ทำไมต้อง GAP


ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก

ทำไมต้อง GAP

    GAP ย่อมาจาก Good Agricultural Practice หรือเกษตรดี ที่เหมาะสม มีวัตถุประสงค์หลัก ต้องการให้ใช้หลักความปลอดภัยในขั้นตอนการผลิต และเก็บเกี่ยวทางการเกษตร เพื่อผู้ผลิตปลอดภัย ผู้บริโภคปลอดพิษ และประหยัด ส่งผลให้เกษตรกรพ้นความยากจน ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงฯ

   สภาพปัญหาของมนุษยชาติ พบว่าในห้วงเวลาประมาณ 100 ปีมานี้ การดำรงชีวิต(life style)ของมนุษย์แทบทั้งโลกผิดเพี้ยนไปจากเดิม เช่น นอนหลับไม่เพียงพอ หายใจไม่ลึกพอ รับประทานอาหารไม่มีคุณภาพ ไม่สะอาด มีสารพิษ  สารปฏิชีวนะเจือปน รับประทานเนื้อ นม ไข่เคมี หรืออาหารที่ผลิตไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ

   จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้มนุษย์แทบทั้งโลกเจ็บป่วยง่าย รักษายาก เป็นโรคชรา(ขอย้ำ..โรคชรา)เร็วเกินไป และสุดท้ายคืออายุสั้น หรืออายุยืนแต่อมโรค ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการคิดค้นวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้ก้าวหน้า มากมาย และรวดเร็ว แล้วมนุษย์ได้เอาสิ่งที่คิดค้นได้มาใช้ โดยไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ หรือผิดแผกไปจากสมัยโบราณ ซึ่งมนุษย์มีอายุเฉลี่ยยืนยาวมาก

   สาเหตุหลักที่ส่งผลให้ร่างกายมนุษย์มีปัญหาอ่อนแอ แก่เร็ว อมโรค รักษายาก และสุดท้ายคืออายุสั้น พบว่ามนุษย์ที่มีร่างกายบกพร่องดังกล่าว มาจากระดับฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อต่ำ หรือลดลงอย่างรวดเร็ว ฮอร์โมนชนิดที่สำคัญที่สุด คือฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง[Pituitary gland] หรือที่เรียกว่า Human Growth Hormone = HGH จึงทำให้อวัยวะต่างๆทั่วร่างกายทำงานผิดเพี้ยน หรือหยุดทำงาน ร่างกายอ่อนแอ เสื่อมโทรมเร็ว และสุดท้ายคือตายลงทั้งๆที่อายุยังน้อย ควรจะอยู่พัฒนาชาติได้นานกว่านี้

   เหตุที่ฮอร์โมนHGHหลั่งออกมาน้อย พบว่ามนุษย์มีการดำรงชีวิตที่ผิดพลาด อาหารที่กินไม่สะอาด ไม่ปลอดภัย ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ของร่างกาย จึงทำให้ฮอร์โมนชนิดต่างไม่เพียงพอ โดยเฉพาะตับไม่สามารถปลดปล่อยสาร IGF-1 หรือ Insulin like Growth Factor-1 ออกไปหล่อเลี้ยงหรือกระตุ้นเซลล์ทั่วร่างกายได้ ร่างกายมนุษย์จึงประสบปัญหาดังที่กล่าวแล้วข้างต้น

   ข้อมูลยืนยันเชิงประจักษ์ พบว่ายังมีมนุษย์หลายเผ่าพันธุ์ ที่ยังคงดำรงชีวิตแบบโบราณ อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติมาหลายชั่วอายุคน นอนหลับเต็มอิ่ม รับประทานอาหารสด สะอาด บางเผ่าไม่รับประทานเนื้อสัตว์ใหญ่ บริโภคแต่เนื้อปลา หรือสัตว์เล็กที่เลี้ยงปล่อยแบบธรรมชาติ ได้ออกกำลังกาย(สัตว์ที่ออกกำลังกายจะคายสารพิษทางผิวหนัง) ดื่มน้ำสะอาด ไม่รับประทานอาหารปรุงแต่ง เช่นผงชูรส ปริมาณการกินแต่ละมื้อไม่มากเกิน คือสรุปว่าดำรงชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติที่สุด ได้รับพลังชีวิต[Vital energy]ที่สมบูรณ์

   ชนเผ่าข้างต้น ที่น่าศึกษาที่สุด คือชนเผ่า ฮันซา ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศปากีสถาน ตีนเขาหิมาลัย การดำรงชีวิตดังที่กล่าวแล้ว ทำให้คนฮันซามีอายุยืนยาว เฉลี่ยถึง 120 ปี อายุสูงสุด 140 - 150 ปีโดยไม่เจ็บป่วย ผมเผ้าดกดำไม่หงอก ฟันทนนาน ดวงตาแจ่มใส ร่ายการแข็งแรงสุขภาพจิดดี ไม่ค่อยเจ็บป่วย

   ซึ่งก็ตรงกับหลักฐานทางการแพทย์ พบว่ามนุษย์ที่ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ดำรงชีวิตถูกต้อง ร่างกายจะมีอายุยืนยาวได้ถึง 150-180 ปี แต่มนุษย์ส่วนใหญ่บนโลกนี้อายุน้อย เจ็บป่วยง่าย สาเหตุหลักอยู่ที่อาหารไม่ปลอดภัย สารอาหารที่จำเป็นต่ำ ทำให้ฮอร์โมน HGH หลั่งน้อย ไม่พอกระตุ้นทั่วร่างกาย

   แนวทางแก้ไข

   แนวทางหลักๆ เช่นเปลี่ยนแปลงระบบการดำรงชีวิตใหม่ เช่น

 1 ออกกำลังกายแต่พอดี ไม่หักโหม ควรเดินดีกว่าวิ่ง เพราะกระดูกเข่าไม่เสื่อม

 2 พักผ่อน หรือนอนหลับให้เพียงพอ เพราะฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองจะหลั่งได้ดีในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงของการหลับ(ลึก)

 3 หายใจลึกๆ ยาวๆ

 4 ทำจิตใจให้แจ่มใส(แต่คงไม่ต้องถึงสินละปะอาชา)

 5 บริโภคอาหาร น้ำ ที่ดี สะอาด มีคูณค่า และในปริมาณที่เหมาะสม

   ร่ายมาเสียยาวเหยียด ทีนี้มาพูด(เขียน)ถึงการผลิตอาหารดี มีคุณค่า หรือ GAP ถ้าจะให้ดีที่สุด คือการช่วยตัวเอง เพราะ จากต้นสู่โต๊ะ [From Farm to Table] เราแทบจะไว้ใจใครไม่ได้เลย ควรจะเป็นผู้ผลิตเอง และบริโภคเอง ตามแนวพระราชดำริเศรษกิจพอเพียงฯ คือ ปลูกทุกอย่างที่กิน และกินทุกอย่างที่ปลูก เพราะว่าแม้กระทั่งผักปลอดสารพิษที่ขายกันแพงๆยังไว้ใจไม่ได้ เนื่องจากมีการบิดเบือน จับตัวหนอนใส่เข้าไปในถุงบรรจุผักด้วย เป็นการจัดฉาก..เอ๊ะ..เหมือนกับการจัดฉากอะไรดังๆ..ตอนนี้หรือเปล่า..?..

   สุดท้าย..ก็น่าจะถึงบางอ้อ(ไม่ใช่บางแม้ว..เอ้ย..บางรัก)เสียที ว่าทำไมต้องทำ GAP โดยสรุป มีเหตุผลหลักๆ คือ

 1 ผู้บริโภค ปลอดพิษ ปลอดภัย

 2 ผู้ผลิตปลอดภัยด้วย

 3 เมื่อผู้ผลิตปลอดภัย และประหยัดไปด้วยพร้อมๆกัน หายจน

   และทั้งสามข้อ น่าจะเป็นเหตุเป็นผลเชื่อมโยงกัน นำไปสู่มาตรฐาน ISO:9000 นั่นเอง

  ทั้งหมด เป็นข้อคิดที่นำมาเขียน ได้มาจากแหล่งต่างๆ อาจจะคลาดเคลื่อนไปบ้าง โปรดเข้ามาช่วยกันติติงแก้ไขด้วยครับ เพื่อความมั่นคงของมนุษย์

  

หมายเลขบันทึก: 47205เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2006 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ขอบคุณสำหรับความรู้ที่เป็น "พื้นฐานของชีวิตทางด้านสุขภาพ"
  • ว่าแต่ว่า หลักการ, มาตรฐาน, ตัวชี้วัด, เทคโนโลยี, แนวทางปฏิบัติ ฯลฯ ที่กำหนดอยู่ใน GAP = เกษตรดีที่เหมาะสม จะเป็นตัวพาเราไปยัง "พื้นฐานของชีวิตทางด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับการเกษตร"  ได้จริงหรือ?
  • ผู้บริโภค (Consumer) อยากรู้ ผู้ผลิต (Producer) ช่วยตอบให้หายข้องใจด้วยครับ.

 

  • ดีใจที่ได้อ่านบันทึกดีๆ จากท่านเกษตรอำเภอ
  • จะติดตามต่อไปนะค่ะ
  •    ตามรอยมาอ่าน นับว่าได้แนวคิดที่ดีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองในสภาวะแวดล้อมปัจจุบันได้ดีทีเดียว ขอบคุณที่ช่วยกระตุ้นเตือนให้ขบคิด...ถึงอริยะสัจ 4
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท