อรกิตติ์
นางสาว อรกิตติ์ พานิชยานุสนธิ์

ผลไม้ไทยในตลาดสหรัฐหลัง TUSFTA


คาดหวังว่าประเทศไทยจะสามารถขยายตลาดผลไม้ในสหรัฐอเมริกาได้มาก เมื่อมีตัวช่วย จริงๆอาจไม่เป็นอย่างนั้น
ผลไม้ไทยในตลาดสหรัฐหลัง TUSFTA           

ในการทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทย กับสหรัฐอเมริกา หรือ Thai-US Free Trade Agreement (TUSFTA) ได้มีการเจรจาทำความตกลงเพื่อลดหรือขจัดอุปสรรคทางการค้าในด้านต่างๆ ระหว่างประเทศ การเจรจาหนึ่งที่สำคัญกับประเทศไทย คือ การลงนามในกรอบความตกลง Framework Equivalency Work Plan หรือ FEWP                

สาระสำคัญของกรอบความตกลงนี้ คือการที่ประเทศไทยได้รับอนุญาตจากประเทศสหรัฐอเมริกาให้ผลไม้ 6 ชนิดที่ผ่านการฉายรังสี (Irradiation Treatment) เพื่อป้องกันการแพร่ขยายของศัตรูพืช ของไทยสามารถเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐได้ โดยคาดว่าจะมีผลในต้นปี 2550

           

สำหรับผลไม้ทั้ง 6 ชนิดนั้นก็ได้แก่ ลำไย    เงาะ    ลิ้นจี่    มะม่วง    มังคุด    และสับปะรด

ถึงแม้ประเทศไทยจะได้ทำกรอบความตกลงกับสหรัฐอเมริกา รวมถึงการที่ไทยได้รับยกเว้นภาษีนำเข้า เนื่องจากสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) จากสหรัฐ แต่อุปสรรคในการเจาะตลาดผลไม้ในสหรัฐก็ยังมีอยู่ ปัญหาที่สำคัญก็เช่น

 

-         การแข่งขันกับประเทศคู่แข่งในประเทศแถบลาตินอเมริกา

เนื่องจากผลไม้ของประเทศไทยนั้น อาจมีลักษณะคล้ายกับผลไม้ที่ผลิตได้ในประเทศแถบลาตินอเมริกา ทำให้ประเทศไทยต้องแข่งขันในตลาดผลไม้ ซึ่งถ้าดูในลักษณะของภูมิประเทศแล้ว ประเทศไทยถือว่าเสียเปรียบอยู่มาก เพราะการที่ประเทศแถบลาตินอเมริกาอยู่ใกล้กับประเทศสหรัฐอเมริกามากกว่าประเทศไทย จึงทำให้ต้นทุนการขนส่งน้อยกว่า นำไปสู่ราคาผลไม้ที่ถูกกว่า ดังนั้นการแข่งขันจึงทำได้ยากขึ้น นอกจากปัญหาต้นทุนแล้ว ระยะทางที่ไกลยังทำให้คุณภาพของสินค้าลดลงด้วย

 

-         กรณีการไม่บริโภคอาหารที่ Irradiation Treatment ของผู้บริโภคบางกลุ่ม

กรณีนี้ประเทศไทยอาจประสบปัญหาในการส่งออกในระดับหนึ่ง

 

-         กรณีการบริโภคผลไม้ที่แตกต่างกัน

การที่ตลาดในประเทศไทยกับตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้บริโภคมีความต้องการ หรือมีรสนิยมการบริโภคที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้การเจาะตลาดสหรัฐอเมริกาไม่สามารถขยายตัวได้มากเท่าที่ควร

 

               

จากเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ถึงแม้ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากสิทธิพิเศษ GSP หรือการทำกรอบความตกลง FEWP กับประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยก็ยังจะประสบปัญหาการส่งออกผลไม้ไปยังตลาดสหรัฐ ดังนั้นการที่หลายคน รวมถึงผู้ประกอบการ คาดหวังว่าประเทศไทยจะสามารถขยายตลาดผลไม้ในสหรัฐอเมริกาได้มาก เมื่อมีตัวช่วย จริงๆอาจไม่เป็นอย่างนั้น

               

สิ่งหนึ่งที่รัฐควรจะให้ความสำคัญ คือ การที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความรู้แก้ประชาชน และผู้ประกอบการ ในเรื่องการจำหน่าย ความต้องการของตลาด การจัดเก็บ การจัดส่ง จัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดจำหน่าย รวมถึงการวางนโยบายโดยรวมให้มีประสิทธิภาพพอที่จะแข่งขันกับประเทศคู่แข่งอื่นในตลาดได้  
หมายเลขบันทึก: 47487เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2006 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านแล้วนะค่ะ ผลไม้ไทยเป็นผลไม้ที่คุณภาพดีที่สุดแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท