วิถีชาวบ้าน


การหาต่อ อาชีพเสริมของชาวสวน

ช่วงเช้าของวันใหม่ ต้นปี๕๕ ได้ออกไปสวนยางพารา ในพื้นที่ข้างโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ได้พบกับกลุ่มวัยรุ่น ๔ คน นั่งรถจักรยานยนต์มา แล้วก็จอดรถเดินเข้าไปในสวนยางที่กำลังปลูกใหม่ๆ จากนั้นก็ช่วยกันมองหาแมลงชนิดหนึ่ง บินมาคาบเอาเหยื่อ แมลงนั้นคือตัวต่อ จากนั้นก็แบ่งกันติดตามตัวต่อกันเป็นช่วงๆ ประมาณ ๖๐-๑๐๐ เมตร เมื่อเห็นแล้วก็วิ่งตามโดย ส่งเสียงให้สัญญาณกันรับช่วงต่อไป จนถึงคนสุดท้ายก็จะตามดูว่า ตัวต่อนั้นไปจับที่ไหนแล้วก็จะจ้องจับดูว่าจะมีรังอยู่ตรงไหน เมื่อพบรังแล้วก็จะหมายเอาไว้ ตอนเย็นก็จะมาเอารังไป ถ้ารังยังเล็กๆ ก็จะเอาไปเลี้ยงไว้ หรือถ้ารังขนาดใหญ่ก็จะเอาลูกอ่อนไปกิน รังนั้นถ้านานไปก็จะร้าง เพราะแม่ต่อออกไปสร้างรังใหม่ รังนั้นก็จะเอาไปประดับบ้านเรือนหรือนำไปขาย เพราะลายของรังต่อมีสีสันลวดลายธรรมชาติที่สวยงามมาก

                จากการได้สอบถามชาวบ้านกลุ่มหนึ่งถึงความเป็นมาพบว่า แรกๆ ก็ไปหาแย้ หากะปอม หาเห็ด บังเอิญไปพบรังต่อเข้า จึงได้เอาไปเลี้ยงไว้ แล้วสังเกตดูว่าแม่ตัวต่อนั้นออกไปหากินอย่างไร เมื่อออกทางไหนก็จะกลับมาทางนั้น การจะติดตามได้แต่ละรังนั้น ก็จะใช้เวลานานประมาณ ๑-๒ ชั่วโมง     

 ดังนั้น การหาต่อจึงมิใช่อาชีพหลัก แต่ก็รายได้ดี เพราะผู้มีเงินมักจะเอารังต่อไปประดับไว้ที่บ้าน ส่วนแม่ต่อไม่ต้องถามถึงเพราะหากโดยต่อยเข้า แม่เจ้าพระคุณเจ็บปวดไปหลายวัน หรือหากโดยต่อยเข้าหลายๆ ตัวก็ต้องหามเข้าโลงได้ ดังนั้นจึงมีคำพูดเสมอว่า “ถ้าต่อไปไม่ว่า ถ้าต่อมา ตัวใครตัวมัน” 

“ตัวต่อส่วนใหญ่จะทำรังในฤดูร้อนหน้ามีนา เมษาและจะมีลูกเยอะ”

“การหาต่อไม่ยาก ตัวต่อจะออกมาคาบดอกหญ้า หรือหญ้าแห้งไปผสมกับน้ำลายทำรัง มีสีที่สวยงามมาก”

“ตัวแม่ต่อ จะบินออกทางที่เขาเคยออกไปเสมอ การตัดเอารังต่อไปเลี้ยงจึงต้องจำไว้ว่าปากรังเขาหันหน้าไปทางไหนเมื่อนำไปเลี้ยงก็ต้องหันหน้าไปทางนั้น

“ต่อเสือ จะมีความดุร้ายหรือมีพิษ น้อยกว่าต่อหลุม”

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/438629

คำสำคัญ (Tags): #มหาจุฬาฯอุบล
หมายเลขบันทึก: 477150เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2012 08:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ที่โรงเรียนที่เคยสอน มีรังต่อหัวเสือเยอะ ที่เรียกรังต่อหัวเสือคงเป็นเพราะ ลักษณะรัง มีลายเหมือนลายเสือ และเหมือนหัวเสือ

ไม่มีใครกล้าเลี้ยง เพ่ิงรู้ว่า เลี้ยงได้ "ต่อไปไม่ว่า ถ้าต่อมา ก็ตัวใคร ตัวมัน" 555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท