทำ มีความเป็นต้นแบบในเรืองคุณธรรม จริยธรรม การกระทำที่สร้างสรรค์

เนื่องจากเวลามีจำกัด ผมสรุปมาได้แค่ 7 ประเด็น ซึ่งที่จริง อาจารย์พูดไปมากกว่านี้มีสาระหลายอย่างที่ผมจับประเด็นไม่ทันครับ

ผมขอขอบคุณ ศ.ดร.จีระ อีกครั้งหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผมไปร่วมแชร์ความรู้ในเวทีนี้ และผมประทับใจทีมงานของอาจารย์ทุกคน ตั้งใจทำงานกันดีมาก และประทับใจ ผู้นำ และทีมฝึกอบรมที่โรงแรมโอเรียลเต็ล ทุกคน

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน

สวัสดีครับ

ยม

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ โรงเรียนในฝัน"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  

เช้านี้ วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน ถึงผมจะไม่ค่อยสบายนัก เนื่องจากมีอาการเป็นไข้หวัด แต่ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการหาความรู้ ทาง internet และการค้นหาอ่านบทความ บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า โรงเรียนในฝันให้ทันโลก ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน เล่าถึง 3 เรื่องสำคัญที่ท่านได้ทำ บทเรียนจากความเป็นจริงที่น่าสนใจ ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ

 

   ข่าวการเมืองร้อน ๆ ข่าวการโยกย้ายทหาร ข่าวการเลือกคณะกรรมการการเลือกตั้งยังเดินหน้าอยู่ แต่ประเทศไทยต้องอยู่รอดและยั่งยืนในระยะยาวต่อไป ผมจะเขียนบทความเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านต่อไป 

เรื่องการเมืองในบ้านเรา ทุกครั้งที่จะมีการเลือกตั้ง ผมสังเกตว่าจีเรื่องร้อน ๆ เช่นนี้ เสมอ  ตราบใดที่เรายังไม่มีระบบที่ดีในการพัฒนา กลั่นกรอง คัดสรรคนที่จะมาเล่นการเมืองให้ได้คนที่มีคุณภาพ คุณธรรม มีทุนมนุษย์ ตามทฤษฎี 8K’s ของ ศ.ดร.จีระ ระบบการเมืองของเราจะได้คนที่ทำงานในพรรคการเมือง ที่ทำงานเพื่อชาติเพียงบางส่วนเท่านั้น พอทำงานไปเรื่อย เครียดมากเข้า เจอกระแสทางการเมือง ก็จะทำให้ทุนที่พอมีอยู่ลดน้อยลง เช่น ทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนทางจริยธรรมฯ ในที่สุดก็จะไม่ได้คิดถึงความยั่งยืน แนวทางแก้ไขคงต้องแก้ที่ระบบการศึกษา ให้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพมีศักยภาพ เทียบเท่านานาประเทศที่เจริญแล้ว  ถ้าพรรคการเมืองใดก็ตามขึ้นมาเป็นรัฐบาล แล้วทำงานเพื่อชาติจริง ก็น่าจะเน้นที่ตรงนี้ มากว่าการสร้างผลงานระยะสั้น

 

  เรื่องแรกคือ หน้าปกของ Newsweek เล่มล่าสุด เป็นการมองการศึกษาเป็นแบบ Global มากขึ้น ปัจจุบันเขาจัดอันดับมหาวิทยาลัยว่า ไม่ใช่เก่งในประเทศเท่านั้น จะจัดอันดับมหาวิทยาลัยเป็นระดับ Global University ผู้บริหารของไทย และผู้บริหารระดับกระทรวง ควรจะให้เด็กไทยศึกษา เพื่อไปสู่สังคมโลกให้ได้ และไม่ได้หมายความว่าจะเห็นด้วยกับโลกาภิวัตน์ทั้งหมด แต่จะเป็นการจัดการให้มีความรู้ ความเข้าใจในสังคมโลก หรือทันโลก 
ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ เกี่ยวกับเรื่องนี้ งานใดก็ตามถ้าไม่มีการวัด ไม่มีการตรวจสอบผลว่าเป็นอย่างไร งานนั้นจะไม่สามารถบริหารได้ดีและมีคุณภาพ การวัด/การจัดลำดับจึงเป็นภารกิจสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนา  การเป็นผู้นำ ไม่ใช่แค่กล้าตัดสินใจอย่างเดียว ต้องกล้าพอที่จะรับผลของการวัด กล้าพอที่รับฟังความคิดเห็นของมวลชน การจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จึงควรร่วมมือกัน และควรมีองค์กรกลางระดับภูมิภาคอาเซี่ยนและระดับโลกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย  เราควรต้องทำเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของชาติ  มหาวิทยาลัยเป็นสถานบันหนึ่งที่มีหน้าที่ในการผลิตทรัพยากรมนุษย์ให้ประเทศ ให้สังคมโลก

ข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชนเมือวานนี้ ลงข่าวเกี่ยวกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในบ้านเรา ประเด็นที่น่าห่วงคือเมื่อผลออกมาแล้ว บางมหาวิทยาลัยไม่ยอมรับผลการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยชื่อดังในภาคอีสาน มีชื่อเสียงในจังหวัดถูกจัดอันดับไว้ท้าย ๆ จัดอยู่ในอันดับเดียวกับสถาบันราชภัฏหลายแห่ง  ก็เป็นข้อมูลที่มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาควรสนใจในรายละเอียด และกล้าเผชิญกับความจริง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยังยืน พัฒนาระบบและคนในสถาบัน เพื่อมีศักยาภาพเพียงพอที่จะอยู่อันดับต้น ๆ ของโลกได้ในอนาคต

  

อีกเรื่องหนึ่งที่ผมอยากนำมาเล่าต่อ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้ coach ผู้บริหารของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กว่า 40 ท่าน 2 วันเต็ม เรื่องนวัตกรรมกับการศึกษา สำเร็จเรียบร้อยแล้ว
นับว่า เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ดีคือ เราจะไม่บรรยาย ( Lecture ) เท่านั้น แต่จะแบ่งปันความรู้กัน โต้ตอบ และสร้างมูลค่าเพิ่มร่วมกัน ผมได้เปิด Blog ให้หลายท่านแสดงความเห็นร่วมกันด้วย


สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษามีหน้าที่หลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องนวัตกรรมทางด้านการศึกษาเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง หวังว่าประชาชนคนไทยทั่วไป จะให้กำลังใจการทำงานของสำนักแห่งนี้ ซึ่งมีผลงานที่น่าสนใจ เช่น
-
การสอนภาษาอังกฤษแบบ ICT
-
การสอนคณิตศาสตร์แบบให้เด็กสนุกและคิดสร้างสรรค์
-
การเน้นให้เด็กกล้าแสดงออก มีภาวะผู้นำ
-
การให้เด็กได้มี Creativity และอาจจะมี Innovation ตามมา
-
การเน้นคุณธรรม จริยธรรม แบบวิถีพุทธในโรงเรียน
-
การเรียนหนังสือเพื่อสร้างความสมานฉันท์และสันติภาพให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะโรงเรียน 3 จังหวัดภาคใต้

 ประเด็นเรื่องสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาที่ ศ.ดร.จีระ ไปบรรยายและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนั้น ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ สำนักพัฒนานวตกรรมการจัดการศึกษา มีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพอยู่หลายท่าน และกำลังทำงานด้านนวตกรรมทางการศึกษา เพื่อแก้ไขและพัฒนาการศึกษาของชาติ ท่านผู้อำนวยการสำนักฯ เป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดี ทราบว่าท่านใกล้เกษียณ แต่ความคิด ทุนทางทรัพยากรมนุษย์ของท่านมีสูง คล่องว่องไว Smart และยังมีทีมงานในสำนักฯหลายท่านที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานอย่างจริงจัง มีโครงการใหม่ ๆ ทางการศึกษาที่น่าสนใจน่าส่งเสริม รัฐบาลควรให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่กับหน่วยงานนี้ 

ที่น่าประทับใจมากคือ ศ.ดร.จีระ ได้มีโอกาสเข้าไปเปิดโลกทัศน์ ชี้ประเด็นสำคัญ เกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ เกี่ยวกับแนวทางในการสร้างนวตกรรมทางการศึกษา ด้วยทฤษฎี 4L’s ทฤษฎีนี้ จะเป็นการสร้างนวตกรรมทางการสอนของครู เป็นยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาครูผู้สอนได้และยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาสติปัญญาได้เป็นอย่างดี  ถือว่าเป็นนวตกรรมในการสอน การพัฒนาครูผู้สอนเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะมองข้ามไม่ได้ 


 
วันจันทร์ หลังจากผมประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเสร็จ ก็นั่งรถไปกับคุณสมควร และทีมงานผม คุณพลภัทร พรคุณานุภาพ ไปพูดให้ผู้อำนวยการโรงเรียนในฝันกว่า 600 คน เรื่องโรงเรียนในฝันให้ทันโลก
ปรากฎว่า เป็นบรรยากาศที่ดีมาก มีการนำเอาความรู้ใหม่ ๆ ที่สดและทันเหตุการณ์ไปแบ่งปันให้ผู้อำนวยการโรงเรียนฟัง และนำไปใช้ต่อให้เกิดประโยชน์ ให้มีโลกทัศน์กว้างขึ้น สร้างความเข้าใจอย่างดี ห้องประชุมนี้ใหญ่มาก แต่ความสนใจของทั้ง 600 คน มีสูง ตั้งใจฟัง และคิดต่อยอด มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเข้มข้น ผู้อำนวยการโรงเรียนหลายท่านได้ออกมาเล่าว่า ได้ทำไปแล้วหลายอย่าง จะทำอีก มีโรงเรียนแห่งหนึ่งบอกว่า เด็กทุกคนต้องมี Laptop แล้ว และทุกคนบริหารงานแบบแหวกวงล้อม เป็นแบบ paradigm shift จึงอยากให้กำลังใจผู้อำนวยการโรงเรียนในฝันทุกท่าน 
ผลจากการมี good connection ทุนทางสังคมตามทฤษฎี 8K’s ที่ ศ.ดร.จีระ กับทางคุณสมควร มีร่วมกันหลังจาก ศ.ดร.จีระ ร่วมการสัมมากับทางสำนักพัฒนานวตกรรมการจัดการศึกษา จึงทำให้มีโอกาสสำคัญ เช่นนี้ เป็นบทพิสูจน์ว่าทุนทางสังคม เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนา  ผู้อำนวยการโรงเรียนในฝัน 600 คน มารวมกันแล้วมีคนอย่าง ศ.ดร.จีระ ไปให้แนวทางในการพัฒนา สานฝันให้เป็นจริง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ถือว่าเป็นนวตกรรมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของชาติ  ควรได้รับการสนับสนุนจากภารัฐและเอกชน

ชื่นชมคุณสมควร ที่รู้จักใช้ทุนทางสังคม ให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวม แบ่งบันทุนสังคมนี้ให้กับผู้อำนวยการโรงเรียนในฝันทั้ง 600 แห่ง ชื่นชม ศ.ดร.จีระ ที่อุทิศกายใจ ทำงานเพื่อส่วนรวม เพื่อสังคมประเทศชาติ มีอุดมการณ์การทำงานเพื่อบ้านเมืองและยังคงรักษาความดีมีคุณธรรม เป็นกลาง สมกับคำว่า คนของแผ่นดิน ที่ลูกศิษย์ขอมอบคำนี้และจะยึดเป็นแบบอย่างที่ดี ในการทำงานต่อไป

  

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ 

  

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน

 

 ยม
ยม บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ โรงเรียนในฝัน(ต่อ)

โรงเรียนในฝันให้ทันโลก[1]

 

ข่าวการเมืองร้อน ๆ ข่าวการโยกย้ายทหาร ข่าวการเลือกคณะกรรมการการเลือกตั้งยังเดินหน้าอยู่ แต่ประเทศไทยต้องอยู่รอดและยั่งยืนในระยะยาวต่อไป ผมจะเขียนบทความเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านต่อไป
คงจะช่วยให้หลายท่านนำไปใช้เป็นประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย นอกจากนี้ยังอ่านได้จาก website ของหนังสือพิมพ์แนวหน้า www.naewna.com ทุกวันเสาร์ สัปดาห์ที่แล้ว คุณหมอจากโรงพยาบาลภูมิพลท่านหนึ่งอ่านจากแนวหน้าและขอ website ของผม คือ www.chiraacademy.com ผมดีใจที่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานความคิดต่อไป
วันนี้ผมมี 3 เรื่องจะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรกคือ หน้าปกของ Newsweek เล่มล่าสุด เป็นการมองการศึกษาเป็นแบบ Global มากขึ้น ปัจจุบันเขาจัดอันดับมหาวิทยาลัยว่า ไม่ใช่เก่งในประเทศเท่านั้น จะจัดอันดับมหาวิทยาลัยเป็นระดับ Global University ผู้บริหารของไทย และผู้บริหารระดับกระทรวง ควรจะให้เด็กไทยศึกษา เพื่อไปสู่สังคมโลกให้ได้ และไม่ได้หมายความว่าจะเห็นด้วยกับโลกาภิวัตน์ทั้งหมด แต่จะเป็นการจัดการให้มีความรู้ ความเข้าใจในสังคมโลก หรือทันโลก
เป็นที่น่าสังเกตว่า ระดับ TOP 25 ส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ตามด้วยอังกฤษ ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์เล็กน้อย หากดูในระดับ TOP 50 จะเห็นมีมหาวิทยาลัยในเอเชีย 2-3 แห่งคือที่ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ รัฐบาลไทยควรจะเอาจริง ให้มหาวิทยาลัยหนึ่งแห่งในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับของโลกบ้าง หากโลกยอมรับ เราจะได้ปัญญาจากโลกมาแลกเปลี่ยนกับเรา ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยที่น่าจะเป็นไปได้ในไทยมี :
-
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ ( จุฬาฯ )
- ABAC
-
มหิดล
-
ขอนแก่น
-
เชียงใหม่
-
ธรรมศาสตร์
-
หอการค้า
-
ธุรกิจบัณฑิตย์
- NIDA
โลกในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงเร็วและไม่มีอะไรแน่นอน การมีความรู้ที่สด ทันเหตุการณ์ จะช่วยประเทศของเราได้มาก เพราะเราจะได้ฉกฉวยโอกาสและหลีกเลี่ยงจากการถูกคุกคาม
สิ่งที่น่าคิดคือ ถึงเวลาแล้วที่ตะวันออกต้องสอนหรือแบ่งปันความรู้ให้ตะวันตกบ้าง เพราะความรู้จะต้องกระจายไปตามความเจริญของโลก
เป็นที่น่าสังเกตว่าในระดับ TOP 25 ของมหาวิทยาลัยของโลก มหาวิทยาลัยของจีน อินเดีย ยังไม่ติดอันดับเลย ทั้งที่คนในโลกจะศึกษาเกี่ยวกับอินเดียหรือจีนมากขึ้น และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสองประเทศนี้สูงขึ้นด้วย
อีกเรื่องหนึ่งที่ผมอยากนำมาเล่าต่อ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้ coach ผู้บริหารของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กว่า 40 ท่าน 2 วันเต็ม เรื่องนวัตกรรมกับการศึกษา สำเร็จเรียบร้อยแล้ว
นับว่า เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ดีคือ เราจะไม่บรรยาย ( Lecture ) เท่านั้น แต่จะแบ่งปันความรู้กัน โต้ตอบ และสร้างมูลค่าเพิ่มร่วมกัน ผมได้เปิด Blog ให้หลายท่านแสดงความเห็นร่วมกันด้วย
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษามีหน้าที่หลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องนวัตกรรมทางด้านการศึกษาเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง หวังว่าประชาชนคนไทยทั่วไป จะให้กำลังใจการทำงานของสำนักแห่งนี้ ซึ่งมีผลงานที่น่าสนใจ เช่น
-
การสอนภาษาอังกฤษแบบ ICT
-
การสอนคณิตศาสตร์แบบให้เด็กสนุกและคิดสร้างสรรค์
-
การเน้นให้เด็กกล้าแสดงออก มีภาวะผู้นำ
-
การให้เด็กได้มี Creativity และอาจจะมี Innovation ตามมา
-
การเน้นคุณธรรม จริยธรรม แบบวิถีพุทธในโรงเรียน
-
การเรียนหนังสือเพื่อสร้างความสมานฉันท์และสันติภาพให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะโรงเรียน 3 จังหวัดภาคใต้
ผมรู้สึกโชคดีที่ได้รับเชิญเข้ามาทำงาน ใกล้ชิดกับข้าราชการที่เสียสละกว่า 40 ท่าน มีความเป็นกันเอง และให้ความเคารพผมซึ่งเป็นคนข้างนอก จึงขอชมเชยผู้อำนวยการ ดร.ศรีสมร พุ่มสะอาด และทีมงานของท่าน โดยเฉพาะคุณสมควร วรสันต์ ซึ่งเป็นคนที่เร็วและไว มี sense ของผู้ประกอบการทางการศึกษา คือเห็นโอกาส และการทำงานนอกกรอบ วันอาทิตย์ได้โทรมาบอกว่าจะมีการประชุมผู้อำนวยการโรงเรียนในฝัน ระดับมัธยมศึกษา ที่โรงแรม Ambassador city จอมเทียน ในวันจันทร์ หากอาจารย์จีระสนใจที่จะไปพูดให้ผู้บริหารโรงเรียนฟัง
วันจันทร์ หลังจากผมประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเสร็จ ก็นั่งรถไปกับคุณสมควร และทีมงานผม คุณพลภัทร พรคุณานุภาพ ไปพูดให้ผู้อำนวยการโรงเรียนในฝันกว่า 600 คน เรื่องโรงเรียนในฝันให้ทันโลก
ปรากฎว่า เป็นบรรยากาศที่ดีมาก มีการนำเอาความรู้ใหม่ ๆ ที่สดและทันเหตุการณ์ไปแบ่งปันให้ผู้อำนวยการโรงเรียนฟัง และนำไปใช้ต่อให้เกิดประโยชน์ ให้มีโลกทัศน์กว้างขึ้น สร้างความเข้าใจอย่างดี ห้องประชุมนี้ใหญ่มาก แต่ความสนใจของทั้ง 600 คน มีสูง ตั้งใจฟัง และคิดต่อยอด มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเข้มข้น ผู้อำนวยการโรงเรียนหลายท่านได้ออกมาเล่าว่า ได้ทำไปแล้วหลายอย่าง จะทำอีก มีโรงเรียนแห่งหนึ่งบอกว่า เด็กทุกคนต้องมี Laptop แล้ว และทุกคนบริหารงานแบบแหวกวงล้อม เป็นแบบ paradigm shift จึงอยากให้กำลังใจผู้อำนวยการโรงเรียนในฝันทุกท่าน
ผู้อ่านบทความนี้ ถ้าสนใจอยากได้ speech ของผม สามารถขอได้ครับ
ผมเน้นว่า นวัตกรรมการศึกษาสำคัญ เพราะถ้าการศึกษาดี ประเทศไทยอยู่รอด สามารถจัดการโลกาภิวัตน์ที่น่ากลัวได้ หากเด็กไทยคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ใฝ่หาความรู้และปัญญา ไม่ใช่เรียนเพื่อสอบเท่านั้น
สุดท้ายนี้ ผมขอแสดงความเสียใจต่อชาวไทยในจังหวัดทางภาคเหนือที่ประสบภัยธรรมชาติ ขอให้รัฐบาลดูแลอย่างใกล้ชิด

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
สรุปการทำ Workshop ในการบรรยายให้บุคลากรระดับ Head Officeของโรงแรมโอเรียลเต็ลในเรื่อง Leadership  คุณสมบัติของผู้นำของโรงแรมโอเรียลเต็ล
  1. มีความยุติธรรม เป็นธรรม มีหลักธรรมประจำใจ
  2. สร้างบรรยากาศเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว  ทำให้ลูกน้องรักศรัทธา
  3. สร้างความกระจ่างของเหตุผล มีเหตุผล และอุดมการณ์ก้าวไกล
  4. มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ พัฒนาตนเอง อยู่เสมอ มีไหวพริบ  มีความรู้ดีทุกด้าน
  5. มีบุคลิกดี มีความกระตือรือร้น มีกำลังใจดี รักงาน
  6. มีความอดทน อดกลั้น กล้าเผชิญต่อเหตุการณ์
  7. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
  8. มีความรับผิดชอบ ตัดสินปัญหาได้เร็ว
 ทำอย่างไรจะให้เกิดสิ่งเหล่านี้ได้
  1. ต้องให้ความรู้ การอบรมเกี่ยวกับภาวะผู้นำ
  2. ต้องให้มีพี่เลี้ยง ผู้ชำนาญการ คอยแนะนำ
  3. ต้องเปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ ความคิดเห็นเสนอแนะ
  4. ต้องมีการประเมินผลติดตาม และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

เรียน ท่าน ศ.ดร. จีระและทุกท่านที่เคารพ 

เมื่อเช้านี้ ผมได้อ่านหนังสือพิมพ์เจอคำว่า "Employee Branding" หมายถึง การที่บุคคลคนหนึ่งนำหลักการประชาสัมพันธ์และหลักการตลาดมาใช้ในการสร้างภาพลักษณ์และเอกลักษณ์ของตนเองให้โดดเด่นจนกลายเป็น "แบรนด์" ซึ่งพอสรุปได้ว่า เป็นกระบวนการสร้างคุณค่าของตัวพนักงาน ด้วยความรู้ ความสามารถอย่างมีเอกลักษณ์ของตัวเอง อันประกอบด้วยหลัก 4 ประการคือ

  1. ต้องรู้จักตนเองว่ามีจุดด้อย จุดเด่น และพรสวรรค์อะไร
  2. ต้องรู้ว่าตนเองชอบอะไร
  3. ต้องรู้ว่าจะพัฒนาตนเองอย่างไร
  4. ต้องรู้จักอดทนรอโอกาส และเตรียมตัวเองให้พร้อมอยู่เสมอ

รายละเอียดเพิ่มเติมและตัวอย่างจะสืบค้น เสาะหามาฝากต่อไปครับ

ด้วยความเคารพ

ประจวบ/DPA3UBU

ยม "สิ่งที่ผู้นำพรรคการเมือง ทั้งฝ่ายรัฐ ฝ่ายค้าน นายกฯคนใหม่/ ผู้นำองค์การ ควรมี 5 ประการ"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /ผู้บริหารโรงแรมโอเรียลเต็ลและท่านผู้อ่านทุกท่าน 

  ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้บ้านเมือง สังคม และองค์กร ต่างก็เผชิญปัญหา ในการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้นำ เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 3 ก.ย.  ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)  สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย มธ. จัดปาฐกถาสาธารณะส่งที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ควรทำและเสวนาทางออกเพื่อปฏิรูปการเมืองไทย ศ.น.พ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวว่า สิ่งที่นายกรัฐมนตรีคนต่อไปควรทำมี 10 ประการ [1] สรุปโดยย่อได้ว่ามี ดัง่นี้1.    นายกรัฐมนตรีต้องมีต่อมจริยธรรมสูง2.    ปฏิรูปการเมือง ปรับระบบราชการ ชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง3.    มีความจริงใจและจริงจัง ในการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชั่น4.    สร้างเศรษฐกิจพอเพียง สัมมาชีพเต็มพื้นที่ อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน และมีดัชนีวัดความสุข5.    ปลดปล่อยคนทั้งประเทศไปสู่เกียรติ ศักดิ์ศรี ศักยภาพและความสุข6.    ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นทั้งประเทศ ปัจจุบันคนดีมีมาก แต่ไม่เป็นข่าว แต่คนชั่วได้ลงฟรี คนดีต้องเสียเงิน เพราะสภาพปัจจุบันมีการบริโภควัตถุนิยม ทำให้คนเห็นแก่ตัวมากขึ้น ทอดทิ้งกัน7.    แก้ไขความขัดแย้งรุนแรง และปรับปรุงอย่างอหิงสา ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ช่วงที่ผ่านมา คนไทยมีความแตกแยกอย่างไม่เคยมีมาก่อน8.    ปฏิรูประบบกฎหมายเพื่อความยุติธรรมในบริบทใหม่ของสังคม เพราะสังคมสมัยใหม่มีความซับซ้อน และมีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว9.    สร้างดุลยภาพ และศักดิ์ศรีของคนไทยในโลกสากล เพราะขณะนี้โลกทั้งโลกใกล้ชิดกัน ถ้าเราไม่เก่งจะเสียดุลทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม และอาจถูกครอบงำได้ง่าย10.                       เร่งสร้างสมรรถนะของชาติ โดยขณะนี้ระบบการศึกษายึดติดแต่การท่องจำ คนอยากได้แต่ปริญญา แต่ไม่ได้เน้นอยากเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมีความสามารถด้านการวิจัยน้อย หรือเกือบไม่มีเลยทั้ง 10 ประการดังกล่าว ท่านผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดได้ที่   http://www.reporter.co.th/หรือhttp://www.tjanews.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=1233ประเด็นดังกล่าวทำให้ผมคิดว่า ถ้านายกฯ ท่านใหม่ จะทำได้ทั้ง 10 ข้อ หรือ ผู้บริหารในองค์การ จะสามารถฝ่าวิกฤตองค์การไปได้ ผู้บริหาร ผู้นำองค์กร ผู้นำพรรคการเมือง ทั้งฝ่ายรัฐ ฝ่ายค้าน รวมทั้งผู้ที่จะมาเป็นนายกฯ คนต่อไปต้องมีคุณสมบัติผู้นำ ดังนี้1.    ต้องมีทศพิศราชธรรม2.    ต้องมีทุนตามทฤษฎี 8K’s[2] ของ ศ.ดร.จีระ3.    ต้องมีทุนทรัพย์ที่ได้มาด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้4.    ต้องมีทุนแห่งศรัทธา5.    ต้องทันโลก ทันเหตุการณ์ บริหารการเปลี่ยนแปลง และบริหารความขัดแย้ง ให้ไปด้วยกันได้ดีI.            ต้องมีทศพิศราชธรรม เจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทศพิธราชธรรม ๑๐ คือธรรมในการใช้พระราชอำนาจและการบำเพ็ญประโยชน์ต่ออาณาประชาราษฎร์ มีดังนี้ 1.    การให้ ซึ่งต้องคำนึงถึงความยั่งยืน ให้เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างทั่วถึง การจะมีตรงนี้ได้ ผู้นำต้องมีทุนมนุษย์ ทุนความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข2.    การบริจาค เมื่อมีก็ควรเผื่อแผ่ไปยังประชาราษฎร ช่วยเหลือด้วยความ บริสุทธิ์ใจ ไม่หวังผล สิ่งใดตอบแทน ซึ่งผู้นำจะมีข้อนี้ได้ต้องมีทุนมนุษย์สูง มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน 3.    ความประพฤติดีงาม โดยมีหลักธรรมทางศาสนา คุณธรรม จริยธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เรียกได้ว่าต้องมีทุนทางจริยธรรมมากเพียงพอ4.    ความซื่อตรง ต่อการปฏิบัติหน้าที่ เป็นแบบอย่างที่ดี แก่คนทั่วไป การที่ผู้นำจะมีตรงนี้ได้ท่านต้องมีทุนมนุษย์สูง มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน 5.    ความอ่อนโยน ไม่ถือตน เป็นผู้นำที่ไม่ยึดมั่นในตำแหน่ง ละอัตตา ลดละความเป็นของตัวเอง ละทิฐิ ดื้อรั้น ไม่หลงตัวเอง ซึ่งต้องมีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม6.     ความทรงเดช มีอำนาจ ผู้นำจะมีตรงนี้ได้ต้องรู้จักสร้าง ใช้และรักษาอำนาจตามหลักรัฐศาสนศาสตร์ อำนาจสร้างได้ด้วยการให้ อำนาจสร้างด้วยการเป็นผู้รอบรู้มากกว่า อำนาจสร้างได้ด้วยนิติกรรม การได้รับการแต่งตั้ง ตำแหน่งให้สามรถทำงานได้เต็มที่ อำนาจอ้างอิง ผู้มีอำนาจเหนือกว่า อำนาจสร้างได้ด้วยการติ  ซึ่งจะต้องมีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ประกอบไปด้วย7.    ความไม่โกรธ  ผู้นำที่ไม่โกรธ เพราะมีเมตตา กรุณาผู้นำจึงต้องมี ความดี มีหลักธรรม มีทุนทางจริยธรรมคุณงามความดี ปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์8.    ความไม่เบียดเบียน ผู้นำที่ไม่เบียดเบียน ย่อมรู้จักบริจาค และมีความประพฤติดี มีทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข9.     ความอดทน  ผู้นำที่มีความอดทน เพราะมีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน 10.                       ความไม่คลาดเคลื่อนในธรรม ความยึดมั่นในอุดมการณ์เรื่องธรรม ความมีคุณธรรม ซึ่งต้องอาศัยทุนทางจริยธรรมสูง และมีทุน  ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืนประกอบไปด้วยโดยรวมแล้วการที่ผู้นำจะมีทศพิศราชธรรม ได้ต้องมีพื้นฐานทุนตามทฤษฎี 8 K’s  ของ ศ.ดร.จีระ เป็นพื้นฐาน จะทำให้มีความเป็นทศพิศราชธรรมมากขึ้น และยั่งยืนII.      ต้องมีทุน ผู้นำยุคใหม่นี้ ต้องมี ความรู้และมีทุนตามทฤษฎี 8K’s[3] ของ ศ.ดร.จีระ ได้แก่ 1.    Human  Capital  หรือ ทุนมนุษย์ คือ ทุนที่ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษาซึ่งถือว่าเป็นทุนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องมี2.    Intellectual  Capital  หรือ ทุนทางปัญญา คือ ความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม     บุคคลที่จบปริญญามี Human Capital ใช่ว่าจะมีทุนทางปัญญาหรือ   Intellectual  Capital  เสมอไป  คนที่มีการศึกษาไม่สูงแต่สามารถมีทุนทางปัญญาได้ถ้ารู้จักในการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถที่จะนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับมาสร้างมูลค่าเพิ่ม 3.    Ethical  Capital หรือ ทุนทางจริยธรรม  บุคคลที่มีความรู้ดี  สติปัญญาดี  แต่ถ้าไม่มีคุณธรรม  ก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้อย่างดี  ยิ่งถ้านำเอาความรู้ ความสามารถที่ได้รับไปใช้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ย่อมสร้างปัญหาให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น  ฉะนั้น ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงควรให้การปลูกฝัง ทุนทางจริยธรรม ไว้ตั้งแต่เบื้องแรก หรือแทรกเข้าไปในเนื้อหาเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง 4.    Happiness  Capital หรือ ทุนแห่งความสุข มนุษย์ทุกคนนี้ล้วนมีความปรารถนาจะทำในสิ่งที่ตนทำแล้วมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นสุขกาย หรือ สุขใจ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะคิด หรือทำสิ่งใดก็ตามก็จะต้องคำนึงถึงความสุขกับสิ่งที่ทำด้วยจึงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น 5.    Social  Capital หรือ ทุนทางสังคม ทุนทางสังคม หรือ Social  Capital หมายถึงการรู้จักเข้าสังคม การรู้จักวางตัว หน้าที่และบทบาทของตนเองต่อสังคมซึ่งก็จะเป็นการสร้างให้เกิดยอมรับในสังคม6.    Sustainability  Capital หรือ ทุนแห่งความยั่งยืน  ทุนแห่งความยั่งยืนเป็นทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ เพราะเนื่องจากว่าการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมาก หากเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้วนั้นเราก็จะไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน7.    Digital  Capital  หรือ ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศลกยุคปัจจุบันเป็นโลกยุคข่าวสาร และเทคโนโลยี  เป็นโลกาภิวัตน์  ฉะนั้น ในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ สามารถที่จะพัฒนาและแข่งขันกับนานาอารยประเทศ  จึงจำเป็นที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 8.    Talented  Capital  หรือ ทุนทางความรู้  ทักษะ และทัศนคติ  ทุนที่สำคัญและขาดไม่ได้สำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ก็คือ ทุนทางความรู้  ทักษะ และทัศนคติ การมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Mindset) ที่ถูกต้องในการทำงาน  III.  ต้องมีทุนทรัพย์ที่ได้มาด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้   ซึ่งเป็นทุนทรัพย์ที่ได้มาด้วยความสามารถของตน ด้วยความสามารถในการบริหารทุนมนุษย์ในตน จนมีทุนทรัพย์ขึ้นมา และเป็นที่ทราบดีในสังคมว่าทรัพย์ที่ได้มานั้น ถูกต้องได้มาด้วยความรู้ความสามารถและคุณธรรม การจะมีตรงนี้ได้ด้วยเพราะอาศัยการพึ่งพาตนเอง เป็นหลัก ได้ทรัพย์มาอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม และบริหารทรัพย์สิน ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ส่วนรวม มากกว่าตนเองและพวกพ้อง IV.          ต้องมีทุนแห่งศรัทธา ที่ผมเพิ่มเติมจากทฤษฎีทุน 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ ทุนแห่งศรัทธา ในที่นี้หมายถึง ตามประพฤติตนในทศพิศราชธรรมและการรู้จักบริหารทุนต่าง ๆ ตามทฤษฎี 8 K’s  อย่างต่อเนื่องอย่างยั่งยืน จนเป็นที่รักและเคารพของผู้คนทั่วไปอย่างกว้างขวาง ทั้งในและนอกองค์การ  ผู้นำยุคนี้ ต้องมีเป็นที่ศรัทธาแก่ผู้คนทั้งในและนอกองค์กร  การจะมีทุนแห่งศรัทธาได้นั้น ผุ้นำต้องรู้จักบริหารอำนาจ รู้จักใช้และรู้จักรักษาอำนาจ สะสมเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอำนาจบารมี สะสมมาก ๆ เข้าจะกลายเป็นแรงศรัทธา ที่เกิดขึ้นแก่คนทั่วไป V.   ต้องทันโลก ทันเหตุการณ์ และบริหารตนเอง บริหารองค์การ สังคม ชุมชนที่เกี่ยวข้อง ให้อยู่ดีมีสุข ผู้นำจึงต้องรู้จักบริหารการเปลี่ยนแปลง และบริหารความขัดแย้ง ให้ไปด้วยกันได้ดี  ต้อง มีความสามารถในการสื่อสารและเก่งเรื่อง คน(Communication and people skills) ไม่พูดอะไรแบบไม่คิดและบางครั้งอาจจะต้องใช้ความสงบนิ่งสยบความเคลื่อนไหว ก็ต้องใช้ ต้องมีความสามารถในการตัดสินใจ กล้านำในสิ่งที่ถูกต้อง(Decisiveness) ที่ผมคิดต่อไว้ว่า การตัดสินใจของผู้  ต้องถูก เหมาะ และควร กับเวลา สถานที่ และบุคคล ไม่ตัดสินใจแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งแล้วมีปัญหาอื่นตามมา โดยไม่คิดแผนรองรับไว้

สวัสดีครับ

ยม

ยม "สิ่งที่ผู้นำพรรคการเมือง ทั้งฝ่ายรัฐ ฝ่ายค้าน นายกฯคนใหม่/ ผู้นำองค์การ ควรมี 5 ประการ"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /ผู้บริหารโรงแรมโอเรียลเต็ลและท่านผู้อ่านทุกท่าน 

  ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้บ้านเมือง สังคม และองค์การ ในบ้านเมืองเรา ต่างก็เผชิญปัญหาในการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้นำ เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 3 ก.ย.  ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)  สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย มธ. จัดปาฐกถาสาธารณะส่งที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ควรทำและเสวนาทางออกเพื่อปฏิรูปการเมืองไทย ศ.น.พ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวว่า สิ่งที่นายกรัฐมนตรีคนต่อไปควรทำมี 10 ประการ [1] สรุปโดยย่อได้ว่ามี ดัง่นี้
  1.  นายกรัฐมนตรีต้องมีต่อมจริยธรรมสูง
  2. ปฏิรูปการเมือง ปรับระบบราชการ ชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง
  3. มีความจริงใจและจริงจัง ในการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชั่น
  4. สร้างเศรษฐกิจพอเพียง สัมมาชีพเต็มพื้นที่ อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน และมีดัชนีวัดความสุข
  5. ปลดปล่อยคนทั้งประเทศไปสู่เกียรติ ศักดิ์ศรี ศักยภาพและความสุข
  6. ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นทั้งประเทศ ปัจจุบันคนดีมีมาก แต่ไม่เป็นข่าว แต่คนชั่วได้ลงฟรี คนดีต้องเสียเงิน เพราะสภาพปัจจุบันมีการบริโภควัตถุนิยม ทำให้คนเห็นแก่ตัวมากขึ้น ทอดทิ้งกัน
  7.  แก้ไขความขัดแย้งรุนแรง และปรับปรุงอย่างอหิงสา ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ช่วงที่ผ่านมา คนไทยมีความแตกแยกอย่างไม่เคยมีมาก่อน
  8. ปฏิรูประบบกฎหมายเพื่อความยุติธรรมในบริบทใหม่ของสังคม เพราะสังคมสมัยใหม่มีความซับซ้อน และมีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  9.     สร้างดุลยภาพ และศักดิ์ศรีของคนไทยในโลกสากล เพราะขณะนี้โลกทั้งโลกใกล้ชิดกัน ถ้าเราไม่เก่งจะเสียดุลทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม และอาจถูกครอบงำได้ง่าย
  10.  เร่งสร้างสมรรถนะของชาติ โดยขณะนี้ระบบการศึกษายึดติดแต่การท่องจำ คนอยากได้แต่ปริญญา แต่ไม่ได้เน้นอยากเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมีความสามารถด้านการวิจัยน้อย หรือเกือบไม่มีเลย

ทั้ง 10 ประการดังกล่าว ท่านผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดได้ที่   http://www.reporter.co.th/หรือhttp://www.tjanews.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=1233 

ประเด็นดังกล่าวผมคิดว่า ถ้านายกฯ ท่านใหม่ จะทำได้ทั้ง 10 ข้อ หรือ ผู้บริหารในองค์การ จะสามารถฝ่าวิกฤตองค์การไปได้ ผู้บริหาร ผู้นำองค์กร ผู้นำพรรคการเมือง ทั้งฝ่ายรัฐ ฝ่ายค้าน รวมทั้งผู้ที่จะมาเป็นนายกฯ คนต่อไปต้องมีคุณสมบัติผู้นำ ดังนี้

1.    ต้องมีทศพิศราชธรรม

2.    ต้องมีทุนตามทฤษฎี 8K’s[2] ของ ศ.ดร.จีระ

3.    ต้องมีทุนทรัพย์ที่ได้มาด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้

4.    ต้องมีทุนแห่งศรัทธา

5.    ต้องทันโลก ทันเหตุการณ์ บริหารการเปลี่ยนแปลง และบริหารความขัดแย้ง ให้ไปด้วยกันได้ดี

I.            ต้องมีทศพิศราชธรรม เจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทศพิธราชธรรม ๑๐ คือธรรมในการใช้พระราชอำนาจและการบำเพ็ญประโยชน์ต่ออาณาประชาราษฎร์ มีดังนี้

1.    การให้ ซึ่งต้องคำนึงถึงความยั่งยืน ให้เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างทั่วถึง การจะมีตรงนี้ได้ ผู้นำต้องมีทุนมนุษย์ ทุนความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข

2.    การบริจาค เมื่อมีก็ควรเผื่อแผ่ไปยังประชาราษฎร ช่วยเหลือด้วยความ บริสุทธิ์ใจ ไม่หวังผล สิ่งใดตอบแทน ซึ่งผู้นำจะมีข้อนี้ได้ต้องมีทุนมนุษย์สูง มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน

3.    ความประพฤติดีงาม โดยมีหลักธรรมทางศาสนา คุณธรรม จริยธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เรียกได้ว่าต้องมีทุนทางจริยธรรมมากเพียงพอ

4.    ความซื่อตรง ต่อการปฏิบัติหน้าที่ เป็นแบบอย่างที่ดี แก่คนทั่วไป การที่ผู้นำจะมีตรงนี้ได้ท่านต้องมีทุนมนุษย์สูง มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน

5.    ความอ่อนโยน ไม่ถือตน เป็นผู้นำที่ไม่ยึดมั่นในตำแหน่ง ละอัตตา ลดละความเป็นของตัวเอง ละทิฐิ ดื้อรั้น ไม่หลงตัวเอง ซึ่งต้องมีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม

6.     ความทรงเดช มีอำนาจ ผู้นำจะมีตรงนี้ได้ต้องรู้จักสร้าง ใช้และรักษาอำนาจตามหลักรัฐศาสนศาสตร์ อำนาจสร้างได้ด้วยการให้ อำนาจสร้างด้วยการเป็นผู้รอบรู้มากกว่า อำนาจสร้างได้ด้วยนิติกรรม การได้รับการแต่งตั้ง ตำแหน่งให้สามรถทำงานได้เต็มที่ อำนาจอ้างอิง ผู้มีอำนาจเหนือกว่า อำนาจสร้างได้ด้วยการติ  ซึ่งจะต้องมีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ประกอบไปด้วย

7.    ความไม่โกรธ  ผู้นำที่ไม่โกรธ เพราะมีเมตตา กรุณาผู้นำจึงต้องมี ความดี มีหลักธรรม มีทุนทางจริยธรรมคุณงามความดี ปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

8.    ความไม่เบียดเบียน ผู้นำที่ไม่เบียดเบียน ย่อมรู้จักบริจาค และมีความประพฤติดี มีทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข

9.     ความอดทน  ผู้นำที่มีความอดทน เพราะมีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน

10.                       ความไม่คลาดเคลื่อนในธรรม ความยึดมั่นในอุดมการณ์เรื่องธรรม ความมีคุณธรรม ซึ่งต้องอาศัยทุนทางจริยธรรมสูง และมีทุน  ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืนประกอบไปด้วย

โดยรวมแล้วการที่ผู้นำจะมีทศพิศราชธรรม ได้ต้องมีพื้นฐานทุนตามทฤษฎี 8 K’s  ของ ศ.ดร.จีระ เป็นพื้นฐาน จะทำให้มีความเป็นทศพิศราชธรรมมากขึ้น และยั่งยืน

II.      ต้องมีทุน ผู้นำยุคใหม่นี้ ต้องมี ความรู้และมีทุนตามทฤษฎี 8K’s[3] ของ ศ.ดร.จีระ ได้แก่

1.    Human  Capital  หรือ ทุนมนุษย์ คือ ทุนที่ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษาซึ่งถือว่าเป็นทุนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องมี

2.    Intellectual  Capital  หรือ ทุนทางปัญญา คือ ความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม     บุคคลที่จบปริญญามี Human Capital ใช่ว่าจะมีทุนทางปัญญาหรือ   Intellectual  Capital  เสมอไป  คนที่มีการศึกษาไม่สูงแต่สามารถมีทุนทางปัญญาได้ถ้ารู้จักในการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถที่จะนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับมาสร้างมูลค่าเพิ่ม

3.    Ethical  Capital หรือ ทุนทางจริยธรรม  บุคคลที่มีความรู้ดี  สติปัญญาดี  แต่ถ้าไม่มีคุณธรรม  ก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้อย่างดี  ยิ่งถ้านำเอาความรู้ ความสามารถที่ได้รับไปใช้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ย่อมสร้างปัญหาให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น  ฉะนั้น ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงควรให้การปลูกฝัง ทุนทางจริยธรรม ไว้ตั้งแต่เบื้องแรก หรือแทรกเข้าไปในเนื้อหาเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง

4.    Happiness  Capital หรือ ทุนแห่งความสุข มนุษย์ทุกคนนี้ล้วนมีความปรารถนาจะทำในสิ่งที่ตนทำแล้วมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นสุขกาย หรือ สุขใจ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะคิด หรือทำสิ่งใดก็ตามก็จะต้องคำนึงถึงความสุขกับสิ่งที่ทำด้วยจึงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น

5.    Social  Capital หรือ ทุนทางสังคม ทุนทางสังคม หรือ Social  Capital หมายถึงการรู้จักเข้าสังคม การรู้จักวางตัว หน้าที่และบทบาทของตนเองต่อสังคมซึ่งก็จะเป็นการสร้างให้เกิดยอมรับในสังคม

6.    Sustainability  Capital หรือ ทุนแห่งความยั่งยืน  ทุนแห่งความยั่งยืนเป็นทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ เพราะเนื่องจากว่าการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมาก หากเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้วนั้นเราก็จะไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน

7.    Digital  Capital  หรือ ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศลกยุคปัจจุบันเป็นโลกยุคข่าวสาร และเทคโนโลยี  เป็นโลกาภิวัตน์  ฉะนั้น ในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ สามารถที่จะพัฒนาและแข่งขันกับนานาอารยประเทศ  จึงจำเป็นที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

8.    Talented  Capital  หรือ ทุนทางความรู้  ทักษะ และทัศนคติ  ทุนที่สำคัญและขาดไม่ได้สำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ก็คือ ทุนทางความรู้  ทักษะ และทัศนคติ การมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Mindset) ที่ถูกต้องในการทำงาน 

III.  ต้องมีทุนทรัพย์ที่ได้มาด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้   ซึ่งเป็นทุนทรัพย์ที่ได้มาด้วยความสามารถของตน ด้วยความสามารถในการบริหารทุนมนุษย์ในตน จนมีทุนทรัพย์ขึ้นมา และเป็นที่ทราบดีในสังคมว่าทรัพย์ที่ได้มานั้น ถูกต้องได้มาด้วยความรู้ความสามารถและคุณธรรม การจะมีตรงนี้ได้ด้วยเพราะอาศัยการพึ่งพาตนเอง เป็นหลัก ได้ทรัพย์มาอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม และบริหารทรัพย์สิน ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ส่วนรวม มากกว่าตนเองและพวกพ้อง

 IV.          ต้องมีทุนแห่งศรัทธา ที่ผมเพิ่มเติมจากทฤษฎีทุน 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ ทุนแห่งศรัทธา ในที่นี้หมายถึง ตามประพฤติตนในทศพิศราชธรรมและการรู้จักบริหารทุนต่าง ๆ ตามทฤษฎี 8 K’s  อย่างต่อเนื่องอย่างยั่งยืน จนเป็นที่รักและเคารพของผู้คนทั่วไปอย่างกว้างขวาง ทั้งในและนอกองค์การ  ผู้นำยุคนี้ ต้องมีเป็นที่ศรัทธาแก่ผู้คนทั้งในและนอกองค์กร  การจะมีทุนแห่งศรัทธาได้นั้น ผุ้นำต้องรู้จักบริหารอำนาจ รู้จักใช้และรู้จักรักษาอำนาจ สะสมเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอำนาจบารมี สะสมมาก ๆ เข้าจะกลายเป็นแรงศรัทธา ที่เกิดขึ้นแก่คนทั่วไป

 V.   ต้องทันโลก ทันเหตุการณ์ และบริหารตนเอง บริหารองค์การ สังคม ชุมชนที่เกี่ยวข้อง ให้อยู่ดีมีสุข ผู้นำจึงต้องรู้จักบริหารการเปลี่ยนแปลง และบริหารความขัดแย้ง ให้ไปด้วยกันได้ดี  ต้อง มีความสามารถในการสื่อสารและเก่งเรื่อง คน(Communication and people skills) ไม่พูดอะไรแบบไม่คิดและบางครั้งอาจจะต้องใช้ความสงบนิ่งสยบความเคลื่อนไหว ก็ต้องใช้ ต้องมีความสามารถในการตัดสินใจ กล้านำในสิ่งที่ถูกต้อง(Decisiveness) ที่ผมคิดต่อไว้ว่า การตัดสินใจของผู้  ต้องถูก เหมาะ และควร กับเวลา สถานที่ และบุคคล ไม่ตัดสินใจแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งแล้วมีปัญหาอื่นตามมา โดยไม่คิดแผนรองรับไว้

สวัสดีครับ

ยม

เรียน ท่านอาจารย์จีระและชุมชนชาวบล็อกทุกท่าน 

ก่อนอื่นต้องขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์จีระ และขอขอบคุณคุณยม และคณะผู้บริหารระดับกลางของโรงแรมโอเรียลเต็ล เมื่อวันพฤหัสที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมาเป็นอย่างสูงที่ให้โอกาสผมได้ร่วมแสดงความเห็นในการบรรยายหลักสูตร "Management for Tomorrow " โดยท่านอาจารย์จีระ ซึ่งพอสรุปคุณสมบัติของผู้นำเป็นคำช่วยจำได้ดังนี้

Manager must......

  1. Leading by Listening : ผู้นำต้องนำโดยการฟังห้มาก การอ่านก็ถือเป็นการฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งการศึกษาดูงานด้วย
  2. Leading by Thinking : ผู้นำต้องนำโดยการคิด 4 ประการคือ การคิดรวบยอดหรือคิดองค์รวม (Wholistic Thinking) การคิดอย่างเป็นระบบหรืออย่างมีเหตุมีผล (Systematic Thinking) และการคิดนอกกรอบ การคิดสร้างสรร (Think out of the Box) และการคิดเชิงบวก (Positive Thinking) 
  3. Leading by Decission Making: ผู้นำต้องนำด้วยความกล้าตัดสินใจ
  4. Leading by Doing: ผู้นำต้องนำโดยการปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างที่ดี ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างที่ดี มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม
  5. Leading by Sharing: ผู้นำต้องนำด้วยการแบ่งปันความรู้ สอนงาน แบ่งปันความสุข แบ่งปันความรักความปรารถนาดี

 เนื้อหาทั้งหมดเป็นการสรุปด้วยตนเอง ซึ่งอาจไม่ครบถ้วนและครอบคลุม ขาดตกบกพร่องใด ๆ ต้องกราบขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย

ขอขอบพระคุณอย่างสูง

ประจวบ

 

 

ยม:-บรรยากาศการเสวนา “ผู้นำ” ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล 7 ก.ย. 2549
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / ผู้บริหาร/ผู้นำ ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล และท่านผู้อ่านทุกท่าน เมื่อวานนี้ (7 ก.ย. 2549) ผมได้มีโอกาสไปร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมเสวนา เกี่ยวกับ ผู้จัดการในอนาคต การเป็นผู้นำ ผมต้องขอขอบคุณ ศ.ดร.จีระ ที่เปิดโอกาสให้ได้มีประสบการณ์ที่สูงค่าเช่นนี้  ผมประทับใจการต้อนรับของพนักงานที่โรงแรมโอเรียนเต็ล โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม หน่วยงานฝึกอบรม ทำหน้าที่ได้ดี สังเกตตั้งแต่การเตรียมสถานที่  ห้องอบรม อุปกรณ์การอบรม การลงทะเบียน การต้อนรับวิทยากร ทำได้ดี สมกับเป็นโรงแรมชั้นหนึ่ง ของโลก ขอชื่นชม การเตรียมการอบรม การต้อนรับ ที่ทำได้ประทับใจมาก  ที่ประทับใจมากอีกเรื่องหนึ่งคือ ความสนใจ ใส่ใจ และเอาใจใส่กับการเรียนรู้ของผู้ข้าร่วมเสวนา ทุกคนที่เป็นเจ้าหน้าที่ของโรงแรมโอเรียนเต็ล มีสูง แสดงให้เห็นว่าเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ ผ่านการคัดเลือกสรร มาอย่างดี กล่าวได้ว่า พวกเขาคือ Talent group ก็ว่าได้ เป็นสิ่งท้าทายสำหรับผู้บริหารที่เกี่ยวข้องว่าจะดึงเอาศักยภาพของเขาเหล่านี้ออกมาใช้ได้อย่างไร  แน่นอนที่สุดว่า การฝึกอบรมและพัฒนาอย่างถูกต้อง ต่อเนื่องและเป็นระบบ จะช่วยให้เขามีศักยภาพมากขึ้น ให้สามารถพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ได้ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผมขอฝากไว้กับฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ หน่วยงานฝึกอบรม ว่า พวกเขาเปรียบเสมือนมีด ที่ยิ่งลับ (อบรมและพัฒนา) จะยิ่งคม ชัด ลึก (มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น) การพัฒนาฝึกอบรม ขอให้ทำต่อไปในหลักสูตรอื่น ๆ แค่ Mini MBA อย่างเดียว คงไม่เพียงพอ กับสถานการณ์ผันผวนของปัจจัยภายในและภายนอกองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  จากการสังเกตทีมงานที่โรงแรมโอเรียนเต็ล  พบว่า ทรัพยากรมนุษย์ที่นี่ ใฝ่รู้ และพร้อมรับการพัฒนา ก็ควรเร่งรีบ่เติม องค์ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการ จาก Macro สู่ Micro ทำอย่างไรให้เขานำความรู้มาบูรณาการและสามารนำไปใช้บริหารทีมงานได้ดีมีประสิทธิภาพ ทำอย่างไรให้เขารู้จักบริหารและพัฒนาตนเองได้ดี ทำอย่างไรให้เขามีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้สึกรับผิดชอบที่สูงส่งต่อตนเอง ต่อทีมงาน ต่อองค์การ การตั้งคำถามที่ดี จะได้คำตอบที่ดี มาสู่การปฏิบัติที่ดีต่อไป นอกจากการเสวนา แลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งมี ศ.ดร.จีระ เป็นผู้นำการเสวนาแล้ว ศ.ดร.จีระ ได้เปิดโอกาสให้ ตัวแทนของผู้เข้ารับการอบรมแต่ละกลุ่ม ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นกัน ในรอบแรก แต่ละกลุ่มออกมาพูดว่า เวลาผ่านไปสองชั่วโมง เขาได้อะไรบ้าง  กลุ่มที่ 1 แสดงความคิดเห็นว่า บรรยากาศในการเรียนดีมาก การจัดที่นั่งเป็นโต๊ะกลม การเปิดโอกาสให้ทุกคนได้หารือกัน และส่งตัวแทนออกมาพูด เป็นสิ่งที่ไม่เคยพบมาก่อน บรรยากาศการแบบนี้ ทำให้เขาไม่ง่วงเลย ถึงแม้จะเป็นช่วงบ่าย นอกจากนี้ พวกเขาจับประเด็นได้ว่า การเป็นผู้นำที่ดี ควรต้องเป็นผู้มีความคิดดี คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์สถานการณ์ได้ถูกต้อง ซึ่งต้องอาศัยการอ่าน การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  กลุ่มที่ 2 ส่งตัวแทน คุณธีรเดช ออกมาเล่าให้ฟังว่า ช่วงแรกของการสัมมนานี้ ได้ความรู้ เกี่ยวกับผู้นำ และการเป็นผู้นำที่ดีหลายประการ ประเด็นทีขอย้ำก็คือ เป็นผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ มองโลกกว้าง สนใจการเรียนรู้นำมาสู่การพัฒนา  เรียนรู้ตลอดชีวิต  เป็นผู้นำ ต้องให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม ให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน ยกย่องคน เก่งคน  กลุ่มที่ 3 ส่งตัวแทนจากห้องอาหารจีนมาเล่าให้ฟังว่า ทุกวันนี้ต้องเร่งทำงาน อยู่กับงานทั้งวัน ไม่ค่อยได้มีโอกาสเรียนรู้มากนัก ยังไม่มีวัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่เข้มแข็ง การเรียนในวันนี้ดีได้ประโยชน์ และได้ข้อคิดว่า การเป็นผู้นำ ต้องบริหารการอ่านหนังสือให้ดี กลุ่ม 4 ส่งคุณเดชอนันต์ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  คุณเดชอนันต์เล่าให้ฟังว่า หลังจากฟัง ศ.ดร.จีระ พูดเกี่ยวกับผุ้นำแล้ว รู้สึกว่าตัวเองต้องทบทวนและพัฒนาตนเองให้มากขึ้น การเป็นผู้นำต้องรู้จุดอ่อน จุดแข็งของตน วิเคราะห์ตนเองเป็น และนำจุดอ่อนมาพัฒนาให้ดีขึ้น ต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  ศ.ดร.จีระ สอนให้รู้จักคำว่า ฟังผู้อื่นบ้าง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาคิดวิเคราะห์เพื่อเรียนรู้+พัฒนา กลุ่ม 5 ส่งตัวแทนที่มาจากเชียงใหม่ เป็นโรงแรมในสาขาของโรงแรมโอเรียนเต็ล และกล่าวว่า การเรียนในวันนี้ ได้ประโยชน์ ศ.ดร.จีระ ใช้คำพูดที่เรียบง่าย ตรงประเด็น ไม่อ้อมไปมา นำเสียงมีจังหวะ เร้าใจ ฟังแล้วเข้าใจง่าย  เป็นการบรรยายที่กระตุ้นให้ผู้ฟังติดตามตั้งคำถามไว้ว่า ถ้าจะใช้น้ำเสียง ลีลาแบบนี้ไปใช้ในการทำงาน ในการสอนลูกน้อง จะเหมาะสมหรือไม่ ซึ่ง ศ.ดร.จีระ ได้แนะนำให้รู้จักบูรณาการใช้ให้เหมาะสม จะได้ประโยชน์  ก่อนหน้าที่ทั้ง 5 กลุ่ม จะออกมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ศ.ดร.จีระ ได้ให้ผม Comment เพิ่มเติม ผมได้ Comment ไปว่า  ·        การเรียนกับ ศ.ดร.จีระ ต้องเรียนรู้แบบคนมีบุญ  ตามปรัชญาท่านพุทธทาส คำว่า บุญ= สนใจ+ใส่ใจ+เอาใจใส่  ท่านมีบุญพอที่จะเรียนกับ ศ.ดร.จีระ หรือไม่ ท่านต้องตอบเอง  แต่ถ้าท่าน ต้องการให้มีบุญในการเรียนรู้ครั้งนี้ ท่านต้องมีความสนใจ ใส่ใจ และเอาใจใส่ อย่างต่อเนื่อง จึงจะได้ประโยชน์    

·        ประการต่อมา ศ.ดร.จีระ เวลาสอนเรื่องการเป็นผู้นำ ท่านจะฝึกการเป็นผู้นำและสังเกตไปด้วยว่าพวกท่านมีศักยภาพเป็นผู้นำได้มากน้อยแค่ไหน  ศ.ดร.จีระ เดินวนไปมาสลับการพูดด้วยน้ำเสียงเร้าใจ และมีประเด็นที่ทั้งเปิดเผยและซ้อนเร้นที่ ผู้ที่มีบุญพอเท่านั้นจึงจะ get  การที่ท่านเดินวนไปมา เปรียบเสมือนโลกที่หมุนเร็ว กระแสโลกเร็ว ยุคโลกาภิวัตน์เป็นแบบนี้  ผมเห็นผู้ฟังบางคนติดตามกระแสโลกได้ดี บางคนติดตามได้แค่เว็ปเดียวก็หลุดออกนอกวงโคจรของกระแสโลก  การเป็นผู้นำ ต้องไม่หลุดออกจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก 

 

ช่วงที่ ศ.ดร.จีระ เดินวนไปมาเหมือนกระแสโลกที่หมุนเวียนไปมานั้น ท่านได้อธิบายหลักการเป็นผู้นำหลายประเด็น  เปรียบเสมือนกระแสโลกที่หมุนเปลี่ยนแปลงเร็วนั้น แฝงไปด้วยข้อมูลข่าวสารการเปลี่ยนแปลงที่ผลต่อการบริหารจัดการ 

การเป็นผู้นำ ท่านต้องจับประเด็นให้ได้ ต้องจับประเด็นให้ได้ว่า ศ.ดร.จีระ พูดว่าอะไร จับเป็นประเด็น ๆ และคิดวิเคราะห์ นำข้อมูลมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์   บนกระแสโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ ผู้ได้เปรียบในการแข่งขันคือผู้ที่ทันกระแสโลก และรู้ทันข้อมูลข่าวสาร จับประเด็นได้ และบริหารตัดสินใจบนฐานข้อมูลที่ได้มา ผู้นำจึงต้องตื่นตัว อยู่เสมอ ·        สิ่งที่ผม Comment ต่อมา คือ การเป็นผู้นำ ต้องคิดว่า สูงสุดคือสามัญ ผมเคยได้เรียนจากผู้บริหารชาวญี่ปุ่น ได้สอนผมตอนผมเป็นหัวหน้างาน ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นสอนว่า  เมื่อเป็นหัวหน้างานจงทำงานอย่างผู้จัดการ หัวหน้าที่เป็นเลิศต้องเรียนแบบ เรียนรู้และทำงานให้ได้อย่างผู้จัดการ ต้องพัฒนาตนเองให้เป็นเช่นนั้นให้ได้  และสักวันเมื่อได้รับการสนับสนุนให้เป็นผู้จัดการจงทำงานอย่างกรรมการ มีความรัก ทีมงาน รักองค์การ รับผิดชอบสูง และหากได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ จงอย่าลืมตน ว่าเคยเป็นพนักงานมาก่อน จงดูแลพนักงานให้ดี ทำงานใกล้ชิดพนักงานให้มาก  ผู้นำที่ดีจึงทำตนสามัญ ธรรมดา แต่มุ่งมั่น ทำงานที่ยิ่งใหญ่ ให้เป็นเลิศ  จากนั้น ได้มีการพักดื่มกาแฟ และเข้ารับการอบรมต่อในช่วงที่สอง ในช่วงท้ายของรายการ หลังจากที่ ศ.ดร.จีระ ได้ฉายภาพยนตร์จากซีดี เกี่ยวกับ กลยุทธ์เหนือผู้นำอย่าง JACK WELTH: ซึ่งมีการกล่าวถึง แนวทางการเป็นผู้นำ สี่ประการได้แก่1.    ผู้นำต้องมีพลัง มีไฟ2.    ผู้นำต้องกระตุ้นให้ทีมงานมีพลัง มีไฟ ตามไปด้วย3.    ผู้นำต้องมีความกล้า กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ4.    ผู้นำ ต้องทำงานให้บรรลุความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

จากนั้น ศ.ดร.จีระ ได้เปิดโอกาสให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่ว่า ผู้นำควรมีคุณสมบัติอย่างไร ในความเห็นของแต่ละกลุ่ม

 กลุ่มที่ 1 ส่งตัวแทนออกมาบอกว่า จากที่ได้เรียนรู้ คิดว่า คุณสมบัติของผู้นำที่ดี นั้น เก่งคน รู้จักประสานพลังร่วม ทำงานเป็นทีม ผู้นำต้องเก่งคิด ต้องกล้าตัดสินใจ รู้จักสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี ให้ลูกน้องมีความสุขกับการทำงาน กระตุ้นให้ทีมงานเกิดการเรียนรู้  ด้วยการให้โอกาส ให้ความรู้ทีมงาน กลุ่มที่ 2 ส่งตัวแทนออกมาบอกว่าจากที่ได้เรียนวันนี้ คิดว่า ผู้นำที่ดีนั้นต้องเป็นคนกล้า  กล้าคิด กล้าทำ กล้านำในสิ่งที่ดี  เป็นคนทันสมัย และยอมรับความคิดเห็นของลูกน้อง  การจะเป็นเช่นนั้นได้ ผู้นำต้องสนใจใฝ่เรียนรู้ มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล  มีคุณธรรม กลุ่มที่ 3 ส่งตัวแทนออกมาบอกว่า จากที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ การจะเป็นผู้นำที่ดีได้ต้อง เป็นคนที่มีความรู้ ความสามรถ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การจะเป็นเช่นนั้นได้ ผู้นำต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ กลุ่มที่ 4 ส่งตัวแทนออกมาบอกว่าจากที่ได้เรียนวันนี้ คิดว่า ผู้นำที่ดีนั้นต้องเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดี มีความมั่นใจในตัวเอง รู้จักตนเอง และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การจะเป็นเช่นนั้นได้ผู้นำต้องฝึกฝนตนเอง พัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีความอดทนต่อปัญหาทั้งหลาย มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สร้างความรู้สึกประทับใจกับทีมงาน กลุ่มที่ 5 ส่งตัวแทนออกมาบอกว่า จากที่ได้เรียนรู้ครั้งนี้ พบว่าผู้นำที่ดีต้อง มีวิสัยทัศน์ ต้องมีจริยธรรม คุณธรรม การจะมีเช่นนั้นได้ ผู้นำต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ  กระจายอำนาจ สร้างความเชื่อมันให้เกิดในทีมงาน จากนั้น ศ.ดร.จีระ ได้ให้คุณประจวบฯ นักศึกษา ป.เอก รุ่น 3 มาจาก ซีพี 7 Eleven ได้ comment ซึ่งคุณประจวบ ได้ comment  แชร์ความรู้ประสบการณ์ เกี่ยวกับการเป็นผู้นำ โดยนำเอา คุณค่าหลักขององค์กร ที่ 7 Eleven มาเล่าให้ฟัง รายละเอียด มีอย่างไร คุณประจวบคงจะ เขียนมาใน Blog ต่อไป 

สุดท้าย ศ.ดร.จีระ ให้ผม comment ผมได้อธิบายว่า จากการสังเกตแต่ละกลุ่ม ออกมาพูดถึงคุณสมบัติของผู้นำ มีประเด็นหนึ่งที่ตรงกัน คือ การทำอย่างไรให้เป็นที่ยอมรับของทีมงาน ของลูกน้อง เช่น ผู้นำต้อง มีจิตวิทยา มีจริยธรรม มีความรู้ ความสามารถ ฯลฯ ซึ่งเป็นประเด็นที่ถ้าผู้นำมีจะได้รับการยอมรับนับถือจากทีมงาน ด้วย ผมได้สรุปว่า ผู้นำ ต้อง มีทุนแห่งศรัทธา สร้างความเชื่อถือ เชื่อมั่นให้เกิดแก่ทีมงาน

 

การจะมีทุนแห่งศรัทธา ผู้นำ ต้องสร้าง ต้องใช้ ต้องรักษา อำนาจในทางที่ต้อง  การสร้างอำนาจของผู้นำ มี 5 ประการ คือ

 

1.    อำนาจสร้างได้ด้วยการให้  หมายถึง การให้โอกาส ให้ความรู้ ให้อภัย ให้ความรัก ความเมตตา กรุณา ความช่วยเหลือ เอื้ออาทร จะทำให้ลูกน้อง เกิดความรัก ความภักดี ความยกย่องนับถือ

 

2.          อำนาจสร้างได้ด้วยการติ  หมายถึง การติ เมื่อลูกน้องทำผิด ผู้นำเมื่อลูกน้องทำผิดต้องติ ถ้าปล่อยปะละเลยเมื่อลูกน้องทำผิด เท่ากับผู้นำไม่ได้ทำหน้าที่การเป็นผู้นำ การติเมื่อถึงเวลาอันควร จะทำให้เป็นที่เกรงใจ เกรงขาม เป็นการป้องกันไม่ให้ลูกน้องหลงผิด ทำผิด ได้

 

3.    อำนาจสร้างได้ด้วยการเป็นผู้รู้มากกว่า หมายถึง การแสดงตนเป็นผู้รู้ ในสิ่งที่ลูกน้องไม่รู้ แสดงได้ด้วยการสอน การแนะนำ การเป็นพี่เลี้ยง การอบรม การช่วยงานลูกน้อง การทำงาน ผู้นำ ต้องแสดงให้ลูกน้องเห็นถึงความสามารถในบ้างเรื่อง เมื่อลูกน้องเห็นเช่นนั้น จะกล่าวขวัญถึงความเก่งกาจ สามรรถของเจ้านาย  รู้สึกเคารพ เกรงใจ

 

4.                อำนาจสร้างได้ด้วยการมีอำนาจทางนิติกรรม หมายถึง อำนาจที่องค์การมอบหมายให้ ดำรงดำแหน่งที่มีอำนาจในตัว เช่นตำแหน่งหัวหน้า ผู้จัดการ ผู้บังคับบัญชา ผู้นำ เมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญดังกล่าว ก็ต้อง ทำตนให้สมกับตำแหน่ง ลูกน้องจะเกรงใจ 

 5.    อำนาจอ้างอิง หมายถึง การอ้างประกาศ คำสั่ง นโยบาย  ข้อกำหนดกฎหมาย คำสั่งที่รับมอบหมายมาจากผู้บังคับบัญชาระดับสูง  การได้มีโอกาสใกล้ชิดกับผู้บริหารระดับสูง จะได้อำนาจอ้างอิงติดตัวมาด้วย ซึ่งต้องรู้จักใช้ให้เหมาะสมกับเวลา สถานที่และบุคคล ให้ถูก ให้เหมาะ ให้ควร คนเป็นผู้นำ ในหนึ่งวันทำงาน หรือในแปดชั่วโมงทำงาน ต้องรู้จักสร้าง รักษาและใช้อำนาจเหล่านี้ ในรอบสัปดาห์ หนึ่งเดือน ควรใช้ให้ครบถ้วน  ใช้อย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องและมีคุณธรรม จะเกิดบารมีในตัว และแปรผันเป็นความศรัทธาในที่สุด  การเสวนา ผู้นำที่โรงแรมโอเรียนเต็ล จบลงด้วยดี ด้วยการนำของ ศ.ดร.จีระ ด้วยเวลาจำกัด ผมขอสรุปไว้เพียงแค่นี้ก่อน ครับ 

ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน โชคดี สวัสดีครับ

 

ยม

 

นักศึกษา ปริญญาเอก

 

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

ยม:-บรรยากาศการเสวนา “ผู้นำ” ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล 7 ก.ย. 2549
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / ผู้บริหาร/ผู้นำ ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล และท่านผู้อ่านทุกท่าน 
เมื่อวานนี้ (7 ก.ย. 2549) ผมได้มีโอกาสไปร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมเสวนา เกี่ยวกับ ผู้จัดการในอนาคต การเป็นผู้นำ ผมต้องขอขอบคุณ ศ.ดร.จีระ ที่เปิดโอกาสให้ได้มีประสบการณ์ที่สูงค่าเช่นนี้  
ผมประทับใจการต้อนรับของพนักงานที่โรงแรมโอเรียนเต็ล โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม หน่วยงานฝึกอบรม ทำหน้าที่ได้ดี สังเกตตั้งแต่การเตรียมสถานที่  ห้องอบรม อุปกรณ์การอบรม การลงทะเบียน การต้อนรับวิทยากร ทำได้ดี สมกับเป็นโรงแรมชั้นหนึ่ง ของโลก ขอชื่นชม การเตรียมการอบรม การต้อนรับ ที่ทำได้ประทับใจมาก  
ที่ประทับใจมากอีกเรื่องหนึ่งคือ ความสนใจ ใส่ใจ และเอาใจใส่กับการเรียนรู้ของผู้ข้าร่วมเสวนา ทุกคนที่เป็นเจ้าหน้าที่ของโรงแรมโอเรียนเต็ล มีสูง แสดงให้เห็นว่าเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ ผ่านการคัดเลือกสรร มาอย่างดี กล่าวได้ว่า พวกเขาคือ Talent group ก็ว่าได้ เป็นสิ่งท้าทายสำหรับผู้บริหารที่เกี่ยวข้องว่าจะดึงเอาศักยภาพของเขาเหล่านี้ออกมาใช้ได้อย่างไร  แน่นอนที่สุดว่า การฝึกอบรมและพัฒนาอย่างถูกต้อง ต่อเนื่องและเป็นระบบ จะช่วยให้เขามีศักยภาพมากขึ้น ให้สามารถพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ได้ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผมขอฝากไว้กับฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ หน่วยงานฝึกอบรม ว่า พวกเขาเปรียบเสมือนมีด ที่ยิ่งลับ (อบรมและพัฒนา) จะยิ่งคม ชัด ลึก (มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น) การพัฒนาฝึกอบรม ขอให้ทำต่อไปในหลักสูตรอื่น ๆ แค่ Mini MBA อย่างเดียว คงไม่เพียงพอ กับสถานการณ์ผันผวนของปัจจัยภายในและภายนอกองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  
จากการสังเกตทีมงานที่โรงแรมโอเรียนเต็ล  พบว่า ทรัพยากรมนุษย์ที่นี่ ใฝ่รู้ และพร้อมรับการพัฒนา ก็ควรเร่งรีบ่เติม องค์ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการ จาก Macro สู่ Micro ทำอย่างไรให้เขานำความรู้มาบูรณาการและสามารนำไปใช้บริหารทีมงานได้ดีมีประสิทธิภาพ ทำอย่างไรให้เขารู้จักบริหารและพัฒนาตนเองได้ดี ทำอย่างไรให้เขามีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้สึกรับผิดชอบที่สูงส่งต่อตนเอง ต่อทีมงาน ต่อองค์การ การตั้งคำถามที่ดี จะได้คำตอบที่ดี มาสู่การปฏิบัติที่ดีต่อไป 
นอกจากการเสวนา แลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งมี ศ.ดร.จีระ เป็นผู้นำการเสวนาแล้ว ศ.ดร.จีระ ได้เปิดโอกาสให้ ตัวแทนของผู้เข้ารับการอบรมแต่ละกลุ่ม ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นกัน ในรอบแรก แต่ละกลุ่มออกมาพูดว่า เวลาผ่านไปสองชั่วโมง เขาได้อะไรบ้าง 
 กลุ่มที่ 1 แสดงความคิดเห็นว่า บรรยากาศในการเรียนดีมาก การจัดที่นั่งเป็นโต๊ะกลม การเปิดโอกาสให้ทุกคนได้หารือกัน และส่งตัวแทนออกมาพูด เป็นสิ่งที่ไม่เคยพบมาก่อน บรรยากาศการแบบนี้ ทำให้เขาไม่ง่วงเลย ถึงแม้จะเป็นช่วงบ่าย นอกจากนี้ พวกเขาจับประเด็นได้ว่า การเป็นผู้นำที่ดี ควรต้องเป็นผู้มีความคิดดี คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์สถานการณ์ได้ถูกต้อง ซึ่งต้องอาศัยการอ่าน การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  
กลุ่มที่ 2 ส่งตัวแทน คุณธีรเดช ออกมาเล่าให้ฟังว่า ช่วงแรกของการสัมมนานี้ ได้ความรู้ เกี่ยวกับผู้นำ และการเป็นผู้นำที่ดีหลายประการ ประเด็นทีขอย้ำก็คือ เป็นผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ มองโลกกว้าง สนใจการเรียนรู้นำมาสู่การพัฒนา  เรียนรู้ตลอดชีวิต  เป็นผู้นำ ต้องให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม ให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน ยกย่องคน เก่งคน  
กลุ่มที่ 3 ส่งตัวแทนจากห้องอาหารจีนมาเล่าให้ฟังว่า ทุกวันนี้ต้องเร่งทำงาน อยู่กับงานทั้งวัน ไม่ค่อยได้มีโอกาสเรียนรู้มากนัก ยังไม่มีวัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่เข้มแข็ง การเรียนในวันนี้ดีได้ประโยชน์ และได้ข้อคิดว่า การเป็นผู้นำ ต้องบริหารการอ่านหนังสือให้ดี 
กลุ่ม 4 ส่งคุณเดชอนันต์ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  คุณเดชอนันต์เล่าให้ฟังว่า หลังจากฟัง ศ.ดร.จีระ พูดเกี่ยวกับผุ้นำแล้ว รู้สึกว่าตัวเองต้องทบทวนและพัฒนาตนเองให้มากขึ้น การเป็นผู้นำต้องรู้จุดอ่อน จุดแข็งของตน วิเคราะห์ตนเองเป็น และนำจุดอ่อนมาพัฒนาให้ดีขึ้น ต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  ศ.ดร.จีระ สอนให้รู้จักคำว่า ฟังผู้อื่นบ้าง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาคิดวิเคราะห์เพื่อเรียนรู้+พัฒนา 
กลุ่ม 5 ส่งตัวแทนที่มาจากเชียงใหม่ เป็นโรงแรมในสาขาของโรงแรมโอเรียนเต็ล และกล่าวว่า การเรียนในวันนี้ ได้ประโยชน์ ศ.ดร.จีระ ใช้คำพูดที่เรียบง่าย ตรงประเด็น ไม่อ้อมไปมา นำเสียงมีจังหวะ เร้าใจ ฟังแล้วเข้าใจง่าย  เป็นการบรรยายที่กระตุ้นให้ผู้ฟังติดตามตั้งคำถามไว้ว่า ถ้าจะใช้น้ำเสียง ลีลาแบบนี้ไปใช้ในการทำงาน ในการสอนลูกน้อง จะเหมาะสมหรือไม่ ซึ่ง ศ.ดร.จีระ ได้แนะนำให้รู้จักบูรณาการใช้ให้เหมาะสม จะได้ประโยชน์  
ก่อนหน้าที่ทั้ง 5 กลุ่ม จะออกมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ศ.ดร.จีระ ได้ให้ผม Comment เพิ่มเติม ผมได้ Comment ไปว่า
  •  การเรียนกับ ศ.ดร.จีระ ต้องเรียนรู้แบบคนมีบุญ  ตามปรัชญาท่านพุทธทาส คำว่า บุญ= สนใจ+ใส่ใจ+เอาใจใส่  ท่านมีบุญพอที่จะเรียนกับ ศ.ดร.จีระ หรือไม่ ท่านต้องตอบเอง  แต่ถ้าท่าน ต้องการให้มีบุญในการเรียนรู้ครั้งนี้ ท่านต้องมีความสนใจ ใส่ใจ และเอาใจใส่ อย่างต่อเนื่อง จึงจะได้ประโยชน์    
  • ประการต่อมา ศ.ดร.จีระ เวลาสอนเรื่องการเป็นผู้นำ ท่านจะฝึกการเป็นผู้นำและสังเกตไปด้วยว่าพวกท่านมีศักยภาพเป็นผู้นำได้มากน้อยแค่ไหน  ศ.ดร.จีระ เดินวนไปมาสลับการพูดด้วยน้ำเสียงเร้าใจ และมีประเด็นที่ทั้งเปิดเผยและซ้อนเร้นที่ ผู้ที่มีบุญพอเท่านั้นจึงจะ get  การที่ท่านเดินวนไปมา เปรียบเสมือนโลกที่หมุนเร็ว กระแสโลกเร็ว ยุคโลกาภิวัตน์เป็นแบบนี้  ผมเห็นผู้ฟังบางคนติดตามกระแสโลกได้ดี บางคนติดตามได้แค่เว็ปเดียวก็หลุดออกนอกวงโคจรของกระแสโลก  การเป็นผู้นำ ต้องไม่หลุดออกจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก 

ช่วงที่ ศ.ดร.จีระ เดินวนไปมาเหมือนกระแสโลกที่หมุนเวียนไปมานั้น ท่านได้อธิบายหลักการเป็นผู้นำหลายประเด็น  เปรียบเสมือนกระแสโลกที่หมุนเปลี่ยนแปลงเร็วนั้น แฝงไปด้วยข้อมูลข่าวสารการเปลี่ยนแปลงที่ผลต่อการบริหารจัดการ 

 

การเป็นผู้นำ ท่านต้องจับประเด็นให้ได้ ต้องจับประเด็นให้ได้ว่า ศ.ดร.จีระ พูดว่าอะไร จับเป็นประเด็น ๆ และคิดวิเคราะห์ นำข้อมูลมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์   บนกระแสโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ ผู้ได้เปรียบในการแข่งขันคือผู้ที่ทันกระแสโลก และรู้ทันข้อมูลข่าวสาร จับประเด็นได้ และบริหารตัดสินใจบนฐานข้อมูลที่ได้มา ผู้นำจึงต้องตื่นตัว อยู่เสมอ 
สิ่งที่ผม Comment ต่อมา คือ การเป็นผู้นำ ต้องคิดว่า สูงสุดคือสามัญ ผมเคยได้เรียนจากผู้บริหารชาวญี่ปุ่น ได้สอนผมตอนผมเป็นหัวหน้างาน ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นสอนว่า  เมื่อเป็นหัวหน้างานจงทำงานอย่างผู้จัดการ หัวหน้าที่เป็นเลิศต้องเรียนแบบ เรียนรู้และทำงานให้ได้อย่างผู้จัดการ ต้องพัฒนาตนเองให้เป็นเช่นนั้นให้ได้  และสักวันเมื่อได้รับการสนับสนุนให้เป็นผู้จัดการจงทำงานอย่างกรรมการ มีความรัก ทีมงาน รักองค์การ รับผิดชอบสูง และหากได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ จงอย่าลืมตน ว่าเคยเป็นพนักงานมาก่อน จงดูแลพนักงานให้ดี ทำงานใกล้ชิดพนักงานให้มาก  ผู้นำที่ดีจึงทำตนสามัญ ธรรมดา แต่มุ่งมั่น ทำงานที่ยิ่งใหญ่ ให้เป็นเลิศ  
จากนั้น ได้มีการพักดื่มกาแฟ และเข้ารับการอบรมต่อในช่วงที่สอง ในช่วงท้ายของรายการ หลังจากที่ ศ.ดร.จีระ ได้ฉายภาพยนตร์จากซีดี เกี่ยวกับ กลยุทธ์เหนือผู้นำอย่าง JACK WELTH: ซึ่งมีการกล่าวถึง แนวทางการเป็นผู้นำ สี่ประการได้แก่
1.    ผู้นำต้องมีพลัง มีไฟ
2.    ผู้นำต้องกระตุ้นให้ทีมงานมีพลัง มีไฟ ตามไปด้วย
3.    ผู้นำต้องมีความกล้า กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ
4.    ผู้นำ ต้องทำงานให้บรรลุความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

จากนั้น ศ.ดร.จีระ ได้เปิดโอกาสให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่ว่า ผู้นำควรมีคุณสมบัติอย่างไร ในความเห็นของแต่ละกลุ่ม

 

 กลุ่มที่ 1 ส่งตัวแทนออกมาบอกว่า จากที่ได้เรียนรู้ คิดว่า คุณสมบัติของผู้นำที่ดี นั้น เก่งคน รู้จักประสานพลังร่วม ทำงานเป็นทีม ผู้นำต้องเก่งคิด ต้องกล้าตัดสินใจ รู้จักสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี ให้ลูกน้องมีความสุขกับการทำงาน กระตุ้นให้ทีมงานเกิดการเรียนรู้  ด้วยการให้โอกาส ให้ความรู้ทีมงาน 
กลุ่มที่ 2 ส่งตัวแทนออกมาบอกว่าจากที่ได้เรียนวันนี้ คิดว่า ผู้นำที่ดีนั้นต้องเป็นคนกล้า  กล้าคิด กล้าทำ กล้านำในสิ่งที่ดี  เป็นคนทันสมัย และยอมรับความคิดเห็นของลูกน้อง  การจะเป็นเช่นนั้นได้ ผู้นำต้องสนใจใฝ่เรียนรู้ มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล  มีคุณธรรม 
กลุ่มที่ 3 ส่งตัวแทนออกมาบอกว่า จากที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ การจะเป็นผู้นำที่ดีได้ต้อง เป็นคนที่มีความรู้ ความสามรถ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การจะเป็นเช่นนั้นได้ ผู้นำต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ 
กลุ่มที่ 4 ส่งตัวแทนออกมาบอกว่าจากที่ได้เรียนวันนี้ คิดว่า ผู้นำที่ดีนั้นต้องเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดี มีความมั่นใจในตัวเอง รู้จักตนเอง และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การจะเป็นเช่นนั้นได้ผู้นำต้องฝึกฝนตนเอง พัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีความอดทนต่อปัญหาทั้งหลาย มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สร้างความรู้สึกประทับใจกับทีมงาน 
กลุ่มที่ 5 ส่งตัวแทนออกมาบอกว่า จากที่ได้เรียนรู้ครั้งนี้ พบว่าผู้นำที่ดีต้อง มีวิสัยทัศน์ ต้องมีจริยธรรม คุณธรรม การจะมีเช่นนั้นได้ ผู้นำต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ  กระจายอำนาจ สร้างความเชื่อมันให้เกิดในทีมงาน 
จากนั้น ศ.ดร.จีระ ได้ให้คุณประจวบฯ นักศึกษา ป.เอก รุ่น 3 มาจาก ซีพี 7 Eleven ได้ comment ซึ่งคุณประจวบ ได้ comment  แชร์ความรู้ประสบการณ์ เกี่ยวกับการเป็นผู้นำ โดยนำเอา คุณค่าหลักขององค์กร ที่ 7 Eleven มาเล่าให้ฟัง รายละเอียด มีอย่างไร คุณประจวบคงจะ เขียนมาใน Blog ก่อนหน้าหรือหลังจากนี้
สุดท้าย ศ.ดร.จีระ ให้ผม comment ผมได้อธิบายว่า จากการสังเกตแต่ละกลุ่ม ออกมาพูดถึงคุณสมบัติของผู้นำ มีประเด็นหนึ่งที่ตรงกัน คือ การทำอย่างไรให้เป็นที่ยอมรับของทีมงาน ของลูกน้อง เช่น ผู้นำต้อง มีจิตวิทยา มีจริยธรรม มีความรู้ ความสามารถ ฯลฯ ซึ่งเป็นประเด็นที่ถ้าผู้นำมีจะได้รับการยอมรับนับถือจากทีมงาน ด้วย ผมได้สรุปว่า ผู้นำ ต้อง มีทุนแห่งศรัทธา สร้างความเชื่อถือ เชื่อมั่นให้เกิดแก่ทีมงาน
การจะมีทุนแห่งศรัทธา ผู้นำ ต้องสร้าง ต้องใช้ ต้องรักษา อำนาจในทางที่ต้อง  การสร้างอำนาจของผู้นำ มี 5 ประการ คือ
  1. อำนาจสร้างได้ด้วยการให้  หมายถึง การให้โอกาส ให้ความรู้ ให้อภัย ให้ความรัก ความเมตตา กรุณา ความช่วยเหลือ เอื้ออาทร จะทำให้ลูกน้อง เกิดความรัก ความภักดี ความยกย่องนับถือ
  2. อำนาจสร้างได้ด้วยการติ  หมายถึง การติ เมื่อลูกน้องทำผิด ผู้นำเมื่อลูกน้องทำผิดต้องติ ถ้าปล่อยปะละเลยเมื่อลูกน้องทำผิด เท่ากับผู้นำไม่ได้ทำหน้าที่การเป็นผู้นำ การติเมื่อถึงเวลาอันควร จะทำให้เป็นที่เกรงใจ เกรงขาม เป็นการป้องกันไม่ให้ลูกน้องหลงผิด ทำผิด ได้
  3.    อำนาจสร้างได้ด้วยการเป็นผู้รู้มากกว่า หมายถึง การแสดงตนเป็นผู้รู้ ในสิ่งที่ลูกน้องไม่รู้ แสดงได้ด้วยการสอน การแนะนำ การเป็นพี่เลี้ยง การอบรม การช่วยงานลูกน้อง การทำงาน ผู้นำ ต้องแสดงให้ลูกน้องเห็นถึงความสามารถในบ้างเรื่อง เมื่อลูกน้องเห็นเช่นนั้น จะกล่าวขวัญถึงความเก่งกาจ สามรรถของเจ้านาย  รู้สึกเคารพ เกรงใจ
  4. อำนาจสร้างได้ด้วยการมีอำนาจทางนิติกรรม หมายถึง อำนาจที่องค์การมอบหมายให้ ดำรงดำแหน่งที่มีอำนาจในตัว เช่นตำแหน่งหัวหน้า ผู้จัดการ ผู้บังคับบัญชา ผู้นำ เมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญดังกล่าว ก็ต้อง ทำตนให้สมกับตำแหน่ง ลูกน้องจะเกรงใจ 
  5. อำนาจอ้างอิง หมายถึง การอ้างประกาศ คำสั่ง นโยบาย  ข้อกำหนดกฎหมาย คำสั่งที่รับมอบหมายมาจากผู้บังคับบัญชาระดับสูง  การได้มีโอกาสใกล้ชิดกับผู้บริหารระดับสูง จะได้อำนาจอ้างอิงติดตัวมาด้วย ซึ่งต้องรู้จักใช้ให้เหมาะสมกับเวลา สถานที่และบุคคล ให้ถูก ให้เหมาะ ให้ควร 

คนเป็นผู้นำ ในหนึ่งวันทำงาน หรือในแปดชั่วโมงทำงาน ต้องรู้จักสร้าง รักษาและใช้อำนาจเหล่านี้ ในรอบสัปดาห์ หนึ่งเดือน ควรใช้ให้ครบถ้วน  ใช้อย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องและมีคุณธรรม จะเกิดบารมีและศรัทธาไปในตัว

 นอกจากทุนทางศรัทธา ที่ผู้นำต้องมีแล้ว ผู้นำที่เป็นเลิศยังต้องมีทุนตามทฤษฎี 8K's ของ ศ.ดร.จีระ ก็จะเกิดทุนทางศรัทธาอย่างยั่งยืน รายละเอียดของทุน 8K's มีอย่างไร เชิญท่านผู้ติดตามอ่านได้ใน  http://www.chiraacademy.com/chiratheory.htmlและแปรผันเป็นความศรัทธาในที่สุด  การเสวนา ผู้นำที่โรงแรมโอเรียนเต็ล จบลงด้วยดี ด้วยการนำของ ศ.ดร.จีระ ด้วยเวลาจำกัด ผมขอสรุปไว้เพียงแค่นี้ก่อน ครับ 

ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน โชคดี สวัสดีครับ

 

ยม

นักศึกษา ปริญญาเอก

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

ยม:-บรรยากาศการเสวนา “ผู้นำ” ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล 1 และ 7 ก.ย. 2549

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / ผู้บริหารผู้เข้าร่วมสัมมนาที่โรงแรมโอเรียนเต็ล และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  ต่อเนื่องจากการเสวนา เกี่ยวกับผู้นำ ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล ทั้งวันที่ 1 และวันที่ 7 กันยายน ผมขอสุรปว่า ผู้จัดการหรือผู้นำในอนาคต ควรมีเทคนิคหรือเคล็ดในการเป็นผู้นำแห่งยุค หรือผู้นำที่ดี ดังนี้ ครับ  1.    มีความรู้ดี มีปัญญาดี ซึ่งจะได้จากการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และการถ่ายทอดความรู้นั้นออกมาเป็นผลงานและสร้างทีมงาน  2.    มีความทันสมัย ทันโลก ทันเหตุการณ์ ติดตามข่าวสาร อยู่เสมอ ข่าวสารด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และด้านเทคโนโลยีฯ ข่าวสารด้านธุรกิจ ด้านทรัพยากรมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อองค์การและการทำงาน ต้องรู้ทัน  3.    มีวิสัยทัศน์ สามารถมองและคาดการณ์ในอนาคตใกล้ไกลได้เป็นอย่างดี สามารถพยากรณ์ได้ว่า ในอนาคตจะเกิดการสถานการณ์อะไร และจะต้องปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาคนและระบบการทำงานอย่างไร  การจะมีวิสัยทัศน์ได้ต้องมีความรู้ด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์  ความรู้เกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ ความรู้เกี่ยวกับนวตกรรม เป็นต้น  4.    มีมนุษย์สัมพันธ์ดี อัธยาศัยไมตรีดี มีน้ำใจ เอื้ออาทร นิยมชมชอบการออกสมาคม เพื่อสานสร้างสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้คน  ยิ่งรู้จักคนมาก โอกาสความสำเร็จยิ่งมีมาก  5.    มีไหวพริบดี มีความรอบคอบมองอะไร ใช่สมองสองซีกมองสถานการณ์และปัญหา คือไม่มองลบแต่ท่าเดียว ให้มองเป็นบวก ไม่ใช้อารมณ์มองและตัดสินใจบนพื้นฐานอารมณ์ การตัดสินใจเน้นบนพื้นฐานของข้อมูลและการยอมรับของคนส่วนใหญ่ ความถูกต้องและยุติธรรม  6.    มีความอึด อดทนได้มากกว่าคนทั่วไป นิ่ง สุขุม หนักแน่น ไม่หวั่นไหวต่อคำสรรเสริญและคำนินทา  ไม่ย่อท้อต่องานหนัก ไม่หนีปัญหา ไม่ละล้มเลิกงานจนกว่าจะทำให้สำเร็จ   7.    มีคุณธรรม จริยธรรมสูง  มีความยุติธรรม เป็นกลาง สมกับเป็นผู้นำ ไม่เห็นแก่ตนและพวกพ้อง หาประโยชน์ใส่ตน ไม่คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม และเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องนี้   8.    อ่อนน้อมถ่อมตน ยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ มองปัญหาเป็นหน้าที่ ความรับผิดชอบ เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไข เป็นสิ่งที่ท้าทาย มากกว่าเป็นปัญหา  9.    รักษาสุขภาพกาย สุขภาพใจให้ดีอยู่เสมอ หากสุขภาพกายใจ ไม่แข็งแรง เมื่อเผชิญปัญหา จะทำให้ไม่มีพลังเพียงพอในการต่อสู้กับปัญหาอุปสรรค ผู้นำที่ดี ควรที่จะมีการออกกำลงกายเป็นประจำ มีการฝึกจิต สมาธิ  ดูแลเรื่องอาหารการกินและการพักผ่อนอย่างเพียงพอและถูกต้อง  

10.                       มีความกล้า  กล้าคิด กล้าทำ กล้านำในสิ่งที่ถูกที่ควร มีความเด็ดเดี่ยว เข้มแข็ง ด้วยหลักการและเหตุผล ด้วยความรู้และข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่สร้างปัญหาอื่นตามมาบนความกล้าตัดสินใจ

 

 

ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน โชคดี สวัสดีครับ

 

 

ยม

นักศึกษา ปริญญาเอก

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

ยม"บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ 8 H , 8 K และหมอประเวศ 10 ข้อ

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

   
 เช้านี้ วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความ บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ใ8 H , 8 K และหมอประเวศ 10 ข้อในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน เล่าถึง 3 เรื่องสำคัญที่ท่านได้ทำ บทเรียนจากความเป็นจริงที่น่าสนใจ ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ   

ผมคิดว่า ภาคเมืองต้องเข้าใจภาคชนบท ภาคชนบทต้องเข้าใจภาคเมืองเช่นกัน และหาทางอยู่ร่วมกัน มองประเทศไทยเป็นหนึ่งเดียว จะทำได้หรือไม่ ยังไม่มีใครทราบ สำหรับงานของผมได้ทำทั้งภาคเหนือ ภาคชนบท คือ เราเป็นคนกรุงเทพฯ ต้องสร้างโอกาสให้ภาคชนบท ได้รับทราบข่าวสารที่ถูกต้อง

ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ประโยคที่ว่า ภาคเมืองต้องเข้าใจภาคชนบท เพราะคนส่วนใหญ่ของประเทศ อยู่ในชนบท เมื่อครั้งที่ผมได้มีโอกาสเรียนในหลักสูตร บัณฑิตอาสาสมัคร ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่ง หลักสุตรหรือโครงการนี้ ผู้ริเริ่มคือ ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ผมศรัทธาท่าน ศ.ดร.ป๋วย จึงได้เข้ามาสอบเรียนต่อในสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ม.ธรรมศาสตร์ ซึ่งสมัยนั้นขึ้นอยู่กับคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ได้ทุนการศึกษาจากห้ากระทรวงหลัก เมื่อนักศึกษาเรียนภาคทฤษฎีเข้มข้น ก่อนส่งออกไปใช้ชีวิตในชนบท นักศึกษาต้องผ่านการทดสอบว่ามีทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม ทุนทางจริยธรรม ผ่านการทดสอบสารพัดลึก แล้วจะได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ให้นักศึกษาบัณฑิตอาสาสมัคร เข้าเฝ้าเพื่อรับฟังพระบรมราโชวาทก่อนออกภาคสนาม ซึ่งน่าจะเป็นแนวคิดของ ศ.ดร.ป๋วย

 

 หลักสูตรนี้ ทราบว่า ศ.ดร.ป๋วย ท่านมองการณ์ไกล ต้องการให้นักศึกษา มีความรู้เกี่ยวกับชนบท เข้าใจชนบทอย่างแท้จริง และทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับชนบท นำมาเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมฯในสมัยนั้น ช่วงที่ผมเรียนนั้นได้เข้าถึงชนบท ชี้วิตในชนบทเกือบสองปี หลายคำตอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายสาธารณะ นโยบายในการบริหารประเทศ สามารถหาคำตอบที่มีอยู่ในหมู่บ้านในชนบท   ทำให้ผมคิดว่า  ส.ส. หรือพรรคการเมือง ที่จะเข้าสู่ระบบการเมือง ควรได้เข้ามาเรียนในหลักสูตรนี้ มาซึมซับปรัชญา แนวคิดของ ศ.ดร.ป๋วย มาเรียนรู้วิถีแห่งชนบท ฝึกใช้ชีวิตร่วมกับชาวบ้านที่ยากจน ช่วงนั้นได้แต่คิด   ผมยังคิดต่อไปอีกว่า ยังไม่มีรัฐบาลไหน สานต่อปรัชญา แนวคิด ของ ศ.ดร.ป๋วย อย่างเป็นรูปธรรม  บัณฑิตอาสาสมัครที่จบมาแต่ละรุ่น รัฐบาลก็ไม่ได้สนใจใยดีอะไร ไม่ได้มีส่วนร่วมใด ๆ อีกต่อไป หลังจากที่พวกเขาสำเร็จการศึกษาออกมา พวกเขาคือผู้ที่มีอุดมการณ์ มีความรู้เกี่ยวกับชนบทดีมาก  การเรียนรู้เรื่องชนบท เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับภาคการเมือง สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ซึ่งริ่เริ่มโดย ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ บุคลากรผู้ทรงคุณค่าของชาติ ก็ยังคงเป็นสำนักเล็ก ๆ ในมหาวิทยาลัยที่ทรงเกียรติ ม.ธรรมศาสตร์ต่อไป  ผมหวังว่าจะมีผุ้นำประเทศในอนาคต ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มากขึ้น  เพื่อส่งเสริมคุณค่ามนุษย์ ได้อีกแนวทางหนึ่ง   

ผมโชคดีที่ได้ทำงานในทุกภาคส่วน และทุกสาขา เช่น การให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม ได้แสดงออก จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อย่างที่ Peter F. Drucker พูดไว้เสมอว่า ทุก ๆ วันที่ผ่านไป เขา " เรียนรู้จากผู้ฟัง "

 คุณสมบัติที่ดีของผู้นำประการหนึ่งก็คือ การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รับฟังมาแล้วคิดวิเคราะห์เรียนรู้ ว่าจริงหรือไม่ แล้วนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นผล ผมเห็นด้วยกับ Peter F Drucker ที่กล่าวไว้ว่า เขาเรียนรู้จากผู้ฟัง  การเรียนการสอนสมัยใหม่ ควรเป็นเช่นนี้ โดยเฉพาะในระดับ ป.โท และที่สำคัญมากที่สุด ใน ป.เอก  บางมหาวิทยาลัย จัดการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม ยึดตัวครูเป็นศูนย์กลาง ยิ่งในระดับ ป.เอก ยิ่งไม่ควรมี  บ้านเรายังไม่ทิ้งความเป็นเผด็จการ  ซึ่งยังคงมีหลงเหลืออยู่ในองค์การ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  ประเภท สั่งการและควบคุม โดยไม่ฟังใคร ยึดตนเองเป็นศูนย์รวมอำนาจ ถ้าเป็นในสถานการศึกษา ครูก็พูด นักเรียนที่ดีต้องฟัง  และจำให้+ปฏิบัติให้ได้จะได้ขื่อว่าเป็นนักเรียนที่ดี  นักเรียนคนไหนคิด พูดมากกว่านี้ จะถูกมองว่าเป็นเด็กมีปัญหา   ครูที่ดีก็ควรยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง บริการ กระตุ้นนักเรียนให้เกิดความอยากรู้ ให้ได้แสดงออก ผู้นำที่ดี ก็ควรกระจายอำนาจ รับฟัง ความคิดเห็นของทีมงาน จะทำให้เกิดสังคมการเรียนรู้ นำไปสู่ องค์กรแห่งการเรียนรู้ และการบริหารจัดการความรู้ และ Innovation ตามมาด้วย  
เมื่อวันพุธที่ 5 สิงหาคม ผมได้รับเกียรติจากอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ( Humanity ) มองนักเศรษฐศาสตร์ที่สนใจ Human capital อย่างผม ไปบรรยายให้นักศึกษากว่า 300 คนฟัง ที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในหัวข้อ "การบูรณาการแนวคิด ไปสู่มนุษย์ที่มีคุณค่า" นับเป็นความภาคภูมิใจของผมอย่างยิ่ง หัวข้อที่คณะมนุษยศาสตร์ ให้ผมพูดคือ มองมนุษย์อย่างมีคุณค่า ซึ่งประกอบไปด้วย มนุษย์มูลค่าเพิ่ม คือ ทุน 8 K's ต่าง ๆ แต่เพิ่มคุณธรรม จริยธรรม การมีวัฒนธรรมที่งดงาม การมีประวัติศาสตร์ที่ควรหวงแหน และการมองมนุษย์ในมิติต่าง ๆ เช่น สันติภาพ และศาสนาด้วย 
การที่คนจะมองมนุษย์มีคุณค่าได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนหนึ่งน่าจะขึ้นอยู่กับทุนมนุษย์ ที่คนแต่ละคนมีอยู่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จนกระทั่งเติบโตขี้นมา  ขึ้นอยู่กับทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข ที่คน ๆ นั้นได้มีโอกาสเข้าสู่ระบบการเรียนรู้ ในครอบครัว ในชุมชน ในโรงเรียน ในสถานที่ทำงาน และในประเทศ ถือว่ามีส่วนหล่อหลอมให้คน ๆ นั้นมีศักยภาพในการรมองคุณค่าของสรรพสิ่งทั้งหลาย ถ้ามีทุนมนุษย์น้อย ด้อยการศึกษา ขาดทุนทางปัญญา ทางจริยธรรม อาจจะทำให้มองไม่เห็นคุณค่าของทรัพยากร หรือสรรพสิ่งทั้งหลาย ว่าแตกต่าง ดีหรือไม่อย่างไร ทำให้ไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์ อีกด้วย    การส่งเสริมการมองคุณค่าของมนุษย์ที่ดี จึงควรส่งเสริมทั้งระยะสั้นและระยะยาว  ระยะสั้น อาจต้องปรับกระบวนการเรียนการสอน และที่ตัวผู้สอน ให้สามารถรองรับและพัฒนานักเรียน ไม่ว่านักเรียนจะมาจากครอบครัวที่มีทุนมนุษย์มากน้อยเพียงใด ก็สามารถต่อยอดทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ได้ดีเสมอ และสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม เข้าไปด้วย ความรู้ควรคู่กับคุณธรรม ระยะยาว ต้องเริ่มที่นโยบายสาธารณะของรัฐ ส่งเสริมให้สถาบันครอบครัว มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและอนามัยแม่และเด็ก  การดูแลเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา  รัฐบาลควรนำเอาบทความเรื่อง คุณภาพชิวิต: จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน[1] ของ ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ มาคิดออกมาเป็นนโยบายสาธารณะในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ซึ่งถ้ารัฐทำได้จะถือว่าเป็นการส่งเสริมคุณค่าของมนุษย์อย่างยิ่ง  มาถึงตรงนี้ อดที่กล่าวไม่ได้ว่า ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ เป็นบุคคลผู้ทรงคุณค่ายิ่งอีกคนหนึ่งของเราชาวไทย 
มนุษย์มีคุณค่า ไม่ได้เกิดมาแต่ตัวเขา หรือมัวเมาในอำนาจหรือเงิน หากแต่มีความหวังที่จะทำโลกให้ดีขึ้น ประชากรที่ยากจนดีขึ้น หรือทิ้งมรดกดี ๆ ไว้ให้คนรุ่นหลัง 
ประโยคนี้ อยากให้ผู้นำในบ้านเมืองเรา ได้เห็น ได้เข้าใจ  อยากให้ผู้นำพรรคการเมือง นักการเมืองได้เห็นประโยคนี้ และเตือนใจตนเองเสมอว่า เราเป็นคนที่มีคุณค่าหรือไม่   ถ้าเป็นไปได้ผมอยากเห็น การปฏิรูปการคัดเลือกคนที่จะมาเล่นการเมือง  ให้มีการปฏิรูประบบการสรรหา คัดเลือก กำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับความมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์ โดยเอาคุณสมบัติเด่นของมนุษย์ที่มีคุณค่า เช่น ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)  ศ.ดร.ป๋วย  ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล  ศ.น.พ.เกษม วัฒนชัย ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ คุณอานันท์ ปันยารชุน  หมอประเวศ วะสี  ฯลฯ  นำคุณสมบัติของบุคคลผู้ทรงคุณค่าเหล่านี้ มาเป็นมาตรฐานพื้นฐานในการกำหนดคุณสมบัติของนักการเมือง นักบริหาร  มาถึงตรงนี้อาจกล่าวได้ว่า คุณสมบัติสำคัญอีกประการหนึ่งของผู้นำก็คือ  ต้องเป็นคนที่ไม่ได้เกิดมาแต่ตัวเขา หรือมัวเมาในอำนาจหรือเงิน หากแต่มีความหวังที่จะทำโลกให้ดีขึ้น ประชากรที่ยากจนดีขึ้น หรือทิ้งมรดกดี ๆ ไว้ให้คนรุ่นหลัง 
มีคำพูดคำหนึ่งที่อยากให้เข้าไปในสมองของเด็กกว่า 300 คนที่ผมได้พูดคือ ฟังวันนี้แล้ว ลองนึกว่า เมื่อนักศึกษาอายุ 40 ปี ไม่ว่าท่านจะเป็นอะไร จะต้องปรับตัวเองตลอดเวลา มีทั้งปัญญา คุณธรรมและการเรียนรู้ตลอดชีวิต รักษาสังคมมนุษย์ให้อยู่รอดต่อ ๆ ไป
 ประโยคนี้ สำคัญมาก ประการเป็นตัวอย่างที่ดีของครู อาจารย์ สอนให้ลูกศิษย์มองโลกไปข้างหน้า  เด็กไทยส่วนใหญ่ ไม่ค่อยรู้จักอนาคต ไม่รู้จักตั้งเป้าหมายชีวิตไว้ล่วงหน้า  ผมสัมภาษณ์นักศึกษาจบใหม่หลายร้อยคน เพื่อคัดเลือกเข้าทำงาน เด็กจบมหาวิทยาลัย ยังตอบไม่ค่อยได้ว่า มีเป้าหมายชีวิตอย่างไร อีกสิบปีต้องการเป็นอะไร ทำอะไร เด็กตอบไม่ค่อยได้ ไม่ชัดเจน ไม่มี Action plan ตรงนี้ ครู ผู้ปกครองควรต้องทบทวน เลิกเผด็จการในโรงเรียน ในบ้าน  ส่งเสริมให้เด็กมีเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจน มีแผนสอง สาม รองรับไว้  และสอนให้เขากำหนดเป้าหมายชีวิตตัวเอง นั้นก็ต้องนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ อนาคตของโลกมาเป็นแนวทางด้วย  เมื่อมีเป้าหมายชัดเจน จะทำให้เด็ก มีอนาคตสดใส สามารถมองเห็นคุณค่าในตัวเอง ซึ่งจะเป็นประตูไปสู่การมองเห็นคุณค่าของผู้อื่นได้อีกทางหนึ่ง
 คนไทยยุคนี้คิดอะไรคล้าย ๆ กัน ซึ่งหากดูทฤษฎี H+(plus) ของ Edward De Bono ก็มีอะไรคล้ายของเรา และมาทางตะวันออกมากขึ้นด้วย เช่น มีเรื่อง Happiness , Health แต่เขาเพิ่มเรื่อง Humour ขึ้นมาคือ ชีวิตต้องมีอารมณ์ขันด้วย สุดท้ายคือ Hope ผมยังหวังว่า ประเทศไทยจะรอดจากวิกฤติต่าง ๆ อย่างราบรื่น 
เรื่องความสุข เป็นเรื่องสำคัญ เริ่มมีการวัดการเจริญเติบโต ความมั่งคั่งของประเทศด้วยการวัดความสุข ในบางประเทศแล้ว   คนเรา ถ้ามีความสุข ก็พร้อมจะแบ่งบัน  และพร้อมจะพัฒนา พร้อมจะก้าวไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ  ผมคิดว่า ความสุขมีความสัมพันธ์กับความมั่นคง ความยั่งยืน  องค์กรใด บริหารให้ได้กำไร โดยไม่คำนึงถึงความสุขของพนักงาน บ้านใด บริหารครอบครัวโดยไม่คำนึงถึงความสุขของสมาชิกในครอบครัว ย่อมมีปัญหา เป็นสังคมที่ไม่มั่นคงและยั่งยืน  ประเทศของเราขณะนี้กล่าวได้ว่า ความสงบสุขเริ่มลดน้อยลงกว่าในอดีต  ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวิสัยทัศน์รัฐบาล ในส่วนของการสร้างความสุขอย่างยั่งยืน ให้กับประชาชน ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน มุ่งเน้นประชานิยมระยะสั้นมากเกินไป ขาดเรื่องความยั่งยืน ความสุขระยะยาว ครับ  
ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ  
สุดท้าย ผมขอประชาสัมพันธ์งาน  "การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2549" (Thailand Research Expo 2006) ซึ่งจัดให้มีขึ้นในวันที่ 9-13 ก.ย. ที่เซ็นทรัลลาดพร้าว  ผมกำลงเรียน ป.เอก อยู่ งานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยแลเพิ่มความรู้และวิสัยทัศน์ให้ผม
ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน 

 

ยม

 

นักศึกษา ปริญญาเอก

 

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

ยม"บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ 8 H , 8 K และหมอประเวศ 10 ข้อ
8 H , 8 K และหมอประเวศ 10 ข้อ[1]  
ระยะนี้ การต่อสู้กันทางการเมืองยังมีต่อไป ร้อนแรงเช่นเคย เป็นช่วงที่คนไทยจะต้องศึกษาทุกอย่างให้รอบคอบ หากเราคิดเป็น วิเคราะห์เป็น แยกแยะให้ออก ประเทศของเราอาจจะไปสู่ความยั่งยืนได้ การแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ คนในเมือง และคนในชนบท อาจจะไม่ใช่วิธีการที่เหมาะสมนักในปัจจุบัน
ผมคิดว่า ภาคเมืองต้องเข้าใจภาคชนบท ภาคชนบทต้องเข้าใจภาคเมืองเช่นกัน และหาทางอยู่ร่วมกัน มองประเทศไทยเป็นหนึ่งเดียว จะทำได้หรือไม่ ยังไม่มีใครทราบ สำหรับงานของผมได้ทำทั้งภาคเหนือ ภาคชนบท คือ เราเป็นคนกรุงเทพฯ ต้องสร้างโอกาสให้ภาคชนบท ได้รับทราบข่าวสารที่ถูกต้อง

ปัญหาในปัจจุบันคือ ความคิดของคนในเมืองหรือกรุงเทพฯ กระจุกตัวกันเฉพาะคนที่มีความคิดคล้ายกัน เราต้องสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นทั้ง 2 ภาค

ตัวที่เชื่อมโยงกันจริง ๆ คือ รุ่นลูกของชาวชนบท ปัจจุบันได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้นมาก และอาจจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดกันมากขึ้น จึงควรจะสร้างระบบการเรียนรู้มากขึ้นในต่างจังหวัด

อุปสรรคที่สำคัญคือ สื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อวิทยุ ในระบบ FM ซึ่งช่องที่ผมทำอยู่ เช่น FM 96.5 MHz ไม่สามารถกระจายไปต่างจังหวัดได้ ผู้ฟังยังเป็นกลุ่มเดิม ประเทศไทยจึงยังไม่มีความคิดที่หลากหลายนัก คงต้องค่อย ๆ แก้ไขต่อไป

ประเทศเม็กซิโก คล้าย ๆ กับเรา คนชั้นกลางชอบแนวคิดแบบหนึ่ง ถูกคนชั้นล่างฝ่ายผู้ใช้แรงงาน คิดอีกแบบหนึ่งไม่เห็นด้วย โดยผ่านการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ของเขา ต้องเรียนรู้ต่อไป

ผมโชคดีที่ได้ทำงานในทุกภาคส่วน และทุกสาขา เช่น การให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม ได้แสดงออก จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อย่างที่ Peter F. Drucker พูดไว้เสมอว่า ทุก ๆ วันที่ผ่านไป เขา " เรียนรู้จากผู้ฟัง "

เมื่อวันพุธที่ 5 สิงหาคม ผมได้รับเกียรติจากอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ( Humanity ) มองนักเศรษฐศาสตร์ที่สนใจ Human capital อย่างผม ไปบรรยายให้นักศึกษากว่า 300 คนฟัง ที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในหัวข้อ "การบูรณาการแนวคิด ไปสู่มนุษย์ที่มีคุณค่า" นับเป็นความภาคภูมิใจของผมอย่างยิ่ง

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยที่น่าสนใจ เพราะมีหลายอย่างคล้ายทฤษฎี 4 L's โดยเฉพาะการสร้างโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง

หัวข้อที่คณะมนุษยศาสตร์ให้ผมพูดคือ มองมนุษย์อย่างมีคุณค่า ซึ่งประกอบไปด้วย มนุษย์มูลค่าเพิ่ม คือ ทุน 8 K's ต่าง ๆ แต่เพิ่มคุณธรรม จริยธรรม การมีวัฒนธรรมที่งดงาม การมีประวัติศาสตร์ที่ควรหวงแหน และการมองมนุษย์ในมิติต่าง ๆ เช่น สันติภาพ และศาสนาด้วย

ผมได้ยกตัวอย่าง มนุษย์ที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าหลายท่าน ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น
- รัชกาลที่ 9
- ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)
- ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
- ศ.น.พ.เกษม วัฒนชัย
- ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
- คุณอานันท์ ปันยารชุน
- หมอประเวศ วะสี
ในต่างประเทศ เช่น
- Mother Teresa
- Mohandas Karamchand Gandhi หรือ Mahatma Gandhi

จะเห็นว่า มนุษย์มีคุณค่า ไม่ได้เกิดมาแต่ตัวเขา หรือมัวเมาในอำนาจหรือเงิน หากแต่มีความหวังที่จะทำโลกให้ดีขึ้น ประชากรที่ยากจนดีขึ้น หรือทิ้งมรดกดี ๆ ไว้ให้คนรุ่นหลัง

ผมมาร่วมงานครั้งนี้ จึงได้มองอะไรที่กว้างขึ้นกว่าเดิม และทำให้คนที่ทำงานในองค์กรที่เป็นลูกค้าผม ส่วนใหญ่ได้ดูมนุษย์อย่างครบวงจร แบบที่ผมเน้นทฤษฎี HRDS คือ
• Happiness มีความสุข
• Respect ยกย่องให้เกียรติ
• Dignity มีศักดิ์ศรี
• Sustainability มีความยั่งยืน

นับได้ว่าเป็นสัปดาห์ที่ได้ทำงานทางวิชาการครบถ้วน จึงขอขอบคุณคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะเดียวกัน นักศึกษามนุษยศาสตร์ ได้เติมเต็ม 8 K's เรื่องทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนทางด้าน Networking โดยเฉพาะทุนทางปัญญาเป็นสิ่งสำคัญมาก

มีคำพูดคำหนึ่งที่อยากให้เข้าไปในสมองของเด็กกว่า 300 คนที่ผมได้พูดคือ ฟังวันนี้แล้ว ลองนึกว่า เมื่อนักศึกษาอายุ 40 ปี ไม่ว่าท่านจะเป็นอะไร จะต้องปรับตัวเองตลอดเวลา มีทั้งปัญญา คุณธรรมและการเรียนรู้ตลอดชีวิต รักษาสังคมมนุษย์ให้อยู่รอดต่อ ๆ ไป

ปัจจุบันสิ่งหนึ่งที่เป็นคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชอบคิดและอยากคิด แต่การเรียนยังไม่ได้ให้เขามีส่วนคิดได้เต็มที่ การเรียนแบบเดิมยังเป็นอุปสรรคอยู่บ้าง แต่ปรากฏว่าผมพูดเพียง 1 ชั่วโมง มีการโต้ตอบกันกว่า 45 นาที

ผมขอรายงานให้ทราบว่า ผมกับปลัดกระทรวงวัฒนธรรม คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ จะมีหนังสือ pocket book เล่มใหม่ร่วมกัน ซึ่งจะเปรียบเทียบทฤษฎี 8 H กับ 8 K ในการทำงานของเรา 2 คน

ผมคิดว่า คนไทยยุคใหม่จะต้องมีปรัชญา ทฤษฎีของตัวเอง และได้ฟัง 8 H ของปลัดในการสัมมนาหลายครั้ง ท่านมีแนวคิดที่เป็นแบบไทย ๆ ซึ่งหากผสมกันระหว่าง 8 K's และ 8 H's จะไปได้ดี คือ 8 H มองศักยภาพของมนุษย์แบบครบวงจร อย่าง Head ของท่าน คือ ทุนทางปัญญาไม่พอ ต้องมีความรู้สึกที่เกี่ยวกับจิตใจด้วย Spiritual จึงจำเป็น และ Hand ของท่านคือ คนเก่งต้องทำงานเองได้ ไม่ใช่สั่งอย่างเดียว หรือลูกน้องทำให้ มีความคิดไม่พอต้องทำเป็นด้วย ซึ่งทำให้ผมนึกถึง Jack welch เขาได้เน้น Execution และผมชอบทฤษฎี Get thing done ผมว่าคนไทยไม่ค่อยจะ Get thing done มักรอให้นายสั่งมากกว่า

ส่วนคุณหมอประเวศได้ออกบัญญัติ 10 ประการ สำหรับคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ซึ่งมีหลายเรื่องเป็นเรื่องทุนมนุษย์ และมนุษย์ศาสตร์ เช่น ข้อที่ 10 เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต คิดเป็น วิเคราะห์เป็น คือ Head ของท่านปลัด และทุนทางปัญญาของผม

อีกเรื่องหนึ่งคือ Happiness ซึ่งทั้งผมและท่านปลัดมี คุณหมอประเวศก็มี และที่สำคัญคือ การยกย่องคนที่เสียเปรียบทางสังคม Respect และการอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี เป็นจุดสำคัญ และสุดท้ายต้องเน้นทุนทางจริยธรรม

คนไทยยุคนี้คิดอะไรคล้าย ๆ กัน ซึ่งหากดูทฤษฎี H+(plus) ของ Edward De Bono ก็มีอะไรคล้ายของเรา และมาทางตะวันออกมากขึ้นด้วย เช่น มีเรื่อง Happiness , Health แต่เขาเพิ่มเรื่อง Humour ขึ้นมาคือ ชีวิตต้องมีอารมณ์ขันด้วย สุดท้ายคือ Hope ผมยังหวังว่า ประเทศไทยจะรอดจากวิกฤติต่าง ๆ อย่างราบรื่น 
  
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 
ยม "บทเรี่ยนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ 9/11 ผลกระทบต่อโลก" เมื่อ ส. 16 ก.ย. 2549 @ 09:23 (74592)
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน   

เช้าวันนี้ ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็บของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง 9/11 ผลกระทบต่อโลก ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

 

 

  เหตุการณ์ 9/11 ไม่ใช่ธรรมดา และไม่ได้กระทบเฉพาะสหรัฐอเมริกา แต่กระทบทั่วโลก อาจจะกระทบในทางที่สร้างปัญหาระยะยาว หรือเป็นความยั่งยืนของโลก

ประโยคนี้ ทำให้ผู้อ่าน นักเรียน ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นเกี่ยวกับกับ ยุคโลกาภิวัตน์ นี่คือยุค โลกาภิวัตน์ (globalization) ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลกโลกาภิวัตน์เกิดจากสี่รูปแบบพื้นฐานของการเคลื่อนทุนในเศรษฐกิจโลก โดยสี่การเคลื่อนย้ายของทุนที่สำคัญคือ: ·        ทุนมนุษย์ (เช่น การอพยพเข้าเมือง การย้ายถิ่น การอพยพจากถิ่นฐาน การเนรเทศ ฯลฯ) ·        ทุนการเงิน (เช่น เงินช่วยเหลือ หุ้น หนี้ สินเชื่อและการกู้ยืม ฯลฯ) ·        ทุนทรัพยากร (เช่น พลังงาน โลหะ สินแร่ ไม้ ฯลฯ) ·        ทุนอำนาจ (เช่น กองกำลังความมั่นคง พันธมิตร กองกำลังติดอาวุธ ฯลฯ)  

ผลกระทบเกิดที่เกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์ ย่อมส่งทั้งผลดีและผลเสีย ต่อปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก  อย่างหลีกหนีไม่พ้น  สังคม องค์กรที่ชาญฉลาดจึงเร่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

  

ผลกระทบด้านไม่ดี คืออาจจะสร้างปัญหาได้ในระยะยาว อย่าเช่น กรณีเหตุการณ์ 9/11 ที่ผู้ก่อการร้ายขับเครื่องบินถล่มตึก World trade ในอเมริกา และกระจายผลกระทบด้านลบ ไปทั่วโลก และมีทีท่าว่าจะเกิดสงครามยืดเยื้อ เรียกว่า ปัญหาระยะยาวอย่างยั่งยืน  เมื่อมีความไม่ดียั่งยืน ก็ควรทดแทนด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้รู้จัก หนทางแก้ปัญหา แสวงหาความสงบสุขแบบหาความยั่งยืน  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหนทางหนึ่ง แต่ในทางพุทธศาสนา ยังมีอีกหลายแนวความคิด ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้  ซึ่งต้องเริ่มที่สถาบันย่อยของสังคม ต้องมีความรู้เรื่องความยั่งยืนเหล่านี้ว่าจะสร้างขึ้นมาได้อย่างไร

  ข้อแรกคือ ปฏิกิริยาของโลกต่อสหรัฐอเมริกา ในระยะสัปดาห์แรก 3 เดือนแรก 6 เดือนแรกหลังเหตุการณ์ 9/11 เต็มไปด้วยความเห็นใจและเข้าใจ มีความรู้สึกว่าสหรัฐอเมริกาถูกกระทำ แต่สหรัฐอเมริกากลับมองปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นการลูบคมในบ้านของตัวเอง มองลักษณะการต่อสู้เป็นการแก้แค้นผู้กระทำ ประกอบกับความเป็นชาตินิยมสูง ทำให้ประธานาธิบดี Bush ได้รับคะแนนนิยมท่วมท้น จึงใช้คะแนนสนับสนุนจากกลุ่มเน้นการเมืองแบบขวาจัด ด้วยการจัดการกับอัฟกานิสถาน และอิรัก รวมทั้งมองโลกในลักษณะแบ่งฝ่าย 
ประโยคนี้ สะท้อนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาของอเมริกา เราสามารถศึกษาได้ว่าเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนหรือไม่  หรืออาจจะเป็นการแก้ไขปั้ญหา ตามแนวคริสต์ศาสนา  ถ้าเป็นเช่นนั้น ถ้าใช้แนวพุทธศาสตร์ บ้างจะเป็นอย่างไร  ตรงนี้ชี้ชวนให้นักเรียน นักศึกษาได้คิด วิเคราะห์ถึงวิธีการแก้ไขปัญหา แบบไหนจะยั่งยืนกว่ากัน ประการที่สำคัญ  ผู้นำที่เป็นเลิศ ต้องตัดสินใจแก้ไขปัญหา แต่เมื่อตัดสินใจแก้ไขปัญหาแล้ว ปัญหาอื่น ไม่ควรมีมามากกว่าปัญหาเดิม 
  การเป็นประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน จะเก่งด้านการทหารอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องอดทน อดกลั้น มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้สมาชิกของโลกยอมรับปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา ดูจะขาด 3 เรื่องใหญ่คือ
-
ขาดความน่าเชื่อถือ (Trust) จากสมาชิกของโลก
-
ขาดคุณธรรม จริยธรรม ที่สังคมโลกปรารถนา
-
ขาดการมองที่โยงไปสู่ความยั่งยืน (Sustainability)

 

ที่ ศ.ดร.เขียนมา ว่า สหรัฐอเมริกาขาดอะไรบ้าง ท่านผู้อ่านลองจับประเด็นดู อาจารย์กล่าวว่า สหรัฐฯ ขาด ความอดทน อดกลั้น ขาดคุณธรรม จริยธรรม ขาดความน่าเขื่อถือ ขาดการมองที่โยงไปสู่ความยั่งยืน ขาดวิสัยทัศน์ สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ควรต้องมีอย่างยิ่งสำหรับการเป็นผู้นำ  ฉะนั้นถ้าถามว่า ผู้นำควรมีคุณสมบัติอย่างไร  ถ้าตัดคำว่าขาด ออกไปก็คือคุณสมบัติของผู้นำทั้งสิ้น   และอาจกล่าวได้ว่า ถ้าสหรัฐฯ ปล่อยให้ขาดเรื่องเหล่านี้มาก ๆ  แน่นอนว่า จะไม่ได้เป็นผู้นำโลกอีกต่อไปในอนาคตใครก็ตามถ้าเป็นผู้นำ แล้วไม่รักษาคุณสมบัติที่ดีของความเป็นผู้นำ ย่อมไม่รักษาความเป็นผู้นำไว้ได้อีกต่อไป   
 ประเด็นสุดท้ายซึ่งผมจะเน้นเป็นพิเศษ คือ การที่สหรัฐอเมริกาต้องดูแลเรื่องการก่อการร้าย และสงครามในหลายประเทศ จึงไม่มีเวลา ไม่มีทรัพยากร ไม่มีปัญญาที่จะแก้ปัญหาของโลก ซึ่งมีหลายเรื่องที่อยู่ในขั้นวิกฤติ ต้องการความสามารถของผู้นำแบบสหรัฐอเมริกา ที่จะแก้ปัญหาของโลกได้ เช่น
-
ปัญหาโลกร้อน
-
ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำของประชากรโลก
-
ปัญหาประชากรสูงอายุจำนวนมาก และปัญหาแรงงานอพยพ
-
ปัญหาการสร้างสังคมการเรียนรู้ของโลก
-
ปัญหาการขาดแคลนพลังงานของโลก
-
อื่น ๆ 

 

ปัญหาของโลก นับวันจะมากและรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะปัญหาโลกร้อน  เมื่อวันที่ 9 – 13 กันยายน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้จัดงานเผยแพร่ผลการวิจัยดีเด่นประจำปี 2549 และมีการจัดเวที ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการได้มาเสวนาเผยแพร่ ผลงานการวิจัย  วันแรกที่มีงาน ในเวทีใหญ่ มี ศ.ดร. องอาจ ชุมสาย ณ อยุธยา และนักวิชาการหลายท่านมา พูดถึง โจทย์ที่ควรตั้งเพื่อหาคำตอบ โดยใชการทำวิจัย  สิ่งที่ ศ.ดร.ชุมสาย ณ อยุธยา ก่ล่าวถึงคือ ผลการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก พบว่า อีก 14 ปีข้างหน้า นำแข็งขั่วโลกเหนือและใต้ จะละลายหมด น้ำในโลกจะเพิ่มสูงขึ้นอีกประมาณ 2 เมตร  เมื่อขั้วโลกไม่มีน้ำแข็ง การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมโลก  
ตรงนี้ผมคิดว่าผลกระทบที่ตามมาคือ กระแสน้ำเย็น กระแสน้ำอุ่น เปลี่ยนทิศทาง เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แผ่นดินไหว สินามิ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ภัยน้ำท่วม พายุรุนแรง จะมีมากขึ้น แล้วกรุงเทพฯ ถ้าระดับน้ำสูงขึ้นอีกสองเมตร จะไปเหลืออะไร สนามบินสุวรรณภูมิ พื้นที่เกษตร ปริมณฑล พื้นที่อยู่อาศัย โรงเรียน โรงพยาบาล ผลกระทบมากมาย แต่แปลก รัฐบาลแทบไม่เคยกล่าวถึงเรื่องนี้ นโยบายสาธารณะ แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของชาติ แทบไม่ได้มีมาตรการป้องกันภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่มีผลการวิจัย เกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่คาดว่าจะเกิดและเสนอเป็นมาตรการป้องกันไว้ให้กับชาติ เพื่อความอยู่รอดและผาสุกของปวงชน  หรือจะรอให้เกิดเหตุการณ์แบบสึนามิ ที่ภาคใต้ ขึ้นอีกหลาย ๆ ครั้งก่อนแล้วค่อยหาทางแก้กัน  
   คนไทยต้องศึกษาปัญหาของโลกมากขึ้น และมีความเข้าใจมากขึ้น เพราะโลกจะพึ่งพามหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ประเทศเดียวที่จะแก้ปัญหาคงไม่ได้ ประเทศหลาย ๆ ประเทศรวมทั้งไทยต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้น ประโยคนี้ ต้องขอบคุณ ศ.ดร.จีระ ที่กระตุ้นให้คนไทยสนใจเรื่องของโลกมากขึ้นและคิดหาทางพึ่งพาตนเอง   หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องก็ควรเอาเยี่ยงอย่าง หาทางเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโลก อันตรายที่อาจจะเกิดกับโลก ถ้าพวกเราไม่ช่วยกัน พร้อมกับสนับสนุนให้มีการวิจัย เกี่ยวกับปัญหาระดับโลก และแนวทางแก้ไข  ใช้เทคโนโลยีสื่อสาร ข้ามประเทศ ศึกษาวิจัย   ศ.ดร.จีระ เป็นประธานหน่วยงานระดับโลก ในกลุ่ม APEC ขอฝากท่าน กล่าวถึงเรื่องนี้ ในโอกาสต่อๆ ไป จะทำอย่างไร ให้ทรัพยากมนุษย์อยู่รอดได้ หากเกิดภัยพิบัติร้ายแรง ในอีก 14 ปีข้างหน้า ทำอย่างไร ไม่ให้มนุษยชาติสูญพันธุ์ไปอย่างไดโนเสาร์  ขอให้ท่านช่วยระดมความคิดผู้คนระดับโลก ในกลุ่ม APEC ช่วยกันตรงนี้ ไม่หวังพึงอเมริกาอีกต่อไป  ผมเชื่อว่า กลุ่มประเทศใน APEC ก็มีทุนพอที่จะศึกษาวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง    

ผมได้รับเกียรติจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ช่วยฝึกภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับกลางของโรงแรม Oriental 2 รุ่น ได้สร้างสังคมการเรียนรู้ให้ผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความสามารถมากที่โรงแรมชั้นหนึ่งของคนไทย


ประโยคนี้ ผมอยู่ในเหตุการณ์ด้วย  คือได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมนี้ด้วย ต้องขอขอบคุณ ศ.ดร.จีระ ที่ให้โอกาสอันมีค่านี้  และได้ให้ร่วมแชร์ความรู้ประสบการณ์กับพี่น้องผู้นำที่โรงแรมโอเรียนเต็ล   ประทับใจผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคนที่เป็นผู้นำของโรงแรมฯ  เห็นความตั้งใจ ความมุ่งมั่น พลังความคิด สะท้อนให้เห็นว่ามีทุนมนุษย์สูง ที่น่าประทับใจแต่ไม่มีโอกาสได้พบตัว คือผู้บริหารระดับสูงของโรงแรม ที่มีวิสัยทัศน์ เปิดหลักสูตรนี้ ให้ทีมงานที่โรงแรมฯ ไดมีโอกาสได้รับความรู้  ผมเชื่อว่าการทำดีดังกล่าว จะทำให้โรงแรมนี้ คงความเป็นผู้นำไว้ได้อย่างดี อีกงานหนึ่งที่ ศ.ดร.อาจจะไม่มีเนื้อที่พอที่จะเขียน และผมอดที่จะชี่นชมไม่ได้คือ การที่ ศ.ดร.จีระ ได้มอบหมายให้ นักศึกษา ป.โท เทคโนโลยี่เกษตร ลาดกระบังฯ ไปศึกษาดูงานที่ บริษัท ไทย คิว พี หรือ อสร. ที่ราชบุรี และ ไปเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมฯ ที่โรงเรียนท่าม่วง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ซึ่งมีนักเรียน โรงเรียนเทพศิรินร์ ที่กาญจนบุรี มาร่วมฟังด้วย งานนี้นอกจาก ศ.ดร.จีระ จะปลูกฝังแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ให้มีอยู่ในหัวของ นักศึกษา ป.โท ที่ลาดกระบังแล้ว  ศ.ดร.จีระ ยังฝึกการบริหารจัดการ การเป็นผู้นำ ให้นักศึกษาได้ออกไปเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนดังที่กล่าวมา  นับว่าได้คุณค่าถึงสามประการ 

ประการที่หนึ่ง คือ ตัวนักศึกษา ป.โท ได้ความรู้ประสบการณ์ ในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

ประการที่สอง คือ ตัวนักเรียนมัธยมฯ ได้หลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปด้วย

 

ประการที่สาม คือ เปิดโอกาสให้นักศึกษา ป.โท ได้ทำบุญ ให้วิทยาทาน แก่ผู้อื่น เป็นการทำบุญไปในตัวด้วย

 

ขอชื่นชมนักศึกษา ป.โท ที่ลาดกระบัง ที่ไปร่วมกิจกรรมนี้ ทำได้ดี ได้ทำประโยชน์ให้กับสังคม และได้ความรู้ไปด้วย ควรจดจำไว้บูรณาการสานต่อความดีนี้ และชื่นชมทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ที่ผมสั้งเกตเห็นว่ามีความตั้งใจทำงานได้ดีมาก ถ้าพวกเขามีบุญพอ คือสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ในแนวคิดของ ศ.ดร.จีระ อย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ด้วยปรารถนาอย่างแรงกล้า จะเป็นบุคลากรที่สำคัญของประเทศในอนาคตได้อีกด้วย

 
ศ.ดร.จีระ มีรายการที่น่าสนใจหลายรายการ เช่นรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 และรายการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทาง ททบ. 5 ทุกวันอังคารและวันพุธ เวลา 9.55 น. – 10.00 น. หรือทาง http://www.chiraacademy.com/   เชิญท่านติดตามศึกษาหาบทความ เรื่อง9/11 ผลกระทบต่อโลก[1] ของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Bloc นี้ ครับ 
  
ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน     
ยม
ยม "บทเรี่ยนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ 9/11 ผลกระทบต่อโลก"

9/11 ผลกระทบต่อโลก[1]

 

ทุกคนคงจำเหตุการณ์ 9/11 ได้ดี ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ลืมเหตุการณ์นี้แน่นอน เวลาผ่านไปแล้ว 5 ปี แม้ไม่ลืมก็ควรจะต้องใช้โอกาสนี้วิเคราะห์สถานการณ์นี้ไปด้วย หากเราเป็นสังคมการเรียนรู้ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น จะเห็นว่าเหตุการณ์ 9/11 ไม่ใช่ธรรมดา และไม่ได้กระทบเฉพาะสหรัฐอเมริกา แต่กระทบทั่วโลก อาจจะกระทบในทางที่สร้างปัญหาระยะยาว หรือเป็นความยั่งยืนของโลก


ช่วงนี้ ผมจะไม่ค่อยเขียนเรื่องเกี่ยวกับโลก ยิ่งมีวิกฤติการเมืองไทย เรื่องที่คนไทยไม่ใฝ่รู้ เขียนเรื่องระดับโลก คนไม่สนใจ แต่วันนี้ไม่เขียนถึงคงไม่ได้


ข้อแรกคือ ปฏิกิริยาของโลกต่อสหรัฐอเมริกา ในระยะสัปดาห์แรก 3 เดือนแรก 6 เดือนแรกหลังเหตุการณ์ 9/11 เต็มไปด้วยความเห็นใจและเข้าใจ มีความรู้สึกว่าสหรัฐอเมริกาถูกกระทำ แต่สหรัฐอเมริกากลับมองปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นการลูบคมในบ้านของตัวเอง มองลักษณะการต่อสู้เป็นการแก้แค้นผู้กระทำ ประกอบกับความเป็นชาตินิยมสูง ทำให้ประธานาธิบดี Bush ได้รับคะแนนนิยมท่วมท้น จึงใช้คะแนนสนับสนุนจากกลุ่มเน้นการเมืองแบบขวาจัด ด้วยการจัดการกับอัฟกานิสถาน และอิรัก รวมทั้งมองโลกในลักษณะแบ่งฝ่าย


เวลาผ่านไปแล้ว 5 ปี ความสงสาร ความเห็นใจ ต่อสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันมีน้อยลง ประเทศที่เคยช่วยเหลือสหรัฐอย่างเต็มที่ลดการสนับสนุน เหลือประเทศหลักคืออังกฤษเท่านั้น ประเทศในยุโรปอื่น ๆ เช่น เยอรมนี หรือฝรั่งเศส เริ่มมองสหรัฐอเมริกาแบบไม่ค่อยพอใจนัก เพราะสหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายล้างแค้น เพื่อเอาใจฝ่ายขวาจัดในประเทศของตัวเองมากกว่า


การล้างแค้นดังกล่าวได้ลุกลามไปถึงอัฟกานิสถาน ขยายวงไปยังอิรักและอาจจะไปถึงอิหร่านด้วย และดูเหมือนว่าสหรัฐอเมริกาจะใช้นโยบาย ZERO SUM GAME คือ มีผู้ชนะและผู้แพ้ ไม่ใช้นโยบาย WIN/WIN หรือสมานฉันท์ ซึ่งวิธีการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ ต้องใช้การทูต การประนีประนอมมากขึ้น ซึ่ง Bush ไม่เลือกวิธีการสมานฉันท์ แต่เน้นการต่อสู้แบบรุนแรง


ความรุนแรง (Violence) เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การสู้รบในวันนี้ ไม่รู้จะจบลงเมื่อไร ดูอิรัก ปัญหาของอัฟกานิสถาน ที่ปะทุขึ้นมาตลอดเวลา ไม่มีท่าทีว่าจะจบลงอย่างสันติ


การเป็นประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน จะเก่งด้านการทหารอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องอดทน อดกลั้น มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้สมาชิกของโลกยอมรับ


ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา ดูจะขาด 3 เรื่องใหญ่คือ
-
ขาดความน่าเชื่อถือ (Trust) จากสมาชิกของโลก
-
ขาดคุณธรรม จริยธรรม ที่สังคมโลกปรารถนา
-
ขาดการมองที่โยงไปสู่ความยั่งยืน (Sustainability)


ประเด็นสุดท้ายซึ่งผมจะเน้นเป็นพิเศษ คือ การที่สหรัฐอเมริกาต้องดูแลเรื่องการก่อการร้าย และสงครามในหลายประเทศ จึงไม่มีเวลา ไม่มีทรัพยากร ไม่มีปัญญาที่จะแก้ปัญหาของโลก ซึ่งมีหลายเรื่องที่อยู่ในขั้นวิกฤติ ต้องการความสามารถของผู้นำแบบสหรัฐอเมริกา ที่จะแก้ปัญหาของโลกได้ เช่น
-
ปัญหาโลกร้อน
-
ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำของประชากรโลก
-
ปัญหาประชากรสูงอายุจำนวนมาก และปัญหาแรงงานอพยพ
-
ปัญหาการสร้างสังคมการเรียนรู้ของโลก
-
ปัญหาการขาดแคลนพลังงานของโลก
-
อื่น ๆ


ผมจึงขอสรุปว่า เหตุการณ์ 9/11 สร้างความวุ่นวายให้แก่โลกในระยะยาว เพราะสหรัฐอเมริกาไม่สามารถตั้งสติ ใช้ปัญญาหรือความสามารถต่าง ๆ แก้ปัญหาหลายเรื่องของโลกได้


ดูเหมือนว่าผู้นำของสหรัฐอเมริกาจะมองปัญหาของตัวเองมากกว่าปัญหาของโลก จึงขอสรุปแนวคิดของผมให้ผู้อ่านได้นำไปคิดต่อไป ฉะนั้น ปัจจุบันคนไทยต้องศึกษาปัญหาของโลกมากขึ้น และมีความเข้าใจมากขึ้น เพราะโลกจะพึ่งพามหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ประเทศเดียวที่จะแก้ปัญหาคงไม่ได้ ประเทศหลาย ๆ ประเทศรวมทั้งไทยต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้น


หันมาดูงานของผมในสัปดาห์ที่แล้ว
ผมได้รับเกียรติจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ช่วยฝึกภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับกลางของโรงแรม Oriental 2 รุ่น ได้สร้างสังคมการเรียนรู้ให้ผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความสามารถมากที่โรงแรมชั้นหนึ่งของคนไทย


ได้มีโอกาสไปทำ workshop ให้แก่กลุ่มปริญญาเอกกว่า 50 คน ด้านวัฒนธรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ผมได้แสดงความเห็นเรื่องนวัตกรรมกับวัฒนธรรม ให้เห็นว่าทุนทางวัฒนธรรม Cultural capital จำเป็นที่จะต้องสร้างมูลค่า เพื่อให้โลกสนใจ ให้คุณค่า และในอนาคตจะเป็นการหารายได้ให้ประเทศอย่างมหาศาล


ปัจจุบันในยุคโลกาภิวัตน์ สิ่งที่อยู่กับเราและติดตัวเราคือ อดีตที่เราสะสมมานาน ไม่ว่าจะเป็นหนัง ละคร วรรณกรรม ศาสนา องค์ความรู้ แต่จะหวงแหนอย่างเดียวไม่ได้ ต้องสร้างนวัตกรรมขึ้นมา นักเรียนปริญญาเอกหลายคน ต่างมีความเห็นว่า วัฒนธรรมพื้นบ้านหลายอย่างในภาคอีสาน รวมทั้งการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นจุดที่น่าสนใจ น่าจะนำมาต่อยอดต่อไป


นอกจากนี้ ผมได้พัฒนาผู้นำของข้าราชการระดับ C8 กระทรวงวัฒนธรรม อีก 120 ท่าน ซึ่งเรียนกับผมรุ่นละ 60 ชั่วโมงจบไปแล้ว สัปดาห์นี้จะไปต่อยอดกัน ดูงานนิทรรศการวัฒนธรรมของไทยที่ฝรั่งเศสและอิตาลี ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้ชาวต่างประเทศทั้ง 2 ประเทศ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้วัฒนธรรมไทยในสังคมโลกต่อไป

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความเป็นจริง กับ ศ.ดร.จีระ (ในที่สุด:วันนี้ก็มาถึง)"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

     เช้านี้ ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความ บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในที่สุด : วันนี้ก็มาถึง ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน เล่าถึง 3 เรื่องสำคัญที่ท่านได้ทำ บทเรียนจากความเป็นจริงที่น่าสนใจ ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ  

   

ก่อนหน้านี้ หลายคนบอกว่า ปฏิวัติเป็นวิธีการที่เหมาะสม แต่จะทำได้หรือไม่ เพราะในระยะ 5 ปี อดีตนายกทักษิณได้วางกำลังทางทหารและตำรวจไว้อย่างแน่นหนา โดยเฉพาะเพื่อนเตรียมทหารร่วมรุ่น 10 จึงมองกันว่า หากปฏิวัติอาจจะต้องมีการต่อสู้ถึงขั้นนองเลือด


บทความของ ศ.ดร.จีระ สัปดาห์นี้ อาจารย์เขียนเกี่ยวการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในบ้านเราได้ทันกาล น่าชวนติดตาม อย่างไรก็ตาม ผมตั้งข้อสังเกตว่า การที่อดีตนายกทักษิณฯ ได้วางกำลังทางทหารและตำรวจไว้อย่างแน่นหนา  การที่อดีตนายกฯทักษิณฯทำเช่นนั้น เป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบไทย ๆ สไตล์ท่านทักษิณฯ  และการที่ไม่มีการนองเลือดนั้น ถือว่าเป็นส่วนดีของการบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบไทย ๆ และที่สำคัญอาจจะเป็นเพราะการที่คนไทยทุกคนคิดถึงองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบารมีของท่าน ทำให้บรรดานายทหาร นายตำรวจทั้งหลาย ต่อสู้กันด้วยทุนทางปัญญา ทุนทางไอที ทุนทางจริยธรรม ทุนทางสังคม หารือกันมากกว่าที่จะต่อสู้ด้วยอาวุธ ซึ่งผมในฐานะคนไทยคนหนึ่งต้องขอขอบคุณนายทหาร นายตำรวจ พี่น้องชาวไทยที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ที่ไม่ทำให้เกิดการนองเลือดกันขึ้นมา  ขอให้เราให้ดีที่สุด เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของโลก    

คืนวันอังคารที่ 19 กันยายน กว่าที่คณะปฏิรูปการปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จะประกาศว่ายึดทุกอย่างได้อย่างเรียบร้อย ก็เกือบ 5 ทุ่ม ยังมีการต่อรองอย่างน่าสนใจ และอดีตนายกฯ ที่ประกาศภาวะฉุกเฉิน ในช่วง 4 ทุ่มกว่าของคืนวันอังคาร แสดงถึงว่าการปฏิวัติครั้งนี้ ไม่ง่ายหรือสะดวกอย่างที่คิดนัก 

คืนนั้น ผมได้เห็นอดีตนายกทักษิณ ออกทีวีเพียงไม่กี่นาที ก็หายไป และไม่เห็นท่านให้สัมภาษณ์ หรือออกมาพูดทางทีวีอีก ตรงกันข้ามกับฝ่ายปฏิวัติ ก็เข้าใจว่าทางคณะปฏิรูประบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดสื่อต่าง ๆ ได้แล้ว นั่นหมายถึงการยึดอำนาจได้แล้ว  สื่อเป็นสิ่งสำคัญ นับว่าเป็นอาวุธอย่างหนึ่งหากรู้จักใช้ รู้จักควบคุมจะเกิดประโยชน์มหาศาลกับส่วนรวม  สื่อต่าง ๆ ในประเทศไทย ควรต้องได้รับการบริหารจัดการให้ดีกว่าที่ผ่านมา ประเทศเรา อาจจะยังไม่พร้อมที่จะปล่อยให้สื่อทำได้แบบอเมริกา  เพราะทุนทางทรัพยากรมนุษย์ของประเทศเรายังมีไม่มากพอ ไม่เทียบเท่ากับประเทศที่เจริญแล้ว สื่อจึงควรได้รับการดูแล แต่ต้องอยู่ในระบอบประชาธิปไตย มาถึงวันนี้ สื่อต่าง ๆ ยังสามารถเสนอข่าวได้ แต่ข่าวที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง ความแตกแยก แบ่งฝักฝ่ายดูลดลงไป ด้วยการขอความร่วมมือจากคณะปฏิรูปฯ  ซึ่งขอชื่นชมกับการขอร้องและ เมื่ออดีตนายกทักษิณฯ ไม่มีโอกาสออกอากาศ แถลงการณ์ใด ๆ ทางทีวี ทางคณะปฏิรูปน่าจะเข้มงวดไม่ให้คู่อริ อย่างนายสนธิ ลิ้มทองกุล หรือฝ่ายที่ไม่ชอบอดีตนายกทักษิณ ออกอากาศ โจมตีอดีตนายกเพียงฝ่ายเดียว ตรงนี้ผมดูจะไม่เป็นผลดีต่อสายตาของประชาชน  สื่อต่าง ๆ ควรยึดแนวพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และแนวพุทธศาสนา เป็นกรอบ เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรม   

สิ่งแรกที่พวกเราคนไทยจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบคือ ปฏิกิริยาจากต่างประเทศว่า การปฏิวัติครั้งนี้ ประชาคมโลกจะมองและคิดอย่างไร ผมดูว่าสหรัฐอเมริกามีท่าทีกลาง ๆ มองว่าเป็นเรื่องที่ประเทศไทยต้องดำเนินการจัดการ และคณะปฏิรูปการปกครองฯ เข้ามาดูแลชั่วคราว หากสหรัฐอเมริกามีท่าทีเป็นลบ อาจจะยกเหตุผล เช่น รัฐบาลของคุณทักษิณมาจากการเลือกตั้ง หรือเน้นมาตรการสิทธิมนุษยชน อาจจะทำให้เกิดปัญหาความไม่พอใจของประชาคมโลกได้


ในเรื่องนี้ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครอง ฯ ได้แถลงให้คณะทูตานุทูตที่อยู่ในประเทศไทย รวมทั้งผู้สื่อข่าวต่างประเทศได้รับทราบเมื่อบ่ายวันพุธที่ 20 กันยายน 2549 แล้ว
ผมคิดว่า การอธิบายข้อเท็จจริง โดยไม่ปิดบัง และทำทุกอย่างแบบโปร่งใส ให้ชาวต่างชาติเข้าใจ เช่น ปัญหาที่คนชั้นกลางมีความเคลือบแคลง ระบบประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ของรัฐบาลทักษิณ และที่สำคัญคือคณะปฏิรูปการปกครองฯ จะเข้ามาแก้ปัญหาชั่วคราว เมื่อทำงานสำเร็จ จะคืนอำนาจให้แก่ประชาชนอย่างเร็ว โดยมีการปฏิรูปการเมือง และมีการเลือกตั้งต่อไป

เรื่องผลกระทบจากการมีการปฏิวัติ ครั้งนี้คือปฏิกิริยาของชาวโลก ในแง่สิทธิเสริภาพของมนุษยชน ตามระบอบประชาธิปไตย เชื่อมั่นว่าต้องถูกจับตามองจากชาวโลกแน่นอน   จากนี้ไปการดำเนินการปฏิรูปการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะเป็นที่สนใจของประเทศพันธมิตร ประเทศที่มาลงทุนในบ้านเรา   ถ้าการดำเนินการปฏิรูปฯ ดำเนินไปด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส เป็นประชาธิปไตย โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นประมุข ได้ปรากฏต่อชาวโลกอย่างแท้จริง ทันกาล เป็นธรรม ก็จะเป็นผลดีต่อชาติทั้งระยะสั้นและระยะยาว  การแถลงการณ์ต่อคณะทูตจากนานาประเทศ จะช่วยได้ระดับหนึ่ง

จากนี้ไปขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ทำการปฏิรูปไป ชี้แจง ประชาสัมพันธ์ต่อคณะทูตเป็นระยะ ๆ  ขณะนี้เป็นยุคโลกไร้พรมแดน จริง ๆ เมื่อมีคณะรัฐบาลชุดใหม่แล้ว ก่อนจะมีการเลือกตั้งในอนาคตอีก หกเดือนหรือ หนึ่งปีข้างหน้า การที่จะเชิญคณะทูตมาพบปะชี้แจง ตอบข้อซักถาม ก็จะเป็นผลดีต่อการบริหารกิจการบ้านเมืองในขณะนี้ และอนุญาตให้เผยแพร่ภาพถ่ายไปยังทั่วโลกได้   ทำให้ทั่วโลกเห็นว่าบ้านเมืองของเรามีเอกลักษณ์ ความเป็นประชาธิปไตยแบบไทย ๆ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 

อีกประเด็นที่สำคัญคือ คณะปฏิรูปการปกครองฯ จะเลือกใครมาเป็นนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่าง ๆ จะเป็นใคร มาจากไหน ซึ่งต้องให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนอย่างแท้จริง มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นกลาง เป็นมืออาชีพที่ทำเพื่อส่วนรวม โดยเฉพาะการปฏิรูป แก้ปัญหาการเมืองให้สำเร็จอย่างรวดเร็ว คงจะช่วยให้ภาพลักษณ์ต่าง ๆ ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ยกย่องข้าราชการประจำที่ทำงาน ขจัดข้าราชการที่ไม่มีคุณภาพออกไป สร้างขวัญ กำลังใจ ให้แก่คนดี ซึ่งผมขอเน้นว่า คณะรัฐมนตรีใหม่ จะต้องฟื้นฟูขวัญ กำลังใจของข้าราชการที่ดี ๆ อย่างเร็ว  

การจะเลือกใครมาเป็นนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีต่าง ๆ นั้น น่าจับตามอง ตรงนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงอนาคตประเทศไทยและวิสัยทัศน์ของคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯได้ เป็นอย่างดี    ตรงนี้ต้องใช้หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เข้ามาช่วย  ต้องพิจารณาถึงวิสัยทัศน์ประเทศไทย  แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ประเทศ เป็นอย่างไร  จากนั้นจึงมากำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณสมบัติของผู้ที่จะมารับผิดชอบในหน้าที่คณะรัฐมนตรี 

ผมติดตามข่าวเรื่องนี้ สัเกตเห็นว่าเราเน้นมากเรื่องผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ  ผมขอฝากเรื่องการสรรหารัฐมนตรีที่จะมาประจำกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ของชาติด้วย  ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ๆ ไม่น้อยไปกว่าเรื่องเศรษฐกิจ  คุณภาพทรัพยากรมนุษย์ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพของเศรษฐกิจในระยะยาว รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ในช่วงนี้จึงควรสรรหาคนที่ทำงานด้านพัฒนาการศึกษา ทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง ด้วยอุดมการณ์ ซึ่งผมขอแนะนำ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  เพราะท่านทำงานด้านการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มาด้วยอุดมการณ์ มุ่งมั่นทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ มานาน ท่านเป็นคนดี มีคุณธรรมและมีความรู้   

สุดท้ายที่ผมเป็นห่วง ก็คือพระพลานามัย ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  จะทำอะไรกันก็ขอให้คิดถึงเรื่องนี้ให้มากด้วย อย่าให้พระองค์ทรงหนักพระทัยมาก ช่วยกันรีบแก้ไขปัญหาบ้านเมืองด้วยหลักธรรมมาภิบาล ทศพิศราชธรรม ให้บ้านเมืองสงบสุขเรียบร้อย เป็นที่ยอมรับของชาวโลกโดยเร็ว

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ    

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน   

ยม  

นักศึกษา ปริญญาเอก  

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต 

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ : ในที่สุด : วันนี้ก็มาถึง"
ในที่สุด : วันนี้ก็มาถึง[1]

บทความเรื่องนี้ผมเขียนในวันพุธ กองบรรณาธิการต้องการให้ส่งต้นฉบับวันพุธ ทันเหตุการณ์ "ปฏิวัติ" เมื่อคืนวันอังคารที่ 19 กันยายน ที่ยังสด ๆ ร้อน ๆ คงเป็นช่วงที่คนไทยสนใจเบื้องหน้าเบื้องหลัง และยังต้องมองไปข้างหน้าอีก 6 เดือน - 1 ปี ว่าประเทศไทยจะเดินอย่างไร
ประเด็นแรกคือ การแก้ปัญหาครั้งนี้เป็นไปตามที่หลายคนคาดคิดว่า ประเทศไทยจะต้องมีการล้างไพ่กันใหม่ มีการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะถ้าไม่ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิม การแก้ปัญหาของชาติในอนาคต จะทำลำบากและติดขัดไปหมด เพราะระบบทักษิณเป็นระบบที่เข้มแข็ง และฝังรากหยั่งลึกในประเทศไทย


ก่อนหน้านี้ หลายคนบอกว่า ปฏิวัติเป็นวิธีการที่เหมาะสม แต่จะทำได้หรือไม่ เพราะในระยะ 5 ปี อดีตนายกทักษิณได้วางกำลังทางทหารและตำรวจไว้อย่างแน่นหนา โดยเฉพาะเพื่อนเตรียมทหารร่วมรุ่น 10 จึงมองกันว่า หากปฏิวัติอาจจะต้องมีการต่อสู้ถึงขั้นนองเลือด


คืนวันอังคารที่ 19 กันยายน กว่าที่คณะปฏิรูปการปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จะประกาศว่ายึดทุกอย่างได้อย่างเรียบร้อย ก็เกือบ 5 ทุ่ม ยังมีการต่อรองอย่างน่าสนใจ และอดีตนายกฯ ที่ประกาศภาวะฉุกเฉิน ในช่วง 4 ทุ่มกว่าของคืนวันอังคาร แสดงถึงว่าการปฏิวัติครั้งนี้ ไม่ง่ายหรือสะดวกอย่างที่คิดนัก


ต้องยอมรับว่า เหตุผลของคณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้เป็นที่ประจักษ์ชัดต่อทุกฝ่ายว่า ระบบทักษิณเป็นระบบที่ไม่เหมาะกับสังคมไทย เป็นระบบที่ใช้อำนาจทางการเมืองและอำนาจทางการเงิน ปกครองประเทศไทย โดยไม่ให้ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วม แทรกแซงองค์กรอิสระ และสาเหตุอื่น ๆ อีกมากดังที่ทราบกัน


สิ่งแรกที่พวกเราคนไทยจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบคือ ปฏิกิริยาจากต่างประเทศว่า การปฏิวัติครั้งนี้ ประชาคมโลกจะมองและคิดอย่างไร ผมดูว่าสหรัฐอเมริกามีท่าทีกลาง ๆ มองว่าเป็นเรื่องที่ประเทศไทยต้องดำเนินการจัดการ และคณะปฏิรูปการปกครองฯ เข้ามาดูแลชั่วคราว หากสหรัฐอเมริกามีท่าทีเป็นลบ อาจจะยกเหตุผล เช่น รัฐบาลของคุณทักษิณมาจากการเลือกตั้ง หรือเน้นมาตรการสิทธิมนุษยชน อาจจะทำให้เกิดปัญหาความไม่พอใจของประชาคมโลกได้
ในเรื่องนี้ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครอง ฯ ได้แถลงให้คณะทูตานุทูตที่อยู่ในประเทศไทย รวมทั้งผู้สื่อข่าวต่างประเทศได้รับทราบเมื่อบ่ายวันพุธที่ 20 กันยายน 2549 แล้ว


ผมคิดว่า การอธิบายข้อเท็จจริง โดยไม่ปิดบัง และทำทุกอย่างแบบโปร่งใส ให้ชาวต่างชาติเข้าใจ เช่น ปัญหาที่คนชั้นกลางมีความเคลือบแคลง ระบบประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ของรัฐบาลทักษิณ และที่สำคัญคือคณะปฏิรูปการปกครองฯ จะเข้ามาแก้ปัญหาชั่วคราว เมื่อทำงานสำเร็จ จะคืนอำนาจให้แก่ประชาชนอย่างเร็ว โดยมีการปฏิรูปการเมือง และมีการเลือกตั้งต่อไป


ประเด็นที่สอง ผลกระทบทางเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ปากท้องของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ ข่าวในเช้าวันพุธที่ 20 กันยายนว่า ตัวแทนของธนาคารกสิกรไทยมองว่า เศรษฐกิจ ตลาดหุ้น การท่องเที่ยว อาจจะกระทบบ้างในระยะสั้น แต่ในระยะปานกลางและระยะยาวน่าจะดีขึ้น โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจที่มีธุรกิจหลายกลุ่ม เข้ามามีบทบาทอย่างแท้จริง แทนที่จะกระจุกตัวเป็นกลุ่มเดียว และทำธุรกิจแบบไม่โปร่งใส หากลดปัจจัยการใช้ประชานิยมในระยะสั้นไปได้บ้าง อาจทำให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวได้เหมาะสมและยั่งยืนกว่า นั่นคือใช้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น

 อีกประเด็นที่สำคัญคือ คณะปฏิรูปการปกครองฯ จะเลือกใครมาเป็นนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่าง ๆ จะเป็นใคร มาจากไหน ซึ่งต้องให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนอย่างแท้จริง มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นกลาง เป็นมืออาชีพที่ทำเพื่อส่วนรวม โดยเฉพาะการปฏิรูป แก้ปัญหาการเมืองให้สำเร็จอย่างรวดเร็ว คงจะช่วยให้ภาพลักษณ์ต่าง ๆ ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ยกย่องข้าราชการประจำที่ทำงาน ขจัดข้าราชการที่ไม่มีคุณภาพออกไป สร้างขวัญ กำลังใจ ให้แก่คนดี ซึ่งผมขอเน้นว่า คณะรัฐมนตรีใหม่ จะต้องฟื้นฟูขวัญ กำลังใจของข้าราชการที่ดี ๆ อย่างเร็ว


ประการต่อมา จะทำอย่างไรให้ภาคเมืองกับชนบท มีความสามัคคี ร่วมกันอย่างแท้จริง ทำอย่างไรจึงจะลดความแตกแยกของสังคมให้น้อยลง ผมยังมีความหวังว่า ปัญหาชายแดน 3 จังหวัดภาคใต้จะได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง


สุดท้าย จะต้องมีการใช้กฎหมาย หรือมีกรรมการกลางที่เป็นธรรม พิจารณา ตรวจสอบการทำงานของอดีตนายกรัฐมนตรีอย่างไร จะทำอย่างไรให้เหมาะสม เป็นธรรม และโปร่งใสที่สุด โดยไม่ให้สร้างความแตกแยกของประชาชนต่อไป  
  

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


               โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง คณะปฏิรูป: นโยบายเพื่อความยั่งยืน"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ/ ท่านผู้บริหารที่โรงแรมชั้นนำของโลก(โอเรียนเต็ล)และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

เช้าวันเสาร์ที่ 30 ก.ย. ผมเดินทางมาวัดไร่ขิง ด้วยวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรก มาทำบุญที่วัดไร่ขิง ประการที่สองเพื่อชมงานประกวดสุนัข ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขพันธุ์เยอรมันเช็พเพอดแห่งประเทศไทย

 

การทำบุญที่วัดไร่ขิง มีการพัฒนาเป็นระบบมากขึ้น โดยเฉพาะการถวายสังฆทานบริเวณข้างโบสถ์วัดไร่ขิง มีประชาชนจำนวนมากหมุนเวียนเข้ามาถวายสังฆทาน โดยทางวัดจัดให้มีจตุปัจจัยสำหรับถวายสังฆทานเตรียมไว้ และมีตู้รับบริจาค เปิดโอกาสให้คนที่ยากจนได้มีโอกาสทำบุญถวายสังฆทานได้ โดยไม่จำเป็นต้องซื้อของอะไรไป เพราะทางวัดจัดไว้ให้ เพียงบริจาคเงินใส่ตู้รับบริจาคเท่าใดก็ได้   อีกมุมหนึ่งคือมีการรับบริจาคเงินเพื่อซื้อโรงศพให้สำหรับศพไม่มีญาติ หรือศพผู้ยากไร้ ก็มีประโยชน์สำหรับคนยากจน หรือศพไร้ญาติ ทางวัดก็มีเงินที่ได้รับบริจาคมาซื้อโรงศพให้ได้   ทึ่จริงทางวัดทั้งหลายน่าจะที่มีประชาชนไม่ทำบุญเป็นจำนวนมาก น่าจะมีการให้วิทยาทาน วัดน่าจะเป็นแหล่งสร้างทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืนได้ดี น่าจะมีการจัดเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงฯ เผยแพร่ให้คนทั่วไปได้เรียนรู้ด้วย

 

อีกมุมหนึ่งที่เห็นแล้วน่าเป็นห่วงคือสุนัขในวัดมีจำนวนมาก หลายตัวมีอาการขี้เลื้อน ทางราชการควรเข้ามาช่วยเหลือวัดในการจัดการกับสุนัขจรจัด ให้เป็นระบบ และไม่สร้างภาระให้พระ ทำบุญเสร็จผมแวะไปดูงานประกวดสุนัข

 

งานประกวดสุนัขประจำปีของสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขเยอรมันเช็พเพอด แห่งประเทศไทย ผมมักติดตามงานนี้ทุกปีถ้ามีโอกาส ปีนี้จัดที่วัดไร่ขิง บริเวณโรงเรียนวัดไร่ขิง

 

ผมเป็นคนชอบสุนัขตั้งแต่สมัยเป็นเด็กวัด พระท่านมอบหมายให้ผมดูแลสัตว์ในวัดทั้งหมด ไก่วัด หมาวัด ปลาหน้าวัด ผมได้รับมอบหมายให้เอาเศษอาหารที่เหลือจากพระและเด็กวัดแล้ว มาแจกสุนัขในวัด อยู่ระยะหนึ่ง เห็นว่าสุนัขแม้เป็นสัตว์แต่มีความรักและกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ได้บทเรียนจากสุนัขในวัดหลายเรื่อง

 

เมื่อครั้งผมบวชเป็นพระ ผมเคยใช้สุนัขเป็นครูสอนเด็กวัด ลูกศิษย์ก้นกุฏิ ที่เกเร และชอบหนีออกจากบ้านเพราะโกรธแม่ที่ชอบดุด่าประจำ ผู้เป็นแม่มาหาผมและขอร้องให้ผมช่วยสอนเด็กเกเรนี้  ผมเรียกเด็กมาสอน โดยใช้สุนัขเป็นครู ผมเรียกสุนัขที่เคยดูแลเป็นประจำมาหา และใช้หนังสือพิมพ์ม้วนและตีสุนัขตัวนั้นอย่างแรง สุนัขตกใจหนี เด็กเกเร อยู่ข้าง ๆ เห็นสุนัขถูกตีอย่างแรง แล้วสุนัขวิ่งหนีตกใจ วิ่งไปยืนอยู่ไกล แล้วมองมาด้วยความงง  จากนั้นผมเรียกสุนัขเข้ามาหาอีกครั้ง สุนัขก็วิ่งเข้ามาหา พร้อมกระดิกหาง สุนัขเข้ามาโดยไม่โกรธ  ผมได้สอนให้เด็กเกเร เห็นว่า แม้สุนัขยังไม่โกรธผู้มีพระคุณ แล้วเราเป็นมนุษย์ ทำไมจึงโกรธผู้เป็นแม่เพราะถูกว่าเท่านั้น  เด็กถึงกับน้ำตาไหลด้วยความประทับใจ และบอกว่าต่อไปนี้จะไม่โกรธแม่จะขอกลับไปดูแลแม่  นี่เรียกว่า สุนัขเป็นครู  เด็กคนนั้นขณะนี้บวชเป็นพระอยู่ที่วัดในจังหวัดเพรชบุรี กลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ส่วนผู้เป็นแม่เมื่อลูกบวชได้ไม่นานได้เสียชีวิตไป ทั้งแม่ลูกครอบครัวนี้ เป็นครอบครัวคนที่มาจากอีสาน ซึ่งผมได้เคยช่วยอุปถัมภ์เด็กเกเร คนนั้นไว้ เด็กดังกล่าวได้ดีส่วนหนึ่งเพราะใช้สุนัขเป็นครู สุนัขจึงเป็นสัตว์เลี้ยงประจำตัวของผม ก็ว่าได้

 

ด้วยคุณสมบัติที่น่าสนใจของสุนัข ผมจึงเริ่มศึกษาเรื่องเกี่ยวกับสุนัขมากขึ้น พบว่า สุนัขที่ดีที่สุดในโลก มีไม่กี่สายพันธุ์ สายพันธุ์เยอรมันเช็พเพอด เป็นสายพันธุ์หนึ่งที่จัดว่าเป็นสายพันธ์ที่ได้รับการพัฒนาจากภูมิปัญญาชาวบ้านในเยอรมัน และนำมาใช้ในการทหาร ตำรวจ ในบ้านเรานิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้มานาน จนมีสมาคมฯ และมีการนัดพบปะกันระหว่างผู้สนใจเป็นระยะ ๆ

 

การมาชมการประกวดครั้งนี้ก็เพื่อทำชีวิตให้ Balance วิชาการ การทำงาน ครอบครัว ต้นไม้ สัตว์เลี้ยง บริหารให้เกิดความสุขกับชีวิตบ้างตามสมควรสะสมทุนทางความรู้ ทุนทางสังคมของคนรักสุนัข ระหว่างรอเวลาการประกวดสุนัข ผมได้นำ Note book มาเขียนบทความนี้ที่บริเวณสนามประกวดสุนัขด้วย  ในโลกยุคใหม่การใช้ internet การหาความรู้ไม่มีขีดจำกัด ไม่กำหนดสถานที่ สามารถเคลื่อนย้ายได้ตลอดเวลา ได้บรรยากาศที่ร่มรื่นและแปลกใหม่ คิดถึงเมื่อสมัยเป็นเด็กวัด ตอนนั้นไม่มีอะไรเลย ขณะนี้มานั่งทึ่วัด มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หาความรู้ และติดต่อได้ทั่วโลก ในเวลาชั่วไม่กี่นาที โลกมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก็ควรที่จะต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก

 

วกกลับมาถึงเรื่องบทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ สัปดาห์นี้ อาจารย์เขียนเรื่อง คณะปฏิรูป : นโยบายเพื่อความยั่งยืน ผมเสนอความเห็นเช่นเคย ข้อความที่มีสีน้ำเงิน คือส่วนที่ผมคัดมาจากบทความของอาจารย์ ส่วนสีดำ เป็นส่วนที่ผมแสดงความคิดเห็น เชิญท่านผู้สนใจติดตามอ่านได้จากข้อความข้างล่างนี้ 
"สิ่งใดที่รัฐบาลเดิมทำไว้ดี ก็คงไว้ สิ่งใดที่เป็นประโยชน์จะทำเพิ่มเติมอย่างรอบคอบ หลายฝ่ายวิจารณ์การสนับสนุนอดีตรองนายกรัฐมนตรี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในฐานะผู้สมัครเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ หากแพ้ก็ไม่เป็นไร เพราะได้สู้อย่างเต็มที่ น่าชื่นชมคณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่หลายฝ่าย โดยเฉพาะสื่อโจมตีคณะปฏิรูปการปกครองฯว่า ไม่สมควรจะสนับสนุน"

สิ่งที่ คณะปฏิรูปการปกครองฯ ทำอยู่ขณะนี้ เรียกได้ว่าเป็นการบริการการเปลี่ยนแปลง Change management กับระบบการปกครองของไทย คณะปฏิรูปการปกครองฉลาดทำ การบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ถือว่าเป็นการพัฒนาที่ถูกต้อง เมื่อมีสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมก็ควรคงไว้ ส่วนที่เป็นจุดอ่อน เป็นปัญหาแก่ส่วนรวม ก็ขจัดออกไป นี่เป็นพื้นฐานของการบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเปลี่ยนแปลงทั้งระบบและคน ผมหวังว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คณะปฏิรูปการปกครองฯ จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ชาติ ทำเพื่อชาติ จริง ๆ ถ้าเป็นเช่นนั้น ผมขอให้คณะปฏิรูปการปกครองฯ ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เกิดความผาสุกแก่ประชาชนโดยเร็ว  

 

"คนไทยต้องศึกษาสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด อย่างรอบคอบ ใฝ่เรียนรู้ ทำใจเป็นกลาง สมัครสมานสามัคคีกันให้มากที่สุด"

ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ที่ว่า คนไทยต้อง*   
  • ศึกษาสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด
  • รอบคอบ
  • ใฝ่เรียนรู้ *   
  • เป็นกลาง *  
  • สมานสามัคคี

คุณสมบัติของคนไทยที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวมาข้างต้น ถือได้ว่า เป็น Competency หรือสมรรถนะ ของคนทรัพยากรมนุษย์ของไทย ในปัจจุบันและอนาคต จึงอาจกล่าวได้ว่า จะบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตได้อย่างไร คำตอบคือบริหารให้ทรัพยากรมนุษย์เกิดสิ่งเหล่านั้น และมีการวัดผล นำไปสู่การพัฒนาจุดอ่อน หรือสิ่งที่เขายังด้อยอยู่ให้เป็นจุดแข็งในอนาคต แบบมีตัวชี้วัดความสำเร็จว่าต้องให้จุดอ่อนกลายเป็นจุดแข็งในแต่ละประเด็นภายในกี่ปี  แล้วนำมาสู่ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างองค์กร เพื่อสร้างชาติต่อไป

"นโยบายประชานิยมของอดีตนายกรัฐมนตรียังคงอยู่ ผมเชื่อว่า อนาคตข้างหน้าคงจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้นโยบายไปสู่ความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำทุกอย่าง อย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นการปฏิรูปที่เน้นสันติวิธีและการประนีประนอม"นโยบายประชานิยม ในความเห็นส่วนตัวของผม คิดว่าเป็นสิ่งที่ดี ถ้าจะกำหนดยุทธ์ศาสตร์แบบให้เกิดทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนทางจริยธรรมและทุนแห่งความยั่งยืน  คนกำหนดนโยบายนี้ หนึ่งต้องคำนึงถึงลูกค้า(ประชาชน)เป็นหลัก สองต้องคำนึงถึงอนาคตของชาติเป็นหลักที่สอง และสามต้องคำนึงถึงผลเสียที่อาจจะตามมา และเตรียมมาตรการรองรับไว้  การปฏิรูปการปกครองฯครั้งนี้  ขอให้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการกำหนดนโยบายสาธารณะและปฏิรูปการปกครองฯ คือ ค่อยเป็นค่อยไป ในสิ่งที่เราถนัดมีทรัพยากรเพียงพอ กำหนดเป้าหมาย แผนงาน การวัดผล และเตรียมการรองรับไว้ กรณีที่เกิดปัญหา ต้องมีแผนอื่นรองรับไว้เสมอ  และขอให้คิดคำนึงถึงพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานให้ไว้หลายเรื่อง คณะปฏิรูปการปกครองฯ น่าจะตั้งคณะกรรมการในการศึกษาพระบรมราโชวาทของท่าน กำหนดขึ้นมาเป็นแบบตรวจสอบ Check list ในการบริหารการปฏิรูปการปกครองฯครั้งนี้ด้วย

"ผมชื่นชมคำสัมภาษณ์ของโฆษกที่เน้นงบประมาณที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยอย่างจริงจัง เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันเป็นโลกของความรู้ หรือสังคมฐานความรู้ เป็นนโยบายที่ทุกประเทศทำ และจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในยุคคุณทักษิณ เรื่องนโยบายระยะยาวอ่อนมาก เช่น เรื่องการศึกษา เรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่องพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนาสังคมฐานความรู้ เรื่องการปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบการศึกษา ขาดการปฏิรูปพฤติกรรมในการทำงาน ยังทำงานแบบเดิม ไม่มี Innovation ไม่มี Paradigm shift หรือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์"

เรื่องที่ โฆษกคณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้กล่าวถึงงบประมาณเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง ถือว่าเป็นสัญญานของความโชคดีของประเทศไทย  ที่คณะปฏิรูปการปกครองฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ น่าจะเป็นคณะปฏิรูปการปกครองฯคณะแรก ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้  ผมขอให้การให้สัมภาษณ์ดังกล่าว เกิดผลขึ้นจริงจัง ให้งบประมาณด้านการทรัพยากรมนุษย์ มีจำนวนมากพอ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อชาติจริง ๆ ไม่ใช่ทำกันให้ผ่านไปแค่ปีต่อปี ได้ชื่อว่าทำ  เท่านั้น   

 

คณะปฏิรูปการปกครองฯ น่าจะตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อพัฒนาชาติขึ้นมา เป็นกรณีพิเศษ ให้เป็นองค์กรอิสระที่ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากคณะปฏิรูป จัดทำระบบพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ในแต่ละระดับ ให้ชัดเจน ตั้งแต่ทรัพยากรมนุษย์ในครรภ์มารดา จนกระทั่งถึงเชิงตะกอน และมียุทธ์ศาสตร์การพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว และน่าจะให้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นผู้นำในด้านนี้  
"เรื่องแรก สมควรหรือไม่ที่จะมีการปฏิรูประบบการศึกษาอีกรอบ ที่ทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และมองจากความจริง ไม่ใช่มองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูก"
 
ในความเห็นส่วนตัวของผม เห็นว่าสมควรจะมีคณะปฏิรูประบบการศึกษาของไทย
เรามีคณะปฏิรูปการปกครองฯ แล้วถ้าจะให้ครอบคลุมระบบการบริหาร ก็ควรมีการปฏิรูประบบการศึกษาด้วย  เพราะการศึกษามีความสัมพันธ์กับระบอบประชาธิปไตย  การศึกษามีความสัมพันธ์กับความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 

 

นอกจากนี้ ยังเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ระบบการศึกษาของเรา ยังไม่สามารถสร้างทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ที่มีคุณภาพได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
สถานบันการศึกษาของเรา ยังไม่ติดอันดับสถาบันการศึกษาที่ดีในโลก หรือในภูมิภาค ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิ จึงสมควรให้มีการปฏิวัติทางการศึกษาด้วยโดยเร็ว  

 

"ดูประเทศที่เขาไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ แต่เห็นคุณค่าและเอาจริงเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือเกาหลีใต้"
ดูรายชื่อประเทศที่เอาจริงเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือเกาหลีใต้ พวกนี้ล้วนเคยเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติมาก่อน เป็นประเทศที่เคยถูกต่างชาติเข้ามายึดอำนาจและทำการปฏิรูปหลายเรื่อง การจัดระเบียบสังคมวัฒนธรรม กฎหมาย การเมือง และแน่นอนคือเรื่องการศึกษาที่ได้รับอิทธิพลจากการปกครองของต่างชาติ  เราน่าจะศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติเหล่านี้ นำเอาทั้งปัญหา อุปสรรคและความสำเร็จของประเทศเหล่านี้มาบูรณาการกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะพัฒนาชาติของเราให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะนโยบายด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ควบคู่ไปกับนโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ   

 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ     

 

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน 

 

ยม  
นักศึกษา ปริญญาเอก  
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง คณะปฏิรูป: นโยบายเพื่อความยั่งยืน"
คณะปฏิรูป : นโยบายเพื่อความยั่งยืน[1]

ประเทศไทยไม่มีระบอบทักษิณมา 7-8 วันแล้ว วันที่เขียนบทความนี้เป็นวันพุธ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เห็นได้ว่าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ดำเนินการแบบสันติ สิ่งใดที่รัฐบาลเดิมทำไว้ดี ก็คงไว้ สิ่งใดที่เป็นประโยชน์จะทำเพิ่มเติมอย่างรอบคอบ หลายฝ่ายวิจารณ์การสนับสนุนอดีตรองนายกรัฐมนตรี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในฐานะผู้สมัครเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ หากแพ้ก็ไม่เป็นไร เพราะได้สู้อย่างเต็มที่ น่าชื่นชมคณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่หลายฝ่าย โดยเฉพาะสื่อโจมตีคณะปฏิรูปการปกครองฯว่า ไม่สมควรจะสนับสนุน
คนไทยต้องศึกษาสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด อย่างรอบคอบ ใฝ่เรียนรู้ ทำใจเป็นกลาง สมัครสมานสามัคคีกันให้มากที่สุด
นโยบายประชานิยมของอดีตนายกรัฐมนตรียังคงอยู่ ผมเชื่อว่า อนาคตข้างหน้าคงจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้นโยบายไปสู่ความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำทุกอย่าง อย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นการปฏิรูปที่เน้นสันติวิธีและการประนีประนอม
การที่โฆษกคณะปฏิรูปการปกครองฯ พลโทพลางกูร กล้าหาญ พูดถึงการทำงบประมาณปี พ.ศ 2550 แบบขาดดุล และเร่งนำไปเบิกจ่ายได้ในเดือนมกราคม พ.ศ.2550 เป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะคณะที่ทำงบประมาณ ไม่ใช่นักการเมือง แต่เป็นข้าราชการประจำ ฝ่ายคณะปฏิรูปการปกครองฯ คงจะใช้งบประมาณเพื่อประโยชน์ระยะยาวได้ดี ผมชื่นชมคำสัมภาษณ์ของโฆษกที่เน้นงบประมาณที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยอย่างจริงจัง เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันเป็นโลกของความรู้ หรือสังคมฐานความรู้ เป็นนโยบายที่ทุกประเทศทำ และจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในยุคคุณทักษิณ เรื่องนโยบายระยะยาวอ่อนมาก เช่น เรื่องการศึกษา เรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่องพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนาสังคมฐานความรู้ เรื่องการปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูประบบการศึกษา ขาดการปฏิรูปพฤติกรรมในการทำงาน ยังทำงานแบบเดิม ไม่มี Innovation ไม่มี Paradigm shift หรือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์
เรื่องเหล่านี้ ผมขอเสนอไว้ 2 ประเด็นคือ
เรื่องแรก สมควรหรือไม่ที่จะมีการปฏิรูประบบการศึกษาอีกรอบ ที่ทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และมองจากความจริง ไม่ใช่มองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูก
หลายฝ่ายอยากเห็นระบบการอุดมศึกษา เป็นอิสระจากอิทธิพลของกระทรวงศึกษาฯ โดยจะเป็นองค์กรใหม่หรือกระทรวงใหม่ และจะรวมคำว่าวิจัยเข้าไปด้วย น่าจะดี
หรือการมองประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อยู่ในแท่งเดียวกันต่อไปหรือไม่ และวัฒนธรรมของประถม เข้ามามีบทบาท มีอิทธิพลมากกว่ามัธยม จะสร้างปัญหาระยะยาวหรือไม่
การปฏิรูปการศึกษา คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของครู ผู้ปกครอง นักเรียน แบบที่ปฏิรูปโครงสร้าง ไม่ได้ผลอย่างแท้จริง
ดูประเทศที่เขาไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ แต่เห็นคุณค่าและเอาจริงเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือเกาหลีใต้
ในกลุ่ม HRD ของ APEC ที่ผมเป็นประธานคณะทำงาน HRD อยู่ เห็นได้ชัดว่า ประเทศเหล่านั้น เขาเอาจริงกับเรื่องการสร้างทรัพยากรมนุษย์พันธุ์ใหม่ ให้จัดการกับโลกในอนาคตได้
ผู้บริหารโรงเรียน มหาวิทยาลัยของประเทศเหล่านี้ จะเป็นคนที่มีโลกทัศน์กว้าง มีภาวะผู้นำ ใฝ่รู้ มองอนาคตของเศรษฐกิจคู่ไปกับการศึกษา ในขณะที่การปฏิรูปการศึกษาของไทยเน้นการปฏิรูปโครงสร้างเป็นส่วนใหญ่ โดยไม่มีการลงทุนในการพัฒนาทัศนคติ ความรู้ใหม่อย่างจริงจัง เป็นสังคมการเรียนรู้ที่ไม่ต่อเนื่องและไม่ได้ผล
ผลงานของคณะปฏิรูปการปกครองฯ ในการแต่งตั้งทหารและข้าราชการที่เป็นคนดี คนเก่ง และไม่รับใช้นักการเมืองอย่างเห็นได้ชัด ยกย่องให้ท่านเหล่านี้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ผมดีใจที่ข้าราชการประจำกลับมามีบทบาทที่เหมาะสมต่อไป
ยิ่งไปกว่านั้น การมีอิทธิพลของนักการเมืองในรัฐวิสาหกิจจะน้อยลง จึงเป็นจุดหักเหที่น่าสนใจ
งานของผมเป็นเช่นเดิม สังคมยังให้ความสนใจและหิวกระหายในเรื่องการเรียนรู้ของผมอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งที่มีปัญหาการเมืองที่เป็นอยู่
ผมได้ไปร่วมสร้างภาวะผู้นำ และสร้าง Teamwork ให้แก่กลุ่มบริษัท Softsquare เป็นบริษัทที่ให้การบริการด้าน Software ของคนไทย ซึ่งมีพนักงานเขียน Software อยู่กว่า 400 คน ผู้บริหารเห็นความสำคัญของการสร้างภาวะผู้นำ สร้างสังคมการเรียนรู้ และการสร้างความสุขในการทำงาน โดยเฉพาะให้ชีวิตกับงานไปด้วยกัน ปัจจุบันเรียกว่า work/life Balance
ผมได้ขึ้นเหนือไปเป็นแขกของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ดร.ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์ บรรยายให้นักศึกษาปริญญาโทกว่า 50 คนฟัง ในเรื่องโลกาภิวัตน์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การเรียนของเด็กในยุคนี้ ต้องให้เขาทำการบ้าน โดยทำ workshop มีส่วนร่วมมาก ๆ อย่าไปสอนแบบบรรยายข้างเดียว โดยให้นักศึกษาทำ workshop ว่า
- โลกาภิวัตน์คืออะไร
- มีประโยชน์ต่อประเทศอย่างไร
- มีโทษหรือการคุกคามอย่างไร
- จะแก้ปัญหาโดยใช้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างไร
กลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มสมาคมรองผู้อำนวยการสถานการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย ได้เชิญผมไปบรรยายแบบมีส่วนร่วมให้รองผู้อำนวยการในเขตกรุงเทพฯ และภาคตะวันออก ซึ่งผมได้ให้กำลังใจในการทำงาน และได้เน้นถึงการเป็นสังคมการเรียนรู้ ซึ่งเป็นทิศทางของการบริหารทรัพยากรบุคคลในทศวรรษหน้า ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา จึงจะสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง จะต้องสร้างศักยภาพตามทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ให้เกิดขึ้นในเด็ก และผู้ร่วมงาน และต้องมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมได้รับเชิญให้ไปทำงานต่อเนื่องแก่รองผู้อำนวยการโรงเรียนในภาคตะวันตกที่กาญจนบุรีในเดือนตุลาคมนี้ด้วย
ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2549 ผมและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศและสถานกงสุลไทยประจำโฮจิมินห์จะไปสร้างสังคมการเรียนรู้และการทูตภาคประชาชน (People to People Diplomacy : PPD) ที่เมืองโฮจิมินห์ เวียดนาม แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและโลกาภิวัตน์กับภาคเกษตร ให้แก่ข้าราชการและเกษตรกรในเวียดนามประมาณ 40 คน
เป็นการทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมเคยจัดที่กัมพูชา พม่า และจีนตอนใต้มาแล้ว สร้างให้เกิดสังคมการเรียนรู้ ซึ่งทางเวียดนามจะเล่าให้ผมฟังว่า เขามองเรื่องโลกาภิวัตน์ เรื่องภาคเกษตรอย่างไร เพราะเวียดนามจะเป็นสมาชิกของ WTO จึงต้องบริหารความเสี่ยงจากโลกาภิวัตน์มากขึ้น

 

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


โทรสาร 0-2273-0181
 
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์"

ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์[1]

 

 

ท่านที่ติดตามบทความของผมมาตลอด 7-8 ปี คงจะเห็นแล้วว่าแต่ละสัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้น และตัวเราวิเคราะห์ให้เป็น เราจะเป็นสังคมการเรียนรู้อย่างแท้จริง กระหายความรู้ นำเอาความรู้ไปใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม
สิ่งแรกที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24
หลายฝ่ายอาจจะไม่เข้าใจประวัติความเป็นมาของท่าน ผมขอเรียนว่า ท่านเป็นทหารมืออาชีพ และเป็นทหารประชาธิปไตย ซี่งดีกว่านักประชาธิปไตยแต่ในรูปแบบ วันนี้ประเทศไทยทำงานแบบ Back to basics ที่เกิดขึ้นทั้งหมดคือ ความถูกต้องและความพอดี หรือหากจะเรียกว่าเป็นความพอเพียงทางการเมือง สังคมและวิถีชีวิตคนไทยคือเดินสายกลาง ไม่หลุดโลกไปทางใดทางหนึ่ง
มี 2 ประเด็นที่น่าจะเขียนถึงท่านนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 คือ
ท่านเป็นคนสมถะ ประหยัดและดำรงชีวิตแบบพอเพียงมาตลอด อุปนิสัยจะช่วยให้บทบาทของท่านนายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นตัวอย่างที่ดี " Role Model " ของคนไทยคือ หลังจากรับตำแหน่ง ท่านได้ไปกราบสมเด็จพระสังฆราช และไปพบผู้ใหญ่ที่ท่านเคารพนับถือ คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
หนังสือพิมพ์ The Nation เขียนว่า ช่วงที่นายกฯทักษิณชนะการเลือกตั้ง ท่านไป ช็อปปิ้งที่ เอ็มโพเรียม และดื่มกาแฟที่ Starbucks เป็นการเปรียบเทียบวิถีชีวิตของท่านทั้งสองได้ดี
อีกเรื่องหนึ่ง ภาพของนายกฯ สุรยุทธ์ จะนำไปสู่ภาพของความพอเพียง และเป็นภาพที่สร้างความจริงของสังคมไทย คือจะเจริญทางด้านวัตถุไม่พอ ต้องมี
Heritage
รากเหง้า
Head
คิดเป็น
Heart
มีคุณธรรม
Happiness
มีความสุข ความสมดุลในชีวิต
ในช่วง 1 ปีนี้ที่สำคัญคือ รูปแบบผู้นำของท่าน จะทำให้นิสัยของคนไทย ที่ฟุ้งเฟ้อ ลดน้อยลง สิ่งไม่ดีต่างๆ เช่น ความอยากได้ทุกอย่างเร็วๆ นิยมตะวันตก นิยมวัตถุ การไม่เคารพรากเหง้าหรือประวัติศาสตร์ของตัวเอง มองมนุษย์โดยไม่เน้นการเคารพ ( Respect ) และความมีศักดิ์ศรี ( Dignity ) อาจจะดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะหากท่านนายกฯ คนใหม่เน้นเรื่องสังคมเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวิถีชีวิตของคนไทยอย่างเป็นรูปธรรมและมองสังคมแบบยั่งยืนเป็นหลัก
ประเด็นนี้น่าสนใจ เพราะยุคคุณทักษิณ ไม่ใช่แค่ระบอบทักษิณ แต่เป็นวัฒนธรรมการคิดแบบคุณทักษิณที่เน้นเงินและอำนาจ แบบทุนนิยมที่ไร้ขอบเขต ไร้จิตวิญญาณเป็นหลัก ซึ่งในที่สุดแล้ว ไม่เหมาะกับสังคมไทยในระยะยาว จึงต้อง back to basics หลังจากเหตุการณ์รัฐประหารผ่านไป 2 สัปดาห์กว่า สิ่งหนึ่งที่ผมได้เขียนไปแล้วช่วงแรกคือ การสร้างความเข้าใจกับประชาคมโลก เพราะโลกาภิวัตน์ มีหลายเรื่องที่กระทบเรา เช่น
- Information Technology
เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
-
เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA
-
เรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน
-
บทบาทของจีน อินเดีย และลาตินอเมริกา
-
เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right
-
เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ
-
เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย
-
เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน
-
เรื่อง Bird Flu หรือไข้หวัดนก
เรื่องใหญ่คือ เรื่องมาตรฐานประชาธิปไตยกับสิทธิมนุษยชนของตะวันตก
จริงอยู่ การศึกษากำหนดมาตรฐานต่างๆ ต้องเน้นทฤษฎี 2 R's ของผมซี่งเน้นว่า จะวิเคราะห์อะไรต้องประกอบด้วย :
Reality
ความจริง
Relevance
ตรงประเด็น
ประชาธิปไตยภายใต้ระบอบทักษิณเป็นเรื่องไม่ปกติ หากปกติคงจะไม่มีการขัดแย้ง ไม่มีคดียุบพรรค ไม่มีคดีฉ้อราษฎร์บังหลวง ความแตกแยกในสังคมไทย ขาดคุณธรรม จริยธรรม
ดังนั้น คนไทยจะต้องอธิบายว่า ปฏิวัติเกิดขึ้นเพราะอะไร ความจริงคืออะไร และแสดงให้เห็นว่า มาแก้ไขเพื่อไปประชาธิปไตยที่ดีในอนาคต ไม่ใช่เห็นรถถังก็กลัว คล้ายว่าถอยหลัง 1 ก้าว เพื่อไปข้างหน้า 2 ก้าวอย่างมั่นคงและยั่งยืน
การอธิบายต่อสังคมโลกเป็นสิ่งสำคัญ อย่าให้มาตรฐานของตะวันตกเป็นมาตรฐานโลกมากำหนดตัวเราเท่านั้น สหรัฐอเมริกายังไม่เห็นพูดถึงประชาธิปไตยในปากีสถาน บางครั้งอเมริกาก็มี Double Standard ด้วย จึงขอเรียนว่า อย่าตกใจไปกับข่าวทางลบของต่างประเทศมากเกินไป ผมคิดว่าอธิบายได้ ผมเป็นคนหนึ่งที่อธิบายให้เพื่อนต่างประเทศทุกวัน
หวังว่าข่าวรัฐประหารจะค่อยๆ จางไป แต่จะขอฝากท่านนายกฯ คนใหม่คือ เรื่องปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปให้คนไทยคิดเป็น เป็นสังคมการเรียนรู้ อยากรู้ อยากมีทุนทางปัญญา ไม่ใช่เห็นแก่ใบปริญญาเท่านั้น โดยเฉพาะในภาคอีสานและภาคเหนือ ประชากรส่วนมาก รอให้รัฐบาลช่วยเหลือ จะทำอย่างไรให้เขาพึ่งตัวเองได้มากขึ้น เพราะงานของรัฐบาลชั่วคราวที่สำคัญ ต้องปรับอุปนิสัยแบมือขอ ที่รัฐบาลไทยรักไทยทำอย่างต่อเนื่องมา 6 ปีเต็ม อบต.หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นต่างๆ จะมองการสร้างภูมิคุ้มกันให้ชาวชนบทอย่างไร การจะให้อะไรแบบประชานิยม ก็ต้องแน่ใจว่าระยะยาวอยู่รอดและเข้มแข็งขึ้น
หนังสือพิมพ์ Herald Tribune เขียนว่าการทำให้ชาวบ้านพอใจนั้น พรรคไทยรักไทยเก่งมาก เขาเน้นการตลาด การคิดนอกกรอบ การมีนวัตกรรมทางนโยบาย การใช้พลังทุกอย่าง ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะต้องมีความเข้าใจ และปรับนโยบายระยะยาว ต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย
ขอจบด้วยการเล่าถึงโครงการต่อเนื่องที่ผมทำอยู่ 2 โครงการคือ
โครงการ Learning Forum ที่ Ho Chi Minh ที่ได้จัดไปเมื่อวันศุกร์ที่ 29 กันยายน ซึ่งได้เห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีคุณค่าต่อผู้นำทางภาคเกษตรของเวียดนามมาก เขาศึกษาอย่างละเอียด และมีบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนความคิดที่น่าสนใจ ยิ่งกว่านั้น เวียดนามจะขอมาดูงานที่ประเทศไทยด้วย ต้องถือโอกาสขอบคุณท่านกงสุลใหญ่ คุณสมปอง สงวนบรรพ์ และเจ้าหน้าที่ของสถานกงสุล คุณปาริฉัตร ลื้อไพบูลย์พันธ์ คุณพิมพ์พิรี ไพรามาน การทูตภาคประชาชนต้องมีรัฐบาลมาเป็นแนวร่วมด้วย
กงสุลใหญ่ ท่านเป็นคนใฝ่รู้ ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศมาก เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสถานกงสุลมานั่งฟังตลอด ได้เห็นวิธีการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม
ผมได้กลับไปที่โรงเรียนบ้านแพง จังหวัดมหาสารคาม เป็นครั้งที่ 3 ในช่วง 3 ปี กลับไปสร้างสังคมการเรียนรู้กับเด็กนักเรียนกว่า 400 คน ผอ.วาสนา เลื่อมเงิน เป็นลูกศิษย์ผม และเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนที่ทำงานนอกกรอบ สนใจการสร้างแนวร่วม Network ลูกศิษย์ก็กระตือรือร้น เช่น กลุ่มมัธยมศึกษา บอกว่า จะให้ผมและมูลนิธิฯ ช่วยสนับสนุนให้มาดูอุทยานวิทยาศาสตร์ในจังหวัดปทุมธานี การศึกษาในอนาคตไม่สามารถจะใช้แบบการบริหารในกล่อง รอให้รัฐบาลมาช่วย ต้องกระโดดออกนอกกล่อง พึ่งตัวเอง และให้นักเรียนเป็นผู้ได้ประโยชน์ ไม่ใช่ผู้อำนวยการโรงเรียนวิ่งหาตำแหน่ง เพื่อจะได้ C8 ตลอดเวลา

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์"(ต่อ)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ/สมาชิกสมาคมรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฯ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

เช้านี้ วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความ บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์[1]ในบทความนี้          ศ.ดร. จีระ เขียน ถึงนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจ และท่านได้เล่าเรื่องสำคัญที่ท่านได้ทำประโยชน์แก่สังคมไว้อย่างน่าสนใจเช่นกัน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ  


สิ่งแรกที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ประเด็นนี้ แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ในการตัดสินพระทัยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี  งานนี้ ถ้าไม่ใช่คนดี มีคุณธรรม และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย จนเป็นที่ประจักษ์ แก่ราษฎรอย่างท่านองคมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ก็อาจจะทำให้มีประท้วงครั้งใหญ่และอาจนำไปสู่การปฏิวัติซ้อนได้  เป็นแบบอย่างที่ดีในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา  เหมือนให้ยาที่ถูกกับโรคที่เกิดขึ้น  ในองค์กรถ้ามีปัญหาแล้วคิดให้รอบคอบ มองการณ์ไกล รองรับปัญหาที่คาดว่าน่าจะเกิด แล้วตัดสินใจบนหลักการและเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ เป็นใหญ่ การตัดสินใจแก้ไขปัญหานั้นก็จะบรรลุวัตถุประสงค์   ผมชื่นชม และขอสรรเสริญคณะองคมนตรีด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูง ที่พวกท่านคอยถวายการดูแล ช่วยเหลือภารกิจ ต่าง ๆ ของพระองค์ท่าน เป็นอย่างดี  เป็นตัวอย่างที่ดีของการทำงานเป็นทีม ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์    
มี 2 ประเด็นที่น่าจะเขียนถึงท่านนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 คือ
ท่านเป็นคนสมถะ ประหยัดและดำรงชีวิตแบบพอเพียงมาตลอด อุปนิสัยจะช่วยให้บทบาทของท่านนายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นตัวอย่างที่ดี " Role Model " ของคนไทยคือ หลังจากรับตำแหน่ง ท่านได้ไปกราบสมเด็จพระสังฆราช และไปพบผู้ใหญ่ที่ท่านเคารพนับถือ คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ผมสนใจและประทับใจ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มากขึ้น เมื่อครั้งทราบข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับว่า เมื่อท่านพ้นจากตำแหน่งทางราชการแล้ว ท่านหันไปบวช เพื่อต้องสละกิเลสทั้งหลาย ใช้ชีวิตเรียบง่ายสันโดษ มีคุณค่า อันที่จริง คนระดับนี้ พร้อมที่จะเลือกหาความสุขได้หลายรูปแบบ แต่กลับเลือกมาทางพุทธศาสนาเป็นเครื่องชี้นำ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่าสรรเสริญ อย่างยิ่ง  เป็นแบบอย่างที่ดีของการดำเนินชีวิตที่มีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  ภาพที่ท่านใช้ชีวิตเรียบง่าย ชอบเดินป่า และภาพการออกบวช เดินบิณฑบาต ยังอยู่ในความทรงจำของคนไทยได้ดี 

อีกเรื่องหนึ่ง ภาพของนายกฯ สุรยุทธ์ จะนำไปสู่ภาพของความพอเพียง และเป็นภาพที่สร้างความจริงของสังคมไทย คือจะเจริญทางด้านวัตถุไม่พอ ต้องมี
Heritage
รากเหง้า
Head
คิดเป็น
Heart
มีคุณธรรม
Happiness
มีความสุข ความสมดุลในชีวิต สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวในประเด็นนี้ ผมคิดว่า เป็นรูปแบบของการดำเนินชีวิตที่ยั่งยืน  การดำเนินชีวิต จะเจริญแต่วัตถุนิยมอย่างเดียวนั้นไม่ยั่งยืน  ต้องเจริญด้วย ศีล สมาธิ สติปัญญา เจริญด้วยทุนที่เกี่ยวกับมนุษย์ ตามทฤษฎี 8K’s ของ ศ.ดร.จีระ  เป็นสิ่งที่ผู้นำประเทศ ควรต้องมียุทธ์ศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ให้เจริญตามแนวคิดที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวถึงไว้อยู่เสมอ ผมยังอยากให้ ศ.ดร.จีระ เข้าไปช่วยรัฐบาลชุดนี้ ในตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงานฯ หรือเป็นที่ปรึกษาขอรัฐบาลชุดนี้ เพื่อกู้วิกฤตทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ของชาติซึ่งยากที่จะหาคนที่มีสายตาแหลมคม มองเห็นปัญหาเรื่องทรัพยากมนุษย์ได้ลึก กว้างและไกลได้เช่นนี้

 

 

ในช่วง 1 ปีนี้ที่สำคัญคือ รูปแบบผู้นำของท่าน จะทำให้นิสัยของคนไทย ที่ฟุ้งเฟ้อ ลดน้อยลง สิ่งไม่ดีต่างๆ เช่น ความอยากได้ทุกอย่างเร็วๆ นิยมตะวันตก นิยมวัตถุ การไม่เคารพรากเหง้าหรือประวัติศาสตร์ของตัวเอง มองมนุษย์โดยไม่เน้นการเคารพ ( Respect ) และความมีศักดิ์ศรี ( Dignity ) อาจจะดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะหากท่านนายกฯ คนใหม่เน้นเรื่องสังคมเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวิถีชีวิตของคนไทยอย่างเป็นรูปธรรมและมองสังคมแบบยั่งยืนเป็นหลัก ผมมีความเชื่อเช่นเดียวกับ ศ.ดร.จีระ ว่า ถ้าผู้นำประเทศ  กระตุ้นให้ทรัพยากรมนุษย์ของชาติ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมให้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของชาวไทย อย่างเห็นผลชัดเจน มีตัวชี้วัดได้ จะเป็นการพัฒนาชาติที่ยั่งยืน ถึงแม้เวลาบริหารประเทศจะกำหนดไว้เพียงไม่เกิน 1 ปี สำหรับรัฐบาลชุดนี้ แต่ถ้ามีทีมคณะรัฐมนตรีที่มีคุณภาพ รู้จริง และอาสา อยากมาช่วยพัฒนา แก้ไขปัญหาบ้านเมืองเพื่อชาติ ก็จะสามารถทำได้ แม้กระทั่งการกำหนดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ควรให้มีและใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วย พื่อกู้วิกฤตทางด้านทรัพยากรมนุษย์

 

สิ่งหนึ่งที่ผมได้เขียนไปแล้วช่วงแรกคือ การสร้างความเข้าใจกับประชาคมโลก เพราะโลกาภิวัตน์ มีหลายเรื่องที่กระทบเรา เช่น
- Information Technology
เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
-
เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA
-
เรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน
-
บทบาทของจีน อินเดีย และลาตินอเมริกา
-
เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right
-
เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ
-
เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย
-
เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน
-
เรื่อง Bird Flu หรือไข้หวัดนก
เรื่องใหญ่คือ เรื่องมาตรฐานประชาธิปไตยกับสิทธิมนุษยชนของตะวันตก

สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวมาในประเด็นนี้ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อประเทศ ต่อประชาชนคนไทยทั้งปัจจุบันและอนาคต และเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญ ที่ควรต้องมีคณะรัฐบาลที่ดี มีฝีมือ มีคุณธรรม มีอุดมการณ์เพื่อชาติ เข้ามาช่วยบริหารจัดการ  และที่น่าเป็นห่วงคือ ท่านจะได้คนดี มีฝีมือเหล่านี้มาอย่างไร เพราะเขาเหล่านั้นมักไม่แสดงตน และใช้ชีวิตเรียบง่ายแบบท่านนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์  
ถอยหลัง 1 ก้าว เพื่อไปข้างหน้า 2 ก้าวอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ผมชอบประโยคนี้ ของ ศ.ดร.จีระ คือเข้าใจง่ายและใช้อธิบายเหตุผลของการปฏิวัติครั้งนี้ให้นักเรียน นักศึกษาเข้าใจได้ดี  เรียกว่า จังหวะของชีวิต บางครั้งในการเดินไปข้างหน้า เมื่อพบปัญหาอุปสรรคบนเส้นทางเดิน ก็จำเป็นต้อง หยุดและถอยหลัง เพื่อก้าวกระโดดไปข้างหน้าให้ได้ไกลกว่าที่ผ่านมา การบริหารจัดการเรียกว่า เป็นศิลปะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ก็ว่าได้ อย่างไรก็ตาม การถอยหลังก็ต้องถอยอย่างรอบคอบ สง่างาม มีการสื่อสารที่ดี มิฉะนั้นประชาคมโลกจะเข้าใจผิด อีกประเด็นหนึ่งก็คือ เมื่อถอยแล้ว การจะก้าวกระโดดไปข้างหน้า ต้องพร้อม มั่นคง ยั่งยืน สง่างามกว่าที่ผ่านมา และช่วงจังหวะหยุดและถอย กับการจะกว้ากระโดด อย่าให้นานจนเกินไป เพื่อรักษาประโยชน์ของชาติ เป็นหลัก


 

หวังว่าข่าวรัฐประหารจะค่อยๆ จางไป แต่จะขอฝากท่านนายกฯ คนใหม่คือ เรื่องปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปให้คนไทยคิดเป็น เป็นสังคมการเรียนรู้ อยากรู้ อยากมีทุนทางปัญญา ไม่ใช่เห็นแก่ใบปริญญาเท่านั้น
ประเด็นนี้ เห็นได้ชัดว่า ระบบการศึกษาสมควรมีการปฏิวัติ และจัดการใหม่  ผมเห็นรัฐบาลหลายคณะ มาบริหารประเทศไม่ค่อยได้เน้นเรื่องนี้อย่างจริงจัง มัวแต่ไปเน้นการก่อสร้าง วัตถุนิยม  ที่อินเดีย เน้นเรื่องการศึกษามากกว่าการสร้างวัตถุนิยม  ผมเชื่อว่าในที่สุดอินเดียจะเป็นประเทศที่พัฒนาแบบยั่งยืนกว่าประเทศจีน ที่ขณะนี้มุ่งเน้นการวางผังเมือง การสร้างอาคารต่าง ๆ อย่างมาก  
หนังสือพิมพ์ Herald Tribune เขียนว่าการทำให้ชาวบ้านพอใจนั้น พรรคไทยรักไทยเก่งมาก เขาเน้นการตลาด การคิดนอกกรอบ การมีนวัตกรรมทางนโยบาย การใช้พลังทุกอย่าง ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะต้องมีความเข้าใจ และปรับนโยบายระยะยาว ต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย

จุดเด่นของพรรคไทยรักไทย คือทำให้ชาวบ้านพอใจโดยใช้ระบอบประชานิยม ในการบริหารนโยบายสาธารณะ มีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี  ดีคือสามารถสนองความต้องการของลูกค้า(ประชาชนได้) รัฐฯควรมองประชาชนเป็นลูกค้า และสนองความต้องการของลูกค้าได้  One stop service ในหน่วยงานราชการหลายแห่ง เกิดขึ้นในยุครัฐบาลของท่านทักษิณ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี รัฐบาลอิเล็คโทรนิค ก็เช่นกัน

 

อย่างไรก็ตามจุดอ่อนคือขาดการวิเคราะห์ผลกระทบระยะยาวในนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมือง ยังขาดหลักการแห่งความยั่งยืน  รัฐบาลยุคท่านทักษิณ เป็นครูที่ดี แก่ผู้นำและสัจจะธรรมชีวิต ทุกอย่างในโลกล้วนมีการเปลี่ยนแปลง และไม่มีอะไรแน่นอนในโลกนี้  เมื่อมีมา ย่อม มีไป เมื่อมีเกิด ย่อมมีแก่ มีเจ็บและตาย

 

อดีตนายกฯทักษิณ ให้บทเรียนที่ดีแก่ผู้นำทั้งหลาย ทุกองค์กร พึงสังวร ขอให้มองการณ์ไกลอย่างที่ ศ.ดร.จีระ เคยสอนนักศึกษาปริญญาเอกว่า อีก 20 ปีจะเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย  และจะแก้ไข ป้องกันอย่างไร  ทำให้คิดต่อไปว่า อีก 20 ปี จะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรา กับเครือข่าย กับทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต และจะบริหารจัดการอย่างไร เป็นสิ่งที่น่าคิดต่อไปว่า หลังจาก 1 ปี ของรัฐบาลชุดนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย  เศรษฐกิจ ส้งคม การเมือง การศึกษาของไทย จะเป็นอย่างไร จะเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และเป็นสิ่งกำหนดอนาคตประเทศไทย 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ    

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน   

ยม  

นักศึกษา ปริญญาเอก  

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต 

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน"(ปรับปรุงใหม่)
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2549  ผมมีกิจกรรม สัมมนา ภาวะผู้นำโลก(Seminar on Global Leadership) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ในหลักสูตร ป.เอก ผมออกเดินทางแต่เช้า เพื่อจะไปร่วม สภากาแฟก่อนมีการสัมมนา จึงส่งข้อควานี้มาช้ากว่าปกติที่เคยทำ หลังจากเขียนเสร็จแล้ว รู้สึกว่า บรรยากาศรอบตัวมีผลต่อการเขียนมาก ไม่ค่อยมีสมาธิเหมือนเขียนเงียบ ๆ ในมุมธรรมชาติ

 

อย่างไรก็ตาม ผมอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ” จาก Interent ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

 

  เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ  
ในความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าเรื่องการ Listen and Learn ที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวไว้ สำคัญต่อการเป็นผู้นำยุคใหม่อย่างมาก
ผมคิดว่า Competency หรือ สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่จะเกี่ยวข้องกับสมรรถนะในการ  
  • Link หมายถึง ขีดความสามารถในการสร้างเครือข่าย ความสัมพันธ์ต่อทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง เชิงสร้างสรรค์
  • Listen หมายถึง ขีดความสามารถในการฟังผู้อื่น ไม่เอาแต่สังการ ควบคุม แต่ฝ่ายเดียว การฟัง ด้วยเหตุ ด้วยผล ด้วยสติปัญญา จะทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ได้
  • Learn   หมายถึงขีดความสามารถในการเรียนรู้สรรพสิ่งทั้งหลาย เรียนรู้จากเหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เรียนรู้ถึงความสำเร็จ ความล้มเหลว ในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต เป็นต้น 

ในอดีต การสรรหา คัดเลือกผู้นำ CEO ในองค์กร มักจะแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการทำงาน ถือว่าเก่ง ครับ แต่ในยุคปัจจุบันและอนาคตแนวคิดนั้นได้เปลี่ยนมาแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการ Link, Listen and Learn เพื่อต้องการหาผู้นำที่สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์  
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป   

ในความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่า  ในสายตาของประชาชนคงเข้าใจว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เป็นบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรี เป็นที่รักและเคารพ อย่างสูง เป็นองคมนตรีของชาติ การที่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี จะพูด จะทำอะไร จึงเป็นสิ่งที่อาจจะมีผลกระทบถึงตัวท่านนายกรัฐมนตรีได้
การฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น การ Link, Listen and Learn เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายควรทำ ทุกฝ่ายควร Know our situation! และร่วมกันประกอบภารกิจด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังกันทุกฝ่าย เหตุการณ์ภาคใต้ รุนแรงมากขึ้น เราจะสามารถกู้สถานการณ์ได้หรือไม่

Can we fix! Broken Government?

Can we fix! The national disunity?

เป็นสิ่งที่คนไทยจะต้องสมานฉันท์ ร่วมมือกัน ผมเชื่อว่า ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในบ้านของเรา ย่อมแก้ไขได้ด้วยคนในบ้านของเราเช่นกัน  

 

ประเทศไทยจะต้อง Compete international เพื่อที่จะลดความยกจนลง Economic growth ควรจะต้อง ได้ 6% GDP 

 

ขณะนี้ เราเผชิญปัญหาหลายอย่าง ผมในฐานะคนไทยด้วยกัน ขอแสดงความเห็นใจรัฐบาล และผู้รับอาสาเข้ามาบริหารบ้านเมือง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีคนจน 60% อีสานเป็นภาคที่จนที่สุดในประเทศ ทรัพยากรมนุษย์ส่วนใหญ่ขาดคุณภาพ ด้อยโอกาสทางการศึกษาและอาชีพ ทั้งที่เป็นคนดีมีน้ำใจ 
อีสานเป็นดินแดนไม่สมบูรณ์เหมือนภาคกลาง ไม่มีทางออกทะเล ดินฟ้าอากาศมีผลต่อการประกอบอาชีพ ผลผลิตเกษตรต่อไร่ตกต่ำ การติดต่อค้าขายกับชายแดนต่ำ การใช้เงินภาคสาธารณะต่ำ Low Public spending  อาชีวอนามัยแม่และเด็กยังคงมีปัญหา ส่งผลต่อสมองและความฉลาดของเด็กไทยในอีสาน

 

ที่สำคัญที่สุดเราหนีไม่พ้นที่จะต้องแข่งขันกับโลก  การศึกษาสำคัญที่สุดควรจะต้องรีบเร่งแก้ไขปรับปรุง

 

การลงทุนภาคเอกชน ชะลอการลงทุนเกือบถึงขั้นหยุดชะงักมาหลายปี(Reluctance) แนวโน้มจะมีมากขึ้นหรือน้อยลง ผมไม่แน่ใจ 

 

แรงงานมีทักษะ ความรู้ต่ำ แรงงานต่างด้าวคุณภาพต่ำเข้ามาผสมผสานมากขึ้นมีทั้งถูกต้องไม่ถูกต้อง
การปฏิรูปสถาบันการเงินยังมีขีดจำกัดในภาพรวมทางเศรษฐกิจ  การขาดแคลนแรงงานทีมีความสามารถเป็นข้อจำกัดในการลงทุน Skill Labor
นอกจากนี้ จุดอ่อนของประเทศไทยประการหนึ่งคือ Staff นักบริหารอ่อน องค์ความรู้เพื่ออนาคต อ่อน IT ควรต้องมีแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

 

จุดแข็งในการใช้แรงงานราคาถูกของไทย เช่น โรงงานทอผ้า ธุรกิจ Garment รองเท้าฯ ได้สูญเสีย Competitive edge ให้แก่ประเทศจีนและเวียดนามไปแล้ว และ 2 ประเทศนี้ได้พัฒนาการศึกษา เทคโนโลยีอย่างรวดเร็วนำหน้าประเทศไทยไป  
สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องท้าทายรัฐบาลทุกยุคสมัย เป็นเรื่องท้าทายวิสัยทัศน์ ความคิด การกระทำของกลุ่มสมัชชา และความร่วมมือของคนไทยทั้งชาติ  

 

ประชาชนทุกส่วน ควรเพิ่มและส่งเสริมความสมานทฉันท์ ช่วยเหลือกันและกัน เพื่อชาติจริง ๆ ร่วมมือกันช่วยรัฐบาลในการพัฒนาประเทศให้สำเร็จ   ยุติความขัดแย้ง หันมาแก้ปัญหาประชาธิปไตยด้วยความสงบสุข เคารพในศักดิ์ศรี ในศักยภาพของคนทุกคน ต้องเชื่อว่าคนทุกคนมีคุณค่าทั้งสิ้น ไม่มองใครต่ำ ใครสูง 

 

 

คณะรัฐมนตรี ต้องเร่งบริหารประเทศให้พ้นภัย ให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด ด้วยการทำงาน Fast, smart to meet highest Standard
วิสัยทัศน์ของชาติต้องชัดเจน และยั่งยืน เน้นความสงบสุขของบ้านเมือง และประโยชน์ของประชาชน ไม่ทำลาย ไม่กล่าวร้ายใคร อะไรก็ตามที่เป็นอุปสรรคสร้างและพัฒนาชาติควรขจัดออกไป ควรต้องสนองแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของเรา   ผสมผสานบูรณาการแนวคิดทางการบริหาร ทฤษฎีอื่น ๆ ทั้งแนวพุทธศาสตร์ อิสราม คริสต์ฯ มาพัฒนาชาติของเราให้เข้มแข็งโดยเร็ว

 

รัฐบาลใด ชาติใดก็ตามถ้าเริ่มต้นบริหารชาติด้วยดี พลีอุดมการณ์ให้ชาติ เพื่อคนรุ่นหลัง  เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติแล้วนั้น นั่นคืออนุสาวรีย์ที่ปักแน่นในจิตวิญญาณของคนทั้งประเทศ 

สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

 

ผมคิดว่า สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่เป็นแบบอย่างที่ดีที่ผมประทับใจ อาจารย์เป็นกลาง มีคุณธรรม มีอุดมการณ์ มีเสียสละ เพื่อส่วนรวม อาจารย์ทำงานที่มีประโยชน์กับสังคม โดยหวังให้ผู้อื่นเป็นสุข หวังให้ชาติเจริญ เป็นงานพัฒนาทรัยพากรมนุษย์ที่แท้จริงในทุกระดับ ทั้งในและต่างประเทศ   สมกับเป็น HR สายพันธ์แท้  รัฐบาลและองค์กรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกระดับ ควรให้การสนับสนุน ทั้งทางตรงและทางอ้อม  
นักศึกษา ลูกศิษย์ ของอาจารย์ หากมีโอกาส ก็ควรเข้ามาช่วยสนับสนุนอาจารย์ ทุกรูปแบบ ด้วยความมีอุดมการณ์ ความมีชาตินิยม และเรียนรู้วิถี แนวทางของ ศ.ดร.จีระ เพื่อต่อยอด เป็นแนวร่วมอุดมการณ์ ครับ

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต

 

 

ที่ ศ.ดร.จีระ ทำ Knowledge camping นี้ ผมเห็นว่า เป็น Good Model ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างมาก เป็นประโยชน์ในการสร่างเยาวชน ให้เป็นผู้นำในอนาคต
การปฏิรูปการศึกษาบ้านเรา ควรมีวิธีการเรียนรู้แบบนี้ สอดใส่เข้าไปในการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมฯ ถึง มหาวิทยาลัย และถ้าทุกสถานบันการศึกษาทำได้ ผมเชื่อว่าเราจะมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในอนาคตมากพอ เป็นการสร้างคนเพื่อสร้างชาติไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืนยิ่งขึ้น

อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning

ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว 

 

ประเด็นนี้ ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำเรื่อง การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ไม่ธรรมดาเลย  ทำให้คนอินเดียประทับใจและทึ่งคนไทยไปอีกนานด้วยความสามารถของ ศ.ดร.จีระ
ผมเสนอเพิ่มเติมว่า การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC น่าจะมีอีกหลายเรื่องที่ทำได้และจะเป็นประโยชน์กับไทยมาก เช่น ในเรื่องการให้ความร่วมมือเรื่องการพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ให้แก่ครูและนักเรียนในชนบทยากจน ทำอย่างไรให้เด็กไทยพูดภาษาอังกฤษได้เหมือนเด็กอินเดีย  
IT CITY ในรัฐบังกาลอร์ ของอินเดีย เป็นตัวอย่างที่ดี ในเรื่องการบริหาร Talent people การแลกเปลี่ยน นักศึกษา ป.โท ป.เอก ในด้านพลังงานเพื่ออนาคต การวิจัยปัญหาของโลก ปัญหาของ APEC เช่น ด้านการป้องกันภัยวิบัติของโลก Global warming การป้องกันการก่อการร้ายข้ามชาติ การอนุรักษ์วัฒนธรรม ไทย อินเดีย การส่งเสริมและปฏิบัติตามหลักศาสนา เป็นต้น ครับ

นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย

 

ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านว่า การคิดแบบ CEO ที่เป็นเลิศ ควรต้องคิดโดยใช้สมองทั้งสองด้าน ทั้งซีกซ้ายและขวาด้วย คือต้องมองอะไรได้ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เช่น ไม่คิดว่าแนวคิดตะวันตกดีเลิศ มองแนวคิดตะวันออกแบบติดลบ ต้องคิดบูรณาการทั้งตะวันออก และตะวันตกเข้าด้วยกัน จะได้จุดแข็งทั้งสองซีกโลกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม เป็นต้น

 

คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์

 

ผมคิดว่า การปฏิรูปการเรียนการสอน การศึกษาของบ้านเรา  น่าจะนำแนวคิด แนวปฏิบัติ ของ ศ.ดร.จีระ มาเป็นส่วนหนึ่งใน

ในการพัฒนาระบบการศึกษา

 

ผมสังเกตเห็นว่า อาจารย์ทำแล้วได้ผล อาจารย์สามารถขุดความสามารถของนักเรียน นักศึกษาได้ อาจารย์ทำให้นักเรียน นักศึกษาจำนวนมาก (ในเวลาที่จำกัด) ที่ไม่ค่อยพูดซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเก่ง ได้มีโอกาสได้แสดงความเก่งขึ้นมาอย่างน่าทึ่ง ให้นักเรียน นักศึกษาได้แชร์ความรู้ ได้ปะทะกันทางปัญญา เหมือนพระสนทนาธรรม เหมือนจอมยุทธ์ได้ปะลองฝีมือ ปัญญาย่อมเกิด ฝีมือย่อมพัฒนาขึ้นได้แน่นอน

 

และที่สำคัญคือท่านที่สนใจวิธีการมองคนที่เป็นเลิศ ของ ศ.ดร.จีระ ว่าท่านทำอย่างไรจึงมีสายตาที่เฉียบคม มองเห็นในสิ่งที่ CEO ผู้นำ หรือคนอื่น มองไม่เห็น อาจารย์มีเทคนิคในการมองลูกศิษย์ทุกระดับ ได้เหมือนมีแว่นวิเศษ ครับ สุดท้ายก่อนจบการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นวันนี้ ผมฝากไว้เกี่ยวกับ  Brain Power 
 “We live in the world where almost anything is a new possibility. The nature of work is changing. It is becoming increasingly brain intensive, value oriented, and unpredictable.   Skilled brain power is replacing disciplined muscle power. 

 

We want everyone to be seen as an achiever, an innovator, a seeker of the unknown to build a better world together.  The effective development of brain power within a nation will decide the prosperity of the country in the future.”   
ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ        
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน     
            
ยม  
นักศึกษาปริญญาเอก 
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน"

ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน[1]

 

เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ
ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง
ผมหวังว่า งานดังกล่าวจะก้าวไปด้วยดี และสร้างความเข้าใจได้ถูกต้อง
ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป
สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระยะนี้ ท่านผู้อ่านอาจจะใช้สื่อทางวิทยุมากขึ้น เพราะสื่อทางโทรทัศน์ยังไม่เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก
ในขณะที่สื่อวิทยุ เช่น FM 96.5 MHz. ทั้ง 24 ชั่วโมง มีความคิดดี ๆ ออกมาจากผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน ทันเหตุการณ์ ผมยังต้องติดตามใกล้ชิด
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต
อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning
ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว
เอเชียต้องมีฐานความรู้ของตัวเอง ร่วมมือกับตะวันตกได้ โดยไม่ลอกความคิดของตะวันตกอย่างเดียว
นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย
คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์
ผมโชคดีได้เปลี่ยนแนวการสอนมากว่า 10 ปีแล้ว ไม่ว่าจะสอนที่ไหน จะให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และสรุปร่วมกัน ทุกวันนี้มีคนสนใจเรื่องนี้มากขึ้น ล่าสุดองค์กรบริหารส่วนตำบล ซึ่งจะนำเศรษฐกิจพอเพียงไปให้เขาคิด เช่นเดียวกับข้าราชการระดับ C7 , C8 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของรองปลัดสุทธิพร จีระพันธุ ซึ่งเป็นผู้สนใจวิธีการเรียนแบบใหม่

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
สุภพบุรุษเทพศิรินทร์
   เรียนพี่ศ.ดร.จีระ และผูชมเวปทุกท่าน อย่างที่ทุกท่านได้กล่าวมา  กระผมกลับมีความคิดว่าการที่เราพัฒนาผู้นำควรพัฒนาจากการควมคุมตนเองให้ได้เสียก่อน  ถ้าไม่สามารถควบคุมตนเองให้อยู่ในศีลธรรม และ มีความขยัน  คำว่าขยันนี้หมายถึง  ขยันศึกษา  ขยันพัฒนา  ขยันดูแลหน้าที่ของตน  เลือกคนให้เหมาะกับงาน  คงไม่ต้องเก็บรายละเอียดลึกอย่างที่ทุกท่านกล่าวมาข้างต้น  นี้เป็นแค่มุมมองของเด็กที่คิดว่าคงทำอย่างที่ทุกท่านกล่าวมาข้างต้นไม่ไหว  ถ้าที่กล่าวมาข้างต้นมีความผิดพลาด หรือ เรื่องไม่ควรประการใดขออภัยไว้นะที่นี้ด้วยครับ 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท