ตรวจวัดกรด-ด่างของดินก่อนทำนาปลูกข้าว ช่วยประหยัดต้นทุน เพิ่มผลผลิต


การเอาใจใส่ดูแลให้น้ำให้ปุ๋ยอย่างต่อเนื่องครบถ้วน แต่ต้นข้าวกลับมีเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปรกติ

 

ข้าวจะเจริญเติบโตได้ดีให้ผลผลิตสูงได้จะต้องอาศัยองค์ประกอบหลายๆด้าน ทั้งสภาพภูมิอากาศสายลม อุณหภูมิ แสงแดด สารอาหารธาตุหลักธาตุรอง ธาตุเสริมและธาตุพิิเศษ (ซิลิสิค แอซิด, ไคโตซาน) ซึ่งช่วยทำให้ข้าวเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ มีผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่ถ้าเราปลูกข้าวแบบให้เทวดาเลี้ยงหรือใช้แต่ปุ๋ยเชิงเดี่ยว ใช้แต่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกเพียงอย่างเดียวที่ให้ธาตุอาหารไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ ยังขาดแคลนฟอสฟอรัสโพแทสเซียมธาตุรองและธาตุเสริมที่มีความจำเป็นต่อข้าวไม่แพ้กันโดยพืชไม่สามารถขาดได้เหมือนอย่างกับธาตุพิเศษอย่างเช่นซิลิสิค แอซิดและไคโตซานที่พืชสามารถท่่ีจะมีหรือไม่มีก็ได้ในองค์ประกอบของเซลล์หรือในสรีระของพืชหรือต้นข้าว
 
แต่...ในบางครั้งสำหรับเกษตรกรที่เอาใจใส่ดูแลด้านแร่ธาตุสารอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์ มีการเอาใจใส่ดูแลให้น้ำให้ปุ๋ยอย่างต่อเนื่องครบถ้วน แต่ต้นข้าวกลับมีเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปรกติไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็น บางครั้งบางคราวเพ่ิมปุ๋ยให้มากกว่าปรกติเป็นหนึ่งหรือสองเท่าตัวต้นข้าวก็ยังไม่ตอบสนอง กลับให้ผลที่กลับตาลปัตรด้วยซ้ำคือออกอาการแคระแกร็น เตี้ยใบเหลือง เหมือนอาการของต้นข้าวที่ขาดปุ๋ยขาดสารอาหาร ไม่ว่าจะฉีดพ่นปุ๋ย. ยา ฮอร์โมนหรืออาหารเสริมทางใบแล้วก็ตาม
 
สาเหตุลักษณะอาการดังกล่าวส่วนใหญ่ถ้าไม่มีโรคแมลงรบกวนแล้วก็จะเป็นปัญหาในเรื่อง "ดิน" เป็นหลักคือสภาพของดินที่รองรับเมล็ดพันธุ์ รากและต้นข้าวมีความไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต โดยอาจะเป็นกรดหรือด่างจัดมากเกินไปไม่เหมาะสมต่อการละลายแร่ธาตุสารอาหารที่อยู่ในดิน ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม โดยปรกติเราจะทราบค่าความเป็นกรดและด่างของดินเบื้องต้นได้โดยการสังเกตุจากสภาพแวดล้อม เช่น การเจริญเติบโตที่ผิดปรกติของพืช ใบหรือยอดอ่อนมีอาการไหม้ น้ำที่ขังอยู่ตามท้องร่องหรือห้วย หนอง คลอง บึงมีลักษณะใสเป็นตาตั๊กแตน เนื้อดินชั้นล่างอาจจะมีสีเหลืองๆแดงๆเป็นจุดผสมอยู่แต่นั่นก็เป็นเพียงประมาณการ จะให้แน่ใจจริงๆก็ต้องทำการตรวจวัดด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มีทั้งอนาล็อกและดิจิตอลให้เลือกมากมาย แต่ขอแนะนำพี่น้องเกษตรกรชาวไร่ชาวนาที่มีการใช้งานอย่างสมบุกสมบัน ไม่ควรใช้แบบติจิตอลแบบนักวิจัยในห้องแลปห้องทดลองเพราะต้องหมั่นดูแลรักษาทำความสะอาดตั้งค่าอย่างสม่ำเสมอ ควรใช้แบบธรรมดาเป็นน้ำยาหยดทดสอบเทียบสี (ชุด Test. Kids) ก็เพียงพอ เหมาะสมประหยัดที่สุดแล้ว
 
ค่าการตรวจวัดจากตัวอย่างดินที่ได้เมื่อนำมาเทียบกับแผ่นเทียบสีซึ่งจะมีตัวเลขกำกับโดยตัวเลข7 จะแสดงค่าของดินที่อยู่ในระดับกลาง น้อยกว่า 7 เป็นกรด มากกว่า 7 ก็เป็นด่าง  ค่าที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชจะอยู่ระหว่าง 5.8-6.3 ในสภาวะเป็นกรดอ่อนๆไม่ใช่ระดับกลางหรืออยู่ที่เลข 7 ดินที่มีค่าพีเอชเหมาะสมพืชจะดูดกินสารอาหารได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน ต้นจะสมบูรณ์แข็งแรงแบบธรรมชาติ แต่ถ้าดินเป็นกรดหรือด่างจัดดินจะจับตรึงฟอสฟอรัส สูญเสียไนโตรเจนอย่างรวดเร็ว ละลายกลุ่มจุลธาตุพวกเหล็ก ทองแดง แมงกานีสออกมามากเกินไปจนเป็นพิษต่อใบพืช ดังนั้นท่านเกษตรกรชาวไร่ชาวนาที่ต้องการลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตควรทำการตรวจวัดกรดด่างของดินอย่างน้อยปีละครั้ง
 
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
หมายเลขบันทึก: 475028เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2012 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท