นายสายหมอก
นาย เฉลิมเกียรติ สายหมอก ตะดวงดี

มายาคติเชิงวัตถุนิยมของคนไทย


มายาคติ, สัญญะ, วัตถุนิยม, ชาวสยาม, VERY THAI

มายาคติเชิงวัตถุนิยมของคนไทย

ชาวสยามยุคใหม่กับชีวิตในห้างสรรพสินค้า บ้านชานเมืองและสนามกอล์ฟ

 

จากบทความของ ฟิลิป คอร์นเวล-สมิธ   เรื่อง มายาคติเชิงวัตถุนิยมของคนไทย

ชาวสยามยุคใหม่กับชีวิตในห้างสรรพสินค้า บ้านชานเมืองและสนามกอล์ฟ ที่เขาได้สังเกตและเขียนออกมาในบทความนี้ว่าวิถีชีวิตขังสังคมไทย โดยเฉพาะคนเมืองนั้น มีอยู่หลายสิ่งหลายอย่างที่จะพยายาม บอกตนเองว่าเป็นสังคมเมือง โดยผ่าน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ คือ ห้างสรรพสินค้า บ้านชานเมือง รถยนต์ส่วนตัว สนามกอล์ฟ การใช้โทรศัพท์ การใช้สินค้าแบรนด์เนม และรวมถึงการลอกเลียนแบบสินค้า 

 

          ในบทความนี้ ฟิลิป คอร์นเวล-สมิธ   ได้กล่าวไว้ว่า จาการทีเขาเห็นไวรุ่นไทย ใช้สินค้าแบรนด์เนม แต่ดูอีกที ก็เป็นของปลอม แต่วัยรุ่นไทยไม่ได้สนใจว่า ของสิ่งนั้นเป็นของจริงหรือของปลอม หากแต่ ความสนใจของเขาคือการที่ได้ หยิบยืม และต้องการให้ตัวเองดู “เดิร์น” และ “อินเตอร์” ในสายตา คนอื่น ๆ โดย ในเขายังบอกอีกว่า คนไทยนั้นเป็นคนที่ ในเย็น สบาย ๆ ตามแบบฉบับไทย มาตั้งแต่ช้านาน ก่อนที่สังคมไทยจะเข้ามาอยู่ในสังคม “ความโฉบเฉี่ยว (Look cool)” โดยที่มีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงอากาศร้อนอบอ้าว ทำให้เครื่องปรับอากาศในห้างสรรพสินค้า ในรถยนต์  ในห้องชุดคอนโดมิเนียมเป็นที่นิยามอย่างมาก โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้าที่บางแห่งมีจำนวนร้านค้า ร้านอาหารและสถานบันเทิงอยู่ข้างในรวมกันแล้วมากกว่าจำนวนสถานที่ประเภทเหล่านั้นในตัวเมืองของบางจังหวัดเสียอีก

          ฟิลิป คอร์นเวล-สมิธ   พยายามเล่าให้เห็นว่า ในเมืองไทยในบางจังหวัดมีห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุด และใหญ่ที่สุดในโลกที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพ โดยในห้างสรรพสิน้ามีทั้งสวนสนุกในร่ม สวนสนุกทางน้ำและมีการแสดงแสงสียงอย่างตระการตราเทียบเท่าลาสเวกัส อีกทั้งยังมีการพยายามตั้งชื่อให้ดูยิ่งใหญ่ให้ดูทันสมัย พร้องทั้งการตั้งชื่อให้เป็นภาษาอังกฤษ เช่น New World  Miracle Mall  Fashion Island  Future  Pack  หรือแม้กระทั้งการหยิบยืมชื่อสถานที่ที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น World Trade Centre Wall Street Tower  Time Square   เป็นต้น

โดยสิ่งเหล่านี้นั้น มีข้อสังเกตว่า เป็นสิ่งที่ พยายามที่จะสร้างมายาคติความเป็นเมืองให้กับทั้งด้านวัตถุและด้านความเป็นอยู่ และพยายามที่จะบอกว่า สังคมที่อยู่นั้นความเป็นอินเตอร์ และมีความทันสมัย พร้องทั้งใช้ชีวิตแบบ สังคมที่เจริญแล้ว ซึ่งจะเห็นได้จากชื่อสถานที่ต่าง ๆ ที่ เลียบแบบมาจากตะวันตก โดยเฉพาะสื่อ ต่าง ๆ ที่พยายามโฆษณา ทำป้ายโปสเตอร์ หรือแม้แต่ร้านอาหารเอง ก็ยังใช้นามบัตร ใช้โปสเตอร์ ที่เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อพยายาม สื่อและแสดงออกมาให้เป็น สังคมที่เจริญแล้ว แต่หาไม่ ความที่คิดว่าเป็นสังคมเมือง หรือสังคมที่   เจริญแล้ว กลับไม่มีวัฒนธรรม ของตนเองเลย เพราะฟิลิป คอร์นเวล-สมิธ  พยายามชี้ห็เห็นการขาดหายไปของ วัฒนธรรม และความเป็นไทยที่ถูกบดบังจาการชื่นชมมายาคติของ คำว่า “สังคมเมือง”

          นอกจากนนี้ ฟิลิป คอร์นเวล-สมิธ  ยังได้กล่าวไว้อีกว่า สังคมไทยปัจจุบัน มีการเปลี่ยนไปมากขึ้น เนื่องจากมีการขยายตัวของเมืองทำให้ที่พักอาศัย ต้องขยับออกไปชายเมืองและนอกเมืองเพิ่มมากขึ้น ทำให้ ผู้คนโดยเฉพาะคนรวยนั้นออกไปซึ้อบ้านชานเมืองกันมากโดยเฉพาะแหล่งบ้านจัดสรร โดยสิ่งที่บทความเรื่องนี้พยายามบอกเล่าก็คือ การที่มีบ้านจัดสรรแถวบชานเมืองมากขึ้นไม่ใช่เป็นสิ่งที่บอกว่าสังคมนั้นขยายตัวเพียงอย่างเดียว แต่ ตามงานเขียนของ บิว โวแกน ว่า การมีมีบ้านแถวชานเมืองมาก ๆ นั้นบริเวณแถวนั้นก็พยายามที่จะรื้อถอนต้อนไม้ที่มีอยู่ แล้วนำต้นไม้เหล่านั้นมาตั้งเป็นชื่อถนนแทน ก็เหมือนกับว่าการที่มีการสร้างบ้านแถวชานเมือง สิ่งที่ขาดหายไปพร้อมกับการสร้างบ้านก็คือ ต้นไม้และธรรมชาตินั่นเอง

 

          อีกทั้งสิ่งที่จะตามมากก็คือยายพาหนะที่จะต้องใช้ในการโดยสารเพื่อกลับเข้าไปทำงานในเมืองใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งถ้าหากเป็นบ้านที่ดี ต้องอยู่ลึก ๆ และดูสวยโอ่อ่า พร้อมทั้งมีรถเบนซ์หรือรถยุโรปประจำบ้านไว้ เป็นอย่างน้อย ทั้ง ๆ ที่ สิ่งเหล่านี้มีราคาแพงมาในสังคมไทย แต่มายาคติและชุดความเชื่อของคนไทยส่วนใหญ่ก็จะเป็นเช่นนั้นคือ  “ทำงาน ซื้อบ้าน ซื้อรถ”  แต่กลับลืมไปว่า สังคมไทยนั้น ยังเป็นสังคมที่ชาวเมืองส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ในห้องเช่าในเมืองใหญ่ หากถ้ามีรถก็อาจะเป็นรถกระบะ Isuzu หรือไม่ก็พักที่บ้านพักเอื้ออาทรของรัฐที่จัดหา       ที่อยู่ให้

          สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในสังคมไทยเกือบทุกคนจะต้องมี ก็คือ รถมอเตอร์ไซด์ สำหรับคนไทยแล้วเป็นสิ่งที่ขาดเสียไม่ได้ในการดำเนินชีวิต ทั้งการใช้ขับขี่ไปทำงาน ขับไปส่งบุญหลานไปโรงเรียน หรือแม้แต่กระทั้งในต่างจังหวัดวัยรุ่นก็จะขับรถมอเตอร์ไซด์ เพื่อนัดพบคู่รักกัน แต่ที่น่าสนใจคือ นอกจากจะใช้รถมอเตอร์ไซด์ในชีวิตประจำวันแล้ว เช่นการใช้ขนอง ส่งพิศซ่า      ถังแก๊ส หรือส่งหนังสือพิมพ์ เหมือนกับจะพยายามสื่อว่า คนไทยกับมอเตอร์ไซด์นั้น ทำได้หลายอย่างได้พร้อมกัน แต่กระนั้น ในบทความก็ยังพยายามที่จะบอกว่าสังคมไทยนั้น ก็ยังขาด บ้าน รถ และความสะดวกสบาย  เพราะถึงแม้จะทำงานหนัก และอยู่ลำบาก แต่มายาคติและชุดความคิดอย่างหนึ่งของคนไทยก็ยังคงอยู่ คือ การที่ต้องการ บ้านและรถแบบหรู

 

          สนามกอล์ฟ ก็เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่สร้างความประทับใจในหลาย ๆ เรื่อง เพราะในเมืองไทยนั้น มีสนามกอล์ฟที่ได้มาตรฐานและเป็นสนามกอล์ฟที่ดีของโลกในหลาย ๆ แห่ง      ซึ่งกีฬากอล์ฟในสังคมไทยก็รู้กันดีว่าเป็นกีฬาของคนในหมู่ชนชั้นสูงอย่างมาในประเทศนี้       ซึ่งนอกจากกอล์ฟจะเป็นกีฬาแล้ว กอล์ฟกับสังคมไทยยังเป็นการเล่นเพื่อการต่อรองด้านเศรษฐกิจ  การเมือง และตำแหน่งของคนในชนชั้นสูงของสังคมไทย ซึ่งนี้ก็เป็นอีกหนึ่งชุดความเชื่อในเรื่องมายาคติของคนในสังคมไทยที่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ เพราะนี้ยังคงเป็นชุดความเชื่อมายาคติของคนไทย ตอดมา และจนถึงปัจจุบัน

          สิ่งที่เป็นมายาคติในสังคมไทยอีกอย่างหนึ่งก็คือ เรื่องของโทรศัพท์ โดยกล่าวได้เลยว่า สังคมไทย ณ เวลานี้ขาดสิ่งนี้ คือโทรศัพท์ ไม่ได้เลย โดยก่อนหน้านี้ โทรศัพท์นั้นไม่ใช่แค่เครื่องมือ สื่อสารเท่านั้นแต่โทรศัพท์ นั้นยังเป็นเครื่องในการบ่งบอกสถานะทางสังคมด้วย ดังเช่นในบทความ เรื่องนี้ได้ กล่าวไว้ว่า “ธรรมเนียมปฏิบัติประการหนึ่งของผู้ให้บริการบาร์ชั้นดี คือการสังเกตจากการวางกระเป๋าสตางค์บนโต๊ะแล้ววางโทรศัพท์เคลื่อนที่ทันกระเป๋านั้น”

          แต่ในปัจจุบันนั้น โทรศัพท์นั้นแทบจะไม่ได้สื่อให้เห็นว่าเป็นเรื่องของการบ่งบอกฐานนะทางสังคมไม่ เพราะ จากผลการสำรวจ พบว่า ส่วนใหญ่ การใช้โทรศัพท์ นั้นเป็นการติดต่อกับเพื่อนฝูง ติดต่อกับสมาชิกในครอบครัว ติดต่อกับคนรัก และน้อยมากที่จะใช้ในการติดต่อกันเรื่องธุรกิจ ซึ่งชุดความรู้ชุดหนึ่งที่ออกมาคือการที่สังคมปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนรุ่นโทรศัพท์เพื่อการโชว์ ฐานนะและแสดงว่าเกิดความทันสมัยต่อสังคม จึงทำให้การใช้โทรศัพท์ เป็นเพียงการบ่งบอกความต้องการและสนองชุดความรู้ เพียงอย่างเดียวเท่านั้นเอง

 

          นอกจากสิ่งต่าง ๆ ในข้างต้นแล้ว สิ่งหนึ่งที่สังคมไทยมีชุดความรู้ และเป็นมายาคติ      ที่คนไทยพยายามสร้างชุดความหมายออกมา ในเรื่องของการใช้สินค้าแบรนด์เนม เพื่อเป็นการโอ้อวดฐานนะและเป็นการประชันเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่มีอยู่ ของคุณหญิงคุณนาย และคนมีฐานนะทางสังคมไทย แลโดยเฉพาะในหมู่กลุ่มนักศึกษานั้น สิ้นค้าแบรนด์เนมยังเป็นที่นิยมมาก เพราะเขาเหล่านั้นจะได้นำไปประชันกัน แต่หารู้ไม่ว่าหากแต่การที่เขาเหล่านั้นอาจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มคนชั้นสูงก็เป็นได้ แต่เขาอาจะพักอยู่ในห้องเช่าแบธรรมดา นั้นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เห็นในสังคมไทย เป็นอย่างมาก

          เพราะว่าสังคมไทยนอกจากการพยายามที่จะสร้างฐานะความมั่นคงแล้ว การที่มีสินค้าแบนรนด์เนมก็ยังเป็นการบ่งบอกฐานนะทางสังคมไปอีกทางหนึ่งเช่นเดียวกัน แต่ ก็มีส่วนน้อยของคนในสังคมเท่านั้นที่ เป็นผู้บริโภคสัญญะและบริโภคนิยม ดังนั้น คนอีกลุ่มหนึ่งจึงต้องเข้าไปพึ่งพาส้นค้าเลียนแบ และสินค้ามือสองกัน เพรานอกจากจะไม่สามารถเลือกซื้อสินค้าได้เพราะราคาแพงแล้ว  สินค้าบางอย่างก็ไม่เหมาะสำหรับเขาเหล่านั้น การที่มีสินค้าเลียนแบบจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมและเป็นที่นิยมของสังคมไทยเป็นอย่างมาก

          ในทางกลับกัน สังคมตะวันตกนั้นเขาชื่นชมความคิดใหม่ ๆ เป็นที่น่าตื่นเต้น แต่สำหรับคนไทยแล้วการสร้างสรรค์งานและผลงานใด ๆ  นั้นก็ขึ้นอยู่กับครูบาอาจารย์ หรือตามแบบแผนที่วางไว้ ทำให้ คนไทยจึงจมปลักอยู่กับการเลียบแบบและการใช้สินค้าแบบเดิม ๆ  และคิดว่า การใช้สินค้า เลียนแบบนั้น ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรมากนัก

          สิ่งที่เห็นได้จากแนวคิดเรื่องสินค้าเลียบแบบนี้คือ การที่ชุดความรู้ในเรื่องบบสัญญะ    ของคนไทยนั้น พยายามสื่อที่จะบอกให้เห็นว่า สินค้านั้น  เพราะ สัญญะ (Sign) หมายถึง สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีความหมาย (meaning) แทนของจริง/ตัวจริง(object)  ในตัวบท (text) และในบริบท (context) ใดบริบทใดบริบทหนึ่ง 

          การใช้สินค้าเลียบแบบก็เป็น เป็นชุดความหมายหนึ่งของสังคมไทยที่บอกว่า การใช้สินค้าเหล่านี้นั้นเป็นเรื่องปกติ เพราะหากจะไปใช้ของแบรนด์เนมนั้น ก็จะมีราคาแพงและไม่มีกำลังที่จะซื้อ จบบางครั้งก็กลายเป็นชุดความรู้ดานมายาคติ ที่ถูกกลืนเข้าไปกับวัฒนธรรมของคนไทย จนในบางครั้งทำให้คนฝรั่งชาวต่างชาติต้อง ร้องเข้ามาดัง ๆ ว่า “โอ้มายก๊อด            จนกลายเป็นชุดความรู้ทางด้านมายาคติ ที่พยายามที่จะอธิบายไว้อย่างน่าสนใจกล่าวคือว่า การใช้สินค้าเลียนแบบของคนไทยนั้น เป็นการหล่อหลอมทางวัฒนธรรมและเป็นชุดความหมายของคนหมู่มากในสังคมอีกด้วย ดังจะเห็นได้จาก ชุดความหมายที่บอกว่า “การใช้สินค้าเลียบแบบไม่ใช่เรื่องผิดอะไร” ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นก็จะผ่านไปในทางรูปของสัญญะที่มีการโฆษณาทางสื่อออนไลน์ และการเห็นของเลียนแบบที่เกลื่อนเมืองนั้นเอง

 

          จากบทความที่ได้กล่าวมานั้นก็จะพยายามสื่อให้เห็นวัฒนธรรม ชุดความรู้และ ความเป็นสังคมไทย ที่เป็นสังคมแห่งการบริโภคสัญญะและการเป็นเมืองมายาคติ ที่จะบอกว่า        เป็นสังคมที่มีมุมมองการคิดแบบ ไทย ไทย ไม่ว่าจะเป็น เรื่องห้างสรรพสินค้าที่พยายามสร้างชุดความรู้ว่า การเดินห้างเป้นการยกฐานนะทางสังคมและฐานนะทางเศรษฐกิจของคนในสังคมอีกทั้ง ห้างสรรพสินค้าก็เปลี่ยนเสมือนตัวบ่งชีว่าสังคมนั้น ๆ เป็นสังคมเมือง  ในบ้านชานเมือง รถยนต์ส่วนตัว ก็เป็นชุดความรู้ที่พนายามสื่อให้เห็นว่า เมื่อทำงานแล้วคนเราต้องมี บ้านรถ ความสะดวกสบาย ต้องมีพื้นที่ในการพักอาศัยเป็นของคนเอง และพยายามที่จะทำให้เป็นชุดความรู้ที่สำเร็จรูป และเป็นแนวทางปฏิบัติของคนในสังคม  สนามกอล์ฟ ก็เป็นหนึ่งในมายาคติที่พยายามจะจะให้ชุดความหมายของการเป็นกีฬาของชนชั้นสูงส่งในสังคมและเป็นการแผงความเรื่องการต่อรองตำแหน่งและการทำธุรกิจไปในตัว ชุดความหมายนี้ ท่าจะเป็นจริงในสังคมไทยเป็นอย่างมาก การใช้โทรศัพท์ การใช้สินค้าแบรนด์เนม นี่ก็เป็นอีกหนึ่งที่ ชุดความรู้ของมายาคติ และการใช้สื่อสัญญะ พร้อมทั้ง อุตสาหกรรมวัฒนธรรมเข้ามาเป็นตัวช่วยสร้างสื่อสัญญะและชุดความหมายของการใช้โทรศัพท์และการซื้อสินค้าแบรนด์เนมของคนในสังคมว่าจะต้องมีการแข่งขันและมาอวดกันในสังคม เพื่อที่จะแสดงตนว่า เป็นผู้ที่นำแฟชั่น และรวมถึง                การลอกเลียนแบบสินค้า นี่เป็นชุดความรู้มายาคติแบบไทย ไทย ที่คนตะวันตกเจ้าของสินค้าต้อง กุมขมับ เพราะคนไทยนั้นมีชุดความรู้ว่า การเลือกใช้สินค้าลอกเลียนแบบนั้นเป็นเรื่องปกติเสียแล้วทำให้ สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาล้วนเป็นมายาคติทางวัตถุนิยมในสังคมไทย นั่นเอง 

หมายเลขบันทึก: 475026เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2012 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท