ประสิทธิภาพและคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


ประสิทธิภาพและคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เราจะมั่นใจในประสิทธิภาพและคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เราสร้างขึ้นได้อย่างไร
            
เราจะมั่นใจในประสิทธิภาพและคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เราสร้างขึ้นได้อย่างไรนั้น เราควรรู้พื้นฐานสำคัญที่จะทำให้ทราบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ที่จะเลือกใช้นั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด  คือ
 1. การประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ โดยผู้เรียน
       มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของบทเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบฝึกหัด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามเจตคติ และแบบรายงานผลการเรียนรายบุคคลที่บันทึกไว้ในโปรแกรมบทเรียน มีวิธีการประเมินอยู่ 3 ขั้นตอน คือ
          1) การทดสอบรายบุคคล เป็นการหาข้อบกพร่องของบทเรียน และการทำงานของโปรแกรม ข้อมูลจะได้จากการสังเกต การสอบถาม การสัมภาษณ์ และอาจได้จากคะแนนการทำแบบฝึกหัด และการทดสอบด้วย
          2) การทดสอบกลุ่มย่อย เป็นการทดสอบการทำงานของบทเรียน และการทำงานของโปรแกรม ข้อมูลจะได้จากคะแนนแบบฝึกหัดในบทเรียน คะแนนการทดสอบก่อนเรียน และคะแนนการทดสอบหลังการเรียน และอาจรวมถึงข้อคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียน การ
สังเกตของผู้ทดลอง
          3) การทดสอบภาคสนาม เป็นการนำบทเรียนที่ได้ปรับปรุงจากการทดสอบกลุ่มย่อยแล้ว นำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริง ข้อมูลได้จากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบฝึกหัดในบทเรียน และ/หรือแบบสอบถามเจตคติของผู้เรียน ส่วนข้อมูลที่ได้จากแบบรายงานผลการเรียนรายบุคคลที่ถูกบันทึกไว้ในโปรแกรมบทเรียน จะมีข้อมูลรายละเอียดที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบบทเรียนและโปรแกรมเมอร์จะได้ออกแบบไว้ แต่อย่างน้อยที่สุด โปรแกรมบทเรียนจะต้องมีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ เวลาในการเรียน คะแนนการทำแบบฝึกหัด คะแนนการทดสอบ (ถ้ามีในโปรแกรม) จำนวนครั้งการตอบ จำนวนครั้งของการ เปิดกรอบย้อนกลับ เป็นต้น

2.  การประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ โดยผู้เชี่ยวชาญ      
       
มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องด้านเนื้อหา หาข้อบกพร่องของบทเรียนและการทำงานของโปรแกรม ตลอดจนคุณภาพทางด้านเทคนิค ผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทสำคัญในการประเมิน ได้แก่
       1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการสอน
       2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผล
       3)
ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน
       4) ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา
        5
) ผู้เชี่ยวชาญด้านนักเทคโนโลยีการศึกษา
        
6 )นักโปรแกรมเมอร์
3.   การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์
       การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ตามแนวคิดนี้พัฒนามาจากการหาเกณฑ์มาตรฐานของบทเรียนโปรแกรม โดยการหา
       
1)      ประสิทธิภาพกระบวนการ (E1) ซึ่งออกมาในรูปของคะแนนในการทำแบบฝึกหัดและ/หรือคะแนนในการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในการสอบก่อนการเรียน              
       
2)      ประสิทธิภาพผลลัพธ์ (E2) ได้มาจากคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้เรียนทำได้คิดเป็นร้อยละเท่าไรของคะแนนเต็มในการทำแบบทดสอบหลังเรียน
                          
แหล่งข้อมูล  :   http://vod.msu.ac.th/   
    ( ศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม )

คำสำคัญ (Tags): #ประสิทธิภาพ#cai
หมายเลขบันทึก: 47738เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2006 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท