present cas&evidence base


จากการนำเสนอในวันนี้....

Case study >>

                 เด็กหญิง อายุ 3 ปี มีความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 19 ทำให้มี   ปัญหาด้านพัฒนาการในทุกๆด้าน โดยเฉพาะปัญหาหลัก คือ ปัญหาในเรื่องการรับประทานอาหาร ต้องเจาะช่องท้อง (Feeding by PEG) และยังมีปัญหาคือปฏิเสธการนำอาหารเข้าปาก พัฒนาการด้านการรับประทานช้า ยังไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ ทำได้เพียงการดูดและกลืนเท่านั้น จึงต้องมีการฝึกในด้านนี้

                 การรักษาใช้วิธีการกระตุ้น oral mortor ทั้งการนวดกล้ามเนื้อในการเคี้ยว กล้ามเนื้อที่ใช้ในการดูดกลืน การใช้เทคนิค three fingers jaw control เพื่อฝึกและกระตุ้นให้เด็กรู้จักขยับขากรรไกรเพื่อใช้ในการเคี้ยวอาหาร รวมทั้งการจัดท่าทางเพื่อให้สะดวกกับการรับประทานอาหารและป้องกันการสำลัก

Evidence base-practices>>

               มาจาก 2 ที่มาคือ

              1.Teaching chewing : A Sturctured Approach  (journalจาก American Journal of Occupational therapy  volume 62,2008)

              2.Chapter3 in Feeding problems in Children: Apractiacal Guide

                   ซึ่งทั้ง 2 บทความ พูดถึงการให้การรักษาเด็กที่มีปัญหาในด้านการรับประทานอาหาร โดยเน้นไปที่การปรับและจัดการพฤติกรรมไปพร้อมๆกับการเตรียมความพร้อมและกระตุ้นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการรับประทานอาหาร  โดยจะต้องสังเกตและบันทึกพฤติกรรมขณะรับประทานอาหาร เช่นการปฏิเสธอาหาร การอมอาหารในปาก เป็นต้น รวมถึง ลักษณะอาหาร ปริมาณอาหาร และอุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร ว่าสิ่งใดมีผลส่งเสริมหรือขัดขวางการรับประทานอาหารของเด็กบ้าง

                  จากการอ่านบทความทั้ง 2 นี้ ทำให้ตระหนักได้ว่า การจะฝึกการเคี้ยวกลืนของเด็ก เพื่อจะให้เด็กสามารถรับประทานอาหารได้นั้น หากจะให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อเพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่วิธีที่จะได้ประสิทธิผลเต็ม 100 หากจับหลักในการปรับและจัดการพฤติกรรม เช่น ให้แรงเสริมทางบวก เมื่อเด็กยอมอ้าปากเพื่อรับประทานอาหาร จะทำให้เด็กเรียนรู้ หรือ การสังเกตลักษณะอาหารบางอย่างที่เด็กปฏิเสธ และบางอย่างที่เด็กยอมรับ แล้วนำอาหารชนิดนั้นมาฝึกในช่วงเริ่มต้น เพื่อส่งเสริมการฝึกให้เป็นไปได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

 

คำสำคัญ (Tags): #case study
หมายเลขบันทึก: 472091เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2011 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท