QC เครื่องเอกซเรย์ด้วย CR ???


การทำ QC เครื่องเอกซเรย์ เฉพาะการทดสอบที่ใช้ฟิล์มเอกซเรย์ เช่น beam&collimator alignment, focal spot, mAs reciprocity, grid aligment เป็นต้น จะใช้ระบบ CR แทนการใช้ฟิล์มเอกซเรย์ได้หรือไม่

เป็นที่น่ายินดีว่า กระแสในเรื่องคุณภาพมาแรง แสดงให้เห็นว่า มาตรฐานการให้บริการผู้ป่วย ได้ถูกยกระดับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างหนึ่งเล็กๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การควบคุมคุณภาพของเครื่องเอกซเรย์แบบธรรมดาซึ่งทั้งประเทศมีอยู่หลายพันเครื่อง มีความใส่ใจเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในการที่จะเฝ้าระวังและบำรุงรักษาให้มันออยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ แต่การกระทำนั้น จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่าย ได้แก่ เครื่องมือในการทำ QC, วัสดุต่างๆ(ฟิล์ม น้ำยา ฯลฯ) เป็นต้น ค่าใช้จ่ายนี้หลายท่านคิดว่าค่อนข้างสูง อาจจะไม่สามารถชดเชยกับปริมาณฟิล์มเสียที่เกิดขึ้นหากไม่มีการทำ QC โดยเฉพาะผู้บริหารที่ต้องปวดหัวกับเรื่องงบประมาณ

ขณะเดียวกัน เทคโนโลยีการถ่ายภาพเอกซเรย์ธรรมดาแบบ digital (filmless) เช่น CR (computed radiography) เริ่มเข้ามาใช้ร่วมหรือแทนที่มากขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราที่อาจจะยังไม่รวดเร็วมากนัก เพราะมีปัจจัยเรื่องงบประมาณขวางอยู่ พูดง่ายๆว่ายังแพงอยู่สำหรับ รพช.ทุกแห่งจะจัดหามาใช้ (ต่อไปถ้าถูกลงอีกก็ไม่แน่) แต่ รพศ. หรือโรงพยาบาลใหญ่ๆ อาจพอหาได้

ขอตั้งข้อสังเกต โดยการตั้งคำถามถึงชาวเราทั้งหลายว่า "การทำ QC เครื่องเอกซเรย์ เฉพาะการทดสอบที่ใช้ฟิล์มเอกซเรย์ เช่น beam&collimator alignment, focal spot, mAs reciprocity, grid aligment เป็นต้น จะใช้ระบบ CR แทนการใช้ฟิล์มเอกซเรย์ได้หรือไม่" เป็นคำถามง่ายๆครับ ชาวเราคิดว่าอย่างไรในเรื่องนี้ ถ้าทำทดแทนกันได้ จะประหยัดงบประมาณ เพราะเท่าที่เปรียบเท่าค่าใช้จ่ายแบบคร่าวๆเมื่อใช้ฟิล์มเอกซเรย์เทียบกับการใช้ CR พบว่า การใช้ CR มีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่ำกว่า 8 เท่า น่าสนใจครับ

หมายเลขบันทึก: 47739เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2006 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
น่าสนใจดีค่ะ ลองทำอยู่ค่ะ ไม่รู้จะทำได้หรือเปล่าเพราะไม่รู้ว่าจะหาความสัมพันธ์ระหว่าง Optical Density&Density Value อย่างไร

ต้องลองซื้อแจก/หรือสมัครเข้าร่วมโครงการ /แล้วแจกไปให้ทำ การจัดการต้องดี..

 

อ.มนัสครับ ฝากประชาสัมพันธ์ด้วยครับ

(คงจำได้นะครับ ครั้งสุดท้ายเจอกันที่ธรรมศาสตร์ งานครบรอบสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ.)

ถ้าใครมีแนวคิดเชิงทฤษฎีที่ defense ได้ว่าเครื่องมือที่คิดขึ้นนั้นในเชิงหลักการนี้เป็นไปได้แน่ และถ้ามีทุนสามารถทำได้

ให้ติดต่อเข้ามา present ได้เลยครับ มีทุนให้ และจะแนะวิธีการทำตลาดในเชิงพาณิชย์ให้ด้วย

รวมถึงแนวคิดอื่นๆในทำนองนี้ เช่น อยากจะทำเครื่องถ่ายแบบ filmless ถ้ามีความรู้พอก็ได้ครับ จะได้ไม่ต้องนำเข้าเทคโนโลยีต่างประเทศ

อย่าว่าแต่ รพ.ทั่วไปเลยครับ รพ.มหาวิทยาลัยยังไม่มีปัญญาซื้อเลยครับ

แทนที่จะตามเขา ทำไมเราไม่คิดถ่ายเอ็กซเรย์แล้วปริ้นลงกระดาษหรือpolaroidเลยครับ แบบนี้ก็น่าสนใจเหมือนกัน

คุณเปิ้ล ถ้าสนใจลองติดต่อเข้ามาดูครับ อาจขอเป็นทุนวิจัยร่วมกับ NECTEC ก็ได้ครับ

เปิ้ล (ทิพวิมล มีไชย)

สวัสดีค่ะ คุณพลาเดช

พอดีได้อ่านข้อความของคุณพลาเดชนะคะ คือตอนนี้เปิ้ลทำวิจัยเรื่องนี้อยู่กับ อ.มานัสน่ะค่ะ แต่ไม่รู้ว่าจะออกหัวออกก้อยยังไงไม่ทราบเหมือนกัน มีแนวทางที่พอเป็นไปได้ แต่ยังไม่ทราบว่าจะ Innovation ของ Technology ตัวนี้จะออกมาในรูปแบบไหนดี ถึงจะก่อนให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ขอบคุณมากนะคะที่ร่วมนำเสนอวิธีการ ส่วนเรื่องทุนคงต้อง defense proporsal ก่อนน่ะคะ ถึงจะมีสิทธิ์ไปขอทุนตอนนี้ยังเลยค่ะ ต้องรอทำให้ผลออกมาชัวร์กว่านี้ก่อน

เรียนคุณเปิ้ล

ไม่ต้องรอให้เสร็จก่อนหรอกครับ ถ้าเสร็จแล้วจะไปเอาทุนใครเขาจะให้ครับ

น่าจะเริ่มไปพร้อมๆกันเลยครับ

ที่ผมมีผู้เชี่ยวชาญในหลายด้าน อาจจะได้ไอเดียแปลกๆ และถ้าสามารถนำไปก่อให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ก็จะได้การสนับสนุนโดยง่าย

ที่นี่ไม่ใช้ให้ทุนเพื่อทำวิจัยแบบสถาบันอุดมศึกษา

แต่เป็นการวิจัยเพื่อก่อให้เกิดผลกระทบกับสังคม

ผมว่านัดมาเจอกันสักครั้งดีไหมครับ

เขียนเล่าในพื้นที่สั้นๆเข้าใจยากครับ ให้ชวน             อ.ธันพงษ์มาด้วย เพราะแกมีproject เยอะเหมือนกัน น่าเอามาปัดฝุ่นครับ

โทร.0-2564-7200 ต่อ 5370-5373

08.00-17.00 น. จ-ศ

ถ้าผมไม่อยู่ที่โต๊ะ มีคนรับให้บอกวันเวลาได้เลยครับ

มาทานข้าวกลางวันที่นี่ก็ได้ครับ

สักชั่วโมงแล้วน่าจะได้ไอเดีย อาจจะเปลี่นแนวคิดไปเลยก็ได้ครับ

เรื่องเทคโนโลยีรอช้าไม่ได้ล้าสมัยทันที ต้องรีบทำครับ

อยากทราบเรื่องราวที่นี่เบื้องต้น ให้เข้าไปที่ www.nstda.or.th กับ www.sciencepark.or.th

แล้ว link เข้าศูนย์ย่อย

หรือเมล์มานัดก็ได้ครับ [email protected]

พลาเดช

เปิ้ล (ทิพวิมล มีไชย)

สวัสดีค่ะ คุณพลาเดช

คือตอนนี้เปิ้ลกำลังทำอยู่กับ อ.มานัสน่ะค่ะ แต่ยังไม่ค่อยชัวร์ในเรื่องของวิธีการทดลองที่จะทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพมากกว่านี้ เอาไว้รอปรึกษา อ.มานัสว่าอาจารย์มีความเห็นอย่างไร ต่อการทำแบบนี้เอาให้ดูว่าสามารถจะทำได้และมีความเป็นไปได้ที่จะได้ผลออกมาแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานด้านรังสียังไงถ้ามีความคืบหน้าอย่างไรจะติดต่อคุณพลาเดชอีกทีนะคะ

ขืนไปคุยตอนนี้เปิ้ลคงยังให้คำตอบอะไรที่ดีไปกว่าที่มีอยู่ตอนนี้ไม่ได้ เกรงว่าจะเสียเวลาคุณพลาเดชด้วยหรือปล่าว ต้องรอเรียนปรึกษาท่าน อ.มานัสก่อนน่ะค่ะ

ขอบพระคุณมากนะคะ เป็นเรื่องที่รู้สึกดีและน่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีคนสนใจเรื่องนี้ ขอบคุณมากจริงๆค่ะคงได้ปรึกษาคุณพลาเดชอีกเยอะค่ะ เพราะเปิ้ลก็อยากให้งานออกมามีผลกระทบอะไรต่อสังคมรังสีบ้างไม่ใช่ทำออกมาเฉยๆ แต่คงต้องอ่าน paper เยอะกว่านี้และวางงานให้น่าเชื่อถือมากกว่านี้ก่อนแล้วมีอะไรจะอีเมล์ไปนะคะ

ช่วงนี้ก็พยายามศึกษาค้นคว้าให้เยอะมากที่สุดอยู่น่ะค่ะ โชคดีเหมือนกันที่ได้ อ.มานัสคอยดูแลและให้การช่วยเหลือ และก็ต้องขอบคุณคุณพลาเดชมากๆ เลยค่ะที่สนใจเรื่องนี้ ยังไงเปิ้ลก็จะพยายามทำให้เต็มที่ค่ะหากสามารถวางแผนงานได้ชัดเจนมีอะไรก็คงต้องเรียนปรึกษาคุณพลาเดชบ้างนะคะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์  ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ แต่ผมอ่านไม่ออกครับ เปลี่ยน View ก็ไม่ได้ครับ จงจร Timer ที่ผมมีอยู่ไม่สามารถวัด Pulseได้ ทำให้ไม่สามารถไป energize SCR ให้ ON ได้ ผมรบกวนอาจารย์ช่ายส่งมาให้ผมใหม่ได้ไหมครับ ขอบคุณครับ ...Web ประกายรังสีผมจะได้เข้าไปเยียมบ่อยๆ

 

คุณมงคลครับ

ขอโทษที่ตอบช้า งานมันยุ่งครับ

ส่ง e-mail address มาที่ [email protected]

แล้วผมจะ forward ไปให้

วิธีแก้ถ้า encoding ไม่ได้ ลองกด reply เผื่อได้ครับ

พลาเดช 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท