คนข้างกาย คนข้างใจ


จะเรียกว่าอย่างไรดี

อย่างที่เคยคุยกับอาจารย์ ดร พจนา พวกครูบาอาจารย์ในบล๊อคนี้เขียนบันทึกกันอย่างเงียบๆ เรียบร้อย ไม่โกรธ ไม่เกลียด ไม่ดุ ไม่ว่า  เห็นๆอยู่ก็ชมกันตลอด

ผมเคยเขียนบันทึกแล้วเรียกภรรยาว่า แม่บ้าน

โดนเพื่อนฝูงต่อว่าเป็นการใหญ่ว่าไม่ให้เกียรติภรรยา  

มีภรรยาก็ต้องเรียกว่าภรรยา เพราะตอนไปจดทะเบียนสมรส(ที่อเมริกา) จำไม่ได้ว่าเจ้าหน้าที่ถามว่าอย่างไร แต่คำตอบคือ I do. เมื่อ Do แล้วก็ต้องเคารพกฏเกณฑ์ของกฏหมาย ห้ามเรียกภรรยาว่าเป็นอย่างอื่น

คุณลองสังเกตุดูหรือถามตัวคุณเองก็ได้ว่าคุณเรียกสามีภรรยาว่าอย่างไร

ส่วนมากจะพูดเลี่ยงๆเรียกว่า คนข้างกายบ้าง สาวน้อยบ้าง  แม่บ้านบ้าง 


บางคนยิ่งกว่านั้นไม่ยอมพูดถึงเลย หลีกๆเลี่ยงๆ ทำให้คนอ่านเข้าใจผิดๆนึกว่ายังโสดอยู่ก็มี


มีรุ่นพี่ผมคนหนึ่งเวลากลับเมืองไทย ต้องเอารูปภรรยาและลูกๆติดตัวไว้ในกระเป๋าสตางค์เสมอๆ

เวลาใครถาม เอารูปออกโชว์เลย หมดปัญหา

แต่รุ่นพี่คนนั้นบอกผมว่า  ถูกเพื่อนๆห้าม เพราะกลัวว่ามีครอบครัวแล้วจะไปจีบสาวอื่นไม่ได้ เป็นเสียอย่างนี้คนไทย

ต้องขอชมคุณวานิช จรุงกิจอนันต์  เวลาเขียนถึงภรรยา คุณวานิชเรียกภรรยาว่า เมียผม ไม่ใช่ภรรยาผม ฟังแล้วมันเบิกบานใจ  

ตอนเวลาคุณวานิชจะตาย เรียกเมียมาใกล้ๆบอกเมียว่า ไม่อยากทำอะไรแล้ว แค่อยากเป็นขวัญกำลังใจให้กับลูกเมียเท่านั้น

(อยากเป็นขวัญกำลังใจให้กับลูกเมีย ไม่ใช่ อยากเป็นขวัญกำลังใจให้กับลูกคนข้างกาย)

คุณทอรุ้งเล่าว่า ตอนนี้เขามีความสุขมากแล้ว ดิฉันบอกว่า รักเขามาก เขาตอบกลับมาเป็นภาษาอังกฤษสั้นๆ ว่า

I love you;   I really love you.


ครับ มีเมียก็ต้องเรียกว่าเมียเห็นด้วยกับคุณวานิชครับ

คำสำคัญ (Tags): #เมีย
หมายเลขบันทึก: 474659เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2012 05:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2013 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • เรื่องของการเรียก "สามี ภรรยา" มันเป็นอิทธฺิพลของการเรียนรู้ทางพุทธิปัญญาเชิงสังคม (Social Cognitive Learning) ค่ะ คุณน้อง ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ฝรั่งอธิบายไว้นะคะ ว่า สิ่งแวดล้อมส่งผลต่อความคิด ความเชื่อของคน แล้วความคิดความเชื่อก็ส่งผลถึงพฤติกรรมของคนอีกทอดหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ตอนที่พี่เรียนชั้นประถมฯ เห็นคนเรียกชื่อปู่ ย่า อาเขยไม่ตรงกับชื่อจริงซึ่งทำให่พี่งงมาก พี่เป็นคนช่างสงสัยอยู่แล้ว จึงถามแม่ แม่ตอบว่า ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเขาเชื่อว่ามันไม่สุภาพที่จะเรียกชื่อจริง จึงเลี่ยงไปเรียกชื่ออื่น เมื่อสังคมสอนมาเช่นนั้น คนก็ต้องยอมรับและปฏิบัติตามนั้น ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นแกะดำไป จึงมีภาษิตไทยว่า "เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม"
  • โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิง จะถูกสอนมามากในเรื่องเช่นนี้ เช่นสอนไม่ให้เรียก "ผัว เรียก เมีย" (ซึ่งในภาษากฎหมายใช้) อ้างว่าเป็นคำไม่สุภาพ ซึ่งคำที่ฝรั่ง (คำนี้ก็บอกว่าไม่สุภาพ ต้องใช้คำว่า ชาวตะวันตก แต่คนที่เป็นชาวตะวันตกเองเขาไม่มีวัฒนธรรมนี้ เขาก็เรียกตนองว่า ฝรั่ง) ใช้เป็นสรรพนามแทนบุรุษที่ 1-2 เขาจะมีแค่ I-You วึ่งใช้ได้กับคนทุกระดับ ต่คนไทยจะมี ตั้งแต่ กู-มึง, ข้า-เอ็ง, ฉัน-เธอ, ผม-คุณ, กระผม-ท่าน ฯลฯ ซึ่งมีระดับความสุภาพต่างกันไป
  • แต่อย่างไรก็ตาม มันเป็นคนละเรื่องกันกับการกล่าวชมแบบไม่จริงใจ หรือมีภรรยาแล้วแต่ไม่เปิดเผย พี่เองเคยอ่านมา "ปิยวาจา" ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติในสังคหวัตถุ 4 ส่วนใหญก็จะแปลว่า ใช้วาจาให้เป็นที่พอใจของอีกฝ่าย ซึ่งคนทั่วไปก็ชอบคำชมมากกว่าคำติ จึงต้องชม แต่พี่เองเคยอ่านมาอีกอย่างและพี่ก็ถือปฏิบัตมาตลอด คือ ปิยวาจา หมายถึง การพูดในสิ่งที่ 1) เป็นจริง 2) เป็นประโยชน์ และ 3) เป็นที่พอใจ ตัวอย่างเช่น ลูกสาวของพี่จะเป็นคนตรงมาก คิดยังไงก็พูออกมายังงั้น เธอเล่าให้ฟังว่า ตอนที่เรียนชั้น ม.6 เธอซื้อก๋วยเตี๋ยวที่กินแล้วไม่อร่อยเลย เธอบอกว่าลวกเส้นก็ไม่สุก ตอนเอาชามก๋วยเตี๋ยวไปส่งคืน เธอพูดตรงๆ กับแม่ค้าว่า "ไม่อร่อยเลย" จนเพื่อนต้องหยิกไว้เป็นการปรามไม่ให้พูด ซึ่งแม่ค้าบางคนอาจไม่พอใจและตอบโต้ว่า "ไม่อร่อย ครวหน้าไม่ต้องมากินอีก)
  • พี่ก็อธิบายว่า การพูดเช่นนั้น เข้าในลักษณะเป็นจริง แต่ไม่เป็นประโยชน์และไม่เป็นที่พอใจ ถ้าจะให้ทั้งเป็นจริง เป็นประโยชน์และเป็นที่พอใจลูกต้องบอกแม่ค้าว่า "น้า คราวหน้าลวกเส้นก๋วยเต๋ยวให้หนูให้สุกๆ นะคะ หนูชอบทานแบบสุกๆ" ซึ่งเป็นจริงว่าที่แล้วมาลวกไม่สุก เป็นประโยชน์เพราะแม่ค้าจะรู้ว่าตนเองจะต้องทำอย่างไรให้เป็นที่พอใจของลูกค้า และแม่ค้าก็พอใจเพราะเรายังจะไปอุดหนุนเธออีก      

คุณพี่พูดถึงเรื่องสามีภรรยา ผมชอบบันทึกของคุณ toondee มากๆ เพราะไม่ใช่คำว่าคนข้างกายให้มันเสียอารมณ์ อ่านเต็มๆที่นี้

ทางเข้าตลาดน้ำค่ะ รูปนี้ถ่ายเอาใจภรรยาเพื่อน

ภาพอย่างนี้มีไม่บ่อยนัก นอกจากเพื่อนๆจะคะยั้นคะยอ

เมื่อถ่ายภาพเสร็จ ภรรยาปล่อยมุขเลยค่ะ

นี่คุณคิดอะไรอยู่

สามีตอบว่า คิดเหมือนคุณล่ะ

ภรรยาตอบว่า อ๋อคิดจะฆ่าฉันเหรอ

เรียกเสียงฮาจากคณะป็นระยะๆ คู่นี้เป็นสีสันของทุกทริปค่ะ


ตั้งแต่ติดตาม อ่านบันทึกมาหลายรุ่น ๆ เป็นอันทราบกันค่ะว่า คนข้างกาย คนรู้ใจ คือ ภรรยา สามี แต่หากใครจะเขียน เมีย ก็ เข้าใจง่าย ยินดี รับได้ ค่ะ :)

ปูชอบเรียก พ่อแม่ ว่า คู่รักวัยดึก บางทียังกริ่งเกรงเลยว่า หากคนที่ไม่คุ้นเคยกัน เค้าจะคิดว่า คู่รักวัยดึก ของปู คือ คุณสามี ฮา :)  ขอบคุณบันทึกดีๆ นี้ได้มาให้เข้าใจพ้องกัน ค่ะ

น่ารัก จริงใจ ไทย ๆ ดีค่ะ "เมีย"....โดด ๆ คำเดียว...คนเดียวเท่านั้น (ด้วยความเคารพ)

คำอื่น ๆ อ่านแล้วก็ได้อรรถรส แตกฉาน ความสวยงามของภาษา ไปอีกหลาย ๆ แบบนะคะ

....คนเยอรมัน..แสดง..สิทธิ..ความเป็นเจ้า..ของซึ่งกันและกัน..เต็มที่ของความรู้สึก..เมื่อจดทะเบียน..ตามประเพณี..จะเรียก..ว่าภรรยา..ของฉัน..สามี..ของฉัน..หนักไปเรื่อยๆ..ก็จะเป็นนี่..สมบัติมีค่าของฉัน..แทน..(ภรรยา เมีย สามี ผัว )...คนเยอรมัน..จึงไม่ชอบแต่งงานกัน..เพราะกลัวถูกจอง จำด้วย..กฏหมาย..."คนข้างกาย"นี้เท่ดีเมื่อใช้คำๆนี้..หลีกเลี่ยง.ศีลข้อกาเม..อิอิและ.การใช้สิทธิครอบครอง..แบบไม่รู้ไม่ชี้ได้..เพราะ..ทั้งคู่..ต้องหลบเลี่ยง..กฏและความรู้สึกที่ดีๆต่อกันในแง่ลบ...(ตอนนี้..เหลือแต่..ของจริง..อ้ะ...คนข้างกายรีบหนีไปซะก่อน..เห้อ...)...ยายธี

  • เรื่องเล่าของคนแสนสนิทในครอบครัวเป็นเรื่องที่น่ารักเสมอเลยค่ะ ภาษาถูกกำหนดโดยวัฒนธรรมและการยอมรับของสังคม รวมถึงเป็นไปตามกาละเทศะ พูดอย่างไรก็ได้ที่ฟังแล้วถูกอกถูกใจทั้งผู้พูดและผู้ฟัง  หากว่าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ผัว เรียก เมีย หรือ เมีย เรียก ผัว) ก็ฟังแล้วสุขใจ เป็นกันเองค่ะ แต่ไม่แน่ใจเหมือนกันเวลามีบุคคลที่สามมาฟังด้วย จะรู้สึกอย่างไร อิอิ
  • อ่านไปก็อมยิ้ม หวังว่าคนบ้านไกลจะไม่เหงาใจนะคะ

* ในฐานะภรรยา(คนเดียว)ของสามี..รู้สึกดีที่สามี(คนเดียว) เรียกว่า "ภรรยา "(แปลว่าหญิงผู้เป็นคู่ครอง)..เช่นเดียวกับที่เรียกเขาว่า "สามี" (แปลว่าชายผู้เป็นคู่ครอง)..ชัดเจนดีถึงสถานะทางสังคม..

* แต่ก็เข้าใจบางคู่ที่เรียกกันในรูปแบบอื่นๆ..ตามที่แต่ละคนรู้สึกเป็นสุขค่ะ..

*เก็บภาพนี้ไว้เป็นหลักฐานยืนยัน..อายุภาพ กว่าสามสิบปีแล้วค่ะ..

Large_scan0005a 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท