จุลินทรีย์บีเอสพลายแก้ว ปราบเชื้อราศัตรูตัวสำคัญของเกษตรกรผู้เพาะเห็ด


ผู้ที่กำลังกลับหลังหันจากทุนนิยมสุดขั้วมาสู่แนวทางด้านการเกษตรพอเพียง เกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดสารพิษ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

การเพาะเห็ดในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่กำลังกลับหลังหันจากทุนนิยมสุดขั้วมาสู่แนวทางด้านการเกษตรพอเพียง เกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดสารพิษ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี สะดวก ง่าย ประหยัดไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรมาก ใครๆก็สามารถทำได้ (ไม่แน่ใจว่าคิดเหมือนกันทุกคนหรือเปล่า) แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันเป็นเช่นนั้นจริงๆ โดยเฉพาะผู้เพาะเห็ดหน้าใหม่วัยกลางคนค่อนมาทางวัยรุ่นตอนปลายนิดหน่อย โดยค่อยๆเริ่มทำไปทีละน้อยแบบลองผิดลองถูกและค่อยๆพัฒนาไปจนเกือบครบวงจรตั้งแต่กระบวนการผลิตและหาตลาด คือมีความคิดพัฒนาไปไกลกว่าเกษตรกรรุ่นเก่าที่มักทำเพียงการเพาะเห็ดเก็บดอกเพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบันมีการทำตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำด้วยตนเอง คือการผลิตก้อนเชื้อเอง ดูแลรักษาเอง ทำการตลาดเองไปจนถึงการดูแลคุณภาพให้ปลอดภัยไร้สารพิษเพื่อเอาใจผู้บริโภค (from farm to table)

ปัญหาที่เกษตรกรผู้เพาะเห็ดรุ่นใหม่พบอยู่บ่อยๆหลังจากที่ได้เพาะไประยะหนึ่งในการเพาะเห็ดคือ ปัญหาเรื่องเชื้อรา ที่จะค่อยกักเก็บสะสมเพิ่มจำนวนมากขึ้นทีละน้อยสอดคล้อดสัมพันธ์ไปกับแหล่งอาหารที่อุดมดมสมบูรณ์ไปพร้อมกันตามกฏของอิทัปปัจจยตา การทำงานของเชื้อราแต่ละชนิดที่เข้ามาทำลายจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

1.เชื้อราดำกลุ่มแอสเพอร์จิลลัส (Aspergillus sp) ลักษณะที่พบทั่วไปของถุงเห็ด คือ บางส่วนของถุงเห็ดมีสีเขียวเข้มเกือบดำ อาจเกิดที่ส่วนบนใกล้ปากถุงแล้วลามลงไปข้างล่างหรือเกิดจากด้านล่างขึ้นไปก็ได บางส่วนของถุงเห็ดมีสีน้ำตาลเกิดขึ้นติดกับบริเวณที่มีสีเขียวเข้ม

2.เชื้อราดำโบไตรดิฟโพลเดีย (Botryodiplodia sp) จะพบว่าขี้เลื่อยในถุงเห็ดมีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ซึ่งในระยะแรกเชื้อราจะมีสีขาว ต่อมาเจริญขยายกว้างขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทิ้งไว้นาน จะเกิดก้อนเล็กๆ สีดำ ที่เป็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรานูนออกมาที่ผิวของถุงพลาสติก 

3.เชื้อรากลุ่มราเขียว (Trichoderma sp,Gliocladium sp) ลักษณะการปนเปื้อนจะสังเกตเห็นได้ง่าย เนื่องจากสปอร์ของเชื้อรามีสีเขียวอ่อนใส เมื่อเกิดรวมกันหนาแน่นจะเห็นเป็นหย่อมสีเขียวมะกอกหรือสีเขียวเข้มในถุงเห็ด

4.ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส (Penicillium sp, Paecelomyces sp) เชื้อราทั้ง 2 ชนิดนี้มีลักษณะรูปร่างทางสัญฐานวิทยาคล้ายคลึงกันมาก มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วสามารถสร้างสปอร์ได้เป็นจำนวนมาก เชื้อราเพนนิซีเลียมเป็นราที่ชอบอุณหภูมิปานกลาง ลักษณะบนถุงเห็ดจะเห็นเป็นหย่อมสีเขียวตอง่อน สีเหลืองอ่อนอมเขียว หรือสีเทาอ่อนมองดูคล้ายฝุ่นเกาะสกปรก มักเกิดบริเวณด้านล่างของถุงเห็ด ส่วนเชื้อราเพซีโลไมซีสเป็นราชอบร้อน สามารถทนต่ออุณหภูมิสูงได้ มักจะเกิดกับถุงเห็ดหอม ลักษณะที่ปรากฏ คือ มองเห็นเป็นฝุ่นสีซีด เช่น สีน้ำตาล ชีดๆ ปนเหลืองอ่อน หรือสีเหลืองชีดจางๆ สังเกตเห็นเส้นแบ่งเขตการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดและเชื้อราได้อย่างชัดเจน

5.ราสีส้มหรือราร้อน (Neurospora sp) มักเกิดเป็นกระจุกบริเวณปากถุงมีลักษณะเป็นผลสีชมพูอมส้ม หรือเป็นก้อนติดเสียก่อน

6.ราเมือก (Slime mould) จะเกิดกับถุงเห็ดที่เปิดถุงเก็บดอกไปแล้วหลายรุ่นและเป็นถุงที่อยู่ด้านล่างสุด จะสังเกตเห็นเส้นใยสีเหลืองชัดเจนบริเวณด้านข้างถุงและบริเวณปากถุงโดยมากมักจะเกิดกับถุงเห็ดหูหนูที่มีการกรีดถุงด้านข้างและรดน้ำนานๆ จนทำให้ถุงชื้นแฉะนอกจากนี้ยังเกิดได้กับถุงเห็ดฐานที่หมดรุ่นแล้วแต่ยังไม่มีการขนย้ายทำความสะอาดโรงเรือน

โรคของเห็ดถุงที่เกิดจากเชื้อราโดยทั่วไปเกิดได้ทั้งเชื้อราปนเปื้อนหรือเชื้อราแข่งขัน และเชื้อราโรคเห็ด ซึ่งเชื้อราปนเปื้อนส่วนใหญ่เป็นพวกที่มีเส้นใยเจริญเร็วมาก ทำให้เส้นใยเห็ดชะงักการเจริญเติบโต สังเกตเห็นเส้นแบ่งเขตที่เส้นใยเห็ดมาบรรจบกันเส้นใยของเชื้อราปนเปื้อน

การเกิดเชื้อราปนเปื้อนในถุงเพาะเห็ดมักเป็นสาเหตุให้ผลผลิตเห็ดลดลง ถ้ามีเชื้อราเหล่านี้เกิดบริเวณปากถุงก็จะเป็นเหตุให้เกิดการระบาดไปทั่วทั้งโรงเพาะเห็ดได้รับความเสียหายได้ผลผลิตลดลง สาเหตุของการเกิดเชื้อราปนเปื้อนมีหลายประการ เช่น การทิ้งถุงก้อนเชื้อเห็ดที่เก็บดอกแล้วในบริเวณฟาร์ม ทำให้เชื้อรากระจายอยู่ในบริเวณนั้น เมื่อมีฝนตก ลมพัด หรือตกลงไปในน้ำที่นำใช้รดเห็ด นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกเช่น หัวเชื้อไม่บริสุทธิ์ การนึ่งฆ่าเชื้อถุงเห็ดที่ทำลายเชื้อไม่หมด ถุงแตกหรือถูกแมลงทำลาย เป็นต้น (รายละเอียดเพิ่มเติม การเพาะเลี้ยงเห็ดในถุงพลาสติก แต่งโดยดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ)

ปัญหาสาเหตุเหล่านี้ในปัจจุบันมีจุลินทรีย์ที่ชื่อว่าบีเอสพลายแก้ว ที่พัฒนาโดยท่านอาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ อดีตนายกสมาคมผู้เพาะเห็ดแห่งประเทศไทย อดีตข้าราชการบำนาญประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยผู้ที่ค้นพบคือคุณพลายแก้ว เพชรบ่อแก ซึ่งเป็นนิสิตคณะประมงในขณะนั้นได้พบโดยบังเอิญจากกุ้งแห้งในขณะที่ได้ทำปัญหาพิเศษโดยท่านอาจารย์ดีพร้อมเป็นที่ปรึกษา จุลินทรีย์บีเอสพลายแก้วเป็นบัคเตรีที่สามารถยับยั้งทำลายเชื้อราได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยที่เห็ดซึ่งก็เป็นเชื้อราเหมือนกันไม่ตายตามไปด้วย เนื่องจากว่าเห็ดนั้นเป็นเชื้อราที่จัดว่าสายพันธุ์สูงกว่า เกษตรกรผู้เพาะเห็ดมือใหม่สนใจเจ้าจุลินทรีย์ตัวนี้เพื่อใช้ทดแทนสารเคมีหรือยาฆ่าเชื้อราที่ใช้ทั่วไปในท้องตลาด สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 0-2986-1680-2 หรือ www.thaigreenagro.com

 

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 473491เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2012 06:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท