จิตตปัญญาเวชศึกษา 186: การฟังเพื่อทราบจังหวะแห่งชีวิต


การฟังเพื่อทราบจังหวะแห่งชีวิต

"Stand By Me" by artists around the world in Album "Playing for Change"

(http://www.youtube.com/watch?v=Us-TVg40ExM)

ช่วงนี้ไม่ทราบเป็นอะไร รู้สึกว่าจำเป็นและอยากจะเขียนเกี่ยวกับเรื่องกาละเทศะบ้าง จังหวะแห่งชีวิตบ้าง theme ของปีนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับ "เวลา" กระมัง

ใน clip ด้านบนมีมาประมาณ 3 ปีแล้ว คนจัดทำได้ใช้นักดนตรีที่เล่นเครื่องดนตรีชนิดต่างๆจากทั่วทุกมุมโลก ใน style street musician คือเล่นแบบง่ายๆ ข้างถนน ไม่มีอะไรพะรุงพะรัง แต่สามารถแสดงออกถึงอารมณ์ ความหมาย และความรู้สึกของดนตรีได้อย่างชัดเจน การถ่ายทำทำโดยที่นักดนตรีแต่ละคนก็ยังอยู่ในภูมิลำเนาเดิมของตน แล้วก็เล่นท่อนที่ตนเองควรจะเล่น นำเอาเพลงทั้งเพลงมา remix ออกเป็นเพลงฉบับสมบูรณ์

ระหว่างที่เล่นเพลงนี้นั้น บางช่วงบางชิ้นก็เล่นนำ บางชิ้นก็เล่นตาม บางจังหวะบางชิ้นก็หยุดและมีบางชิ้นเท่านั้นที่เล่น บางทีบางเครื่องก็เล่นดังๆบางเครื่องก็เล่นค่อยๆ เหมือนภาษาๆหนึ่งที่ไม่เพียงแค่ตัว "คำ" เท่านั้นที่ช่วยสื่อ แต่สำเนียง สำนวน ทีท่าอาการ จังหวะดังค่อย นำ/ตาม หรือแม้แต่การหยุดเล่น การเงียบ ก็เสริมพลังการสื่อเสริมกันทั้งหมด

คนที่อยู่ห่างกันคนละมุมโลก เล่นดนตรีเพลงเดียวกันผสมกันได้อย่างไร?

เราก็จะเห็น "เครื่องมือสำคัญ" ชิ้นหนึ่ง นั่นคือ "หูฟัง" ที่นักดนตรีแต่ละคนจะสวมเอาไว้ เพื่อที่จะทราบว่าเพื่อนๆเล่นไปถึงไหนแล้ว และเราควรจะเข้าไปตรงไหน ตอนไหนควรจะเบาควรจะดัง ตอนไหนควรจะนำควรจะตาม และตอนไหนควรจะหยุดหรือควรจะเล่น

การใช้ชีวิตก็เฉกเช่นเดียวกัน เรามีหู มีโสตสัมผัส ไม่ได้มีไว้เพื่อเข้าใจในความหมายเวลาสนทนากันเฉยๆ การฟังเท่านั้นที่ช่วยให้เรา "เข้าใจในจังหวะชีวิต" ของเรา และผ่านโดยการ "มองเห็นจังหวะชีวิตของคนอื่นๆด้วย"

ในทุกๆวันนี้ มีแต่คนตะโกน กรรโชก ตะคอก เพื่อให้ผู้อื่นได้ยิน ที่จริงเขาคงอยากจะให้เข้าใจด้วย แต่เขาเข้าใจผิดคิดว่าเสียงยิ่งดังคนยิ่งเข้าใจ หรือดันไปนึกว่าคนไม่เข้าใจเพราะไม่ได้ยิน เพราะเสียงเขาค่อยเกินไป

การข่มเขาโคขืนให้ได้ยิน ในที่สุดก็อาจจะทำให้คนได้ยินจริง แต่จะเห็นด้วยหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งอย่างสิ้นเชิง การจะสื่อสารถ้าหวังเรื่อง "ความเข้าใจ" จึงจำเป็นต้องเข้าใจว่าความเข้าใจนั้นอาศัยปัจจัยอะไรบ้าง ไม่เพียงแต่ให้ทำให้ได้ยินเท่านั้น การสื่อสารจึงต้องมีกลยุทธ์ มีการวาง strategy ให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารในเรื่องที่อ่อนไหว โดนอารมณ์คนได้ง่าย เพราะอารมณ์มีอิทธิพลสูงในการให้ความหมายกับข้อมูลที่เราได้รับ คนที่สื่อสารแต่ไม่เข้าใจเรื่องอารมณ์ความรู้สึก หรือเข้าใจแต่ไม่สนใจและไม่ให้ความสำคัญ จะพบว่าตนเองได้แต่สื่อ แต่คนไม่ตอบรับ แล้วก็อาจจะฉงนสนเท่ห์ ไม่ทราบว่าทำไมคนไม่ตอบรับ แล้วก็จะดันทุรังอธิบายเพิ่มเติมโดยไม่สนปัจจัยรอบข้างด้านอารมณ์ความรู้สึกเหมือนเดิม แล้วก็ได้ผลไม่ต่างจากตอนแรก

ทุกวันนี้การศึกษาสูงๆ ไปเน้นที่เนื้อหา เน้น intellectual ด้านตรรกะ เหตุผล ความหมายตามตัวอักษร จนการพัฒนาด้านอารมณ์ความรู้สึก ทั้งของตนเอง และพลอยไปถึงของคนอื่น ด้อยต่ำลงไปอย่างน่าใจหาย คนฉลาดๆจำนวนมากใช้ชีวิตแบบ emotionless ไร้อารมณ์ ไม่เข้าใจอารมณ์ ไม่สนใจอารมณ์ กลายเป็นคนที่ "พร่อง" ไปอย่างน่าเสียดาย

เรื่องที่สำคัญๆนั้น ไม่ได้ซับซ้อนเพียงแค่ระดับปัจเจก แต่ยังซับซ้อนในด้านความสัมพันธ์อีกด้วย หากคนสื่อสาร fail ตั้งแต่ด้านอารมณ์ความรู้สึกของปัจเจกแล้ว ยิ่งยากที่จะ fathom ความมีนัยสำคัญของปัจจัยเหล่านี้ในการเคลื่อนไหวระดับสังคมมหภาค กลยุทธ์ที่ใช้ก็จะวนเวียนอยู่แค่การ debate การ reference การอ้างอิงตำรับตำรา แต่ไม่สามารถที่จะ reference เชื่อมโยงตนเองกับชีวิตที่กระโดดโลดเต้นอยู่เบื้องหน้าได้เลย ไปๆมาๆก็จะพูดวนเวียน beating the dead horse ซึ่งไม่เกิดอะไรขึ้นมา ยิ่งมายิ่งน่ารำคาญ และหมดความหมายไปเรื่อยๆอย่างน่าเสียดาย

การสื่อสารอย่างมี passion มีอารมณ์ความรู้สึกจะมีพลังที่แตกต่างออกไป ใครได้ยินปราศรัยของอดอล์ฟ ฮิตเลอร จะทราบว่านักปราศรัยที่จูงใจคนนั้น เล่นกับ "พลังงาน" มากกว่าแค่สื่อ content เนื้อหาเท่านั้น ไอ้ประเภทนั่งอ่าน script แบบ deadpan หน้าตาแบบ Poker face นั้น คงจะจูงใจคนได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ไม่เห็นด้วย คนที่กำลังโกรธ คนที่รู้สึกว่าความรัก ความศรัทธา และความดีที่เขาเชื่อกำลังถูกคุกคาม ถ้าคนสื่อมองไม่เห็นสิ่งเหล่านี้ด้วยตนเองจริงๆ ก็ไม่เหมาะที่ทำหน้าที่เป็นคนสื่อ เพราะเขาจะสื่อไม่ได้ดี

หมายเลขบันทึก: 477157เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2012 08:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ก็จริงอย่างที่อาจารย์บอกครับ บางทีคนเราก็พยายามที่จะพูดให้ดังๆเพื่อให้คนอื่นได้ยิน และเข้าใจผิดไปว่าสิ่งที่เราสื่อไปนั้นเค้าจะเข้าใจ แต่ผิดถนัด นอกจากไม่เข้าใจแล้ว มันยิ่งทำให้เค้ารำคาญ เพราะมันเป็นคำพูดและภาษาที่อาจดูกระด้าง มันดูแข็งๆ เกินไป ตัวเราเองก็ไม่ได้คำถึงถึงความรู้สึกของผู้ฟัง ว่าเค้ามีอารมณ์คล้อยตามกับสิ่งที่เราพูดและต้องการสื่อมากน้อยเพียงใด จึงส่งผลให้การสื่อสารไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง

เปรียบเสมือนคนใช้เครื่องเสียง นึกว่าปรับได้แค่ volume อย่างเดียว หารู้ไม่ว่ามันยังปรับ equalizer ได้เป็นคลื่นๆไปเลย ทั้ง bass ทั้งอะไรก็ปรับได้ เพื่อสื่อเสียงที่ดีที่สุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท