เทางามสัมพันธ์ : การเรียนรู้คู่การบริการวิชาการแก่สังคม


ถึงจะไม่อัดแน่นไปด้วยคุณภาพทางวิชาการเหมือนการบริการวิชาการในนิยามทั่วไป แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นในมิติของเทา-งามสัมพันธ์นั้น เป็นกิจกรรมที่บูรณาการการทำงานอย่างแท้จริง นิสิตนักศึกษาทุกสถาบัน มีโอกาสได้คิดและได้ทำกิจกรรมทุกๆ ด้านที่เกิดขึ้นในค่าย

 

ภายหลังเทา-งามสัมพันธ์ ครั้งที่ ๕ ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นเจ้าภาพเสร็จสิ้นลง  ก่อเกิดปรากฏการณ์เชิงรุกที่เป็นพัฒนาการของเทา-งามสัมพันธ์ของกลุ่มพัฒนานิสิตจากที่เคยมุ่งเน้นเรื่องกีฬาและศิลปวัฒนธรรม ไปสู่กิจกรรมบูรณาการแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง  ด้วยการกำเนิดกิจกรรมที่หลากหลายภายใต้แนวคิดของความเป็น “ค่ายอาสาพัฒนา”

กล่าวคือ เทา-งามสัมพันธ์ครั้งที่ ๖  มีการจัดกิจกรรในรูปแบบค่ายที่เป็นรูปธรรม  นำนิสิตนักศึกษาไปบำเพ็ญประโยชน์ ณ วัดมัชฌิมาราม ประเทศมาเลเซีย โดยมีมหาวิทยาลัยทักษิณเป็นเจ้าภาพ  และถัดจากนั้นก็พัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่อง  มีการบริการวิชาการสังคมชัดขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในด้านการสอนทักษะกีฬา  การสอนทักษะด้านศิลปะการแสดง  การเสริมความรู้และสร้างสื่อการเรียนรู้ในหมวดหมู่วิชาต่างๆ  รวมถึงบำเพ็ญประโยชน์ด้วยการสร้างและซ่อมแซมวัตถุสถานต่างๆ ทั้งในโรงเรียนและชุมชน

 

 

กิจกรรมทั้งปวงนั้น  ถึงจะไม่อัดแน่นไปด้วยคุณภาพทางวิชาการเหมือนการบริการวิชาการ
ในนิยามทั่วไป  แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นในมิติของเทา-งามสัมพันธ์นั้น  เป็นกิจกรรมที่บูรณาการการทำงานอย่างแท้จริง  นิสิตนักศึกษาทุกสถาบัน  มีโอกาสได้คิดและได้ทำกิจกรรมทุกๆ ด้านที่เกิดขึ้นในค่าย  รวมถึงการศึกษาค้นคว้าความรู้จากแหล่งต่างๆ (Explicit Knowledge)  ผสมผสานกับความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่มีในตัวเองไปสู่การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนกับเด็กๆ นักเรียน หรือแม้แต่ชาวบ้านและปราชญ์ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ อย่างไม่เคอะเขิน  และนั่นก็คือ “การบริการวิชาการแก่สังคม”  ที่ง่ายงามและทรงคุณค่าอย่างยิ่งยวดของชาว “เทางาม”

 

นิทรรศการส่วนหนึ่งในงาน ๑๕ ปีเทา-งามสัมพันธ์

 

 

เช่นเดียวกับวิถีแห่งการงานที่เกิดขึ้น  เทา-งามสัมพันธ์  ยังสะท้อนเห็นถึงภาพแห่งการ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้” (Knowledge Management)  ร่วมกันอย่างค่อยเป็นค่อยไป  ซึ่งประกอบด้วยวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน (Share & Learn) ระหว่างนิสิตกับนิสิต และการเรียนรู้ระหว่างนิสิตกับชุมชน  ซึ่งในแต่ละปีมีความเข้มข้นแตกต่างกันไป  ขึ้นอยู่กับว่าสถาบันเจ้าภาพจะจัดวางกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้กี่มากน้อย 

 


แต่ถึงกระนั้นก็เห็นได้ชัดว่าระยะหลังมีการให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ชุมชนมากขึ้น  ดังจะเห็นได้จากการเชิญวิทยากรที่เป็นนักวิชาการมาบรรยายในเวทีปฐมนิเทศ  การเชิญวิทยากรจากชุมชนมาพบปะกับนิสิตและบุคลากร  หรือแม้แต่การนำข้อมูลของชุมชนอันเป็นพื้นที่ของการออกค่ายมาผนวกไว้ในสูจิบัตร  เพื่อกระตุ้นให้นิสิตได้เกิดความกระหายที่จะเรียนรู้และต่อยอดจากภาคสนามด้วยตนเอง...

 

หมายเลขบันทึก: 477154เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2012 08:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • รัฐบาลที่ผ่านมาบอกจะเน้นกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้มากขึ้น พร้อมกับลดการเรียนการสอนในห้องเรียนให้น้อยลง แต่ก็ยังไม่เห็นคืบหน้าอย่างไร ยิ่งเปลี่ยนรัฐบาลด้วยแล้ว..แต่บันทึกของอาจารย์หรือที่ม.มหาสารคามชัดเจนมาโดยตลอดในเรื่องเหล่านี้ 
  • ขอบคุณประสบการณ์ดีๆ..อาจารย์สบายดีนะครับ

ยังคงดำเนินต่อไปไม่ผันเปลี่ยน ย้อนมองอดีต มศว 8 วิทยาเขต

ที่โรงเรียน เน้นกิจกรรมนอกห้อง , เด็กทำกิจกรรมร่วมกัน และมีปฏิสัมพันธ์ ให้ได้คิด ฝึกจิตใจ แต่ก็ยังมีติดสื่อไฮเทค สมัยใหม่อยู่ ตามสภาพสังคมเมือง

คุณแผ่นดิน สบายดีนะคะ คิดถึงน้องจุก เด้อค่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท