การร่วมมือการค้าบริเวณชายแดนราชอานาจักไทย- สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


ความสำคัญของการร่วมมือทางการค้าแบบสองฝ่ายระหว่างราชอานาจักไทย- สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอันดีงามที่มีมาแต่ดนนานและเป็นยกระดับชีวิติการเป็นอยู่ของประชาชนทั้งสองชาตินับมื้อนับดีและขหญายตัวขื้นเทื่อรก้าว.

 

1. การค้าบริเวณชายแดนไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีบริเวณพรมแดนติดต่อกันโดยมีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนตามธรรมชาติ การค้า บริเวณพรมแดนติดต่อระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวสามารถดำเนินการได้หลายแนวทาง เช่น
1.1. ด้านศุลกากร    เป็นหน่วยงานภายใต้การดำเนินการของกรมศุลกากรมีหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการนำเข้าและส่งออกสินค้า โดยผ่าน พิธีการด้านศุลกากร ด่านศุลกากรเปิดดำเนินการตั้งแต่เวลา 8.00 น. ถึง 18.00 น. บริเวณพรมแดนไทยและ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่มีการ จัดตั้งด่านศุลกากร
  ได้แก่ จังหวัดดังต่อไปนี้ คือ เชียงราย อุบลราชธานี เลย หนองคาย นครพนม น่าน อุตรดิตถ์ พะเยา และมุกดาหาร
1.2. จุดผ่อนปรน    เป็นบริเวณชายแดนที่มีการอนุญาตให้ประชาชนทั้งสองประเทศเดินทางผ่านเข้าออกเพื่อการค้าได้ โดยมี
การกำหนดประเภทของสินค้า มูลค่าสินค้า และระยะเวลาปฏิบัติการ ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศไทยและ สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว บริเวณพรมแดนไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่มีการจัดตั้งจุดผ่อนปรนทางการค้าได้แก่ จังหวัดต่าง ๆคือ เชียงราย อุบลราชธานี เลย หนองคาย น่าน พะเยา และอุตรดิตถ์
1.3.จุดผ่านแดนชั่วคราว   เป็นบริเวณพรมแดนที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้ดำเนินการซื้อขายสินค้า ข้ามพรมแดนได้ตาม ระยะเวลาที่กำหนดไว้ บริเวณที่มีการจัดตั้งเป็นจุดผ่านแดนชั่วคราว ได้แก่ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

2. รูปแบบการค้า
2.1. การนำเข้าและส่งออกตามชายแดน
(1) การค้าในระบบเป็นการนำเข้าและส่งออกโดยผ่านพิธีการศุลกากร ซึ่งการซื้อสินค้าในแต่ละครั้งที่มีมูลค่าไม่เกินครั้งละ  500,000  บาท ผู้ค้ารายย่อยของลาวจะนำเข้าสินค้าจากไทยในนามของบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้นำเข้าและส่งออก โดยจะเสียค่าธรรมเนียม ให้กับบริษัทฯดังกล่าว
(2) การค้าชายแดนนอกระบบ เป็นการลักลอบค้าขายโดยอาศัยช่องทางความสะดวกของภูมิประเทศ ตามแนวชายแดน ที่ติดกัน  โดยไม่ผ่านศุลกากร โดยการค้านอกระบบนี้มูลค่าประมาณร้อยละ 70 ของการค้าชายแดนโดยรวม
2.2. ลักษณะของผู้นำเข้า-ส่งออก
ผู้ที่ทำการค้าตามแนวชายแดนไทย-ลาว  สามารถทำการค้าขายได้โดยเสรี โดยกรมการค้า ต่างประเทศได้ออกประกาศยกเลิก การจดทะเบียนเป็นผู้ทำการค้ากับลาว ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2540 แล้ว
-  นิติบุคคลต้องจดทะเบียนพาณิชย์ที่กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์  หรือสำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด
-  บุคคลทั่วไป ถ้าเป็นร้านค้าจะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ แต่ถ้าเป็นแผงลอยสามารถทำการค้าขายได้ โดยไม่ต้องจดทะเบียน  ซึ่งการซื้อขายแลกเปลี่ยนในแต่ละครั้งจะมีจำนวนไม่มากนัก
2.3. รูปแบบการชำระเงิน
การค้าตามแนวชายแดนไทย-ลาว  พบว่าการซื้อขายสินค้าในปัจจุบันจะชำระด้วยเงินสด หรือวิธีโอนเงินผ่านธนาคาร  (Telegraphic Transfer) โดยสกุลเงินที่นิยมนำมาใช้คือเงินสกุลเหรียญสหรัฐฯ และเงินสกุลบาทของไทย  ส่วนสกุลเงินกีบของลาว จะนำมาใช้น้อยมาก เนื่องจากเงินกีบของลาวขาดเสถียรภาพ

3. ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าชายแดนไทย-ลาว
ในการนำเข้าสินค้าตามแนวชายแดนไทย-ลาว ผู้นำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นผู้รับจ้างลักลอบสินค้าเพื่อนำไปส่งให้กับ ร้านค้า ในนครหลวงเวียงจันทน์และแขวงต่างๆตามชายแดนของลาว

 จุดการค้าและเส้นทางการค้า


ประเทศไทยมีแนวชายแดนติดต่อกับประเทศสปป.ลาว เป็นระยะทางยาว 1,810 กิโลเมตร มีเขตติดต่อกับจังหวัดชายแดน 11 จังหวัด  คือ  หนองคาย,  มุกดาหาร,  อุบลราชธานี,  นครพนม,  เลย,  น่าน, พะเยา,  อุตรดิตถ์,  เชียงราย, พิษณุโลก และอำนาจเจริญ  (จังหวัดอุบลราชธานี มีแนว ชายแดนติดกับประเทศลาวและกัมพูชา ) โดยผ่านช่องทางการค้าชายแดน จำนวน 36 แห่ง  เป็นจุดผ่านแดนถาวร 13 แห่ง  จุดผ่านแดนชั่วคราว 2 แห่ง  และจุดผ่อนปรน 21 แห่ง  ดังนี้
1. จุดผ่านแดนถาวร จำนวน 13 แห่ง มีดังนี้
(1) ด่านสะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย - เมืองหาด ทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์
(2) ด่านท่าเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย - ด่านท่าเดื่อ นครหลวงเวียงจันทน์
(3) ด่านบึงกาฬ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย-เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ (เส้นทางไปเวียดนาม ตามถนนหมายเลข 8)
(4) ด่านช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี - บ้านวังเต่า เมืองปาเซ แขวงจำปาสัก
(5) ด่านบ้านปากแซง กิ่งอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี - เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน
(6) ด่านอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม - เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน
(7) ด่านอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร - เมืองคันทะบุรี แขวงสะหวันนะเขต
(8) ด่านอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย - เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว
(9) ด่านอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย - เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว
(10) ด่านบ้านปากห้วย อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย - เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี
(11) ด่านบ้านเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย - เมืองสานะคาม แขวงเวียงจันทน์
(12) ด่านบ้านคกไผ่ อำเภอปากชม จังหวัดเลย - บ้านวัง เมืองสานะคาม  แขวงเวียงจันทน์
(13) ด่านห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน - เมืองเงิน แขวงไชยะบุรี
 2. จุดผ่านแดนชั่วคราว มีจำนวน 2 แห่ง ดังนี้
 จังหวัดนครพนม
(1) ม. 3 ต.ท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน - เมืองหินปูน แขวงคำม่วน
(2) ม.7 ต.บ้านแพง อ.บ้านแพง - บ้านบุ่งกวาง เมืองปากกระดิ่ง แขวงบอลิคำไซ
 3. จุดผ่อนปรน มีจำนวน 21 แห่ง ดังนี้
  จังหวัดเชียงราย
(1) บ้านแจมป๋อง ต.หล่ายงาว กิ่งอ.เวียงแก่น - บ้านด่าน เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว
(2) บ้านร่มโพธิ์ทอง อ.เทิง - บ้านปางไฮ เมืองคอบ แขวงไชยะบุรี
(3) บ้านสวนดอก อ.เชียงแสน - บ้านสีเมืองงาม แขวงบ่อแก้ว
(4) บ้านสบรวก อ.เชียงแสน - บ้านเมืองมอม เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว ( เป็นจุดผ่อนปรนระหว่างไทย - พม่า ด้วย )
  จังหวัดพะเยา
(5) บ้านฮวก ต.ภูซาง กิ่งอำเภอภูซาง - บ้านปางมอน เมืองเชียงฮ่อน แขวงไชยะบุรี
  จังหวัดน่าน
(6) บ้านห้วยสะแตง ต.งอบ อ.ทุ่งช้าง - บ้านป่าหว้าน เมืองเชียงฮ่อน แขวงไชยะบุรี
(7) บ้านใหม่ชายแดน ต.ชนแดน อ.สองแคว - บ้านเตสอง เมืองเชียงฮ่อน แขวงไชยะบุรี
  จังหวัดอุตรดิตถ์
(8) บ้านห้วยต่าง ต.บ้านโคก อ.บ้านโคก - บ้านขอนแก่น เมืองบ่อแตน แขวงไชยะบุรี
(9) บ้านภูดู่ ต.ม่วงเจ็ดต้น อ.บ้านโคก - บ้านผาแก้ง (บ้านบวมลาว) เมืองปากลาย แขวงไชยะบุรี
  จังหวัดเลย
(10) บ้านเหมืองแพร่ ต.นาแห้ว อ.นาแห้ว - บ้านเหมืองแพร่ เมืองบ่อแตน แขวงไชยะบุรี
(11) บ้านนาข่า ต.ปากหมัน อ.ด่านซ้าย - บ้านนาข่า เมืองบ่อแตน แขวงไชยะบุรี
(12) บ้านนากระเซ็ง ต.อาฮี อ.ท่าลี่ - บ้านเมืองหม้อ เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี
  จังหวัดนครพนม
(13) ด่านศุลกากร อ.ท่าอุเทน - บ้านหินบูน เมืองหินบูน แขวงคำม่วน   (ครม.มีมติ 8 เม.ย. 32  ให้เป็นด่านถาวร แต่ลาวยังไม่พร้อม)
(14) บ้านดอนแพง ต.บ้านแพง อ.บ้านแพง - บ้านบุ่งกวาง เมืองปากกะดิ่ง แขวงบอลิคำไซ
(15) บ้านธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม - บ้านปากเซบั้งไฟ เมืองหนองบก แขวงคำม่วน (ครม.มีมติ 8 เมย. 32  ให้เป็นด่านถาวรแต่ลาวยังไม่พร้อม)
  จังหวัดอุบลราชธานี
(16) หน้าที่ว่าการ อ.เขมราฐ - บ้านนาปากซัน เมืองสองควน แขวงสะหวันนะเขต
(17) บ้านสองคอน ต.สองคอน อ.โพธิ์ไทร - บ้านหนองแสง บ้านกะลา บ้านดอนเฮือ เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน
(18) บ้านด่านเก่า ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม - บ้านสีสัมพัน เมืองชะนะสมบูน แขวงจำปาสัก
(19) บ้านหนองแสง (บริเวณช่องตาอุ) ต.โพนงาม อ.บุณฑริก - บ้านเหียง เมืองสุขุมา แขวงจำปาสัก
  จังหวัดหนองคาย
(20) บ้านเปงจาน ต.โพนแพง กิ่งอำเภอรัตนวาปี - บ้านทวย เมืองท่าพระบาท แขวงบอลิคำไซ
(21) บ้านบุ่งคล้า อ.บุ่งคล้า - บ้านปากกะดิ่ง เมืองปากกะดิ่ง แขวงบอลิคำไซ

หมายเลขบันทึก: 47011เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2006 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอแสดงความคิดเห็นเพี่มเติมดั่งนี้ครับ..

สถานะความร่วมมือ พัฒนาการที่สำคัญของความสัมพันธ์ไทย-ลาวได้แก่การประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-ลาวอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2547 ณ แขวงจำปาสัก และจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งเป็นการประชุม ครั้งประวัติศาสตร์ ทั้งสองฝ่ายสามารถหารือในปัญหาที่คั่งค้างเป็นเวลานานได้อย่างตรงไปตรงมา และหาทางออกที่เหมาะสมร่วมกันได้ และได้ผลักดันความร่วมมือในระยะต่อไปเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่ายได้นำผลการประชุมดังกล่าวมาปฏิบัติจนมีผลคืบหน้า สรุปได้ ดังนี้

ด้านการเมืองและความมั่นคง

ความร่วมมือด้านการทหาร กองทัพไทย-ลาวมีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในระดับส่วนกลางและท้องถิ่น สามารถแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างความมั่นคงทำให้พื้นที่บริเวณชายแดนไทย-ลาวส่วนใหญ่ มีความสงบเรียบร้อยดี พัฒนาการที่สำคัญ ได้แก่ การลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนไทย-ลาว ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศเมื่อเดือนตุลาคม 2546 ที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นกรอบในการปฏิบัติงานให้ชายแดนไทย-ลาวเป็นชายแดนแห่งมิตรภาพ สันติภาพ และความมั่นคง โดยขณะนี้กองทัพไทย-ลาวอยู่ระหว่างจัดทำแผนงานประกอบ ความตกลงเพื่อนำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

ปัญหาการค้าไทย-สปป.ลาว และแนวทางแก้ไข

1. ปัญหาและอุปสรรค

1.1 การผ่านเข้า-ออก สปป.ลาว และระหว่างแขวงต่าง ๆ ในสปป.ลาว ยังไม่สะดวกและคล่องตัวเท่าที่ควร การเปิดจุดผ่านแดนถาวรเพิ่มเติม ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากข้อจำกัดของทั้งสองฝ่าย

1.2 ระบบการค้าระหว่างประเทศของสปป.ลาวยังไม่เป็นสากลและไม่มีความแน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย กฎระเบียบบ่อยครั้ง มีการเข้มงวดในการนำเข้าสินค้า โดยกำหนดเป้าหมายที่จะลดภาวะเงินเฟ้อภายในประเทศ มีการจำกัดโควต้าสินค้าที่จะนำเข้าเช่น ปูนซีเมนต์ น้ำมันพืช และเหล็กเส้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้เกิดมาตรการที่มิใช่ภาษีด้านอื่นๆเช่น การนำเข้าสินค้าไป สปป.ลาว ผู้นำเข้าจะต้องติดต่อและประสานงานกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความล่าช้า การนำเข้า-ส่งออก จะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและต้องวางเงินค้ำประกัน และสามารถนำเข้าและส่งออกได้เฉพาะสินค้าในหมวดที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

1.3 ทัศนคติเชิงลบต่อประเทศไทย ทำให้ลาวดำเนินนโยบายการค้า โดยเน้นการเสริมสร้างความสัมพันธ์และให้ความสำคัญกับประเทศจีนและเวียดนาม ให้สิทธิพิเศษต่างๆโดยการลดภาษีและค่าธรรมเนียม

1.4 ผู้ประกอบการรายย่อยที่จะนำเข้า-ส่งออก สินค้าที่ไม่มีใบอนุญาต ต้องอาศัยการนำเข้า-ส่งออก ผ่านบริษัทที่มีใบอนุญาต และเสียค่านายหน้าเฉลี่ย 2-3% ทำให้ต้นทุนสินค้าสูง

1.5 ค่าขนส่ง และค่าบริการในการนำเข้า-ส่งออก ค่อนข้างสูง ประกอบกับความตกลงขนส่งสินค้าผ่านแดนไทย-สปป.ลาวยังมีปัญหา เนื่องจากสินค้าจากสปป.ลาวผ่านไทยไปประเทศที่สามไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม แต่ในทางกลับกันสินค้าจากไทยผ่านสปป.ลาวไปยังประเทศที่สาม ยังถูกเก็บค่าธรรมเนียม นอกจากนี้ เส้นทางคมนาคมยังทุรกันดาร เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้า และเป็นลักษณะผูกขาด

1.6 สปป.ลาวขอให้ผู้ประกอบการไทยรับชำระค่าสินค้าเป็นเงินกีบ แต่ในขณะเดียวกันขอให้พ่อค้าไทยชำระค่าสินค้าสปป.ลาวเป็นเงินเหรียญสหรัฐ ทำให้เป็นปัญหาที่จะค้ากับสปป.ลาวด้วยเงินกีบ

1.7 การค้านอกระบบส่งผลกระทบต่อผู้ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของไทยที่อยู่ในสปป.ลาว เนื่องจากสินค้าที่ลักลอบนำเข้ามีต้นทุนต่ำกว่า ตัวแทนจำหน่ายที่ถูกต้องในระบบไม่สามารถแข่งขันได้ ส่งผลให้ผู้ทำการค้าลาวไม่สนใจที่จะเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มาจากประเทศไทย เว้นแต่สินค้าที่มีข้อจำกัดไม่สามารถขนถ่ายโดยใช้เรือเล็กได้

1.8 จุดผ่านแดนบางจุดที่มีปริมาณการค้าเพิ่มมากขึ้น แต่ยังไม่ได้เป็นด่านถาวร เช่นด่านศุลกากรอำเภอบึงกาฬ และด่านปากชัน แขวงบริคำไซ ทำให้ขาดกลไกการรองรับการขยายตัวทางการค้าที่เพิ่มขึ้น

1.9 การขนถ่ายสินค้าของสปป.ลาว เน้นการใช้แรงงานคนมากกว่าเครื่องจักร ทำให้เกิดการเสียเวลา เป็นเหตุให้การขนถ่ายสินค้าไม่เสร็จทันตามกำหนด ส่งผลให้บริษัทรับขนส่งสินค้าขาดทุนและไม่ยอมรับงาน

1.10 การเดินทางเข้า-ออก ระหว่างไทย-สปป.ลาว ต้องมีวีซ่า ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยวและการลงทุน โดยเฉพาะจังหวัดหนองคายกับเวียงจันทน์ ซึ่งมีปริมาณการเดินทางผ่านเข้า-ออกจำนวนมาก

2. แนวทางแก้ไข

2.1 แสดงความจริงใจในการให้ความช่วยเหลือสปป.ลาวให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งประเทศไทยได้ดำเนินการไปแล้วหลายช่องทาง อาทิ การลดภาษีสินค้าเกษตรนำเข้าภายใต้ WTO 23 รายการ การลดภาษีสินค้าวัตถุดิบและเกษตรอื่นๆ 39 รายการ การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (AISP) 24 รายการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นมา และการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในด้านต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อกัน

2.2 สนับสนุนนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในสปป.ลาว โดยรัฐบาลควรพิจารณาให้ธนาคารซึ่งรัฐบาลเป็นผู้บริหารเช่น ธนาคารกรุงไทย รับซื้อเอกสารทางการเงินที่ออกและรับรองโดยรัฐบาลสปป.ลาว

2.3 ควรร่วมมือกันในการผลิตสินค้าเกษตรในสปป.ลาว เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบ เพราะสปป.ลาวมีพื้นที่ว่างเปล่าจำนวนมากที่เหมาะสำหรับทำเกษตรกรรม

2.4 ควรพิจารณาแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และรวดเร็ว โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่น ไม่ควรปล่อยให้เนิ่นนาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก ขณะนี้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสปป.ลาวได้มีความสัมพันธ์ที่ดีมากกับเวียดนาม

2.5 มีส่วนร่วม และชักชวนประเทศที่สามหรือมูลนิธิต่างประเทศ เพื่อเข้าไปพัฒนาระบบโครงสร้าง

พื้นฐานในลาว

2.6 พิจารณา ส่งเสริมด้านการค้าชายแดนอย่างจริงจัง โดยมีนโยบายและการดำเนินการที่ชัดเจนตลอดจนการประสานระหว่างหน่วยงานภาคราชการและเอกชนของไทย ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และร่วมมือกันในการกำจัดการค้านอกระบบ

ไม่เหนพูดถึงกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเลยซักนิด

hello...teacher BOUNMY.....I REALLY respect your idea that you make a new teaching to 4ir..........

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท