จิตติ์ ดวงบุปผาวงค์
พระครูปลัด จิตติชัย จิตติชโย มาตย์วงค์

พระวินัย


ธรรมวินัย

วินัยมุข เล่ม ๑ 

คำแปล 

         วินัยมุขแปลว่า “หัวข้อสำคัญแห่งพระวินัย” หรือ “หลักการใหญ่ๆแห่งพระวินัย ,แนวทางแห่งพระวินัย”

ความหมาย 

              วินัยมุขโดยความหมาย มีความหมายว่าเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติพระวินัยให้สำเร็จประโยชน์ เป็นหลักใหญ่ ๆหรือหัวข้อสำคัญ ๆ ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพระวินัย หรือเป็นแนวทางเป็นปากทางนำเข้าสู่พระวินัย

ความเป็นมาแห่งวินัยมุข 

              วินัยมุขเป็นหนังสือที่สำมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงรจนาขึ้นเพื่อชี้ประโยชน์แห่งพระวินัยมุ่งช่วยให้พระภิกษุสามเณร ดำรงอยู่ในข้อปฏิบัติพอดีพองามเมื่อพระภิกษุสามเณรได้ศึกษาแล้ว ผู้ที่ไม่เคร่งครัดเกินไปก็จะได้หายงมงายไม่สำคัญตนว่าดีกว่าผู้อื่น ไม่ตั้งข้อรังเกียจผู้อื่นเพราะเหตุเพียงเล็กน้อยเมื่อศึกษาเข้าใจดีแล้วต่างพากันประพฤติปฏิบัติตามสมควรเป็นมัชฌิมาปฏิปทาผู้ที่ไม่เค่งครัด ก็จักปฏิบัติไม่ย่อหย่อนจนเป็นคนเลวทรามผู้ที่เคร่งครัดก็จักไม่ปฏิบัติตึงเกินไปจนอยู่ลำบากก็พอจะสืบพระศาสนาให้รุ่งเรืองอยู่ได้

             หนังสือวินัยมุขนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงรจนามุ่งหมายเพื่อจะแก้หนังสือ “บุพพสิกขาวัณณนา”ของพระอมราภิรักขิต (อมร เกิด) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส แล้วจัดพิมพ์เป็น  ๓ เล่ม ใช้เป็นแบบเรียนนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท  และชั้นเอก ตามลำดับ

              วินัยมุข เล่ม ๑ นั้น ท่านจัดเป็นหมวดเรียกว่า “กัณฑ์”มี ๑๐ กัณฑ์ คือ

               กัณฑ์ที่ ๑  อุปสัมปทา ว่าด้วยเรื่องการบวช

              กัณฑ์ที่ ๒   พระวินัย ว่าด้วยเรื่องการบัญญัติพระวินัย
อาบัติ และอานิสสงค์แห่งพระวินัย

           กัณฑ์ที่ ๓ สิกขาบทว่าด้วยเรื่องสิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์

           กัณฑ์ที่ ๔  ปาราชิก ว่าด้วยเรื่องอาบัติปาราชิก ๔ สิกขาบท

              กัณฑ์ที่ ๕ สังฆาทิเสสว่าด้วยเรื่องอาบัติสังฆาเทส ๑๓ สิกขาบทและอนิยต ๒ สิกขาบท

               กัณฑ์ที่ ๖ นิสัคคิยปาจิตตีย์ ว่าด้วยเรื่องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตีย์ ๓๐ สิกขาบท

              กัณฑ์ที่ ๗ ปาจิตตีย์ว่าด้วยเรื่องอาบัติปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท

               กัณฑ์ที่๘ ปาฏิเทสนียะ ว่าด้วยเรื่องอาบัติปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท และ เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท

              กัณฑ์ที่ ๙ อธิกรณสมถะ ว่าด้วยเรื่อง อธิกรณ์ ๔ และ อธิกรณสมถะ ๗

               กัณฑ์ที่ ๑๐ มาตรา ว่าด้วยเรื่องมาตราเวลา , มาตราวัด , มาตราตวง , มาตราชั่ง , มาตรารูปิยะ และมาตราพิเศษ

               ในการเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ได้ย่อหนังสือวินัยมุข  ดังกล่าวนั้น
เก็บเอาแต่ใจความสำคัญที่ควรทราบและพอเป็นแนวในการตอบปัญหาสนามหลวงพร้อมกันนั้นได้เพิ่มอนุศาสน์ ๘ อย่าง สิกขา ๓จากหนังสือนวโกวาทอีกด้วยพร้อมอธิบายพอสังเขป

              และเพื่อให้ครูสอนพร้อมทั้งนักเรียนได้ทราบสาเหตุแห่งการบัญญัติสิกขาบทแต่ละสิกขาบท จึงได้เรียบเรียงนิทานต้นบัญญัติของแต่ละสิกขาบทไว้ด้วย (นิทานต้นบัญญัติไม่ออกสอบ)

               และสำคัญได้รเรียบเรียงแนวคำถามและคำตอบของสนามหลวงไว้ด้วยเพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการศึกษาวิธีการออกปัญหาและตอบปัญหาของสนามหลวง

              ต่อไปก็เข้าสู่วาระของหนังสือเล่มนี้ ตั้งแต่ กัณฑ์ที่ ๑ ถึงกัณฑ์ที่ ๑๐ ได้แล้วบัดนี้

กัณฑ์ที่ ๑

อุปสัมปทา 

    ตั้งแต่ครั้งโบราณกาลมาจนบัดนี้ ได้มีประเพณีการอุปสมบทเกิดขึ้นโดยมุ่งผล ๒ ประการ คือ
๑.      ได้ยังประโยชน์อันยิ่งใหญ่ให้สำเร็จแก่มหาชน

๒.    ทำชีวิตของตนไม่ให้ไร้ผลเปล่า

วิธีอุปสมบท ๓ อย่าง 

๑.       เอหิภิกขุอุปสัมปทา อุปสมบทด้วยพระพุทธองค์ทรงประทานด้วยพระองค์เอง ด้วยพระวาจาว่า “จงเป็นภิกษุ มาเถิด”  

๒.    ติสรณคมนูปสัมปทา อุปสมบทด้วยให้ถึงสรณะ ๓  

๓.     ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาอุปสมบทด้วยกรรมมีญัตติเป็นที่ ๔

การสงฆ์แห่งกิจนั้น ๆ มี ๔ 

              ๑. จตุวรรค มี พวก ๔

             ๒. ปัญจวรรค มีพวก ๕

             ๓.ทสวรรค  มีพวก ๑๐

             ๔.วีสติวรรค  มีพวก ๒๐

องค์กำหนดสงฆ์ผู้ให้อุปสมบทใน ๒ ถิ่น 

             ๑.มัธยมประเทศ   กำหนดอย่างต่ำ ๑๐ รูป

             ๒.ปัจจันตประเทศ  กำหนดอย่างต่ำ ๕ รูป

ารบวช ๒ ประเภท 

            ๑.บวชเป็นภิกษุ    เรียกว่าอุปสัมปทาหรืออุปสมบท

             ๒. บวชเป็นสามเณร เรียกว่า บรรพชา และ วิธีที่สงฆ์จะให้อุปสมบท
ก็ให้แก่ผู้ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรมาแล้ว

      กิจที่จะต้องทำก่อนอุปสมบทเรียกบุพพกิจมี ๔ คือ

๑.  ต้องตรวจตราผู้จะอุปสมบทให้เป็นผู้สมควร

๒.  ต้องให้มีพระอุปัชฌายะ

๓.    ต้องตรวจตราบริขารที่จำเป็น

๔.    ผู้อุปสมบทต้องเปล่งคำขออุปสมบท

สมบัติแห่งการอุปสมบท ๕

๑. วัตถุสมบัติ

๒. ปริสสมบัติ

๓. สีมาสมบัติ

ญัตติสมบัติ   

๕.อนุสาวนาสมบัติ



           ๑
วัตถุสมบัติ ๔

.     
เป็นชายมีอายุครบ ๒๐
ปีบริบูรณ์

๒.    
ไม่เป็นมนุษย์วิบัติ

๓.    
ไม่ใช่คนทำความผิดอย่างร้ายแรง
เช่น ฆ่ามารดาบิดา เป็นต้น



๔.    
ไม่ใช่คนทำความเสียหายในพระพุทธศาสนาอย่างหนัก
เช่น เป็นปาราชิกเมื่อบวชคราวก่อน เป็นต้น



๒.ปริสสมบัติ 



              ได้แก่ ครบองค์กำหนดการประชุมสงฆ์ผู้ทำกิจนั้น ๆ



            
๓.สีมาสมบัติ
 



              ได้แก่เขตที่ชุมนุมภิกษุผู้เข้าประชุมสงฆ์แม้ครอบองค์กำหนดแล้ว
ก็ต้องสันนิบาตในเขตชุมชน ผู้ไม่ได้เข้าประชุมหรือเข้าประชุมไม่ได้ ต้องมอบฉันทะ



๔.ญัติสมบัติ 



 ๕ กัมมวาจาสมบัติ 



             เป็นหน้าที่ของภิกษุรูปหนึ่ง
ผู้มีความรู้ความสามารถจะสวดประกาศให้สงฆ์ฟังคือ



๑.     
เที่ยวแรก
เป็นคำเผดียงสงฆ์ขอให้อุปสมบทให้แก่ผู้จะอุปสมบท เรียกว่าญัตติ



๒.    
อีก ๓ เที่ยวหลัง
เป็นคำหารือและตกลงกัน เรียกว่า อนุสาวนา



 



 



 



วิบัติ
 



             วิบัติ
๕ พึงรู้ตามนัยอันตรงกันข้ามกับสมบัติ ๕



อนุศาสน์
๘ อย่าง



               นิสสัย
๔ อกรณียกิจ ๔
 



             ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต
เรียกนิสสัย มี ๔ อย่าง คือ เที่ยวบัณฑบาต ๑ มุ่งห่มผ้าบังสุกุล ๑ อยู่โคนไม้ ๑
ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ๑



             กิจที่ไม่ควรทำ
เรียกอกรณียกิจ มี ๔ อย่าง คือ เสพเมถุน ๑ ลักของเขา ๑ ฆ่าสัตว์ ๑
พูดอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน ๑ กิจ  ๔
อย่างนี้ บรรพชิตทำไม่ได้



อธิบายอนุศาสน์
๘ อย่าง



             อนุศาสน์
เป็นคำสอน ที่เกี่ยวกับข้อสำคัญในการดำรงชีวิต
ในเพศสมณะพระอุปัชฌาย์อาจจะให้อนุศาสน์เองหรือจะเป็นพระกรรมวาจาจารย์รูปหนึ่งรูปใดก็ได้
คำสอนที่เรียกว่า “อนุศาสน์” นี้ มี  ๘
ประการ คือ



 



นิสสัย
 



๑.  ผู้ที่บวชแล้ว ต้องทำความพยายามจนตลอดชีวิต
ที่จะเลี้ยงชีพด้วยอาหารบิณฑบาต ส่วนอาหารอื่น ที่มีคนนำมาถวายสงฆ์เป็นส่วนรวมก็ดี
อาหารที่มีผู้ถวายเฉพาะตัวก็ดี สลากภัตหรือของที่มีผู้ถวายในโอกาสพิเศษ  เช่น ถวายในวันอุโบสถ์
ให้ถือเป็นเพียงอดิเรกลาภ(ของที่ได้เหลือเฟือ)



๒.
ผู้ที่บวชแล้ว ต้องทำความพยายามจนตลอดชีวิตที่จะใช้ผ้าบังสุกุลส่วนผ้าอื่น ๆ
ที่มีผู้ถวายนั้น ให้ถือเป็นเพียงอดิเรกลาภ



๓.
ผู้ที่บวชแล้ว ต้องทำความพยายามจนตลอดชีวิต ที่จะอยู่อาศัยที่โคนต้นไม้ ส่วนวิหาร
หรืออาคารที่อยู่อย่างอื่น แม้แต่ถ้ำ ก็ให้ถือเป็นเพียงอดิเรกลาภ



๔.  ผู้ที่บวชแล้ว
ต้องทำความพยายามจนตลอดชีวิตที่จะใช้ยาแช่น้ำมูตรเน่าเป็นเครื่องรักษาโรค
ส่วนของอื่นที่จะพึงมี ก็ให้ถือเป็นเพียงอดิเรกลาภ



รวม ๔ ข้อข้างต้นนี้
เรียกว่า นิสสัย คือสิ่งที่ผู้ดำรงเพศสมณะจะต้องทำเรียกย่อ ๆ ว่า อาหาร ,
เครื่องนุ่งห่ม , ที่อยู่ , และยารักษาโรค.



 



อกรณียกิจ ๔ 



               ๑.
ผู้ที่อุปสมบทแล้ว ไม่พึงเสพเมถุนธรรม ภิกษุใดเสพเมถุนธรรมไม่เป็นสมณะ
เชื้อสายศากยบุตร เป็นเหมือนบุรุษที่ถูกตัดศีรษะแล้ว
ฉะนั้นเมถุนธรรมจึงเป็นเรื่องที่ผู้อุปสมบทแล้วเสพไม่ได้ตลอดชีวิต



               ๒. ผู้ที่อุปสมบทแล้ว ไม่พึงลักขโมย
ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ภิกษุใดลักขโมย ถือเอาของราคาถึง ๕ มาสกขึ้นไป
ไม่เป็นสมณะ เชื้อสายศากยบุตรต้องงดเว้นตลอดชีวิต



               ๓.
ผู้ที่อุปสมบทแล้ว ต้องไม่พรากชีวิตสัตว์ แม้แต่มดดำ มดแดง
ภิกษุใดพรากกายมนุษย์จากชีวิต แม้แต่ทำลูกใครให้แท้ง ก็ไม่เป็นสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรต้องงดเว้นตลอดชีวิต



 



๔. ผู้ที่อุปสมบทแล้ว ไม่พึงพูดอวดอุตตริมนุสสธรรม
เช่น พูดว่า ตนบรรลุ ณานสมาบัติ หรือมรรคผล ภิกษุใดพูดอวด ก็ไม่เป็นสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรต้องงดเว้นตลอดชีวิต



               รวม
๔ ข้อหลังนี้เรียกว่า อกรณียกิจ คือ กิจที่ผู้เป็นภิกษุไม่ควรทำตลอดชิวิต



 



สิกขาของภิกษุมี ๓ อย่าง  



คือ ศีล สมาธิ  ปัญญา ความสำรวมกายวาจาให้เรียบร้อย ชื่อว่า
ศีลความรักษาใจมั่น ชื่อว่าสมาธิ ความรอบรู้ในกองสังขาร ชื่อว่าปัญญา



อธิบาย 



               คำว่า
“สิกขา” หมายความว่าข้อที่ควรศึกษา หลักที่ภิกษุจะพึงศึกษามี ๓ อย่างคือ ศีล สมาธิ
ปัญญา สิกขาทั้ง ๓ นี้ บางแห่งท่านเรียกว่า “อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา



               ศีลนั้นมีหลายอย่าง
คือ ศีล ๕ (นิจศีล) และศีล ๘ (อุโบสถศีล) สำหรับคฤหัสกถ์ ศีล ๑๐
สำหรับสามเณร ศีล ๒๒๗ (ในปาติโมกข์) พร้อมด้วยอภิสมาจาร(นอกปาติโมกข์) สำหรับภิกษุ
ฉะนั้น ศีลในที่นี้จึงหมายถึงศีล ๒๒๗



               สมาธินั้นมี
๒ อย่างคือการทำใจให้สงบ เรียกว่า “สมถะ” ๑ การทำใจให้รู้แจ้งเห็นจริง เรียกว่า
“วิปัสสนา” ๑ สมาธิช่วยให้ศีลบริสุทธิ์



               ปัญญานั้น
ในที่นี้ท่านอธิบายว่า “ความรอบรู้ในกองสังขาร” คือรอบรู้ในสังขารขันธ์ ๕ คือ รูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “นามรูป” คือเวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นนาม ส่วนรูปคงเป็นรูป



               คำว่า
“สังขาร”ในที่ทั่วไป หมายถึงสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นรูปร่าง ส่วนคำว่ากองสังขารนั้น
หมายถึงความคิดนึกภิกษุควรศึกษาให้มี ความรอบรู้ในกองสังขารดังกล่าวนี้



               ศีลเป็นข้อปฏิบัติทางกายวาจา
สมาธิเป็นข้อปฏิบัติทางใจ และปัญญาเป็นข้อปฏิบัติทางทิฎฐิ
คือทำความคิดเห็นให้ถูกให้ตรง



 



กัณฑ์ที่ ๒  



พระวินัย 



               พระพุทธบัญญัติและอภิสมาจาร
เรียกว่า พระวินัย เพราะเป็นระเบียบแบบแผนที่พระศาสดาทรงตั้งขึ้น
เพื่อบริหารหมู่สาวกให้ประพฤติดีงาม ชักจูงให้มีความประพฤติลงรอยเดียวกัน
มิฉะนั้นการปกครองหมู่สาวกที่มีมากขึ้นโดยลำดับจะไม่เรียบร้อย
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาเลื่อมใสของผู้พบเห็น



พระบัญญัติ 



๑. พระวินัยนั้นไม่ได้ทรงวางไว้ล่วงหน้า
ค่อยมีมาโดยลำดับตามเหตุที่เกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่านิทานบ้าง ปกรณ์บ้าง
นิทานและปกรณ์นี้เรียกว่า มูลแห่งพระบัญญัติ ซึ่งเป็นข้อที่ทรงตั้งไว้เดิม



๒. พระบัญญัติที่ทรงตั้งไว้แล้ว
แม้ได้เป็นไปโดยสะดวก ก็ไม่ทรงถอนเสียทีเดียว ทรงดัดแปลงตั้งเพิ่มเติมทีหลัง
เรียกว่า อนุบัญญัติ



วิธีตั้งพระบัญญัติ 



๑. เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้ว ตรัสสั่งประชุมสงฆ์



๒. ตรัสถามภิกษุผู้ก่อเหตุให้ทูลรับ



๓. ทรงชี้โทษแห่งการประพฤติผิด
และแสดงอานิสงส์แห่งการสำรวม



๔.
ทรงวางโทษคือปรับอาบัติไว้หนักบ้างเบาบ้าง



อาบัต ๓ สถาน 



กิริยาที่ล่วงละเมิดพระบัญญัติ และมีโทษเหนือตนอยู่
ชื่อว่า อาบัติ แปลว่าความต้อง มี โทษ ๓ สถาน คือ



๑. อย่างหนัก        ยังผู้ต้องให้ขาดจากความเป็นภิกษุ



๒. อย่างกลาง      ยังผู้ต้องให้อยู่กรรม(ประพฤติวุฏฐานวิธี)



๓. อย่างเบา          ยังผู้ต้องให้ประจานตนต่อหน้าภิกษุด้วยกัน(เทศนาบัติ)



อาบัติอีก ๒ สถาน 



๑. อเตกิจฉา          อาบัติที่แก้ไขไม่ได้ 



๒.
สเตกิจฉา       
อาบัติที่แก้ไขได้ 



ชื่อของอาบัติ ๗ อย่าง



๑. ปาราชิก   ๒. สังฆาทิเสส  ๓. ถุลลัจจัย ๔. ปาจิตตีย์  ๕. ปาฏิเทสนียะ ๖.
ทุกกฎ ๗. ทุพภาสิต



สมุฏฐานทางเกิดแห่งอาบัติโดยตรงมี ๔ 



๑. ลำพังกาย
(คือกายเป็นทางเกิดแห่งอาบัติ)



๒. สำพังวาจา(คือ
วาจาเป็นทางเกิดแห่งอาบัติ)



๓. กายกับจิต (คือ
กายกับความจงใจเป็นทางเกิดแห่งอาบัติ)



๔. วาจากับจิต (คือ
วาจากับความจงใจเป็นทางเกิดแห่งอาบัติ)



ในบาลีเพิ่มเข้าอีก ๒ 



๑. กายกับวาจาควบกันเข้า
(คือ กายกับวาจาเป็นทางเกิดแห่งอาบัติ)



๒. กายกับวาจานั้น เติมจิตเข้าด้วย (คือ
กายวาจากับความจงใจเป็นอาบัติ)



อาบัติเพ่งโดยเจตนา 



๑. สจิตตกะ เกิดขึ้นโดยสมุฎฐานมีเจตนา 



๒.อจิตตกะ เกิดขึ้นโดยสมุฎฐานแม้ไม่มีเจตนา 



ทางกำหนดรู้อาบัติว่า เป็น
สจุตตกะหรืออจิตตกะนั้น คือ รูปความและโวหาร (ถ้อยคำสำนวน) ในสิกขาบทนั้นเองบ่งชัดให้กำหนดรู้ได้



โทษแห่งอาบัติ
 



๑.โลกวัชชะ เป็นโทษทางโลก
(คือ คฤหัสถ์ทำก็เป็นความผิดความเสีย)



๒.
ปัณณัตติวัชชะ เป็นโทษทางพระบัญญัติ (คือ คฤหัสถ์ทำเข้าไม่เป็นความผิดความเสีย
ภิกษุทำจึงเป็นความผิดความเสีย)



อาการต้องอาบัต ๖ 



๑.  อะลัชชิตา                                     ต้องด้วยไม่ละอาย



๒.  อัญญาณะตา                                 ต้องด้วยไม่รู้



๓.  กุกกุจจะปะกะตะตา                    ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง



๔.  อะกัปปิเย
กัปปิยะสัญญิตา        ต้องด้วยสำคัญว่าควร  ในของไม่ควร



๕.  กัปปิเย
อะกัปปิยะสัญญิตา         ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควร
ในของควร



                
๖.สะติสัมโมสา                            ต้องด้วยลืมสติ



 



หลักที่จะพึงปฏิบัติในเมื่อต้องอาบัติแล้วมี ๓ 



๑.เป็นหน้าที่ของภิกษุผู้ต้องอาบัติจะต้องทำคืนตามวิธีนั้น



๒.
เป็นหน้าที่ของภิกษุอื่นผู้รู้เห็นจะพึงตักเตือนด้วยความเมตตา



๓. เป็นหน้าที่ของสงฆ์จะพึงทำตามสมควรแก่พระธรรมวินัย



อานิสงค์พระวินัย 



พระวินัยนั้น ภิกษุรักษาดีแล้ว ย่อมได้อานิสงค์ คือ



๑. ไม่เดือดร้อนใจ ซึ่งเรียกว่า วิปฏิสาร



๒. ย่อมได้รับความแช่มชื่น
เพราะรู้สึกว่าตนประพฤติดีงามแล้ว ไม่ถูกจับกุมลงโทษเป็นต้น



๓. จะเข้าสมาคมกับภิกษุผู้มีศีล
ก็อาจหาญไม่สะทกสะท้าน



ส่วนภิกษุผู้ไม่รักษาวินัยดังกล่าวนั้น
ย่อมรับผลตรงกันข้ามกับอานิสงค์ข้างต้นนั้น



ผลที่มุ่งหมายแห่งพระวินัย ๘ 



๑ . เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นคนเหี้ยมโหด 



๒.
เพื่อป้องกันความลวงโลกเลี้ยงชีพ



๓. เพื่อป้องกันความดุร้าย



๔.
เพื่อป้องกันความประพฤติเลวทราม



๕.
เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย



๖.
เพื่อป้องกันความเล่นซุกซน



๗.
เพื่อคล้อยตามความนิยมในครั้งนั้น



๘.
เพื่อให้เป็นธรรมเนียมของภิกษุ



ประโยชน์ของการบัญญัติพระวินัย ๑๐



๑. สังฆะสุฎฐุตายะ เพื่อความดีแห่งหมู่ 



๒. สังฆะผาสุตายะ เพื่อความสำราญแห่งหมู่ 



๓. ทุมมังกูนัง
ปุคคะลานัง นิคคะหายะ
เพื่อกำจัดบุคคลผู้เกื้ออยาก(หน้าด้าน) 



๔. เปสะลานัง
ภิกขุนัง ผาสุวิหารายะ
เพื่อความเป็นผาสุขแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก 



๕. ทิฏฐะธัมมิกานัง
อาสะวานัง สังวะรายะ
เพื่อระวังอาสวะที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน 



๖. สัมปะรายิกานัง
อาสะวานัง ปะฏิฆาตายะ

เพื่อกำจัดอาสาวะที่จะมีต่อไปข้างหน้า 



๗. อัปปะสันนานัง  ปะสาทายะ เพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส 



๘. ปะสันนานัง
ภิยโยภาวายะ
เพื่อความเจริญยิ่ง ๆ

ของผู้เลื่อมใสแล้วให้ดียิ่งขึ้น 



๙. สัมธัมมัฏฐิตยา เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม 



๑๐. วินะยานุคคะหานะ เพื่ออุดหนุนพระวินัย



กัณฑ์ที่ ๓ 



สิกขาบท 



พระบัญญัติเรียกว่า สิกขาบท มี ๒  คือ



๑.                
พระพุทธอาณา
ได้แก่ อาทิพรหมจริยกาสิกขา 
มาในพระปาติโมกข์



๒.              
อภิสมาจาริกา
คือ ขนบธรรมเนียมที่ภิกษุควรประพฤติ มานอกพระปาติโมกข์



สิกขาบทมาในพระปาติโมกข์



สิกขาบทท่านแสดงไว้ ๒ นัย คือ



๑.                   
ตามบาลีพระสูตร
๑๕๐ สิกขาบท คือ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สุทธิกะ
ปาจติตตีย์ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ อธิกรณสมถะ ๗ 
 



๒.                  
แต่ในพระปาติโมกข์ที่สวดกันอยู่
และในคัมภีร์วิภังค์แห่งสิกขาบทแสดงว่ามี ๒๒๗ สิกขาบท คือ เพิ่ม อนิยต ๒
เสขิยวัตร ๗๕
 



 



การปรับอาบัติ ๒ 



๑. ปรับโดยตรงมี ๔ ได้แก่ปาราชิก สังฆาทิเสส
ปาจติตตีย์ (อันต่างโดยนิสสัคคิยปาจิตตีย์ สุทธิกะ )และ ปาฏิเทสนียะ



๒. ปรับโดยอ้อมมี ๓
ได้แก่ ถุลลัจจัย ทุกกฏ ทุพภาสิต ทั้ง ๓ นี้
ล้วนเข้าในลักษณะที่ลดโทษมาจากอาบัติที่ปรับโดยตรง คือ



  ถุลลัจจัย
ลดลงมาจากปาราชิก และ สังฆาทิเสส



              ทุกกฏ                      ลดลงมาจากปาจิตตีย์ และปาฏิเทสนิยะ



ทุพภาสิต                ลดลงมาจากโอมสวาทสิกขาบท



ส่วน เสขิยวัตร
ถ้าไม่เอื้อเฟื้อต้องทุกกฎ อาบัติเหล่านี้เอาชื่อวิภังค์เข้าประกอบว่า
วิภังคถุลลัจจัย วิภังคทุกกฏ ส่วน ทุพภาสิตนั้นเรียกลอย ๆ เพราะมาในวิภังค์
แห่งเดียว ส่วนสิกขาบทเดิมที่เป็นต้นเค้านั้นเรียกว่า มาติกา



       



อุทเทส ๙ 



๑.        
ปาราชิกุทเทส



๒.       สังฆาทิเสสุทเทส



๓.       
อนิยตุทเทส



๔.       
นิสสัคคิยุทเทส



๕.       
ปาจิตติยุทเทส



๖.        
ปาฏิเทสนียุทเทส



๗.       
เสขิยุทเทส



๘.       
อธิกรณสมถุทเทส

 

และรวมทั้ง นิทานุทเทส คือ คำนำหน้า เป็น ๙



 

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมวินัย
หมายเลขบันทึก: 471743เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2011 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท