Presentation of the case study SAVR


การฟื้นฟูผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจในทางกิจกรรมบำบัด

ในวันที่ 22 ธันวาคม 2554

ดิฉันได้นำเสนอต่อคณะจารย์และเพื่อนๆในชั้นเรียนของกิจกรรมบำบัดเกี่ยวกับ case study ที่เคยให้การรักษาทางกิจกรรมบำบัด

Client history : น.ส.จำปาทิพย์ อายุ 51 ปี จบการศึกษาระดับ ปวส. อาชีพพนักงานบัญชี เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและได้เข้ารับการฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัด ซึ่งผู้ป่วยมีความต้องการในการเขียนและการกลับไปประกอบอาชีพเดิม

อาการสำคัญ : หลังจากการผ่าตัด เนื่องด้วยผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บของการผ่าตัดผ่านชั้นกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอกและหัวใจ จึงเป็นผลทำให้ไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน และทำให้มีกำลังกล้ามเนื้อ ความทนทานในการทำกิจกรรมต่ำ เหนื่อยง่าย มีปัญหาในการเปล่งเสียงพูดสื่อสารและการหายใจ

การประเมินทางกิจกรรมบำบัด : COPM evaluation of client center, Dynamometer hand strength, Perdue Pegboard dexterity test, Role and interest checklist and observation with testing the activitise  

ผลจากการประเมินพบว่า ผู้ป่วยต้องการจับปากกาเขียนหนังสือได้เพื่อที่จะสามารถกลับไปประกอบอาชีพเดิมหลังจากการฟื้นฟู เนื่องจากผู้ป่วยมีแรงกำมือและความทนทานต่ำ จึงไม่สามารถควบคุมมือในการเขียนตัวหนังสือได้อย่างพึงพอใจ 

การให้การรักษาและกิจกรรมการรักษา : สำหรับ case นี้ ดิฉันได้ใช้ 2 กรอบอ้างอิง ได้แก่ Biomechanical FoR และ Physical Rehabilitation FoR

กิจกรรมการรักษา ได้แก่

Pre-hand writing training with home program : ฝึกการควบคุมมือในการลากเส้นตามแบบฟอร์มและการเขียนชื่อให้อยู่ในเส้นบรรทัด

Progressive resistive exercise : ฝึกการเคลื่อนไหวนิ้วมือทีละนิ้ว (ไต่บันได)ร่วมกับกิจกรรมต่างๆ

Graded pinch exercise : ฝึกการเพิ่มแรงกำมือและการจับแบบ tripod pinch โดยใช้ resistive prehension bench, putty exercise

Sounding & breathing exercise : ฝึกการเป่าฟองหรือเป่าลม,ฝึกการเปล่งเสียง อา อี อู เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ vocal cord

Evidence base support : หลักฐานเรื่องแรกที่นำมาสนับสนุนวิธีการรักษาคือ progressive resistence training ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดมะเร็งเต้านม (BMC Cancer 2006, 6:273) ได้กล่าวถึงผลจากการผ่าตัดที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตและกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย โดยการใช้แบบสอบถามและการประเมินความแข็งแรงของแขนและไหล่หรือช่วงการเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูความสามารถในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิต ผลการทดลองแบบสุ่มสามารถป้องกันปัญหาแทรกซ้อนและระบุการออกกำลังกายเพื่อลดบวมได้

level of evidence : C เนื่องจากเป็นแบบการทดลองแบบสุ่ม

หลักฐานเรื่องที่สองที่นำมาอ้างอิงเกี่ยวกับ Strength training เพื่อเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อระยางค์ส่วนบนในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเพื่อเปรียบเทียบกับโปรแกรมการรักษาต่างๆ (American of Stroke Associated 2010, 41:136-140:) ได้รายงานความสำคัญของการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อระยางค์ส่วนบน เช่น แรงกำมือหรือการเคลื่อนไหวระยางค์แขน ไหล่ ผลของการทดลองแบบสุ่มนี้ พบว่าการฟื้นฟูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของระยางค์ส่วนบนมีความสำคัญต่อการดำเนินโรค 

level of evidence : D เนื่องจากเนื้อหาเป็นการนำข้อมูลจากหลากหลายที่มามาเปรียบเทียบและหาผลสรุปร่วมกัน

 

 

หมายเลขบันทึก: 472092เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2011 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วันนี้ทำได้ดีนะค่ะ น่าสนใจมาก อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับมะเร็งสอบถามเพิ่มเติมได้หรือไม่

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท