Presentation 2nd


ประมวลความรู้ ของนศ.กิจกรรมบำบัดปี4 เลขที่11-20

วันพฤหัสบดีที่29 ธันวาคม 2554 เพื่อนนศ.เลขที่11-20 ได้ออกมานำเสนอเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งนับว่าเป็นประสบการณ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เพื่อนๆได้เป็นอย่างดี

 

เลขที่11 นำเสนอเกี่ยวกับเทคนิคCIMT(Constraint-Induced Movement Therapy) ในผู้รับบริการCVD with Hemiparesis เป็นการกรตุ้นใช้มือข้างที่อ่อนแรงในการทำกิจกรรม ซึ่งผลลัพท์ที่นำไปใช้ในClinic พบว่าผู้รับบริการสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

 

เลขที่12 ผู้รับบริการDystonia คือ บอกความต้องการของตนเองไม่ได้ เป็นผลเนื่องจากสมองที่ออกคำสั่ง ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดต้องคอยกระตุ้นให้ผู้รับบริการทำกิจกรรม การให้Splint, Sensory trick ซึ่งมาจาก Sensory compensation, และนักกิจกรรมบำบัดได้ใช้ Sensory Re-education ร่วมกับการกระตุ้นกลืนด้วย

 

เลขที่13 Case Ischemic Stroke ให้การรักษาโดยใช้ Bilateral arm training เพื่อเรียนรู้จากแขนข้างแข็งแรง ทั้งนี้ต้องดูแขนด้านที่ถนัดของผู้รับบริการด้วย ถ้าเป็นด้านที่ไม่ถนัดจะไม่ค่อยอยากทำ และประสิทธิผลลดลง

 

เลขที่14 เกี่ยวกับผู้รับบริการที่เป็น Reflex Sympathetic Dystrophy(RSD) มีอาการเจ็บ และปวดบวม บริเวณนิ้วมือขวา ซึ่งการรักษาโดยนวดลดบวมมีส่วนช่วยให้อาการดีขึ้น, การใช้ String wrapping การใช้เชือกพันที่นิ้วมือ จากส่วนต้นไปส่วนปลายเพื่อลดบวม และการให้ถุงมือหรือAir splint ลดบวมของข้อนิ้วมือด้วย นอกจากนี้นักกิจกรรมบำบัดยังเน้นทักษะความสามารถในการทำงานของมือ โดยการฝึกเพิ่มความคล่องแคล่วในมือขวาด้วย

 

เลขที่15 Case Tumor นอกจากฟื้นฟูด้านร่างกายแล้ว นักกิจกรรมมีบทบาทช่วยสร้างแรงจูงใจของผู้รับบริการ โดยยกตัวอย่างเช่น การสร้างแรงจูงใจให้ผู้รับบริการยอมรับในการรักษาก่อน โดยใช้Teaching&learning process

 

เลขที่17 เกี่ยวกับเรื่อง Hand function training in stroke patient โดยเน้นเรื่องของการมองในมุมมองเรื่องOccupation ของผู้รับบริการในการกลับไปทำงาน ในบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดสามารถฝึกPre-voc ได้ด้วย

 

เลขที่18 เกี่ยวกับเรื่องMirror Therapy ซึ่งเป็นการใช้Visual imagination โดยให้ผู้รับบริการวางมือข้างที่อ่อนแรงในกล่อง และใช้มือข้างที่แข็งแรงในการทำกิจกรรมและมองกระจกเสมือนว่ากำลังใช้สองมือในการทำกิจกรรมด้วยกัน ซึ่งอาจารย์ได้ให้assignment ให้นศ.ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องMirror Therapy ด้วย

 

เลขที่19 ผู้ป่วยSevere Depression Disorder ใช้CBT(Cognitive Behavior Therapy)ในการรักษา ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดไปในทางบวก โดยการปรับความคิดและพฤติกรรม, ICT คือจิตบำบัดระหว่างบุคคล มี4คำถาม (คำถามเกี่ยวกับความทุกข์ การบาดหมางต่อบุคคล การขาดทักษะทางสังคม ฯลฯ) เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งCBTและICT ใช้ร่วมกันได้ในการทำกิจกรรมกลุ่ม เช่น พูดคุยในเรื่องที่มีปัญหา ดูตามบทบาทของแต่ละบุคคล

 

เลขที่20 Spinal cord injury C7 incomplete เน้นการใช้หลักการMOHO ในการเพิ่มแรงจูงใจในการทำกิจกรรมซึ่งเริ่มจากตัวผู้รับบริการเอง

 

วันนี้ก็ขอขอบคุณเพื่อนๆที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้เราได้รับความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้นค่ะ

 

สวัสดีปีใหม่ 2555,, Happy New Year 2012 มีความสุขมากๆนะคะ :))

หมายเลขบันทึก: 473488เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2012 03:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท