บันทึกประสบการณ์: ฮีโมโกลบินเอช (Hb H) หายไปไหน?


โดยทั่วไปผู้ป่วยธาลัสซีเมียชนิดฮีโมโกลบินเอช ก็ต้องตรวจพบฮีโมโกลบินเอชในเลือด...ฟันธง

ห่างเหินไปนานกับโกทูโน สองสามวันที่ผ่านมานี้พี่เม่ยรู้สึกคิดถึงอย่างบอกไม่ถูก จึงได้แวะเวียนมาเยี่ยมเยือน โอโห! ไม่เห็นกันนาน เดี๋ยวนี้โกทูโนเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วจริงๆ...ขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จของทีมงานทุกท่านด้วยค่ะ

เข้าเรื่องดีกว่า เมื่อวานนี้คุณหมอมาลัย กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคเลือดของโรงพยาบาล มอ. โทรมาคุยเรื่องผลการตรวจเลือดของผู้ป่วยเด็กรายหนึ่ง (ปัจจุบันอายุ 3 ปีกว่า) ซึ่งเคยตรวจแรกคลอดเมื่อปีีที่แล้วพบฮีโมโกลบินบาร์ท (Hb Bart's) 18% (ซึ่งเมื่อเด็กโตขึ้นจนอายุครบ 1 ปี เจ้าฮีโมโกลบินบาร์ทนี้ก็จะค่อยๆหายไป ก่อเกิดเป็นฮีโมโกลบินเอช ขึ้นมาแทนที่)  ทำให้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดฮีโมโกลบินเอช 

แต่เหตุไฉน เมื่อเด็กคนนี้อายุครบ 1 ปี ตรวจเลือดซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ทางห้องแล็บกลับรายงานผลไม่พบฮีโมโกลบินเอชไปได้?? 

แน่นอน ขั้นตอนแรกของการตอบคำถามนี้ก็คือ "ต้องขอเวลาค้นข้อมูลก่อนนะคะ" เพราะเราต้องทำการสืบย้อนกลับไปดูบันทึกการทดสอบตั้งแต่ครั้งแรกที่เด็กคลอด และครั้งที่สองเมื่อเด็กอายุ 1 ปี ว่าได้ทำการทดสอบและรายงานผลอย่างถูกต้องหรือไม่...พี่เม่ยใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงก็ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า ในการทดสอบทั้งสองครั้งที่ผ่านมานั้น มีการรายงานผลอย่างถูกต้องตามกระบวนการทดสอบอย่างแน่นอน...จึงรีบกริ๊งกร๊างไปแจ้งให้คุณหมอรับทราบทันทีว่า เมื่อเด็กอายุครบ 1 ปีนั้น เราตรวจไม่พบฮีโมโกลบินเอชจริงแท้แน่นอนคร่าาาา...

คุณหมอพึมพำทางโทรศัพท์กลับมาว่า "แล้วฮีโมโกลบินเอช หายไปไหน??"

โชคดีที่การมาพบแพทย์ในครั้งนี้ เด็ำกถูกเจาะเลือดเพื่อตรวจซ๊บีซี และยังมีเลือดเหลือจากการทำการทดสอบพอดี พี่เม่ยจึงอาสาว่า จะทำการทดสอบหาชนิดและปริมาณฮีโมโกลบินซ้ำให้อีกครั้งจากตัวอย่างเลือดที่เหลืออยู่เพื่อยืนยันผล...ซึ่งการทดสอบจะทำแล้วเสร็จในวันพรุ่งนี้ (นั่นก็หมายถึงวันที่เขียนบันทึกอยู่นี่เอง)

ก่อนอื่น นำเลือดมาตรวจหา inclusion body ซึ่งจะให้ผลบวกในเลือดของคนที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดฮีโมโกลบินเอชเท่านั้น 

หน้าตาของ inclusion body ก็คือเม็ดตะกอนสีน้ำเงินใหญ่ๆที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง คนปกติจะตรวจไม่พบแบบนี้ แต่ถ้าคนที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดฮีโมโกลบินเอช จะตรวจพบตะกอนแบบนี้ในเม็ดเลือดแดงเกือบทุกเม็ดเลยทีเดียว

แต่ของเด็กคนนี้ ตรวจพบเหมือนกันค่ะ แต่พบได้น้อยมาก หากคิืดเป็นร้อยละของเม็ดเลือดแดงทั้งหมด ก็ได้น้อยกว่า 10% 

นี่เป็นลักษณะเม็ดเลือดแดงของคนไข้คนนี้ ที่มีความผิดปกติทั้งขนาดและรูปร่าง ในคนปกติจะพบเม็ดเลือดแดงรูปร่างกลมๆ ขนาดเท่าๆกันเกือบทุกเม็ด

นี่เป็นเพียงการตรวจเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนการตรวจชนิดและปริมาณฮีโมโกลบินนั้น ผลจะออกมาเป็นอย่างไรคงต้องอดใจรออีกหลายชั่วโมง....

คงต้องขยายไปต่อในบันทึกหน้า เพราะจะมีรูปภาพและข้อสังเกตมาบอกกล่าวกันในอีกหลายประเด็นค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #Hb H disease
หมายเลขบันทึก: 471850เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2011 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ดีใจพี่เม่ย พี่สาวผมกลับมาเย้ๆๆ ดูหน้าตาฮีโมโกลบิน สีสวยเหมือนกันนะครับ...

คิดถึงคิดถึงพี่เม่ยค่ะ ยินดีต้อนรับการกลับมาพร้อมกันบันทึกประสบการณ์ดีๆ ค่ะพี่เม่ย :)

มาทักทายพี่เม่ย ครับ หายไป สามปี นิท่าน

มาเย้...ดีใจด้วยคนค่ะ คิดถึงมากๆๆๆๆๆ (ขนาดเห็นตัวเป็นๆกันทุกวัน) มาเห็นในนี้อยากไปกระโดดกอดตัวเป็นๆเลย เห็นบันทึกพี่เม่ยก่อนจะนอนเมื่อคืนวานในเมล ตาจะปิดแล้วเลยไม่ได้เข้ามาอ่าน ดีใจๆๆๆๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท