คำถามทบทวนเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์


คำถามทบทวนเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์

  

ตอนที่ ๑ ประณามพจน์บทนำ ตามธรรมเนียมนิยม

๑. บทประณามพจน์ คือ อะไร 

(บทประณามพจน์ คือ บทไหว้ครู เป็นธรรมเนียมนิยมอย่างหนึ่งสำหรับการแต่งวรรณคดีประเภทร้อยกรอง  มักอยู่ตอนต้นก่อนดำเนินเนื้อเรื่อง)

๒. ฉันท์ชนิดใดที่มีลีลาสง่างามเหมาะแก่การใช้แต่งบทประณามพจน์

(สัททุลวิกกีฬิต ฉันท์)

๓.  เทพองค์ใดเป็นเทพแห่งศิลปวิชาการและความสำเร็จ

(พระคเณศ หรือ พระพิฆเณศ)

๔.  จตุรวิธ หมายถึงอะไร

(จตุรพิธพร คือ พร ๔ ประการ ได้แก่ อายุ วรรณะ สุขะ  พละ)

๕.  บทประณามพจน์ในสามัคคีเภทคำฉันท์มีใจความส่วนหนึ่งเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์พระองค์ใด

(พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)

  

ตอนที่ ๒ พรรณนาชมบ้านเมือง  รุ่งเรืองโอฬาร 

 

๑.  พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นใด

(มคธ)

๒.  ปราสาทของพระเจ้าอชาตศัตรูที่ผู้แต่งบรรยายในสามัคคีเภทคำฉันท์มีลักษณะอย่างไร

( เป็นปราสาทที่งดงามมาก  มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบไทย)

๓.  ผู้แต่งเปรียบเทียบความงามของปราสาทของพระเจ้าอชาตศัตรูกับสิ่งใด

(สวรรค์ชั้นดุสิต)

๔.  ตอนที่ ๒ กล่าวถึงศิลปกรรมแขนงใดบ้าง

(สถาปัตยกรรม  จิตรกรรม  หัตถกรรม  นาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์)

๕.  ฉันท์ชนิดใดเหมาะสมสำหรับแต่งบทพรรณนาความงามของบ้านเมือง

(วสันตดิลก)

 

ตอนที่ ๓ แผนการแยบยล ซ้อนกลวัชชี 

๑.   พราหมณ์ผู้เป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าอชาตศัตรูมีนามว่ากระไร

(วัสสการพราหมณ์)

๒.  พระเจ้าอชาตศัตรูทรงคิดจะทำสงครามกับเมืองใด

(เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี)

๓.  เหตุใดพระเจ้าอชาตศัตรูจึงไม่กล้าเปิดศึกกับแคว้นวัชชีในทันที

(ไม่มั่นใจว่าจะประสบชัยชนะ  เพราะแคว้นวัชชีเข้มแข็งมาก)

๔.   เหล่ากษัตริย์ลิจฉวียึดมั่นในธรรมประการใด

(อปริหานิยธรรม)

๕.  “ แผนการแยบยล  ซ้อนกลวัชชี” เป็นประการใด

(วัสสการพราหมณ์แสร้งขัดแย้งกับพระเจ้าอชาตศัตรู  จนถูกลงโทษและถูกเนรเทศออกจากเมือง)

 

ตอนที่ ๔ สู่แดนปรปักษ์ สวามิภักดิ์ลิจฉวี 

๑.  วัสสการพราหมณ์เดินทางจากแคว้นมคธไปที่ใด

(เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี)

๒.  แคว้นวัชชีมีการปกครองแบบใด

(สามัคคีธรรม)

๓.  กษัตริย์ลิจฉวีทรงดำเนินการอย่างใดเมื่อได้รับข่าวเกี่ยวกับวัสสการพราหมณ์ลี้ภัยมาอยู่ที่แคว้นวัชชี

(เรียกตัววัสสการพราหมณ์มาไตร่สวนและประชุมปรึกษาหารือในหมู่กษัตริย์ลิจฉวี)

๔.  กษัตริย์ลิจฉวีทรงยอมอุปการะวัสสการพราหมณ์โดยให้รับราชการในตำแหน่งใด

(ผู้พิพากษาคดีความและอาจารย์สอนหนังสือราชกุมาร)

๕.  อะไรเป็นเหตุให้กษัตริย์ลิจฉวียินยอมอุปการะวัสสการพราหมณ์

(คำพูดโน้มน้าวใจอันไพเราะและ

แฝงหลักจิตวิทยาของวัสสการพราหมณ์)

 

ตอนที่ ๕  ดำเนินแผนการร้าย ทำลายสามัคคี

๑.  แผนการทำลายความสามัคคีขั้นแรกของวัสสการพราหมณ์คืออะไร

(ทำให้ตนได้รับความวางใจจากกษัตริย์ลิจวี)

๒. แผนการทำลายความสามัคคีขั้นที่สองของวัสสการพราหมณ์คืออะไร

(สร้างความแตกแยกในหมู่พระราชกุมารลิจฉวี)

๓. แผนการทำลายความสามัคคีขั้นที่สามของวัสสการพราหมณ์คืออะไร

(สร้างความแตกแยกในหมู่กษัตริย์ลิจฉวี)

๔. วัสสการพราหมณ์มีวิธีตรวจสอบความสำเร็จของแผนการทำลายสามัคคีอย่างไร

( ทดลองเรียกประชุมกษัตริย์ลิจฉวี)

๕.  แผนการร้าย ทำลายสามัคคีของวัสสการพราหมณ์ใช้เวลาดำเนินการเท่าใด

(๓ ปี)

 

ตอนที่ ๖ไร้รักสามัคคี วัชชีเสียเมือง

๑.  พระเจ้าอชาตศัตรูทรงทำประการใดภายหลังได้รับข่าวจากวัสสการพราหมณ์

(จัดเตรียมกองทัพใหญ่ยกไปโจมตีแคว้นวัชชี)

๒.  จตุรงคเสนาหมายถึงอะไร

(พลรบ ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า)

๓.  เมื่อมีการเรียกประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับศึกสงครามกับแคว้นมคธ  เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีทรงทำประการใด

(ไม่สนใจเข้าร่วมการประชุม)

๔.  เหตุใดพระเจ้าอชาตศัตรูจึงยึดครองแคว้นวัชชีได้โดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ

( แคว้นวัชชีไม่มีการต่อสู้ป้องกันเมือง)

๕.  เหตุใดแคว้นวัชชีจึงไม่มีการเตรียมการป้องกันเมืองจากข้าศึก

(กษัตริย์ลิจฉวีแตกแยกสามัคคี  ไม่ร่วมกันรับผิดชอบหน้าที่บ้านเมือง)

 ตอนที่ ๗  คติธรรมท้ายเรื่อง ประเทืองปัญญา   

๑.  เหตุแห่งการเสียเมืองของแคว้นวัชชีมีอะไรบ้าง

(กษัตริย์ลิจฉวีแตกสามัคคี  ทิฐิเกินเหตุ และ

ขาดวิจารณญาณ)

๒.  ในเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ผู้ใดได้ชื่อว่า “ขาดญาณพิจารณ์ตรอง”

(พระราชกุมารลิจฉวีและกษัตริย์ลิจฉวี)

๓.  ไป่มีก็ให้มี                          ผิวมีก็คำนึง

เนื่องเพื่อภิยโยจึง               จะประสบสุขาลัยฯ

สิ่งใดที่ควรจะมีเพื่อความสุขและความเจริญ

(ความสามัคคี)

๔.  ผู้แต่งได้แสดงจุดประสงค์ในการแต่งเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ เอาไว้ในตอนท้ายเรื่องว่าอย่างไร

(เพื่อฝากผลงานไว้เป็นเกียรติยศในวงวรรณกรรมไทย)

๕.  ผู้แต่งได้แจ้งไว้ในตอนท้ายเรื่องถึงอุปสรรคในการแต่งเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ว่าคืออะไร

( ฉันท์เป็นคำประพันธ์ที่แต่งยากเพราะลักษณะบังคับสำคัญ คือ คำครุและคำลหุ)

หมายเลขบันทึก: 472094เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2011 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากหาความรู้ทบทวนชวนคิดค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท