บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 วันที่ 1 ส.ค.2549


บันทึกการเรียนรู้
บันทึกบทเรียนที่ได้จากการประชุม  KM แผลกดทับเขต 2  วันที่ 1 สิงหาคม 2549 

กิจกรรม

1.         ทบทวนตารางอิสรภาพ จากเดิมแบ่งระดับขั้น 3 ระดับใหม่อีกครั้ง  เนื่องจากบางโรงพยาบาลจัดระดับก่ำกึ่งอยู่ระหว่าง ระดับ 2 – 3   โดยแบ่งระดับใหม่เป็น 5 ระดับจาก 1 ถึง 5  และแยกหัวข้อในการประเมินความก้าวหน้า   ในหัวข้อ การปฏิบัติ   ความครอบคลุม  การสื่อสารในทีมดูแล  การติดตามผล โดยอิงจาก ลำดับขั้นการพัฒนาตามบันไดขั้นที่1สู่ HA   12 กิจกรรมทบทวนของ พรพ.

 2.         ประเมินตนเองในการพัฒนาเรื่องแผลกดทับของโรงพยาบาลต่างๆ

 -           ด้านการปฏิบัติ  โรงพยาบาลที่ประเมินตนเองถึงระดับ 4  คือร..อุตรดิตย์  ..แม่สอด    ..สุโขทัย    ..กงไกรราช   ..เพชรบรูณ์   ..สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช   เป็นกลุ่มพร้อมให้ คู่มือหรือนวตกรรมที่ดี ให้กับเพื่อน   ที่เป็นกลุ่มใฝ่รู้       

-           ด้านความครอบคลุม  โรงพยาบาลที่พร้อมให้คือโรงพยาบาลกงไกรราช ที่ประเมินตนเอง ระดับ 5 ที่สามารถแนะนำกลเม็ดเคล็ดลับในการรวมกลุ่มปฐมภูมิให้ร่วมดูแลได้ครอบคลุมพื้นที่    ให้กับกลุ่มใฝ่รู้อีก 8 โรงพยาบาลที่เหลือ

-           ด้านการสื่อสารในทีมดูแลผู้ป่วย  โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯประเมินระดับ 4พร้อมให้      กลยุทธในการสื่อสารระหว่างทีมดูแล  กับโรงพยาบาลในเขต2ที่พร้อมรับเทคนิคไปปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทของตน

-           ด้านการติดตามผล  โรงพยาบาลที่ประเมินระดับ 3 คือร..แม่สอด     ..อุตรดิตย์   ..สมเด็จพระเจ้าตากฯเป็นโรงพยาบาลพร้อมให้

 3.    แต่ละโรงพยาบาลได้แลกเปลี่ยนวิธีการ/กลยุทธในการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่จากการแลกเปลี่ยนเรียนเข้าสู่องค์กรของตนเอง   รายละเอียดจะส่งมาในรูปแบบตารางคลังความรู้อีกครั้งในโอกาสหน้า

4.     ด้วยคำถามที่ให้กลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขบคิดกันว่า        แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ากลุ่มของเราจัดการความรู้เรื่องแผลกดทับได้ ดีแค่ไหน  จะวัดได้อย่างไร              โดยสรุป เห็นสมควรให้มีการเก็บตัวชี้วัดดังนี้ 

ระดับ1 ระดับ2 ระดับ3 ระดับ4 ระดับ5
การปฏิบัติ
.พุทธฯ  
.ศรีสังวรฯ
.บ้านด่านฯ
.เพชรบรูณ์  
. ตสม.
.แม่สอด  
.อุตรดิตย์
พ.กงไกรราช  
รพ.สุโทัย
 
ความครอบคลุม    
..พุทธฯ  
..ศรีสังวรฯ
..เพชรบรูณ์
.. ตสม
..แม่สอด
..อุตรดิตย
..บ้านด่านฯ
..สุโทัย
.กงไกรราช
การสื่อสารในทีมดูแล  
..บ้านด่านฯ
..แม่สอด
..อุตรดิตย์
..สุโขทัย
..พุทธฯ  
.ศรีสังวรฯ
ร ร..เพชรบรูณ์
..กงไกรราช
.. ตสม
 
การติดตามผล
.บ้านด่านฯ
..สุโขทัย
..พุทธฯ   ..ศรีสังวรฯร.เพชรบรูณ์
.กงไกรราช
.. ตสม
..แม่สอด
..อุตรดิตถ์
   

ตัวชี้วัด

เป้าหมาย
1. อัตราการเกิดแผลกดทับต่อ1000วันนอนรวมของผู้ป่วยในทั้งหมด -ในภาพรวมของเขตลดลงจากเดิม……%- ในโรงพยาบาลลดลง…………%
2. อุบัติการณ์ความรุนแรงเพิ่มขึ้นของการเกิดแผลกดทับในกลุ่มเสี่ยง - 0 ราย
3.ขนาดความกว้างของธารปัญญา - เป็นเส้นตรงที่ระดับ 5  
  บทเรียนที่ได้จากการประชุมกลุ่มครั้งที่ 2

-           การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต้องเกิดโดยอิสระปราศจากการปิดกั้นความคิด

-           ควรมี note  taker ประจำการแลกเปลี่ยนเพื่อให้สมาชิกได้มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น

-           ควรมีพี่เลี้ยงประจำทีมเพื่อป้องไม่ให้กลุ่มหลงประเด็นว่ากำลังจัดการความรู้เรื่องแผลกดทับหรือกำลังจัดการแผลกดทับ 

หมายเลขบันทึก: 47182เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2006 08:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท