DBA : การคิดเชิงบูรณาการ


การคิดเชิงบูรณาการ

การคิดเชิงบูรณาการ 

การคิดเชิงบูรณาการ
หมายถึง การทำสิ่งที่บกพร่องอยู่ให้สมบูรณ์โดยการเพิ่มเติมส่วนที่ยังขาดอยู่เข้าไป
หรือเป็นการนำส่วนประกอบย่อยมารวมกันตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไปเพื่อทำให้เป็นส่วนหนึ่งของส่วนทั้งหมดที่ใหญ่กว่า  เช่น หน่วย ก1   หน่วย ก2 และหน่วย ก3 หากนำมารวมกัน ก็กลายเป็นหน่วย ก ความหมายในภาษาไทย หมายถึง การเอามารวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากนำความหมายในภาษาอังกฤษและภาษาไทยมารวมกัน น่าจะหมายถึงคล้ายกับคำเหล่านี้ คือคำว่า เชื่อมโยง ก็หมายหมายถึงการนำมาเชื่อมกัน ให้มีความครบสมบูรณ์ รวมกันหรือร่วมกัน ก็หมายถึงการนำมารวมกันให้ครบสมบูรณ์นั่นเอง การผนวก การประสาน การเติมเต็ม ดังนั้นหากสรุป การบูรณาการก็หมายความว่า การนำมารวมกันเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มีความครบ ตามองค์ประกอบนั่นเอง

สมองคิดเชิงบูรณาการหรือไม่
อย่างไร ?

ความจริงแล้วสมองของมนุษย์มีการคิดเชิงบูรณาการอยู่แล้ว
มีลักษณะการคิดแบบเชื่อมโยงกัน ความคิดเชิงบูรณาการของสมองมนุษย์มีความสำคัญหลายประการ เช่น ความสำคัญในการเรียนรู้ของมนุษย์ ในการเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนแบบท่องจำ เป็นการเรียนรู้แบบแยกส่วน ไม่สามารถนำมาประยุกใช้ในชีวิตประจำวันหรือแม้กระทั่งไม่สามารถนำมาแก้ไขปัญหาได้ ในช่วงที่ผ่านมาการศึกษาของไทยมีการเรียนการสอนแบบแยกส่วนไม่มีการบูรณาการในรายวิชา ในการศึกษานั้นปัจจุบันหันมาให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เป็นการเรียนในสาขา สหวิทยการ เป็นการนำหลายสาขามาบูรณาการเพื่อให้เกิดความรู้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาได้ ในการแก้ไขปัญหานั้นสำคัญเป็นอย่างมากที่เราต้องมีการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการ

การคิดเชิงบูรณาการคืออะไร
คือความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร มุมมองหรือแนวคิดที่แยกส่วนหรือมีความแตกต่างกัน ให้เข้ากับเรื่องที่เป็นแกนหลักได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้เรื่องนั้นเป็นแกนหลักนั้นสมบูรณ์และมีเอกภาพ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ขอยกตัวอย่าง ล้อเกวียน ล้อเกวียนประกอบด้วย ดุมล้อ  ซี่ล้อ และ กงล้อ ดุมล้อเปรียบเสมือน แกนหลัก หรือแนวคิดหลัก หรืออาจจะหมายถึงเป้าหมายก็ได้ ส่วนซี่ล้อและกงล้อเปรียบเหมือนกับองค์ประกอบในการที่จะทำให้เป้าหมายปราบความสำเร็จได้
ยกตัวอย่างเช่น หากเปรียบดุมล้อคือชีวิตที่ประสบความสำเร็จ และ ซี่ล้อและกงล้อคือองค์ประกอบของความสำเร็จ อาจจะประกอบไปด้วย การขยัน การซื่อสัตย์  การมีระเบียบวินัย เป็นต้น


เหตุใดต้องคิดเชิงบูรณาการ
       การคิดเชิงบูรณาการนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
ซึ่งเราควรเรียนรู้วิธีการคิดและการฝึกฝนในภาคปฏิบัติด้วย
ซึ่งเราสามารถประมวลเหตุผลที่เราต้องคิดบูรณาการได้ดังนี้

.เพื่อลดความผิดพลาดจากกาคิดไม่ครบ
หากเรามีการคิดแบบบูรณาการแล้วจะสามารถช่วยลดความผิดพลาดจากการคิดไม่ครบได้
ทำให้เราสามารถคิดครบองค์ประกอบ

2.เพื่อช่วยให้มีความเข้าใจในเรื่องที่ซับซ้อนได้อย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง
ในสภาพปัจจุบันที่มีความเจริญในด้านเทคโนโลยีหากเรามีความคิดแบบบูรณาการเราจะสามารถเชื่อมโยงความคิดได้อย่างสมบูรณ์

3.เพื่อช่วยให้การติดสินใจในเรื่องเล็ก เกิดผลดีต่อเรื่องใหญ่

4.เพื่อลดความซ้ำซ้อนและสิ้นเปลืองของทรัพยากร

5.เพื่อช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จ

6.
เพื่อช่วยให้เราเป็นคนใจกว้างและนอกจากนั้น ยังช่วยจัดการความขัดแย้งได้

สวมกรอบความคิด
หลักคิดเชิงบูรณาการ

กรอบความคิดของนักคิดเชิงบูรณาการ
มีลักษณะเป็นกระบวนการคิด 3
ขั้นตอน

ขั้นที่ 1 ขั้นถอดกรอบ  นักคิดเชิงบูรณาการจะไม่ยึดติดกับกรอบความคิด
การคิดนั้นจะต้องคิดแบบไม่แยกส่วนกล่าวคือ
การคิดแบบแยกส่วนทำให้ไม่สามารถมองปัญหาได้อย่างครบองค์ประกอบ ดังนั้นเราจึงถูกกับดักทางความคิด
4 ประการคือ กับดักรูปแบบวิธีคิด กับดักทางวัฒนธรรม
กับดักทางความรู้ และกับดักประสบการณ์

ขั้นที่ 2 การขยายกรอบ 
การคิดแบบบูรณาการนั้นสำคัญจะต้องมองแบบบูรณาการ มองแบบขยายกรอบนั้นหมายความว่า
ต้องมองแบบองค์รวม มองแบบสหวิทยาการ มองอย่างอุปนัย มองแบบประสานขั้วตรงข้าม
มองแบบทุกฝ่ายชนะ หากเราฝึกการมองแบบบูรณาการหรือการขยายกรอบนั้น
เราสามารถมองให้ครบ ไม่พลาดทุกองค์ประกอบ

ขั้นที่ 3 คลุมกรอบ
คือเมื่อเรามองครบทุกองค์ประกอบแล้วเราก็สามารถบูรณาการเข้าสู่แกนกลางและสามารถให้เราเห็นภาพที่ชัดเจน
และสามารถนำมาแก้ไขปัญหาได้

ฝึกคิดเชิงบูรณาการและฝึกเชื่อมโยง


การคิดเชิงบูรณาการนั้นการเชื่อมโยงข้อมูลมีความสำคัญมาก
การเชื่อมโยงประกอบด้วยกัน            3 วงที่เชื่อมต่อกันอันได้แก่
ปฏิสัมพันธ์ภายในตัวเอง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน 
การปฏิสัมพันธ์ต่อสภาพแวดล้อม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเองคือการดำเนินชีวิตของเราให้เกิดความสมดุล
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันคือการมีความหวังดีและปรารถนาดีต่อกัน
การปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อม คือ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับตัวบุคคลหรือกับตัวเรากล่าวคือ
การคิดถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เป็นต้น 
การฝึกการเชื่อมโยงการคิดแบบบูรณาการนั้น
สำคัญคือการยึดแกนหลักแล้วหาปัจจัยที่มีผลต่อแกนหลักให้ได้มากที่สุดแล้วคิดแบบเชื่อมโยงต่อกัน
เราก็จะสามารถมองเห็นปัญหาและสามารถเชื่อมโยงระบบได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น
ชีวิตคนเมือง ประกอบด้วยหลายปัจจัย เช่น ห้างสรรพสินค้า  ครอบครัว มือถือ ฯลฯ
เรานำปัจจัยเหล่านี้มาประกอบกันเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงได้ก็จะเป็นการคิดแบบบูรณาการ
ครบองค์ประกอบ


ใช้ค้นเหตุ / ปัจจัย
มององค์รวมคิดแบบบูรณาการ

ในการแก้ไขปัญหาของนักคิดแบบบูรณาการนั้นสำคัญจะต้องเริ่มจาก
การค้นหาสาเหตุของปัญหา
แล้วขั้นที่สองคือวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสาเหตุเชื่อมโยงกับแกนหลัก
ขั้นที่สามการกำหนดการแก้ปัญหาอย่างเชื่อมโยง
และขั้นที่สี่วิพากษ์เพื่อให้เกิดการบูรณาการอย่าครบถ้วน

  เช่น หากนักศึกษาที่เราสอนเรียนออ่นที่สุด
ขั้นแรกต้องเริ่มจากการค้นหาสาเหตุก่อนว่าเกิดจากอะไรจากนั้น มาสู่ขั้นที่สองคือ
การเชื่อมโยงปัจจัยอะไรที่ทำให้เขาเรียนไม่เก่ง
จากนั้นกำหนดการแก้ปัญหาแบบเชื่อมโยง
และขั้นที่สี่วิพากษ์เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการ

ใช้แก้ปัญหา
แบบไม่ก่อปัญหา

กระบวนการคิดเชิงบูรณาการนั้นมีทั้งปัจจัยที่เป็นเชิงบวกและเชิงลบดังนั้นเราควรพิจาณาปัจจัยให้ดีว่าเป็นบวกหรือเป็นลบเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอีกและสิ่งที่ควรตระหนักคือ

      
อย่าตัดปัจจัยที่วัดไม่ได้ทิ้ง ให้นำมาร่วมคิดด้วย การมองอย่ามองเส้นตรง
ให้มองแบบเชื่อมโยง

        
อย่ายึดแกนเดิมให้มองแบบยืดหยุ่นและครอบคลุมปัญหา

           ใช้รวมความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์

ความสามารถในการคิดแบบบูรณาการนั้นจะมีประโยชน์อย่างมากหากนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
การใช้ความคิดแบบบูรณาการนั้นสำคัญคือจะต้องทำให้ทุกฝ่ายเกิดความพอใจ
นั้นหมายความว่าทุกฝ่ายชนะ มีลักษณะเป็น win – win คือชนะทั้งคู่

พัฒนาทัศนคติและนิสัยนักิดเชิงบูรณาการ

การฝึกพัฒนาการคิดแบบบูรณาการนั้นมีความสำคัญมากดังนั้นหากเราสามารถฝึกการคิดแบบบูรณาการนั้นจะทำให้เราสามารถมองปัญหาและสามารถแก้ปัญหาได้
การมองแบบบูรณาการนั้นให้มองในลักษณะลึก กว้างและไกล
นอกจากนั้นให้รักการเรียนรู้ในสหวิชาการด้วย

บทสรุป  การคิดเชิงบูรณาการนั้น
สำคัญคือการมองให้ครบองค์ประกอบ โดยมองแกนกลางหรือปัญหาที่แท้จริงก่อนจากนั้นให้หาปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
เมื่อได้ปัจจัยแล้วก็กำหนดการแก้ปัญหา การฝึกมองแบบบูรณาการทำให้เราสามารถมองปัญหา
ครบทุกองค์ประกอบ หลักสำคัญในการฝึกการคิดแบบบูรณาการคือ
การฝึกในการศึกษาแบบสหวิทยาการ จะทำให้เราสามารถมองได้ครบองค์ประกอบ



อ้างอิง : หนังสือชุดผู้ชนะ 10 คิด ศาสตารจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

 

หมายเลขบันทึก: 471844เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2011 13:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท